จิตสาธารณะมีอะไรบ้าง ตัวอย่าง

     1.1 การดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมในโรงเรียน คือ เมื่อมีการใช้แล้ว มีการเก็บรักษา ใช้แล้วเก็บเข้าที่เดิม การไม่ทิ้งเศษขยะในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน การไม่ขีดเขียนหรือทำลายวัสดุและอุปกรณ์ในห้องเรียนและในโรงเรียน เพื่อให้ของส่วนรวมอยู่ในสภาพดี เช่น การใช้ไม้กวาดแล้วเก็บเข้าที่เดิม การใช้หนังสือในห้องสมุดแล้วเก็บเข้าที่ การใช้อุปกรณ์กีฬาแล้วนำส่งคืน การใช้เครื่อง

การปลูกฝังจิตใจให้นักเรียนและบุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดจากภายใน "จิตสาธารณ" เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ มีความร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต  ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม

ความหมายของจิตสาธารณะ

จิตสาธารณะ (Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า "สาธารณะ" คือสิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกนึกคิดการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแลและบำรุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้ความสว่างตามถนนหนทาง แม้แต่การประหยัดน้ำประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา  แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม

จิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม

จิตสำนึกเพื่อส่วนรวมนั้นสามารถกระทำได้ โดยมีแนวทางเป็น 2 ลักษณะดังนี้

1. โดยการกระทำของตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม

2. มีบทบาทช่วยสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหา สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ความสำคัญของจิตสาธารณะ

จิตสาธารณะเป็นความรับผิดชอบซึ่งเกิดจากภายใน คือ ความรู้สึกนึกคิด จิตใต้สำนึก ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งอยู่ในจิต และส่งผลสู่การกระทำภายนอก  ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าเกิดจากการขาดจิตสำนึกของคนส่วนรวมในสังคมเป็นสำคัญ เช่น

  1. ปัญหายาเสพติด ซึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัวของผู้ขาย ไม่นึกถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปกับสังคม

2. ปัญหามลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากความไม่รับผิดชอบ ขาดจิตสำนึก เช่น

- การปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงาน โดยไม่ผ่านการบำบัด

- การจอดรถยนต์โดยไม่ดับเครื่องยนต์ ทำให้เกิดควันพิษ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่

- ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย

- ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง

- การใช้ทางเท้าสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม

- การทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง

- การฉีดสารเร่งเนื้อแดงในสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุกร ซึ่งมีผลต่อโรคภัยไข้เจ็บใน

มนุษย์ เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น

จิตสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในสังคม เยาวชนต้องให้ความสำคัญและตระหนักในสิ่งนี้  คือ

ความรับผิดชอบต่อตนเอง จิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง นับว่าเป็นพื้นฐานต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อตนเอง มีดังนี้

1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้

2. รู้จักการออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์

3. มีความประหยัด รู้จักความพอดี

4. ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย

5. ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ

6. มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้

ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการช่วยเหลือสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนได้รับความเสียหาย เช่น

1. มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ

2. มีความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ครู อาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์ ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของโรงเรียน ช่วยกันรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียน

3. มีความรับผิดชอบต่อเพื่อหรือบุคคลอื่น เช่น ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ไม่เอาเปรียบ เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

4. มีความรับผิดชอบในฐานะเป็นพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาทรัพย์สมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคมฐานะพลเมืองให้ความช่วยเหลือผู้อื่น

ดังนั้นการที่จะฝึกนิสัยและสร้างวินัยให้เกิดนิสัยจิตสาธารณะนั้นจะต้องเริ่มต้นที่ตัว

เราเองก่อน  โดยมีแนวทาง  ดังนี้

1. สร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อจนเองและต่อสังคม

2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเองคือส่วนหนึ่งของสังคม ต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ และโลกใบนี้

3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง  เช่นกัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ไข เช่น ช่วยกันดำเนินการโรงงานอุตสาหกรรมสร้างบ่อพักน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่คนนับถือ สอนให้คนทำความดีทั้งสิ้น ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้วย ทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ความมีจิตสาธารณะมีอะไรบ้าง

จิตอาสา หรือ มีจิตสาธารณะ” ยังหมายรวมถึง จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทาประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อ เป็นหลักการในการดาเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงใน ...

คนที่มีจิตสาธารณะมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะของผู้ที่มีจิตสาธารณะ จะต้องเป็น ผู้ที่ให้และคอยช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลตอบแทน ไม่เห็นแก่ตัว เข้าใจผู้อื่น ไม่เป็นคนใจแคบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

การมีจิตสาธารณะ ดีอย่างไร

ทำให้เราเป็นคนที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี – ทำให้เป็นที่รักใคร่จากผู้คนรอบข้าง และได้รับความเมตตา – ทำให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว คิดถึงส่วนรวมเป็นหลักมากกว่าประโยชน์ส่วนตน – ทำให้เป็นคนเข้าใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

มีจิตสาธารณะ (Public Mind) คืออะไร

จิตอาสา หรือ จิตสาธารณะ (public consciousness หรือ Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล และ บำรุงรักษาร่วมกัน