การตรวจสุขภาพประจําปี ตรวจอะไรบ้าง

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี อายุเท่าไหร่ควรตรวจอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพประจําปี ตรวจอะไรบ้าง


สารบัญบทความ
 

  • ตรวจสุขภาพประจำปี-มีความสำคัญอย่างไร​
  • การตรวจสุขภาพประจำปี-ต้องตรวจอะไรบ้าง
  • รายละเอียดการตรวจสุขภาพประจำปี
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี
 

ตรวจสุขภาพประจำปี มีความสำคัญอย่างไร​

“การตรวจสุขภาพ” นอกจากจะเป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอแล้ว ยังเป็นการวางแผนครอบครัวอีกด้วย เช่น หากเรามีโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมที่อาจส่งต่อให้ลูกหลานเรา เราจะได้วางแผนในกรณีที่สุขภาพกระทบไปถึงสมาชิกในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้ว่าเราอาจจะมีไลฟ์สไตล์ที่ดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจมีปัจจัยภายนอกอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัวได้ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ควันพิษจากท่อไอเสีย สารเคมีและสารก่อมะเร็งที่ตกค้างในผักและผลไม้ หรือโรคระบาดอย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือโรคโควิด-19

รวมถึงปัจจัยภายในอย่างโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพฤติกรรมของบุคคล เช่น การออกกำลังกายน้อยลง การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์มากขึ้น การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น มีความเครียดสะสมมากขึ้น พักผ่อนน้อย ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพได้

การดูแลตัวเองที่มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันการเกิดโรค คือ การตรวจสุขภาพประจำปีนั่นเอง
 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี ? 

 
  • เพื่อป้องกันหรือรักษาโรค โรคบางโรคไม่แสดงอาการเจ็บป่วยที่เห็นได้ชัด การตรวจสุขภาพสามารถค้นหาโรคเหล่านั้นเพื่อบรรเทาหรือรักษาให้ได้ทันท่วงที
  • เพื่อให้เราสังเกตตัวเองเสมอ บางทีเราอาจมีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น รับประทานอาหารรสจัดมากขึ้น ออกกำลังกายน้อยลง ฯลฯ การตรวจสุขภาพสามารถทำให้เห็นร่างกายของเราในแต่ละช่วงเวลาได้ และทำให้เราไม่ลืมที่จะดูแลตัวเองอยู่เสมอ
  • เพื่อวางแผนสุขภาพของคนในครอบครัว หากมีโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอยู่ สมาชิกในครอบครัวจะได้ดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อบรรเทาหรือรักษาให้โรคต่างๆดีขึ้นได้
 

การตรวจสุขภาพประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี

การตรวจสุขภาพสามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุโดยแต่ละช่วงอายุจะมีความละเอียดต่างกัน ทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลที่อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติการเจ็บป่วยของแต่ละบุคคลด้วย โดยทั่วไปมักจะตรวจเบื้องต้น อย่างการซักประวัติทางสุขภาพ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และอื่นๆ เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไป

สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปีนั้นมักจะเป็นการตรวจทั่วไป สามารถดูรายละเอียดได้ในตารางด้านล่าง

ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป

การตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไปจะมีความละเอียดมากขึ้นเนื่องจากเป็นวัยที่มีแนวโน้มในเรื่องของพฤติกรรมเสี่ยงค่อนข้างมากในด้านการทำงาน อาจมีปัจจัยทางด้านความเครียดที่เพิ่มขึ้น จึงควรตรวจสุขภาพให้เป็นประจำทุกปี โดยการตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไปจะมีความละเอียดมากขึ้นด้วย นอกจากการประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปแล้วอาจมีการตรวจที่เพิ่มขึ้นเพื่อเจาะจงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดได้ตามช่วงอายุ สามารถดูรายละเอียดได้ในตารางด้านล่าง

คนแต่ละช่วงวัยจะมีโปรแกรมตรวจที่แตกต่างกันเพื่อให้ครอบคลุมโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุ โดยมีตัวอย่างตามช่วงวัยดังนี้ 
 

การตรวจที่แนะนำ

ต่ำกว่า 30 ปี30-39 ปี40-49 ปี50-59 ปี60 ปีขึ้นไป
การซักประวัติทางสุขภาพ สอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ประวัติการใช้ยา
การตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของของเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน
ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์
ตรวจการทำงานของไต เช่น ครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทั้งสองตัวนี้ช่วยเพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต
ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ภาวะดีซ่าน
ตรวจไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โดยตรวจจากส่วนประกอบของเชื้อ (HBsAg) และระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (HBsAb)
ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคเบาหวาน
ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ  วัณโรคและโรคต่างๆ ของปอด เช่น โรคปอดเกิดจาก PM 2.5 และ Covid-19
ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับอ่อน ม้าม ตับ ไต รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4    
ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เพื่อตรวจคัดกรองว่ามี เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือไม่ขณะออกแรงและช่วยหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกาย (ควรงดอาหารมื้อหนักๆ ก่อนทำการตรวจประมาณ 4 ชั่วโมง)    
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO) เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , ขนาดของห้องหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด, โรคลิ้นหัวใจพิการ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ, โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร)    
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9)      
สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125) ในสตรี      
สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษ      
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์และการตรวจหาเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก แนะนำในสตรีทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสเอช พี วี (HPV)
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมทุก 1-2 ปี เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย แนะนำให้ตรวจในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป    
Carotid Duplex Ultrasound การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Common Carotid Artery) ที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) ที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด เพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน    
การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ NBI (Narrow Band Image) ที่สามารถตัดติ่งเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องได้ในทันที โดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ฟื้นตัวได้เร็ว  ลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ     45 ปีขึ้นไป
สามารถ
ตรวจได้
สนใจโปรแกรมดูแลสุขภาพ
ลดสูงสุด 70% คลิก

