ต้นกําเนิดของการแสดงละคร มาจากอะไร

ต้นกําเนิดของการแสดงละคร มาจากอะไร
ความหมายของนาฏศิลป์
           ความหมายของรูปศัพท์ของคำว่านาฏศิลป์ มาจากคำ ๒ คำที่รวมอยู่ด้วยกัน คือนาฏ, ศิลปะ ดังรายละเอียดกล่าวคือ นาฏ ความหมายโดยภาพรวมของคำว่า นาฏ ที่น่าสนใจคือ นาฏย ความหมาย ตามพจนานุกรมไทยฉบับทันสมัย(๒๕๔๓ : ๒๘๕) หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร นาฏ ความหมายตามพจนานุกรมไทยฉบับทันสมัย (๒๕๔๓ : ๒๘๕) หมายถึง การเคลื่อนไหวอวัยวะ, นางละคร การฟ้อนรำ หรือ ความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ ศิลปะ เป็นคำภาษาสันสกฤต (ส.ศิลปะ; ป.สิปุป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม)ซึ่งหมายถึง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงามน่าพึงชม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Arts"( อมรา กล่ำเจริญ, ๒๕๔๒ : ๑) ดังนั้นเมื่อประมวลทั้งสองคำมารวมเป็นคำว่า"นาฏศิลป์" ที่นักวิชาการให้ความหมายไว้น่าสนใจ คือ นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผน ให้ความรู้ ความบันเทิง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความรุ่งเรืองของชาติได้เป็นอย่างดี (สุมิตร เทพวงศ์, ๒๕๔๘ : ๒) นาฏศิลป์ หมายถึง การร่ายรำในสิ่งที่มนุษย์เราได้ปรุงแต่งจากธรรมชาติให้สวยสดงดงามขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายถึงแต่การร่ายรำเพียงอย่างเดียว จะต้องมีดนตรีเป็นองค์ประกอบไปด้วย จึงจะช่วยให้สมบูรณ์แบบตามหลักวิชานาฏศิลป์ (อาคม สายาคม, ๒๕๔๕ : ๑๕) นาฏศิลป์ เป็นคำสมาส ระหว่างคำว่า นาฏ กับคำว่า ศิลป์ คำว่านาฏ หมายถึงการฟ้อนรำ การแสดงละคร ดังนั้นคำว่า นาฏศิลป์ จึงหมายถึง การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม โดยอาศัยธรรมชาติเป็นแบบอย่าง (ลัดดา พนัสนอก, ๒๕๔๒ : ๒) นาฏศิลป์ หรือนาฏยศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ ทั้งที่เป็นระบำ รำ เต้น และอื่น ๆ รวมทั้งละครรำ โขน หนังใหญ่ ฯลฯ ปัจจุบันมักมีคนคิดชื่อใหม่ให้ดูทันสมัยคือ นาฏกรรม สังคีตศิลป์ วิพิธทัศนา และศิลปะการแสดง ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันเพราะเป็นคำที่ครอบคลุมศิลปะแห่งการร้อง การรำ และการบรรเลงดนตรี (สุรพล วิรุฬห์รักษ์, ๒๕๔๓ : ๑๒) ดังนั้นความหมายของนาฏศิลป์กล่าวโดยสรุป จึงหมายถึง   ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งที่เป็นระบำ รำ เต้น และอื่น ๆ รวมทั้งละครรำ โขน หนังใหญ่ ฯลฯ โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผนที่สวยงาม ให้ความรู้ ความบันเทิงที่ต้องมีดนตรีเป็นองค์ประกอบไปด้วย
ที่มาของนาฏศิลป์ไทย
            ที่มาของนาฏศิลป์ไทยเข้าใจว่าเกิดจากสภาพความเป็นอยู่โดยธรรมชาติของมนุษย์โลก  ที่มีความสงบสุข มีความอุดมสมบูรณ์ในทางโภชนาหาร มีความพร้อมในการแสดงความยินดี จึงปรากฏออกมาในรูปแบบของการแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความกำหนัดรู้ ดังนั้นเมื่อประมวลที่นักวิชาการเทียบอ้างตามแนวคิดและทฤษฎี จึงพบว่าที่มาของนาฏศิลป์ไทยเกิดจากแหล่ง ๓ แหล่ง คือ เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา และเกิดจากการรับอารยะธรรมของประเทศอินเดีย ดังนี้
            ๑. เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ หมายถึง   เกิดตามพัฒนาการของความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มชน ซึ่งพอประมวลความแบ่งเป็นขั้น ได้ ๓ ขั้น ดังนี้ ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก เป็นต้น ต่อมาอีกขั้นหนึ่งนั้น เมื่อเกิดปรากฏการณ์ตามที่กล่าวในขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ แล้วมีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน จนเกิดเป็นวิวัฒนาการของนาฏศิลป์ที่สวยงามตามที่เห็นในปัจจุบัน
