โรงพยาบาลราชพิพัฒน์สังกัดอะไร

��Թԡ�ѡ�����͹
�ӹѡ���ᾷ�� ��ا෾��ҹ��
• �繤�Թԡ����ɹ͡��������Ѻ����ѡ��� (MSM) �����ǻ������ͧ (TG)
   -����ԡ�õ�Ǩ�ͪ���� Ẻ���������ѹ����ҵ�Ǩ
   -����ԡ�õ�Ǩ�Ѵ��ͧ�Կ����
   -����ԡ�ô����Ե����յ��
   -����ԡ��Ẻ one stop service �¼������û�֡�Ҥ����ǡѹ��駡�͹��Ǩ�����ѧ��Ǩ
   -�����й�����ͧ�����ا�ҧ͹�������ᨡ�ا�ҧ͹���¾�������������蹿��
   -����ԡ�õ�Ǩ�ͪ������ЫԿ���ʷء�Է������ѡ�� ������¤�Һ�ԡ��
*** �����ŷ������ж١���繤����Ѻ*

โรงพยาลบาลส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร รักษาผู้ป่วยบัตรประกันสังคม ฝากท้อง คลินิกสูตินรีเวช, อายุรกรรม, โรคผิวหนัง, ศัลยกรรมกระดูก, กายภาพบำบัด, กุมารเวช, โรคไต, โรคเลือด, โรคจากการทำงาน, ทันตกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าคุกกี้ ยอมรับทั้งหมด

เนื่องในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษกฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 นำมาซึ่งความปลาบปลื้มยินดีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าต่างตระหนัก และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติ, พระศาสนา, และพสกนิกรของพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ถือเป็นพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่ง พระราชพิพัฒน์โกศลเจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ได้ปรารภกับนายเติม นางจ่าง พรมจีน พร้อมด้วยบุตรธิดา ถึงการจัดสร้าโรงพยาบาล เพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศล ในมหามงคลวโรกาสดังกล่าว เป็นสาธารณประโยชน์ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยทั่วไป นายเติม นางจ่าง พรมจีน พร้อมด้วยบุตรธิดาจึงมีจิตศรัทธาถวายที่ดินจำนวน 7 ไร่ ซึ่งบริเวณติดกับหมู่บ้านเศรษฐกิจ แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ให้พระราชพิพัฒน์โกศล ดำเนินการสร้างโรงพยาบาล

ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2539 ซึ่งเป็นวันประสูติครบรอบ 100 พรรษา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณ.ณสิริมหาเถร) องค์ที่ 17 โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดชนะสงคราม ประธานฝ่ายสงฆ์ ฯ พณฯ หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ องคมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารต่างๆ มาโดยลำดับ อาทิ

  1. อาคารผู้ป่วยนอก 1 หลัง
  2. อาคารผู้ป่วยใน 1 หลัง
  3. อาคารโรงนึ่งกลาง 1 หลัง
  4. อาคารหอพักพยาบาล 1 หลัง
  5. อาคารโรงโภชนาการ 1 หลัง
  6. อาคารร้านค้า
  7. อาคารห้องดับจิตร

ตลอดทั้งอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขออกแบบและปรับปรุงสถานที่ เช่น ทำกำแพง เทคอนกรีต จัดสวน และปลูกต้นไม้ รวมทั้งสิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมด 189,000,000 บาท  (หนึ่งร้อยแปดสิบเก้าล้านบาทถ้วน) โดยได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป และสมทบโดยกรุงเทพมหานคตั้งชื่อว่าโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ซึ่งมีความหมายว่า “พระราชาผู้ทรงทำความเจริญยิ่ง” เปิดบริการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2542

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ปัจจุบันได้ยกระดับศูนย์บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยพบแพทย์ผ่านทางออนไลน์ได้โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล

ทุกวันนี้ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้ให้บริการระบบการแพทย์ทางไกล ผ่าน Line OA @rrphospital พัฒนาโดยทีมงาน Dietz.asia โดยให้บริการผู้ป่วยใน 5 เขตของ กทม. ได้แก่ ทวีวัฒนา บางแค หนองแขม ภาษีเจริญ และตลิ่งชัน

ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา เช่น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม ข้าราชการ หรือ ชำระเงินเอง

จนถึงขณะนี้ หลังจากเปิดดำเนินการประมาณ 2 สัปดาห์ มีผู้ใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เกือบ 1,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 60 คนต่อแพทย์ 1 ท่าน ใกล้เคียงกับการออกตรวจของแพทย์ปกติที่อยู่ที่ 80 คนต่อวัน

