เสขิยวัตรคืออะไร

ศีลของพระภิกษุที่มาในพระปาติโมกข์ ซึ่งพระต้องประชุมกันฟังทุกกึ่งเดือน มีจำนวนที่รู้ทั่วกันว่า “227 สิกขาบท” ดังที่มักพูดกันว่า “พระมีศีล 227”

ศีล 227 แบ่งเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดได้ดังนี้ –

(๑) ปาราชิก 4 สิกขาบท

(๒) สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท

(๓) อนิยต 2 สิกขาบท

(๔) นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท (เรียกสั้นว่า นิสสัคคีย์)

(๕) สุทธิกปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท (เรียกสั้นว่า ปาจิตตีย์)

(๖) ปาฏิเทสนียะ 4 สิกขาบท

(๗) เสขิยะ หรือเสขิยวัตร 75 สิกขาบท

(๘) อธิกรณสมถะ 7 สิกขาบท

รวม 227 สิกขาบท

“เสขิยวัตร” เป็น 75 ใน 227

คำว่า “เสขิยวัตร” อ่านว่า เส-ขิ-ยะ-วัด ประกอบด้วย เสขิย + วัตร

(๑) “เสขิย”

อ่านว่า เส-ขิ-ยะ คำเดิมมาจาก เสข + อิย ปัจจัย

(ก) “เสข” รากศัพท์มาจาก สิกฺขฺ (ธาตุ = ศึกษา, ฝึกหัด) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อิ ที่ สิ-(กฺข) เป็น เอ แล้วลบ กฺ (สิกฺขฺ > เสกฺข > เสข)

: สิกฺขฺ + ณ = สิกฺขณ > สิกฺข > เสกฺข > เสข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ศึกษาอยู่” หมายถึง

(1) เกี่ยวด้วยการฝึกอบรม, ยังต้องศึกษา, ยังไม่สมบูรณ์ (belonging to training, in want of training, imperfect)

(2) ผู้ยังต้องศึกษา แสดงถึงผู้ที่ยังมิได้บรรลุพระอรหันต์ (one who has still to learn, denotes one who has not yet attained Arahantship)

(ข) เสข + อิย ปัจจัย

: เสข + อิย = เสขิย แปลว่า “กฎที่พึงศึกษา” หมายถึง กฎเกณฑ์เกี่ยวเนื่องกับการฝึกอบรม (rule connected with training)

(๒) “วัตร”

(1) บาลีเป็น “วตฺต” (วัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = ถือเอา, ประพฤติ) + อ (อะ) ปัจจัย

: วตฺต + อ = วตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ข้อที่ควรถือประพฤติ”

(2) บาลีเป็น “วต” (วะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(ก) วตฺ (ธาตุ = เป็นไป) + อ (อะ) ปัจจัย

: วตฺ + อ = วต แปลตามศัพท์ว่า “การที่เป็นไปตามปกติ”

(ข) วชฺ (ธาตุ = ปรุงแต่ง, กระทำ) + อ (อะ) ปัจจัย, แปลง ช เป็น ต

: วชฺ > วต + อ = วต แปลตามศัพท์ว่า “การอันเขาปรุงแต่ง”

“วตฺต” หรือ “วต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัตร” หมายถึงกิจที่ควรถือประพฤติ, กิจพึงกระทำ, ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งที่ทำ, หน้าที่, การบริการ, ประเพณี, งาน (observance, vow, virtue, that which is done, which goes on or is customary, duty, service, custom, function)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“วัตร, วัตร– : (คำนาม) กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).”

เสขิย + วตฺต = เสขิยวตฺต > เสขิยวัตร แปลว่า “วัตรที่พึงศึกษา”

คำว่า “ศึกษา” หรือ “สิกขา” ในพระพุทธศาสนามิได้หมายความเพียงแค่ว่าเรียนให้รู้ไว้ แต่หมายถึงเรียนให้เข้าใจชัดแล้วปฏิบัติให้ได้จริง

“เสขิยวัตร” นี้เรียกเป็น “เสขิยะ” ด้วย

ขยายความ :

หนังสือ “วินัยมุข เล่ม ๑” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตอนอธิบายเสขิยะมีข้อความเบื้องต้นดังนี้ –

…………..