รายละเอียดการตรวจสุขภาพประจำปี

  • การซักประวัติทางสุขภาพ สอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ประวัติการใช้ยา
  • การตรวจสุขภาพเบื้องต้น  เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)  ได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของของเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
  • ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์
  • ตรวจการทำงานของไต เช่น ครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทั้งสองตัวนี้ช่วยเพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต
  • ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ภาวะดีซ่าน
  • ตรวจไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โดยตรวจจากส่วนประกอบของเชื้อ (HBsAg) และระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (HBsAb)
  • ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคเบาหวาน
  • ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรคและโรคต่างๆ ของปอด เช่น โรคปอดเกิดจาก PM 2.5 และ Covid-19
  • ตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับอ่อน ม้าม ตับ ไต รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย
  • ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4
  • ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เพื่อตรวจคัดกรองว่ามี เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่ขณะออกแรง และช่วยหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกาย (ควรงดอาหารมื้อหนักๆ ก่อนทำการตรวจประมาณ 4 ชั่วโมง)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO) เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร)
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9)
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125)  สำหรับผู้หญิง
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สำหรับผู้ชาย
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์และการตรวจหาเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก แนะนำในสตรีทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสเอช พี วี (HPV)
  • การตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมทุก 1-2 ปี เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย แนะนำให้ตรวจในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasound) ที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) ที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด เพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน
  • การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ NBI (Narrow Band Image) ที่สามารถตัดติ่งเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องได้ในทันที โดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ฟื้นตัวได้เร็ว  ลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ โดยเฉพาะค่าความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย
  • กรุณางดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
  • กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง หากดื่มไปแล้ว ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลให้ทราบก่อนตรวจ
  • หากกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต สามารถรับประทานต่อได้ตามที่แพทย์แนะนำ
  • หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) หลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งเต้านมมีความคัดตึง ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือน

ค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี

แต่ละโรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพแตกต่างกัน โดยทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีครอบคลุมทุกเพศทุกวัย พร้อมเทคโนโลยีการตรวจที่ได้มาตรฐานสากล

ตัวอย่างการตรวจสุขภาพโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
 

  • โปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไป Basic Check-up (สำหรับทุกเพศ อายุต่ำกว่า 30 ปี)
  • Advanced Check-up (สำหรับเพศชายและหญิง อายุ 30 - 40 ปี)
  • Executive Check-up (สำหรับเพศชายและเพศหญิง อายุ 40 - 50 ปี)
  • Absolute Check-up (สำหรับเพศชายและเพศหญิง อายุ 50 - 60 ปี)
  • Longevity Check-up (สำหรับเพศชายและเพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป)

ผู้ที่ต้องการใช้บริการสามารถเข้าเว็บไซต์ของทางโรงพยาบาลเพื่อดูราคาและเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่สนใจ พร้อมจองผ่านทาง เว็บไซต์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ หรือซื้อผ่านทาง Lazada โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถแอดไลน์โรงพยาบาลเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ได้


ข้อสรุป

การตรวจสุขภาพประจำปี ควรตรวจเป็นประจำทุกปี ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัย 30 ปีขึ้นไปเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพและป้องกันหรือรักษาอาการเจ็บป่วยที่อาจจะแอบแฝงและไม่แสดงอาการได้อย่างทันท่วงที นอกจากจะเป็นการดูแลสุขภาพรายบุคคลแล้วยังเป็นการวางแผนสุขภาพสำหรับสมาชิกในครอบครัวในกรณีที่มีโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมอีกด้วย โดยผู้เข้ารับบริการสามารถเลือกโปรแกรมตรวจได้ตามช่วงอายุและเพศที่เหมาะสม

ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพมากมายให้ผู้เข้าใช้บริการเลือกตามความต้องการและความเหมาะสม ทั้งตรวจสุขภาพประจำปีเบื้องต้นสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 30 ปี และตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับบุคคลอายุ 30 ปีขึ้นไปซึ่งจะเฉพาะทางมากกว่าและละเอียดมากกว่า

โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยินดีให้บริการทุกท่านด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานสากลและการบริการที่ดีเยี่ยมเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้เข้ารับบริการ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อทางโรงพยาบาลได้ที่เบอร์โทร 02 118 7893 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแอดไลน์โรงพยาบาล Line: @samitivejchinatown

สมิติเวช ไชน่าทาวน์..มั่นใจมีคุณหมอเป็นเพื่อนบ้าน

การตรวจสุขภาพประจําปี ตรวจอะไรบ้าง