เศรษฐศาสตร์มหภาค มีอะไรบ้าง

ที่มารูปภาพ : https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99&espv=2&biw=1242&bih=602&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjdj5CU9_zQAhWIO48KHTB4AIQQ_AUIBygC&dpr=1.1#imgrc=PfTDm4409OCFuM%3A

         เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาหน่วยกิจส่วนรวม เช่น การผลิต รายได้ประชาชาติ การบริโภคการออม การลงทุน การจ้างงาน ภาษีอากร การคลังสาธารณะ การค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ

         การศึกษาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค เป็นการศึกษาที่ได้เน้นด้านการเพิ่มขึ้นของผลผลิตประชาชาติ การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานและการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ความหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         จอห์น เมนารด เคนส์ “ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มิได้ให้ข้อสรุปที่จะนำมาใช้ได้กับนโยบายได้ทันทีโดยทฤษฏี เศรษฐศาสตร์เป็นวิธีการมากกว่าเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นเทคนิคในการคิดซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง”
         ลีออลเนล รอบบินส์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน
         โดยทั่วไปแล้วเป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด

         เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลิตผลรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต และ อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมีความสำคัญดังนี้         1. ประชาชนทั่วไป ในฐานะเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ามีความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจ ก็จะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการบริหารประเทศของรัฐบาลและสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น
         2. ผู้ประกอบการ ไม่ว่าผู้ประกอบการอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และเป็นการลดความเสียงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย
         3. เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงใน "ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค" เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การเงินการคลัง และการธนาคาร วัฎจักรเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะเป็นเครื่องมือขั้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจในขั้นต่อไป 

ที่มา:http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit3/chapter3/chapter3_3/mi_macroeconomics/macroeconomics.html

แน่นอนว่า การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้นย่อมมีปัจจัยหลากหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการและการบริหารงานของบริษัท ซึ่งถึงแม้ว่าเศรษฐกิจมหภาคอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลาย ๆ คน นโยบายต่าง ๆ ระดับมหภาคของแต่ละประเทศมีผลกระทบต่อการทำงานในด้านธุรกิจไม่น้อยเลยทีเดียว 

ดังนั้นผู้บริหารองค์กรและบริษัทต่าง ๆ ควรทำความเข้าใจและรู้จักการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับมหภาค ของทั้งในและต่างประเทศ เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และ scale บริษัทของคุณให้ไปไกลข้ามพรมแดน

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น มีหลากหลายด้านและหลากหลายรูปแบบ โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลโดย 5 ตัวชี้วัดหลัก ๆ นี้ เป็นวิธีที่รวดเร็วและครบถ้วนสำหรับนักธุรกิจที่กำลังมองหาวิธีการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ในการบริหารองค์กร

1. Growth - การวัดผลการเติบโตของประเทศ

เศรษฐศาสตร์มหภาค มีอะไรบ้าง

การวัดผลการเติบโตของประเทศต่าง ๆ นั้น ในระดับมหภาค จะถูกวัดจากตัวชี้วัดที่เรียกว่า Gross Domestic Product (GDP) ของประเทศ ดังนั้นผู้บริหารธุรกิจควรที่จะเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของประเทศ

GDP ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? 

สมการที่ GDP = C + I + G + NX

  • C = Consumption
  • I = Investment
  • G = Government Spending
  • NX = Net Exports = Exports - Imports

คำถามที่สำคัญมากกว่าอัตราการโตของเศรษฐกิจ คือ อะไรคือสิ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต? 

สองสิ่งหลัก ๆ คือ ทุน (Capital) กับ แรงงาน (Labour) ซึ่งมีผลกระทบอย่างสูงต่อการบริหารธุรกิจ ซึ่งปัจจัยในระดับมหภาคที่ส่งผลต่อแรงงาน ตัวอย่างเช่น แรงงานขึ้นต่ำ (minimum wage) หรือกฎหมายควบคุมแรงงานต่าง ๆ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการบริหารพนักงานและแรงงานในธุรกิจเป็นอย่างสูง

ดังนั้นผู้บริหารจัดการบริษัทและองค์กร ควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้อยู่เสมอ เพราะเป็นปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ และมีผลกระทบต่อ production costs