ศัพท์นี้เป็นชื่อของธรรมที่ได้แก่วัตร หรือธรรมเนียมอย่างเดียว แปลว่าควรศึกษา จัดเป็นหมวดได้ ๔ หมวด

หมวดที่ ๑ เรียกว่าสารูป ว่าด้วยธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน,

หมวดที่ ๒ เรียกโภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉันอาหาร,

หมวดที่ ๓ เรียกธรรมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมไม่ให้แสดงธรรมแก่บุคคลแสดงอาการไม่เคารพ,

หมวดที่ ๔ เรียกปกิณณกะ ว่าด้วยธรรมเนียมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ.

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “เสขิยวัตร” ไว้ดังนี้ –

…………..

เสขิยวัตร : วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา, ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียกหรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ มี ๗๕ สิกขาบท จำแนกเป็น สารูป ๒๖, โภชนปฏิสังยุต ๓๐, ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ๑๖ และปกิณกะคือเบ็ดเตล็ด ๓, เป็นหมวดที่ ๗ แห่งสิกขาบท ในบรรดาสิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ ท่านให้สามเณรถือปฏิบัติด้วย

                                          ปาฏิเทสนียะ  และเสขิยวัตร

๑.  เสขิยวัตร  มีความหมายว่าอย่าไร  จงอธิบายพอได้ความ  ?

เสขิยวัตร  ได้แก่ธรรมเนียมที่ภิกษุพึงศึกษา  พึงปฏิบัติเพื่อให้มีกิริยามารยาทอันดีงาม  ฯ     

๒.  เสขิยวัตรสำคัญอย่างไร  ถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องอาบัติอะไร  เพราะเหตุไร  จึงตอบอย่างนั้น  ?

เสขิยวัตรสำคัญอย่างนี้  คือ  เป็นวัตรที่ภิกษุสามเณรต้องศึกษาให้รู้ธรรมเนียมกิริยามารยาท  ในเวลาเข้าบ้าน  รับบิณฑบาต  และฉันอาหาร  เป็นต้น  เพื่อป้องกันไม่ให้โลกติเตียน  และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา  ถ้าไม่ปฏิบัติตาม  ต้องอาบัติทุกกฏ  เหตุที่ตอบอย่างนี้  เพราะข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามก็ดี  ทรงอนุญาตก็ดี  เมื่อไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิดฐานไม่เอื้อเฟื้อ ฯ          

๓.  เสขิยวัตร  สำคัญอย่างไร  ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะต้องอาบัติอะไร   เพราะเหตุไรจงต้องอาบัติเช่นนั้น? (๙ / ๔๑) 

ต้องอาบัติทุกกฎ เพราะข้อที่ทรงห้ามก็ดี ข้อที่ทรงอนุญาตก็ดีเมื่อไม่ปฏิบัติตาม ย่อมมีความผิดฐานไม่เอื้อเฟื้อต่อพระวินัย

๔.  เสขิยวัตร  จัดเข้าในวินัยประเภทไหน ?

๕.  เสขิยวัตรแต่ละหมวดว่าด้วยเรื่องอะไร?

หมวดที่  ๑ เรียกว่า สารรูป ว่าด้วยธรรมเนียม ควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน

      หมวดที่  ๒ โกชนปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉันอาหาร

        หมวดที่  ๓ เทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมไม่ให้แสดงธรรมแก่บุคคลที่แสดงอาการไม่เคารพ

หมวดที่  ๔  เรียกว่า ปกิณณกะ  ว่าด้วยธรรมเนียมถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

๖. ทรงสอนให้ภิกษุสำรวมตาอย่างไร ?

เราจักมีตาทอดลงไป-นั่งในบ้าน

๗. ทรงสอนการรับบิณฑบาตที่น่าเลื่อมใสไว้อย่างไรบ้าง  ?

บิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ,จักมองดูแต่ในบาตร,รับเสมอขอบบาตร

๘.  ทางสอนให้ช่วยกันรักษาสิงแวดล้อมไว้อย่างไร  ? 

ไม่เอาน้ำบาตรที่มีเม็ดข้าวเทในละแวกบ้าน,จักไม่ถ่ายอุจารุ ปัสสาวะ ม้วนเขฬะลงในของเขียว

๙.  ภิกษุละเมิดเสขิยวัตร  ต้องอาบัติอะไร  ?

๑๐.  ภิกษุยืนถ่ายปัสสาวะ  ต้องอาบัติอะไรหรือไม่  จงชี้แจง  ?

