ภาษากับการสื่อสารมีอะไรบ้าง

การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัยหรือมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน นักวิชาการบางท่านอธิบายองค์ประกอบที่สำคัญว่ามี ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร แต่ก็มีนักวิชาการหลายท่านหรือในตำราหลายเล่ม กล่าวว่า องค์ประกอบของการสื่อสาร มี 4 ประการ คือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อหรือช่องทาง และผู้รับสาร แต่เราจะอ้างอิงตามหลักของนักวิชาการดังกล่าว โดยจำแนกเป็น 5 ประการ ดังนี้

1. ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ผู้สร้างสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดของสาร แล้วส่งสารไปยังผู้อื่นด้วยวิธีการหนึ่ง หรือหลายวิธี เช่น การพูด การเขียน การแสดงท่าทาง การใช้สัญลักษณ์ การใช้เครื่องหมายหรือรหัสต่างๆ ฯลฯ ซึ่งผู้ส่งสารถือเป็นองค์ประกอบแรกที่ทำให้การสื่อสารเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันสิ่งที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้ส่งสารก็คือ ทัศนคติ ค่านิยม ความสนใจ ประสบการณ์ อาชีพและวัฒนธรรม ทั้งของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ทั้งนี้เพราะทัศนคติ ค่านิยม และความสนใจจะสะท้อนบุคลิกภายในที่แสดงความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อและความคาดหวังอันเป็นตัวกำหนดรูปแบบ ตลอดจนวิธีการของการสื่อสาร นั่นคือ ถ้าผู้ส่งสารมีความรู้สึกนึกคิดไปในทางที่เป็นวิชาการ การสื่อความหมายก็จะมีแนวโน้มไปในทางด้านเนื้อหาวิชาการ

ภาษากับการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ภาษากับการสื่อสารมีอะไรบ้าง

2. สาร หมายถึง เรื่องราวหรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นข้อมูล ความรู้ ความคิด อารมณ์ ฯลฯ ที่ผู้ส่งสารต้องการจะส่งออกไปให้ผู้อื่นได้รับรู้แล้วเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง สารต่างๆ จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารเกิดความคิด และกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ปรากฏแทนความคิด และกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏแทนความคิดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดก็ตาม ต้องอาศัยทักษะของผู้กระทำทั้งสิ้น เนื้อหาของสารที่มนุษย์สื่อสารกันนั้นมีขอบเขตที่กว้างขวาง ซับซ้อน

ภาษากับการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ภาษากับการสื่อสารมีอะไรบ้าง

3. สื่อหรือช่องทาง คือ ตัวกลางที่เชื่อมโยงผู้ส่งสารผู้รับสารให้ติดต่อกันได้ หากขาดสื่อก็ไม่สามารถถ่ายทอดสารจากผู้ส่งไปถึงผู้รับได้ การถ่ายทอดสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยผ่านสื่อใดสื่อหนึ่งนั้น จะต้องผ่านสู่ระบบการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของผู้รับในทางใดทางหนึ่ง เช่น เสียงพูดต้องอาศัยคลื่นเสียงอากาศที่อยู่รอบตัวเข้าสู่ผู้รับสารโดยผ่านประสาทหู ในการสื่อสารทางวิทยุ โทรทัศฯ ภาพและแสงจะผ่านระบบวิทยุ โทรทัศน์ที่ผู้ส่งและผู้รับปรับตรงกันเข้าสู่ประสาทตา และประสาทหู ในเวลาเดียวกัน

4. ผู้รับสาร คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นจุดหมายปลายทางของสารที่ผู้ส่งสารส่งมา ซึ่งผู้รับสารมีบทบาทขั้นพื้นฐาน 2 ประการที่สำคัญ คือ การกำหนดความรู้ความหมายของเรื่องราวที่ส่งสาร ส่งผ่านสื่อและการมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อผู้ส่งสาร ซึ่งผู้รับสารจะสามารถทำหน้าที่ตามบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อได้พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รับรู้เรื่องราวข่าวสารต่างๆ อยู่เสมอ มีความรู้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง สามารถบังคับความสนใจของตนให้อยู่ที่สารที่ผู้ส่งสารกำลังนำเสนออยู่ได้

ภาษากับการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ภาษากับการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5. ปฏิกิริยาตอบสนอง ในกระบวนการสื่อสารจะครบองค์ประกอบได้ก็ต่อเมื่อมีการตอบสนองเกิดขึ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งการตอบสนองในที่นี้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงท่าทีและพฤติกรรมของผู้รับสารที่แสดงออกมาให้ผู้ส่งสารได้รับทราบ อันเป็นผลมาจากได้รับสารแล้ว ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งสารได้ทราบว่า สารที่ส่งไปนั้นตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ อย่างไร

ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของคน ในสังคม ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วย ถ้อยคำที่ดีจะช่วยให้คนในสังคมอยู่กันอย่างปกติสุข ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของคนในสังคม ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา

วัจนภาษา (verbal language)
วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษา หรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา และความเหมาะสมกับลักษณะ การสื่อสาร ลักษณะงาน เป้าหมาย สื่อและผู้รับสาร

วัจนภาษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียงวิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย

2. ภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด ภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึกภาษาพูด เป็นตัวแทนของภาษาพูดในโอกาสต่าง ๆ แม้นักภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาเขียนมิใช่ภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ แต่ภาษาเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์ มาเป็นเวลาช้านาน มนุษย์ใช้ภาษาเขียนสื่อสารทั้งในส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาเขียนสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมายหากมนุษย์รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาส และสถานการณ์