2. Inflation & Interest Rates - อัตราเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ย

เศรษฐศาสตร์มหภาค มีอะไรบ้าง

ธุรกิจที่มีการส่งออกและนำเข้าของนั้น ควรรู้จักผลกระทบของค่าอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยให้ถี่ถ้วน

อัตราเงินเฟ้อนั้น มีผลกระทบต่อ ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ การที่อัตราเงินเฟ้อสูงนั้น ทำให้ราคาของสินค้าส่งออกนั้นมีค่าสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อสินค้าที่ส่งออกนั้นมีราคาสูงขึ้น แน่นอนว่า ความต้องการ หรือ demand ของสินค้านั้น ๆ จากต่างประเทศย่อมลดลง จึงทำให้ความต้องการของสกุลเงินประเทศนั้น ๆ ลดลงไปเช่นกัน จึงส่งผลให้ค่าเงินอาจอ่อนตัวลง และอาจทำให้การลงทุนจากต่างชาติมีมากขึ้น 

นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศนั้น มีผลต่อการใช้จ่ายของคนในสังคมและแน่นอน ผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ มากมาย การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเทศนั้น สามารถให้ข้อมูลเกี่ยงกับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ เช่น การที่ธนาคารแห่งชาติลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้น เป็นการสนับสนุนให้คนใช้จ่ายมากขึ้น และกู้เงินมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ 

ดังนั้น นักธุรกิจควรทำความเข้าใจและติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปรับนโยบยการขายให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ

3. Unemployment - อัตราการว่างงาน

เศรษฐศาสตร์มหภาค มีอะไรบ้าง

อัตราการว่างงานบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจ? 

  • อัตราการว่างงาน สามารถบ่งบอกถึงปัญหาของประเทศนั้น เช่น ค่าแรงงานที่สูง หรือการคมนาคมที่ยากลำบากภายในประเทศ หรือบางครั้ง อาจมีสาเหตุมาจากกฎหมายต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ ที่ส่งผลต่อการจ้างงาน โดยปัจจัยเหล่านี้ย่อมมีผลต่อการทำธุรกิจ 
  • ดั้งนั้น การศึกษาสาเหตุของการว่างงานในประเทศนั้น ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการวิเคราะห์การทำธุรกิจในประเทศนั้น ๆ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อ cost ของการทำธุรกิจ และ profitability ได้

4. Balance of Payments & Exchange Rates - ดุลการชำระเงิน และ อัตราการแลกเงิน

เศรษฐศาสตร์มหภาค มีอะไรบ้าง

External Balance เกิดขึ้นเมื่อประเทศสามารถควบคุม Balance of Payments ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ Current Account + Capital Account = Financial Account 

  • Current Account = รายได้รวมสุทธิของดุลการค้า ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิและรายได้ทุติยภูมิ
  • Capital Account = รายได้รวมสุทธิที่เกิดจาก (1) การโอนย้ายเงินทุนทั้งในรูปตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน เช่น เงินทุน ให้เปล่าในรูปของเงินทุนหรือสินค้าทุน หรือการโอนสิทธิในทรัพย์สินถาวร และ Debt forgiveness และ (2) การซื้อขายทรัพย์สินที่ผลิตขึ้นไม่ได้ และมิใช่ทรัพย์สินทางการเงิน เช่น ที่ดิน สิทธิบัตร และ เครื่องหมายการค้า
  • Financial Account = ธุรกรรมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสินทรัพย์และ หนี้สิน ทางการเงินระหว่างประเทศ เช่น Direct Investment (การลงทุนที่ผู้ลงทุนมีส่วนเข้าไปเป็นเจ้าของกิจการ) และ Portfolio Investment (การลงทุนกลุ่มหลักทรัพย์) เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว กิจการที่มีการลงทุนแบบ Direct Investment มักมีความผันผวนน้อยกว่า เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติลงทุนในระยะยาวและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหาร

การที่นักธุรกิจเข้าใจพื้นฐานของการรักษา external balance ให้มีความสมดุลนั้นจะสามารถทำให้ผู้บริหารอย่างคุณสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่อาจเกิดขึ้นได้ 