นั่นสะท้อนว่า ระบบการแพทย์ทางไกล ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคนไข้ ลดเวลารอคอย ไม่ต้องหยุดงานเพื่อเดินทางมาโรงพยาบาลได้จริง

นอกจากนี้ ยังลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของโรงพยาบาล และลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ด้วย เช่น เจ้าหน้าที่เข็นรถ เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือคนไข้ พยาบาลจัดคิวคนไข้ เจ้าหน้าที่ห้องบัตร หรือ ลดการก่อสร้างขยายพื้นที่ ฯลฯ ได้อีกด้วย

ขณะนี้ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ อยู่ระหว่างการเตรียมการเชื่อมโยงกับระบบ API ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและถูกต้องในการตรวจสอบสิทธิการรักษา การออก Authen รวมถึงการเบิกจ่ายผ่านระบบ e-claim ซึ่งจะเป็น Sandbox และเป็นต้นแบบให้โรงพยาบาลแห่งอื่นดำเนินการ

ผู้ป่วยที่ต้องการใช้บริการ สามารถแอดไลน์ @rrphospital และกดปุ่มคนไข้ทั่วไป (OPD Telemedicine) ก็จะพร้อมเข้าใช้งาน โดยจะมีการลงทะเบียน ยืนยันตัวตน กรอกอาการที่ต้องการพบแพทย์ ตรวจสอบสิทธิการรักษา การคัดกรองโดยพยาบาล การนัดหมายแพทย์ พบแพทย์ออนไลน์ จัดส่งยา (ถ้ามี) พร้อมใบรับรองแพทย์ ให้ถึงบ้าน ด้วยระบบสารสนเทศที่ทันสมัย

ผู้ป่วยที่ต้องการใช้บริการสามารถแอดไลน์ Line OA @rrphospital ได้ทุกวัน 8.00 น. - 18.00 น. หรือ ติดต่อที่เฟซบุคเพจ https://web.facebook.com/Rachapiphat


ทำเนียบรัฐบาล--7 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้กรุงเทพมหานครจัดตั้งโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ขึ้นเป็นส่วนราชการใหม่ สังกัดสำนักการแพทย์ โดยกำหนดกรอบอัตรากำลังขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติงานในกรอบของโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงจำนวน 60 ตำแหน่ง ในปีงบประมาณ 2543
อนึ่ง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ตั้งอยู่บริเวณแขวงบางไผ่ เขตบางแค เกิดขึ้นจากพระราชพิพัฒน์โกศล เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย จัดสร้างถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางครองราชย์ครบ 50 ปี เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ โดยได้รับมอบที่ดินจากนายเจิม - นางจ่าง พรหมจีน จำนวน 7 ไร่ ในพื้นที่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 3 เพื่อใช้สร้างโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง แก่กรุงเทพมหานคร สำหรับเงินค่าก่อสร้างเป็นเงินที่ทางวัดได้รับบริจาคจากประชาชนสมทบกับเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานคร โดยโรงพยาบาลดังกล่าวเปิดบริการแล้วเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 ธันวาคม 2542--

รพ.ราชพิพัฒน์ สังกัดอะไร

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์รับบัตรทองไหม

เรียนผู้ใช้บริการสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)ทุกท่าน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จะเก็บค่าบริการสาธารณสุข ในอัตรา 30 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563. เมื่อผู้ใช้บริการยื่นบัตรที่งานเวชระเบียนแล้ว โปรดชำระค่าบริการ 30 บาท ที่ห้องการเงิน ก่อนเข้ารับการรักษาพยาบาลค่ะ 22 Shares.

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์มีห้องพิเศษไหม

ห้องพิเศษเดี่ยว ชั้น 4 อาคารสมเด็จพระสังฆราช ห้องพิเศษเดี่ยว หอผู้ป่วยชีวาภิบาล (เฉพาะผู้สูงอายุ) ห้องพิเศษรวม หอผู้ป่วยชีวาภิบาล (เฉพาะผู้สูงอายุ) ห้องพิเศษรวม หอผู้ป่วยประกันสังคม

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีกี่เตียง

ประกอบกับโรงพยาบาลราชพิพัฒน์รับผิดชอบโรงพยาบาลสนาม ๒ แห่ง ได้แก่ สีแดง ๔๐ เตียง) รวม ๓๔๐ เตียง ๑) โรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ ๑ ทวีวัฒนา (ผู้ป่วยโควิดสีเหลือง จำนวน ๑๐๐ เตียง ๒) วัดพระศรีสุดารามวรวิหาร จำนวน ๒๐๐ เตียง (ผู้ป่วยสีเหลือง ๒๐ เตียง สีเขียว ๑๘๐ เตียง)