            ๒. เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา หมายถึง กระบวนการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มชน    ซึ่งพบว่าการเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชา มีวิธีการตามแต่จะยึดถือมักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป
            ๓. การรับอารยะธรรมของอินเดีย หมายถึง อิทธิพลของประเทศเพื่อนบ้านจากประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่ยาวนานว่า เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยะธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยะธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปะการแสดง ได้แก่ ระบำ ละครและโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์มาตรฐานที่สวยงามดังปรากฏให้เห็นนี้เอง
นอกจากนี้แล้วการสร้างนาฏศิลป์ไทยของเรานี้อาจด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น
            ๑. จัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสาร หมายความถึง การแสดงนั้นอาจบ่งบอกชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ที่ดี ทั้งทางด้านการแต่งกาย ภาษา ท่วงทีที่แช่มช้อย นอกจากนี้แล้วในการสื่อสารอีกทางนั้นคือนาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า "ภาษาท่ารำ" โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร เป็นต้น
            ๒. เพื่อประกอบพิธีกรรม ดังที่ได้กล่าวอ้างเรื่องการเซ่นสรวงไปแล้วในเบื้องต้น ว่ากระบวนทัศน์ในเรื่องการฟ้อนรำนั้นกระแสสำคัญอีกกระแสหนึ่ง คือเรื่องความเชื่อ ความศรัทธาในสิ่งที่มองไม่เห็น นอกจากนี้แล้วอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของคนไทยอีกประการนั้นคือ การสำนึกกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือบรรพชนที่ควรเคารพ อาจมีการจัดกิจกรรมขึ้นแล้วมีการร่วมแสดงความยินดีให้ปรากฏนักนาฏศิลป์  หรือศิลปินที่มีความชำนาญการจะประดิษฐ์รูปแบบการแสดงเข้าร่วม  เพื่อความบันเทิงและเพื่อแสดงออกซึ่งความรัก  และเคารพในโอกาสพิธีกรรมต่างๆ ก็ได้
            ๓. เพื่องานพิธีการที่สำคัญ กล่าวคือเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยี่ยมเยือน ทั้งนี้เราจะเห็นว่าในประวัติของชุดการแสดง ๆ ชุด เช่น ระบำกฤดาภินิหาร การเต้นรองเง็ง หรืออื่นๆ การจัดชุดการแสดงส่วนใหญ่นั้นจัดเพื่อต้อนรับแขกคนสำคัญ เพื่อบ่งบอกความยิ่งใหญ่ของความเป็นอารยะชนคนไทย ที่มีความสงบสุขมาเป็นเวลาหลายปี แล้วเรามีความเป็นเอกลักษณ์ภายใต้การปกครองที่ดีงามมาแต่อดีต ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการแสดงในครั้งนี้อาจมีอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นสิริมงคลด้วยก็ได้
            ๔. เพื่อความบันเทิง  และการสังสรรค์ ตามนัยที่กล่าวนี้พบว่าในเทศกาลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประเพณีของคนไทยมีมากมาย เช่น งานปีใหม่ ตรุษสงกรานต์ ลอยกระทง วันสาร์ท เป็นต้น เมื่อรวมความแล้วเราพบว่ากิจกรรมที่หลากหลายนี้มีบางส่วนปรากฏเป็นความบันเทิงมีความสนุกสนานรื่นเริง เช่น อาจมีการรำวงของหนุ่มสาว หรือความบันเทิงอื่น ๆ บนเวทีการแสดง นอกจากนี้อาจรวมถึงการออกกำลังกายในสถานการณ์ต่าง ๆ เราพบว่าปัจจุบันนี้จากประสบการณ์จัดกิจกรรมมักเกิดเป็นรูปแบบการแสดงที่สวยงามตามมาด้วยเช่นเดียวกัน
            ๕. เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ นาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชน ในชุมชนหนึ่งๆ มักมีการสืบทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมทางนาฎศิลป์ของตนเอาไว้มิให้สูญหาย มีการสอนมีการแสดง และเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้ท้องถิ่นอื่น หรือนำไปเผยแพร่ในต่างแดน