นอกจากนี้ แน่นอนว่าอัตราการแลกเงิน (Exchange Rates) มีผลกระทบเป็นอย่างสูงต่อธุรกิจที่มีการ import หรือ export ผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ หรือมีการซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ เมื่ออัตราค่าแลกเงินมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อค่าเงินไทยอ่อนตัวลง นักธุรกกิจสามารถวิเคาระห์ถึงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดสภาวะนั้น ๆ ได้ เช่น อาจเป็นเพราะ demand ของ ของที่ export ออกจากประเทศอาจลดลง เมื่อศึกษาข้อมูลให้ละเอียด จะสามารถทำให้นักธุรกิจมองเห็นถึงเทรนด์ระดับมหภาค ว่า demand ที่ลดลงนั้นส่วนมากเป็น industry ไหน ตรงกับบริษัทหรือหน่วยงานของเราหรือไม่ และปรับตัวรับมือได้ทัน

5. Debt & Deficits - หนี้และการขาดดุล

เศรษฐศาสตร์มหภาค มีอะไรบ้าง

หนี้ของประเทศที่นักธุรกิจควรจับตามองนั้น คือหนี้ที่ติดค้างจากต่างประเทศ การที่ประเทศมีหนี้ที่ติดค้างจากประเทศอื่นมากนั้นอาจส่งผลต่อภาคธุรกิจเอกชน เนื่องจาก หากต่างประเทศมีความลังเลในการให้ประเทศของเรากู้เงิน อาจทำให้เกิดการอ่อนตัวลงของค่าเงิน และการใช้จ่ายที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อกำไรของบริษัทได้ 

การขาดดุล เกิดจากการที่รัฐบาลมีการใช้จ่าย (Government Spending) มากกว่ารายได้ (Revenue) ที่มี ซึ่งการขาดดุลนั้น ส่งผลกระทบให้อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย 

การลดหนี้และการขาดดุลของประเทศนั้น ทางรัฐบาลอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย เช่น การเพิ่มภาษี  ดังนั้นนักธุรกิจจึงควรตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคอยู่ตลอดเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับมาตราการการเปลี่ยนแปลงระดับชาติของแต่ละประเทศที่จะส่งผลต่อการทำธุรกิจได้ 

ความสามารถในการวิเคราะตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวนี้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในการบริหารธุรกิจ เมื่อคุณเข้าใจ 5 ตัวชี้วัดนี้ได้แล้ว คุณจะสามารถบริหารธุรกิจของคุณให้ก้าวกระโดดได้ในอีกไม่ช้า! 

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเตรียมรับมือกับการเติบโตแบบก้าวกระโดดข้ามพรมแดน ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดย คุณกระทิง พูนผล อ่านรายละเอียด คลิก https://www.disruptignite.com

เศรษฐศาสตร์มหภาคมีลักษณะตามข้อใด

เศรษฐศาสตร์มหภาค (จาก มห- แปลว่า "ใหญ่" + เศรษฐศาสตร์) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถ โครงสร้าง พฤติกรรม และการตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งประกอบไปด้วยเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับโลก นักเศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาดัชนีรวม อาทิ จีดีพี อัตราการว่างงาน รายได้ประชาชาติ ดัชนีราคา และ ...

เศรษฐกร ทำอะไรบ้าง

นักเศรษฐศาสตร์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่อาจไม่คุ้นหูเท่า คือ เศรษฐกร เป็นผู้ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล คล้ายนักวิจัย โดยมีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินขององค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีการเสนอแนะ วางแผนนโยบาย เกี่ยวกับเรื่องงเศรษฐกิจและสังคม และยังแบ่งแยกย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ เช่น เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ...

เศรษฐศาสตร์มหภาคจะทำให้บุคคลมีความรู้ในเรื่องใด

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ศึกษาพฤติกรรมและ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม(Aggregate) เช่น ผลผลิต มวลรวม รายได้ประชาชาติ การบริโภคมวลรวม การลงทุนมวลรวม การใช้จ่ายของรัฐบาล และการจ้างงาน เป็นต้น

เศรษฐศาสตร์มีเรื่องอะไรบ้าง

การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ สามารถแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น 2 สาขาหลักๆ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค โดยเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะมุ่งเน้นศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับบุคคล โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจนั้นๆ และบุคคลหรือหน่วยงานสำคัญๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค จะศึกษาเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับชาติและระดับ ...