วันวิทยาศาสตร์ตรงกับวันที่เท่าไร

วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ของประเทศไทย ซึ่งถูกกำหนดจากวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อปีพ.ศ. 2411

วันวิทยาศาสตร์ตรงกับวันที่เท่าไร

ย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ 154 ปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณไว้ว่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้าเป็นเวลาไว้ 2 ปี โดยจะเห็นหมดดวงที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 

และแล้วเหตุการณ์นั้นก็เกิดขึ้นจริง จนทำให้ในเวลาต่อมา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของไทย เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"  นั่นเอง

วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นอีกวันที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ วงการดาราศาสตร์ และวงการศึกษาของไทย เพราะตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ได้เสร็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ ต.หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี 

คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" 

นักวิจัยค้นพบโรคโลหิตวิทยาใหม่ คว้ารางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ปี 65

“ถุงSEB” ถุงใส่ชิ้นเนื้อแบบเปิดได้เอง นวัตกรรมคนไทย ช่วยลดเวลาผ่าตัด

 

วันวิทยาศาสตร์ตรงกับวันที่เท่าไร

เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"  ไปพร้อมกัน

 

ประวัติความเป็นมาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ที่มาของการกำหนดวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เกิดขึ้นเนื่องจากในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ตำบลบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ หลังจากที่ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์คำนวณการเกิดสุริยุปราคาครั้งแรกได้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี

ซึ่งพระองค์คำนวนไว้ว่า สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร และโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ ทางคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"

ทั้งนี้ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ยังได้ร่วมกันจัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2527 งานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้รับการขยายให้เป็นงานใหญ่ขึ้น เป็นงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยจะมีการจัดงานในระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม

วันวิทยาศาสตร์ตรงกับวันที่เท่าไร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4

 

พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ใน จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า "หอชัชวาลเวียงชัย" ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวง คือ

1. ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทอดพระเนตรแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์ทรงสามารถนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" แจ้งแก่ประชาชน

2. ดาวหางโดนาติ (Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2401 และคืนต่อ ๆ มา จนถึงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา 9 เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401

3. ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลกระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่าจะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้ามิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้ เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์ 

 

การทดลองวิทยาศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณ “ปรากฎการณ์น้ำเดือดกลายเป็นน้ำแข็ง”

กระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ และ ยังคงถูกพูดถึงอยู่เสมอๆ แม้จะผ่านมายาวนานกว่า 350 ปี คือ กรณีที่นักวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายคนนำเอาน้ำร้อนที่ถึงจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส เทลงบนอุณหภูมิ ณ จุดเยือกแข็ง หรือ ติดลบในหิมะอันหนาวเหน็บ ทำให้น้ำร้อนแข็งตัวได้เร็วกว่าน้ำที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ซึ่งรู้จักกันในชื่อเรียกว่า ปรากฏการณ์เพมบา (Mpemba effect) กระทั่งปัจจุบันก็ยังมีผู้คนจำนวนมากทดลองทำปรากฎการณ์นี้โดยสาดน้ำเดือดๆ ไปในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยหิมะ แล้วพบว่าน้ำแข็งตัวอย่างรวดเร็ว

คำอธิบายว่า “ทำไมน้ำร้อนบางครั้งจึงแข็งตัวเร็วกกว่าน้ำเย็น” ที่จริงไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนนัก แต่สามารถอธิบายได้ว่ากลไกใด และ เงื่อนไขใดบ้างที่ทำให้เกิดปรากฏการ “เพมบา” ขึ้น

ข้อแรก คือ การระเหย น้ำร้อนจะระเหยได้เร็วกว่าน้ำเย็น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ให้เป็นน้ำแข็ง

ข้อที่สอง คือ Supercooling น้ำร้อนมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจาก Supercooling น้อยกว่าน้ำเย็น เมื่อไรที่ Supercooled สามารถคงสภาพเป็นของเหลวได้จนกว่าจะถูกรบกวน แม้จะต่ำกว่าอุณหภูมิเยือกแข็งปกติก็ตาม

ข้อที่สาม คือ การพาความร้อน น้ำจะพัฒนากระแสการพาความร้อนเมื่อมันเย็นตัวลง ความหนาแน่นของน้ำมักจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น น้ำส่วนที่ร้อนกว่าจะสูญเสียความร้อนและแข็งตัวเร็วกว่า

ข้อที่สี่ คือ ก๊าซที่ละลายน้ำ คือ น้ำร้อนมีความสามารถในการกักเก็บก๊าซที่ละลายได้น้อยกว่าน้ำเย็น จึงอาจส่งผลต่ออัตราการแข็ง

ข้อสุดท้าย คือ ผลกระทบของสภาพแวดล้อม ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิเริ่มต้นของภาชนะบรรจุน้ำสองใบอาจมีผลต่ออัตราการทำความเย็น

จะเห็นได้ว่า โลกของเรามีการทดลองทางวิทยาศาสตร์อยู่เสมอๆ และ ก็มีมักจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบปรากฎการณ์ใหม่ๆ ขึ้นด้วย

วันวิทยาศาสตร์ตรงกับวันที่เท่าไร

 

สำหรับกิจกรรมในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ นอกเหนือจากการจัดงานส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ ยังมีการประกาศคำขวัญวันวิทยาศาสตร์ประจำปีด้วย ดังนี้

 

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2532 : พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2533 : เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2534 : ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2536 : วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2537 : ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2538 : เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2539 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2540 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2541 : พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2542 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยืน

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2543 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2544 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2545 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2546 : เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2547 : เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2548 : วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2549 : เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2550 : วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2551 : วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2552 : วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2553 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2555 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2556 : ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2557 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2558 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2559 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2560 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2561 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2562 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2563 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2564 : ไม่มีการประกาศคำขวัญในปีดังกล่าว

 

จีนเริ่มทดลองในมนุษย์ วัคซีนโควิด-19 mRNA สูตรจำเพาะต่อโอมิครอน

3 ข้อเท็จจริง “เครื่องวัดอุณหภูมิ” เหตุผลที่ควรยกเลิกใช้คัดกรองโควิด

 

อ้างอิง :

https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/1911915

https://thestandard.co/onthisday180863/

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4

https://www.scimath.org/article-chemistry/item/1293-hot-water

https://www.greelane.com/th/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/hot-water-freezes-faster-3976089/

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ ปี 2565 คือข้อใด

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2563 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2564 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2565 : ยังไม่ระบุ

วันวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใด

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของไทย ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงวันนี้ใน พ.ศ. 2411.

วันวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มมีครั้งแรกเมื่อใด

วันวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็น"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. ...

วันที่18สิงหาคมทำไมเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของประเทศไทย และมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกๆปีซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้น ...