งานเขียนเกี่ยวกับอยุธยาของฟาน ฟลีต รู้จักกันในหนังสือชื่ออะไร

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต

งานเขียนเกี่ยวกับอยุธยาของฟาน ฟลีต รู้จักกันในหนังสือชื่ออะไร

พระราชประวัติ

          เยเรเมียส ฟาน ฟลีต หรือที่คนไทยเรียกกันว่า วัน วลิต พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ ของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย เป็นผู้อำนวยการการค้าของอีสต์อินเดียในกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ระหว่าง พ.ศ. 2176 ถึง พ.ศ. 2185 และได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับประเทศไทยไว้ 3 เล่ม เป็นภาษาดัตช์ ต่อมาได้มีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ

          เยเรเมียส ฟาน ฟลีต เกิดที่เมืองสกีดาม เป็นบุตรคนสุดท้องของ Eewout Huybrechtszoon และ Maritge Cornelisdochter van Vliet ได้เดินทางออกจากเนเธอร์แลนด์ด้วยเรือ Het Wapen van Rotterdam (The Rotterdam Arms) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2171 ถึงเมืองปัตตาเวียเมื่อ พ.ศ. 2172 ก่อนจะได้รับคำสั่งให้ไปประจำที่ญี่ปุ่น ก่อนจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นพ่อค้า ทำหน้าที่ทำการค้ากับสยามในปี พ.ศ. 2176 ในขณะที่อยู่ในสยาม ฟาน ฟลีต ได้มีภรรยาลับชื่อ ออสุต พะโค (Osoet Pegua) หญิงชาวมอญ โดยทั้งคู่มีบุตรสาว 3 คน ภายหลังเมื่อนายฟานฟลีตออกจากสยามในปี พ.ศ. 2184 จึงได้มีศึกชิงลูกกัน ผลก็คือบุตรทั้งสามคนอยู่กับนางออสุตตราบจนเธอสิ้นชีวิต

          หลังจากเป็นผู้อำนวยการสถานีการค้าในสยามเป็นเวลา 9 ปี เยเรเมียส ฟาน ฟลีต ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองมะละกา คนที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2185 เขาเดินทางกลับเนเธอร์แลนด์เมื่อ พ.ศ. 2190 และใช้ชีวิตที่บ้านเกิดจนเสียชีวิตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2206 อายุ 61 ปี

พระราชกรณียกิจ

           วันวลิตได้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของประเทศสยาม  ระหว่าง  พ.ศ. 2172 – 2190  ไว้ เป็นหนังสือ 3 เล่ม  เป็นภาษาฮอลันดา ต่อมาได้มีผู้นำมาแปลเป็นอังกฤษ

           •  เล่มแรกชื่อ  Description  of  the  Kingdom  of  Siam  (เขียนใน  พ.ศ. 2179  กรมศิลปากรได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว)

           •  เล่มที่สองชื่อ  Chronicles  of  the  Ayuthian  Dynasty  (เขียนใน  พ.ศ. 2183  แปลภาษาไทยแล้วชื่อ  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  โดย  พล.ต.มรว.ศุภวัฒย์  เกษมศรี)

           •  เล่มที่สามชื่อ  The  Historical  Account  of  the  War  of  Sucession  following  the  death  of  King  Pra  Interajasia  22  nd  King  of  Ayuthian  Dynasty  (เขียนในปลาย  พ.ศ. 2190  กรมศิลปากรจัดแปลและพิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  79  ชื่อว่า  “จดหมายเหตุวัน วลิตฉบับสมบูรณ์”)

          หนังสือพระราชทานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  ฉบับวัน วลิตนั้น  เขียนเสด็จเมื่อวันที่  8  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2183  เป็นเอกสารรายงานสำคัญจาก  หัวหน้าสถานีการค้าฮอลันดาประจำประเทศสยามถึงผู้สำเร็จราชการรัฐแห่งเนเธอร์แลนด์ในอินเดียตะวันออก นับเป็นเอกสารพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเก่าที่สุดเท่าที่ค้นพบ

          วันวลิตได้เขียนเล่าเรื่องอาณาจักรสยามตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุง  จนถึงรัชกาลสมเด็จพรเจ้าทรงธรรม  พระองค์ทรงเป็น  กษัตริย์องค์ที่  26  ของกรุงศรีอยุธยา  ต้นฉบับของเอกสารนี้  เขียนเป็นภาษาฮอลันดาได้หายลี้ลับไปเกือบสามร้อยปี  เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานแล้วมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ  และสยามสมาคมได้จัดพิมพ์ขึ้นใน  พ.ศ. 2518

          ข้อความที่วัน วลิตได้บันทึกไว้ในรายงานนั้นมีสาระสำคัญที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง เช่น เรื่องการสร้างอาณาจักรสยามว่า “ยังหาข้อยุติไม่ได้เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของชาติสยามผู้ก่อตั้งประเทศชาติ ผู้สถาปนาพระราชอาณาจักร  และ พระนามกษัตริย์องค์แรกที่เสวยราชย์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าเชิงนิยาย ถึงแม้บางเรื่องพอมีเหตุผลพอจันความจริงบ้าง เรื่องหนึ่งที่มีเล่าขานคือ เมื่อประมาณ 2,000 ปีที่ล่วงมา ราชโอรสกษัตริย์จีนพระองค์หนึ่งถูกเนรเทศจากเมืองจีน จึงลงเรือมาขึ้นที่ปัตตานี แล้วสร้างอาณาจักรขึ้น ชื่อลังกาสุกะ (Langhseca) ประกอบด้วยเมืองละคร (Lijgoor) กุย (Cuij) และ พริบพรี (Piprij) อาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรเก่าแก่ อีกทั้งเป็นชาติที่มีกฎหมาย กับดำเนินนโยบายได้ดี ชนสามัญสุภาพเรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรีและเที่ยวธรรม”

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AA_%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%99_%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%95