กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

ภาษีสรรพสามิตคืออะไร ?

14 เม.ย. 2022

[ประเด็นสำคัญ] ภาษีสรรพสามิต เป็นการเก็บภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท เพื่อให้ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เนื่องจากสินค้าเหล่านั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรม หรือมีลักษณะเป็นของฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาล หรือก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

ภาษีสรรพสามิต ถือเป็นภาษีทางอ้อม เนื่องจากผู้ผลิตหรือผู้ขายได้ชำระภาษีให้กับรัฐบาลแล้ว แต่ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็จะมีการขึ้นราคาสินค้าเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายภาษีที่เกิดขึ้น ซึ่งเสมือนว่าผู้บริโภคจะต้องแบกรับภาระภาษีในการซื้อสินค้านั้นอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สำหรับสินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิต
เพราะว่าเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรม หรือมีลักษณะเป็นของฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาล หรือก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

โดยหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง

ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้นำเข้าสินค้า ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ และบุคคลอื่นที่พระราชบัญญัติกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

สินค้าและบริการที่มีการเก็บภาษีสรรพสามิตมีดังนี้

1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
2. เครื่องดื่ม
3. เครื่องใช้ไฟฟ้า
4. แก้วเลกคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ
5. ยานพาหนะ ได้แก่ รถจักรยานยนต์ และรถยนต์โดยสาร ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
6. เรือยอช์ตและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
7. น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
8. พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์
9. แบตเตอรี่
10. สถานบริการ ได้แก่ สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ สถานอาบน้ำหรืออบตัว ไนต์คลับและดิสโกเทก
11. สุรา
12. ยาสูบ
13. ไพ่

    สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่กรุงเทพมหานคร4 เป็นหน่วยราชการสังกัดกรมสรรพสามิตมีหน้าที่ และ ความรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีและ
     ดำเนินการป้องกันและปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้


1) พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ใช้บริหารจัดเก็บภาษีสินค้าสุรา

2) พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ใช้บริหารจัดเก็บภาษีสินค้ายาสูบ

3) พระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486 ใช้บริหารจัดเก็บภาษีสินค้าไพ่

4) พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ใช้บริหารจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ ตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติ
    พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527

5) พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดประเภทสินค้าและบริการ และอัตราภาษี
    ที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ได้แก่ สินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
    เครื่องดื่ม เครื่องไฟฟ้า แก้วและเครื่องแก้ว รถยนต์ เรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น ๆ
    รถจักรยานยนต์ หินอ่อนและหินแกรนิตที่แปรรูปแล้ว แบตเตอรี่ ภาษีสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
    ภาษีกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งสถานบริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด ไนต์คลับและดิสโก้เธค สนามแข่งม้า
    และสนามกอล์ฟ

6) พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ใช้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต
    ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งมอบให้แก่กระทรวงมหาดไทย นำไปจัดสรรให้กับท้องถิ่นต่าง ๆ

7) พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527 ใช้จัดเก็บภาษีสุราเพิ่มขึ้นจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
    เพื่อส่งมอบให้กระทรวงมหาดไทยนำไปจัดสรรให้กับท้องถิ่นต่างๆ

กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

ประเทศไทย

สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย เป็นการเก็บภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สำหรับสินค้าที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือศีลธรรมอันดี หรือสินค้าที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

หน่วยงานที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิต


กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486

แผนผังแสดงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ภายในกรมสรรพสามิต

กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง


(ที่มา https://www.excise.go.th/ABOUT_US/ORG_CHART/index.htm)


กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต


ผู้มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่ 1) ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2) ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ 3) ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า และ 4) บุคคลอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด เช่น

  • เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 42
  • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการซึ่งตั้งขึ้นใหม่โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมเดิมตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 57
  • ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102 (3) สำหรับสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 12 วรรคสอง (2)
  • ผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสำหรับสินค้านำเข้า ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 11 วรรคสอง (2) และ (3)
  • ผู้โอนและผู้รับโอนที่ได้รับเอกสิทธิตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102 (3) ที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 12 วรรคสอง (1)
  • ผู้โอนและผู้รับโอนสินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้น หรือลดอัตราภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 11 วรรคสอง (1)
  • ผู้จัดการมรดก หรือทายาทผู้ได้รับมรดกสินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้นหรือลดอัตราภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 11 วรรคสอง (4)
  • ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 56
  • ผู้ชำระบัญชี และกรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเป็นนิติบุคคล และเลิกกิจการ โดยมีการชำระบัญชี ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 58
  • ผู้ดัดแปลงรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 144 เบญจ
  • ผู้กระทำความผิดฐานมีไว้ครอบครอง ขาย และมีไว้เพื่อขาย ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 161 และมาตรา 162

กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

สินค้าและบริการที่จัดเก็บ


สินค้าและบริการที่กรมสรรพสามิตดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ สินค้าที่รัฐต้องการควบคุมการบริโภค เนื่องจากมีลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีลักษณะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย หรือเป็นสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ ซึ่งได้แก่สินค้าดังต่อไปนี้