องค์ประกอบของการแสดงนาฏศิลป์ไทย องค์ประกอบที่ทำให้นาฏศิลป์ไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความสวยงามโดดเด่น และบ่งบอกถึงความมีอารยะธรรมทางด้านศิลปะ มาแต่อดีตกาล คือ ลีลาท่ารำ การขับร้องเพลงไทย ดนตรีไทย และการแต่งกาย ดังนี้
            ๑. ลีลาท่ารำ หมายถึง กระบวนการเคลื่อนไหวของอวัยวะร่างกายของนักแสดงสื่อออกมาในลักษณะต่าง ๆ เช่น สื่อแทนคำพูด แทนอากัปกิริยาที่กำลังปฏิบัติอยู่ หรือสื่อถึงกิจกรรมที่เป็นเป้าประสงค์สำหรับการทำงาน เป็นต้น ท่ารำที่เข้ามามีบทบาทต่อการแสดงนั้น มาจากหลายแหล่ง เช่น นาฏยศัพท์ ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ และการตีบท กล่าวคือ
            ๑.๑ นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกท่ารำทางนาฏศิลป์ หรือการละคร การฟ้อนรำ การสร้างสรรค์ท่ารำที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ไทย ผู้แสดงจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการร่ายรำอันจะส่งผลถึงความประณีตของท่วงท่าที่สร้างสรรค์ของศิลปิน  ที่งดงามลงตัวนาฏยศัพท์ที่บรมครูผู้เชี่ยวชาญได้สร้างสรรค์ไว้พอจะรวบรวมได้คือ นามศัพท์ กิริยาศัพท์ และนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด
            ๑.๒ ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ หมายถึง ภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสารของนักแสดงเพื่อให้เข้าใจโดยใช้ท่าทางนาฏศิลป์เป็นตัวสื่อไม่ใช้คำพูด เป็นอวจนะภาษาอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งนั้นคือภาษาใบ้ ส่วนใหญ่จะใช้อากัปกิริยาของอวัยวะร่างกายเป็นตัวสื่อสารเพื่อบอกอาการความต้องการให้ผู้รับสารเข้าใจในการสื่อสาร ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีปรากฏอยู่ในการแสดงละคร หรือบทระบำของละครไทยบางเพลงก็มี กิริยาท่าทางที่ปรากฏออกมาทางอวัยวะของร่างกาย สีหน้าและอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นมา สามารถจำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ท่าซึ่งใช้แทนคำพูด ท่าซึ่งเป็นอิริยาบถและกิริยาอาการ และท่าซึ่งแสดงถึงอารมณ์ภายใน
            ๑.๓ การตีบท หมายถึง การใส่ท่าทางตามบทร้องหรือบทเพลงเพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจตามความหมายและอารมณ์ของเพลง โดยทั่วไปเพลงที่จะนำมาประดิษฐ์ท่ารำจะต้องมี ๒ ลักษณะ คือเพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่มีแต่ทำนองและจังหวะ ไม่มีเนื้อร้องประกอบ และเพลงมีบทร้อง หมายถึง เพลงที่มีทั้งทำนอง จังหวะ และเนื้อเพลงบรรยายอิริยาบทของตัวละครประกอบด้วย กรณีที่เพลงเป็นเพลงบรรเลงนั้นนักนาฏยประดิษฐ์ก็จะลดภาระของการใส่ท่ารำลง แต่ถ้าหากว่าเป็นเพลงที่ต้องใช้บทร้องประกอบ เช่น เพลงแม่บท เพลงกฤดาภินิหาร หรือจะเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ในโอกาสอันสมควร กล่าวคืออวยพรในโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรืองานในโอกาสพิเศษอื่น ๆ ถ้าหากบทเพลงมีเนื้อร้องก็เป็นความจำเป็นที่จะต้องใช้การตีบทมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่าการใส่ท่ารำตามบทมีหลักสำคัญต้องทำความเข้าใจเป็นพื้นฐาน คือ ท่ารำที่เป็นแบบแต่โบราณ เช่น ท่ารำที่ปรากฏในการรำแม่บทใหญ่ แม่บทเล็ก และท่ารำที่เป็นท่าระบำ คือท่ารำที่ปรากฏในชุดการแสดงระบำต่าง ๆ นั่นเอง
