พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองมีลักษณะอย่างไร

1.เมื่อชุมชนหลายๆแห่งหรือหลายหมู่บ้านมีพัฒนาการมากขึ้นมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่นทำให้ชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นศูนย์กลางชุมชนการเดินทางสะดวกกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหรือชุมชนขนาดใหญ่ เมื่อชุมชนรอบๆ เข้ามาติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้นชุมชนที่เป็นศูนย์กลางก็มีการเติบโตมี โครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้การแบ่งหน้าที่ในสังคมมากขึ้นเกิดชนชั้นเช่นชนชั้นปกครองนักบวชช่างฝีมือชาวนาจนกระทั่งเกิดเป็นสังคมเมืองและพัฒนาเป็นเมืองในที่สุด 2.กลุ่มเมืองหลายเมืองที่มารวมตัวกันอยู่ในอาณาจักรบริเวณที่มีขอบเขตค่อนข้างจะแน่นอนมีผู้คนจำนวนมากพอที่จะมีผู้นำและมีองค์กรทางการปกครองที่มีอำนาจรวมศูนย์หรือมีอำนาจเหนืออาณาบริเวณของตนและมีหน้าที่จัดการปกครองให้เกิดระเบียบและความสงบในสังคม จึงพัฒนาเป็นแคว้นหรือรัฐ 3. 4.การเติบโตจากแคว้นเป็นอาณาจักรของดินแดนแต่ละแห่งนั้นมีปัจจัยแตกต่างกันบางอาณาจักรพัฒนามาจากการเป็นศูนย์กลางทางการค้าเช่นอานาที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลใกล้แม่น้ำหรือเส้นทางคมนาคมบางอาณาจักรพัฒนามาจากการมีความเข้มแข็งทางการทหารสามารถขยายขอบเขตอำนาจออกไปปกครองได้รวมแว่นแคว้นอื่นได้ อาณาจักรหลายแห่งที่เติบโตขึ้นนอกจากจะมีปัจจัยเสริมเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ความมั่งคั่งและความเข้มแข็งทางทหารแล้วการขยายอำนาจไปปกครองแว่นแคว้นอื่นยังต้องมีการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนชั้นปกครองด้วยเช่นการรับคติเรื่องกษัตริย์เป็นเทวราชา เป็นจักรพรรดิราชเพื่อสร้างอำนาจเด็ดขาดและคติธรรมราชาเพื่อสร้างการเป็นผู้นำที่มีทั้งความศักดิ์สิทธิ์และมีคุณธรรม


พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองมีลักษณะอย่างไร

คุณครู Qanda - ครูพี่ปุ๋ย

3.วงศ์ตระกูล เป็นสิ่งที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเป็นสิ่งที่ได้มาโดยความสามารถ เช่น เป็นขุนนาง ขุน หลวง พระยา ( ดูสกุล ) ตำแหน่งทางการเมือง ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูง จะมีอำนาจและได้รับการยกย่อง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้แทนราษฏร ฯลฯ ตำแหน่งทางราชการ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีเหรียญตรา เช่น ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายพล เป็นต้น อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ และการเมือง เช่น พ่อค้าคหบดี นักหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากรรมกร ความมั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์สินเงินทอง มักจะได้รับการยกย่องอยู่ในระดับสูง ความมั่งคั่งจึงคล้ายเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จและได้รับเกียรติในสังคม ระดับการศึกษา ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูงมักจะได้รับการยกย่อง ยิ่งศักดิสูงเท่าไรยิ่งจะได้รับการยกย่องมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่การทำงาน คนมีศึกษาสูงย่อมได้ตำแหน่งหน้าที่การงานดีกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำ อาชีพ ปกติคนที่มีอาชีพเป็นที่ยกย่องจะได้รับสถานภาพสูงในสังคม เช่น นักการเมือง นักการทูต ครู อาจารย์ นักกฏหมาย แพทย์ ทหาร ตำรวจ ฯลฯ 5.   ประเทศไทยมีพัฒนาการที่สำคัญเริ่มจากมีการตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีความสำคัญได้สร้างความเจริญมีการสั่งสมตลอดจนถ่ายทอดอารยธรรมจากต่างชาตินำมาประยุกต์ใช้และมีการติดต่อค้าขาย มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐหรือแคว้นต่าง ๆข้างเคียงจนสามารถก่อตั้งเป็นอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันได้ ดังนั้นในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์เรามาศึกษาพัฒนาการของอาณาจักรโบราณในภาคต่าง ๆ

ดินแดนไทยมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการตั้งหลักแหล่ง ดังปรากฏจากหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ จนพัฒนาเป็นชุมชน บ้านเมือง แคว้นหรือรัฐ และอาณาจักรในที่สุด

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายพัฒนาการแต่ละขั้น ตั้งแต่ชุมชนสู่รัฐโบราณได้

ด้านทักษะกระบวนการ

1. วิเคราะห์ความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการจากชุมชนไปสู่รัฐโบราณได้

ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

3. รักความเป็นไทย

คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าของความสัมพันธ์และพัฒนาการจากชุมชนไปสู่รัฐโบราณ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

การทำใบงานที่ 11

- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

เครื่องมือวัด

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15

เกณฑ์การวัด

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (RUBRIC SCORE)     

เครื่องมือ

- คำถามนำ

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15

เกณฑ์การวัด

- นักเรียนตอบคำถามถูกต้องมากกว่าร้อยละ 50

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน(RUBRIC SCORE)      

แคว้น หมายถึงกลุ่มเมืองหลายเมืองที่มารวมตัวกันอยู่ในอาณาจักรบริเวณที่มีขอบเขตค่อนข้างจะแน่นอนมีผู้คนจำนวนมากพอที่จะมีผู้นำและมีองค์กรทางการปกครองที่มีอำนาจรวมศูนย์หรือมีอำนาจเหนืออาณาบริเวณของตนและมีหน้าที่จัดการปกครองให้เกิดระเบียบและความสงบในสังคม

จากการสำรวจหลักฐานทางโบราณคดีพบบ้านเมืองหลายแห่งได้ขยายตัวเป็นแคว้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่12-15 ในบริเวณภาคต่างๆของไทยเช่นทวาราวดี ละโว้ บริเวณภาคกลาง หริภุญชัย บริเวณภาคเหนือตามพรลิงค์ บริเวณพักใต้เป็นต้น บริเวณภาคใต้ เป็นต้น

พัฒนาการจากชุมชนเป็นบ้านเมืองมีลักษณะอย่างไร

ตราประทับดินเผา พบที่เมืองจันเสน ตำบลตาคลี    จังหวัดนครสวรรค์