ถ้าเธอเป็นไข้  ไม่ต้องอาบัติ  แต่ถ้าไม่เป็นไข้  ต้องทุกกฏ  ตามสิกขาบทที่  ๑  แห่งหมวดปกิณณกะ  แห่งเสขิยวัตร ฯ      

๑๑.  ธรรมเนียมของภิกษุ  ถืออิริยาบถยืนเป็นการเคารพ  หากว่าภิกษุผู้หวังความเคารพในพระธรรมวินัยตามธรรมเนียมนี้  จึงยืนทำกิจต่างๆ  จะมีทางผิดธรรมเนียมข้อไหนบ้างหรือไม่  ?

มี  ผิดธรรมเนียมข้อ  ๑๔  แห่งธรรมเทสนาปฏิสังยุตว่า  เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่  และข้อที่  ๑  แห่งปกิณณกะว่า  เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ  ฯ     

๑๒.  ภิกษุบ้วนเขฬะลงในสนามหญ้า  ต้องอาบัติอะไร  ?

ต้องอาบัติทุกกฏ  ตามสิกขาบทที่  ๒  แห่งเสขิยวัตร  หมวดปกิณณกะ  เว้นแต่เป็นไข้  ไม่เป็นอาบัติ ฯ

๑๓.  ภิกษุนุ่งห่มจีวรไม่เรียบร้อย  ต้องอาบัติอย่างไร  ตามสิกขาบทไหน  ?

ต้องอาบัติทุกกฎ  ตามเสขิยวัตร  หมวดที่  ๑  เรียกว่าสารูป  ข้อ  ๑.๒     

๑๔.  เรื่องมารยาทผู้ดี  พระพุทธเจ้าทรงเน้นมาก  ขอให้นำสิกขาบทที่เกี่ยวกับ

๑.  การยืน  ๒.  การเดิน  ๓.  การนั่ง  ๔.  การนอน  ๕.  การนิ่ง  มาดูอย่างละข้อ  ?

๑.  สิกขาบทเกี่ยวกับการยืน  เช่น  สิกขาบทที่  ๑  แห่งหมวดปกิณณกะ  ในเสขิยวัตร  ความว่า  “เราไม่เป็นไข้  จะไม่ยืนถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  ถ้ายืนถ่าย  เป็นอาบัติทุกกฎ

๒.  สิกขาบทเกี่ยวกับการเดิน  เช่น  สิกขาบทที่  ๗  แห่งสัปปาณวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุชวนผู้หญิงเดินร่วมทางกัน  แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง  ต้องปาจิตตีย์”

๓.  สิกขาบทเกี่ยวกับการนั่ง  เช่น  สิกขาบทที่  ๔  แห่งอเจลกวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุนั่งในห้องกับหญิง  ไม่มีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อน  ต้องปาจิตตีย์”

๔.  สิกขาบทเกี่ยวกับการนอน  เช่น  สิกขาบทที่  ๖ แห่งมุสาวาทวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุนอนในที่มุงบังอันเดียวกันกับผู้หญิง แม้ในคืนแรก  ต้องปาจิตตีย์”

๕.  สิกขาบทเกี่ยวกับการนิ่ง  เช่น  สิกขาบทที่  ๒  แห่งภูตคามวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น  (หรือ)  ในเพราะการนิ่งเสียทำให้สงฆ์ลำบาก”

๑๕.  ครองผ้าอย่างไร  เรียกว่าปริมณฑล  ? (๗ / ๓๗) 

นุ่งปิดสะดือ ปกเข่าทั้ง 2เรียกว่านุ่งเป็นปริมณฑล,ห่มเข้าบ้านปิดหลุมคอ ปกข้อมือทั้ง 2 ปกเข่าทั้ง 2 เรียกว่าห่มเป็นปริมณฑล

๑๖.  ภิกษุจ้องดูบาตรของตนขณะฉันบิณฑบาต ต้องอาบัติหรือไม่ ถ้าจ้องดูบาตรของผู้อื่นเล่า ต้อง อาบัติอะไรหรือไม่ ตอบให้มีหลัก ?

ไม่ต้องอาบัติอะไร ถ้าจ้องดูบาตรของผู้อื่นด้วยอันคิดจะยกโทษ ต้องอาบัติทุกกฎ ตามสิกขาบทที่ ๑๒ โภชนะปฎิสังยุต  เสขิยวัตรหากดูด้วยเอื้อเฟื้อ จะให้ของฉันที่ผู้อยู่ใกล้เคียง ไม่มี ไม่ต้องอาบัติ ฯ

๑๗.  โภชนะปฏิสังยุตข้อ ๑๗ , ๒๒ , ๒๓ , ๒๔  ,๒๕  มีความว่าอย่างไร  ?