  • น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
  • เครื่องดื่ม
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • แก้วเลคคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ
  • รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
  • เรือยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
  • น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
  • พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
  • รถจักรยานยนต์
  • แบตเตอรี่
  • ไนต์คลับและดิสโก้เธค
  • สถานอาบน้ำหรืออบตัว
  • สนามแข่งม้า
  • สนามกอล์ฟ
  • กิจการโทรคมนาคม (ยกเว้นภาษี)
  • สลากกินแบ่งรัฐบาล (ยกเว้นภาษี)
  • สุรา
  • ยาสูบ
  • ไพ่

กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

ฐานภาษี


การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทยจะคิดคำนวณฐานภาษีตามปริมาณ หรือตามมูลค่า หรือทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของสินค้านั้น ๆ

  • ฐานภาษีตามปริมาณ

    ภาษีสรรพสามิต = ปริมาณสินค้า × อัตราภาษีสรรพสามิต


  • ฐานภาษีตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิต โดยฐานตามมูลค่าสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
    • กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จะถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วย (พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8 (1))

      ฐานภาษีสรรพสามิต = ราคา ณ โรงงานอุตสาหกรรม


    • กรณีสินค้านำเข้า อาศัยฐานในการคำนวณภาษีซึ่งคำนวณได้จากราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าและอากร ดังนี้

      ฐานภาษีสรรพสามิต = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากร


    • กรณีบริการ ฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตกรณีสถานให้บริการ ได้แก่ รายรับของสถานบริการนั้น ๆ เช่น รายรับของสนามม้า คือ ค่าผ่านประตูและรายรับที่หักไว้จากผู้เล่นการพนันแข่งม้า รายรับของสนามกอล์ฟ คือ ค่าสมาชิกและค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ เป็นต้น

      ฐานภาษีสรรพสามิต = รายรับของสถานบริการ


    • กรณีดัดแปลงรถยนต์ ฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต ได้แก่ มูลค่ารถยนต์จากการดัดแปลง โดยคิดจาก ราคาค่าจ้างแรงงานดัดแปลงบวกด้วยค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าจ้างทาของซึ่งรวมค่าวัสดุอุปกรณ์อยู่ด้วย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ตามที่อธิบดีกำหนด

      ฐานภาษีสรรพสามิต = มูลค่าจากการดัดแปลง โดยให้ถือราคาค่าจ้างแรงงานดัดแปลง บวกด้วยค่าวัสดุ อุปกรณ์หรือค่าจ้างทาของซึ่งรวมค่าวัสดุ อุปกรณ์อยู่ด้วย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ตามที่อธิบดีกำหนด


กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

จุดความรับผิด


จุดความรับผิดหรือจุดที่ภาระในการเสียภาษีสรรพสามิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตตามบทบัญญัติของกฎหมายจะเกิดขึ้นนั้น มีความแตกต่างกันโดยจำแนกตามประเภทของสินค้าและบริการได้ ดังนี้

  • สินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร สามารถแยกพิจารณาจุดความรับผิดในการเสียภาษีได้สองกรณี คือ กรณีสินค้าที่อยู่ในโรงอุตสาหกรรม และกรณีสินค้าอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน
    • กรณีสินค้าที่อยู่ในโรงอุตสาหกรรม ภาระภาษีสรรพสามิตจะเกิดขึ้นเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือนำสินค้าไปใช้ในโรงอุตสาหกรรม เว้นแต่เป็นการนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร เขตอุตสาหกรรมส่งออก อีกแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดเกิดขึ้น
    • กรณีสินค้าอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร หรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก ภาระภาษีสรรพสามิตจะเกิดขึ้นเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำสินค้าออกจากคลังสินค้า ทัณฑ์บน เว้นแต่เป็นการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อนำกลับคืนไปเก็บไว้ในโรงอุตสาหกรรม หรือนำไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร เขตอุตสาหกรรมส่งออกอีกแห่งหนึ่ง และถ้านำไปใช้ภายในสถานที่ดังกล่าวก็จะถือว่าเป็นการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชาระภาษีก่อนความรับผิดเกิดขึ้น
      อย่างไรก็ดี หากกรณีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เกิดขึ้นก่อนการนำสินค้าออกโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ภาระภาษีสรรพสามิตจะเกิดขึ้นแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีพร้อมกันกับภาระในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชาระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ความรับผิดเกิดขึ้น หรือ ก่อนนำสินค้าออกแล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน
  • สินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องรับภาระภาษีสรรพสามิต ณ เวลาเดียวกันกับที่จะต้องเสียภาษีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เว้นแต่เป็นกรณีที่นำสินค้าเข้ามาเพื่อนำไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร เขตอุตสาหกรรมส่งออก ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องรับภาระภาษีเมื่อนำสินค้านั้น ๆ ออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร เขตอุตสาหกรรมส่งออก แล้วแต่กรณี โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชาระภาษีในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
  • กรณีบริการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องรับภาระภาษีสรรพสามิตเมื่อผู้ใช้บริการได้ชำระค่าบริการ และในกรณีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น พร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น
  • กรณีดัดแปลงรถยนต์ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องรับภาระภาษีสรรพสามิตเมื่อการดัดแปลงรถยนต์นั้น ได้สิ้นสุดลง โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้อง ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชาระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่การดัดแปลงสิ้นสุดลง
  • กรณีนำรถยนต์ไปแสดงหรือเก็บไว้ในสถานแสดงรถยนต์เพื่อขาย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องรับภาระภาษีสรรพสามิตเมื่อพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชาระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ความรับผิดเกิดขึ้น


กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ทางภาษี


นอกจากรัฐจะได้กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าและบริการที่กำหนด ในบางกรณีรัฐอาจมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าและบริการ หรือการลดหย่อนภาษีสรรพสามิต ดังต่อไปนี้

  • การยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร ผู้มีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร มีดังนี้
    • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตมีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีได้
    • ผู้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือ นำเข้าไปในเขตปลอดอากรและได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้น ให้ดำเนินการขอยกเว้นหรือคืนภาษีมีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีได้
    • นิติบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบ อุตสาหกรรมเป็นทอดแรกเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมให้ใช้วิธีการคืนภาษี
    • บุคคลอื่นที่มิได้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเป็นทอดแรก ให้ใช้วิธีการคืนภาษี
  • การยกเว้นสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยจะนำไปเก็บพักไว้ที่สถานที่เก็บสินค้า ผู้มีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยจะนำไปเก็บพักไว้ที่สถานที่เก็บสินค้า คือ
    • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 และ
    • ผู้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม
  • การลดหย่อนภาษีสรรพสามิต ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสามารถยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอลดหย่อนภาษีพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ โดยยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอลดหย่อนภาษี พร้อมยื่นแบบ ภษ.01-29 แบบ ภษ.01-30 รวมทั้งรายละเอียดโครงสร้างต้นทุน สูตรการผลิต ใบกำกับภาษีซื้อ บัญชีรับจ่ายสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต และแบบแจ้งราคาขาย โดยสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสามารถขอลดหย่อนภาษีได้ตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
    • น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ามัน
    • รถยนต์
    • เครื่องไฟฟ้าประเภทเครื่องปรับอากาศ
    • รถจักรยานยนต์
    • แบตเตอรี่
    • เครื่องดื่ม

กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

มาตรการบังคับทางภาษี


เมื่อมีการกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตต้องดำเนินการชำระภาษีตามที่กำหนด หากผู้มีหน้าที่ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ได้มีการกำหนดรูปแบบของมาตรการบังคับทางภาษีไว้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  • เบี้ยปรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตจะต้องเสียเบี้ยปรับ ในกรณีและตามอัตรา ดังต่อไปนี้
    • กรณีมิได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในกำหนดเวลา ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสรรพสามิตไว้หรือไม่ จะต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของเงินภาษี
    • กรณีได้ยื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียขาดไป จะต้องเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ขาดไป
  • เงินเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตผู้ใดไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา หรือชำระขาดจากจำนวนที่ต้องเสีย จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และการคำนวณเงินเพิ่มดังกล่าวมิให้คิดทบต้นเงินเพิ่ม มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
  • บทกำหนดโทษ
    • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต รวมถึงไม่แจ้งย้าย หรือเลิกโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการภายในเวลาที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
    • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการไม่แสดงใบทะเบียนสรรพสามิตไว้ในที่เปิดเผย หรือใบทะเบียนชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหายแล้วไม่ยื่นคำขอรับใบแทนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบ และภายใน 15 วัน ในกรณีที่ใบอนุญาตคลังสินค้าทัณฑ์บนชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย มีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท
    • ผู้ใดไม่แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หรือราคาค่าบริการ ตามเวลาที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
    • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องเสียค่าปรับอีก 2 เท่าของค่าภาษี กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของภาษีที่ขาดไป
    • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ โดยการคำนวณเพิ่มมิให้คิดทบต้นและไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
    • ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ตอบคำถามถ้อยคำอันเป็นเท็จ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงหรือยื่นบัญชีหรือเอกสารอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 300,000 บาท

กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง
ขึ้นด้านบน

กรมสรรพสามิตรับผิดชอบเก็บภาษีอะไร

กรมสรรพสามิต เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพื่อเป็น รายได้ให้แก่ภาครัฐ จากสินค้าและบริการที่มีเหตุผลความจ าเป็นเฉพาะอย่าง รวมถึง ด าเนินการตรวจสอบ ป้องกัน และปราบปรามการกระทาผิดกฎหมายสรรพสามิต

ภาษีที่จัดเก็บโดยกรมสรรพาสามิตมีกี่ประเภท

ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากสินค้าและบริการ 13 ประเภท ได้แก่ สุรา ยาสูบ น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน เครื่องดื่ม เครื่องไฟฟ้า ไฟ แก้ว และเครื่องแก้ว รถยนต์ เรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสําอาง สินค้าประเภทพรม จักรยานยนต์ แบตเตอรี่ และสถานบริการต่างๆ

กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรมีหน้าที่เก็บภาษีชนิดใดบ้าง

กรมสรรพากร รับผิดชอบการเก็บภาษีตามประมวลรัษฏากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป แบ่งเป็นภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และเก็บภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีปิโตรเลียม และอากรแสตมป์