            ๒. การขับร้องเพลงไทย เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่ง เพลงไทยมีเอกลักษณ์ คือ การเอื้อน ที่สร้างความไพเราะ และบทร้องใช้ภาษาทางวรรณกรรม ก่อให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม หวั่นไหวไปตามเรื่องราวของบท สามารถแบ่งประเภทของการขับร้องเพลงไทยเดิม แบ่งได้ ๔ วิธี ๒.๑ การร้องลำลอง หมายความถึง คนร้องร้องไปตามทำนองของตน และดนตรีก็บรรเลงประกอบไปโดยใช้ทำนองส่วนของตนต่างหาก แต่ทั้งคนร้องและคนบรรเลง จะต้องใช้ลูกฆ้องหรือเนื้อเพลงแท้ๆอย่างเดียวกัน เพียงแต่คนร้องบรรจุคำร้องลงไปตามลูกฆ้อง ส่วนนักดนตรีแปรลูกฆ้องเป็นทำนองเต็ม (Full Melody) ให้เข้ากับเครื่องดนตรีที่บรรเลง เพลงที่ใช้ร้องลำลอง มักจะเป็นเพลงที่ฟังได้ไพเราะ เช่น เพลงเต่าเห่ เพลงช้าสร้อยสน เพลงตุ้งติ้ง เพลงกลองโยน เป็นต้น
            ๒.๒ การร้องคลอ หมายความถึง คนร้องร้องพร้อมไปกับดนตรี โดยผู้บรรเลงจะต้องบรรเลงดนตรีให้เข้ากับทางร้อง เพื่อฟังได้กลมกลืน เพลงที่จะร้องคลอได้ไพเราะ จะเป็นเพลงจำพวกเพลงสองชั้นธรรมดาทั่วไป
            ๒.๓ การร้องส่ง หรือการร้องรับ หมายความถึง คนร้องร้องขึ้นก่อน เมื่อจบแล้ว ดนตรีจึงรับด้วยลูกฆ้องเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องนั้น ผู้ร้องถอดลูกฆ้องออกมาเป็นเอื้อน แต่ดนตรีถอดลูกฆ้องออกมาเป็นทำนองเต็ม (Full Melody) การร้องส่งหรือการร้องรับนี้ ดนตรีจะต้องมีการสวมร้องด้วย เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการร้องที่ช้า และการบรรเลงที่ค่อนข้างรวดเร็ว และเพื่อความกลมกลืนในการบรรเลงด้วย
            ๒.๔ การร้องเคล้า หมายความถึง คนร้องร้องไปตามทำนองเพลงของตน ส่วนดนตรีก็บรรเลงประกอบไปโดยใช้ทำนองส่วนของตน คล้ายๆกับการร้องลำลอง แต่การร้องเคล้านี้ ดนตรีกับร้องเป็นคนละอย่างกัน แต่เมื่อร้องกับดนตรีเคล้าประสานกันแล้ว ทำให้มีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง
            ๓. ดนตรีไทย หมายถึง เป็นเสียงที่เกิดจากความสั่นสะเทือนของวัตถุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือจากเสียงของมนุษย์เอง ทำให้เกิดทำนอง สูง ต่ำ มีช่วงจังหวะสม่ำเสมอ ดนตรีไทยเกิดขึ้นจากการผสมวงที่เป็นเอกลักษณ์โดยการนำเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ ชิ้นมาผสมผสานเสียงจนสามารถรวมเป็นวงใหญ่ สามารถแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น ๓ ประเภท คือ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี ดังนี้
            ๓.๑ วงปี่พาทย์ หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้น วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี, วงปี่พาทย์ไม้แข็ง, วงปี่พาทย์เครื่องห้า, วงปี่พาทย์เครื่องคู่, วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่, วงปี่พาทย์ไม้นวม, วงปี่พาทย์มอญ, วงปี่พาทย์นางหงส์
            ๓.๒ วงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี ๔ แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
            ๓.๓ วงมโหรี ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่
            ๔. การแต่งกาย หมายถึง เครื่องห่อหุ้มร่างกายของนักแสดง เพื่อความสวยงาม ตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ต้องการของการแสดงนั้น ๆ นอกจากนี้การแต่งกายยังเป็นสิ่งบ่งชี้ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของความเป็นไทย การแต่งกาย ของนาฏศิลป์ เน้นความประณีตบรรจง การสร้างเครื่องแต่งกาย การแสดง เพื่อบ่งบอก ฐานะ อุปนิสัย รสนิยมความคิดอ่าน อาชีพ และบทบาทของตัวละคร การแต่งกายของการแสดงไทย มีระเบียบปฏิบัติที่งดงาม สามารถแต่งได้หลายแบบ เช่น แต่งแบบศิลปะละครรำ แต่งแบบสี่ภาค และแต่งแบบประยุกต์อื่น ๆ ทั้งนี้รูปแบบการแต่งกายนั้นจะต้องสื่อถึงชุดการแสดงนั้น ๆ ด้วย