ข้อ ๑๗ พึงศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด

ข้อ ๒๒ พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉัน ทำเมล็ดข้าวให้ตก

ข้อ ๒๓ พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น

ข้อ  ๒๔  พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับๆ

ข้อ  ๒๕  พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูดๆ

๑๘.  ตามพระวินัย  ภิกษุถืออิริยาบถไหนเป็นอิริยาบถเคารพ  จงตอบอ้างที่มาด้วย ?

ถืออิริยาบถยืนเป็นอิริยาบถที่เคารพ ดังในสิกขาบทธัมมเทสนาปฏิสังยุต เสขิยวัตรว่าภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่)

๑๙.  การนุ่งเป็นปริมณฑล คือการนุ่งอย่างไร?  (๑๐ / ๔๕)  

เบื้อบนนุ่งปิดสะดือ เบื้องล่างปิดหัวเขาทั้ง 2 ลงเพียงครึ่งแข้ง

๒๐.  เสขิยวัตรว่าด้วยการรับบิณฑบาตมีหลายข้อ  จงระบุมาเพียง ๒ ข้อ ?

รับบิณฑบาตโดยเคารพ,รับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก,หรือรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาต,

เมื่อรับบิณฑบาต จักแลดูแต่ในบาตร

๒๑.  เสขิยวัตร  คืออะไร? หมวดที่  ๒ ว่าด้วยเรื่องอะไร?  (๙ / ๔๖)

วัตรที่พระภิกษุจำต้องศึกษา  หมวดที่  ๒ ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉันอาหาร

๒๒.  ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร ปฏิบัติผิดธรรมเนียม  ต้องอาบัติอะไรบ้าง?

๒๓.  ทรงสอนให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมไว้อย่างไร ?

เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวเทลงในละแวกบ้านจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในน้ำ

๒๔.  อธิกรณ์ คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

อธิกรณ์คือเรื่องที่เกิดขึ้นต้องจัดทำให้เรียบร้อยมี ๔ ประเภท คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ 

อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ฯ

๒๕.  การอุปสมบทเป็นอธิกรณ์หรือไม่เพราะเหตุไร ระงับด้วยวิธีไหน ?

การอุปสมบทจัดเป็นอธิกรณ์ คือเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะเป็นกิจที่สงฆ์จะพึงทำ คือสำเร็จกิจได้ ต้องอาศัยสงฆ์จัดทำ ระงับด้วย สัมมุขาวินัย ฯ

๒๖.  ปาฏิเทสนียะ   หมายถึงอะไร  ?  มีกี่สิกขาบท  ?

หมายถึง  อาบัติที่จะพึงแสดงคืน  มี  ๔  สิกขาบท  ฯ

๒๗.  วิวาทาธิกรณ์คืออะไร  ระงับด้วยสมถะอะไร ?

วิวาทาธิกรณ์ คือ การถกเถียงกันปรารภธรรมวินัยว่า อย่างนี้ถูก อย่างนี้ผิด ระงับด้วยสัมมุขาวินัยเยภุยยสิกา ฯ

คำว่าเสขิยวัตรหมายถึงอะไร

เสขิยวัตร เป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา จัดเป็น 4 หมวด ได้แก่ สารูป(ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน) มี 26 ข้อ โภชนปฏิสังยุต(ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี 30 ข้อ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต(ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี 16 ข้อ

เสขิยวัตร คืออะไร มีกี่หมวด

เสขิยวัตร ประกอบด้วย 4 หมวด หมวด “สารูป” มี 26 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำรวม ระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะสม หมวด “โภชนปฏิสังยุต” มี 30 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร

เสขิยวัตรคืออะไรต้องอาบัติอะไร

๙. ภิกษุละเมิดเสขิยวัตร ต้องอาบัติอะไร ? ต้องอาบัติทุกกฎ ๑๐. ภิกษุยืนถ่ายปัสสาวะ ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ จงชี้แจง ? ถ้าเธอเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ แต่ถ้าไม่เป็นไข้ ต้องทุกกฏ ตามสิกขาบทที่ ๑ แห่งหมวดปกิณณกะ แห่งเสขิยวัตร

เสขิยวัตร 75 มีอะไรบ้าง

๑. "ปะริมัณฑะลัง นิวาเสสสามีติ สิกขา กะระณียา. ๒. "ปะริมัณฑะลัง ปารุปิสสามีติ สิกขา กะระณียา. ๓. "สุปะฏิจฉันโน อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา. ๔. "สุปะฏิจฉันโน อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.