ขอขอบคุณเว็บไซต์
https://www.gotoknow.org/posts/348774

ต้นกําเนิดของการแสดงละคร มาจากอะไร

ท่ารำไทยมีต้นกำเนิดมาจากการแสดงใด

นาฏศิลป์ไทย เกิดมาจากกิริยาท่าทางซึ่งแสดงออกในทางอารมณ์ของมนุษย์ปุถุชน อากัปกิริยาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นมูลเหตุให้ปรมาจารย์ทางศิลปะนำมาปรับปรุงบัญญัติสัดส่วนและกำหนดวิธีการขึ้น จนกลายเป็นท่าฟ้อนรำ โดยวางแบบแผนลีลาท่ารำของมือ เท้า ให้งดงาม รู้จักวิธีเยื้อง ยัก และกล่อมตัว ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันจนเกิดเป็นท่ารำขึ้น และมี ...

นาฏศิลป์และการละครมีต้นกำเนิดมาจากสิ่งใด

ที่มาของนาฏศิลป์ไทยเข้าใจว่าเกิดจากสภาพความเป็นอยู่โดยธรรมชาติของมนุษย์โลก ที่มีความสงบสุข มีความอุดมสมบูรณ์ในทางโภชนาหาร มีความพร้อมในการแสดงความยินดี จึงปรากฏออกมาในรูปแบบของการแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความกำหนัดรู้ ดังนั้นเมื่อประมวลที่นักวิชาการเทียบอ้างตามแนวคิดและทฤษฎี จึงพบว่าที่มาของนาฏศิลป์ไทยเกิดจากแหล่ง ๓ แหล่ง ...

ละครมีการพัฒนาจากสิ่งใด

ละคร เป็นศิลปะการแสดงที่มีขึ้นเพื่อความบันเทิง พัฒนามาจากการเล่านิทานที่มีลักษณะการแสดงเป็น เรื่องราวและสามารถนำามาเล่าให้ผู้ที่ไม่ได้ชมการแสดง สามารถเข้าใจ รับรู้เรื่องราวการแสดงได้ เพราะในการ แสดงและการดำาเนินเรื่องจะเป็นการร่ายรำา เข้ากับบทร้อง ทำานองเพลง และเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นทั้ง ...

นาฏศิลป์มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทจยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึง ...