ข้อใดคือมาตรการหลังการซื้อขาย

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับพิกัดศุลกากร

  1. หน้าหลัก
  2. สิทธิพิเศษทางการค้า
  3. เขตการค้าเสรี (FTA และ WTO)

สิทธิ์เขตการค้าเสรีและ WTO

  • WTO
  • ASEAN
  • ASEAN - CHINA
  • ASEAN - KOREA
  • ASEAN - JAPAN
  • ASEAN - INDIA
  • ASEAN - AUSTRALIA - NEW ZEALAND
  • THAI - AUSTRALIA
  • THAI - NEW ZEALAND
  • THAI - JAPAN
  • THAI - PERU
  • THAI - INDIA
  • THAI - CHINA
  • THAI - CHILE
  • THAI - SINGAPORE
  • THAI - EU
  • RCEP
  • DFQF
  • GSP
  • GSTP
  • AISP
  • BIMSTEC
  • ASEAN - HONGKONG

    ความสำคัญและความเป็นมาของ FTA

    FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

      

    1. ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี
    2. แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)
      นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้
      1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
      2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
      3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
      4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

    3. ความหมายของเขตการค้าเสรี
    4. เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
    5. เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย
    6. เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

    ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA 

    ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

    1. ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
    2. เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
    3. เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
    4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
    5. สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
    6. ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบ หลีกเลี่ยง และสินค้าอันตราย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
    7. พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
    8. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
    9. สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

    มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้วิธีการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม: ศึกษากฎหมายของกลุ่มสหภาพยุโรปและกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส

    คำสำคัญ:

    -

    บทคัดย่อ

    เนื่องด้วยผู้ประกอบธุรกิจในปัจจุบันใช้วิธีการหรือมาตรการส่งเสริมการขายในรูปแบบที่ หลากหลายเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของตนเพราะเชื่อถือในมาตการ ส่งเสริมการขายเหล่านั้น ซึ่งในบางกรณีมาตรการที่ผู้ประกอบการใช้อาจมีลักษณะเป็นการ หลอกลวงหรือก่อให้เกิดความเสียหายให้กับผู้บริโภค บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่จัดท าขึ้น เพื่อศึกษาหาแนวทางในการควบคุมดูแลการใช้มาตรการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจ ในประเทศไทยโดยให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคในขณะที่ยังเป็นการสร้างสมดุลในระบบการค้าเสรี ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษากลไกทางกฎหมายของสหภาพยุโรปและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของ ประเทศฝรั่งเศส จากการศึกษากฎหมายของไทยและกฎหมายของต่างประเทศแล้ว ผู้วิจัยเห็นว่ากฎหมาย ของสหภาพยุโรปและกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสมีมาตรการที่ควบคุมการใช้มาตรการหรือวิธีการ ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการที่ชัดเจนเป็นการเฉพาะอันแตกต่างจากประเทศไทยที่มิได้มกฎหมายควบคุมมาตรการส่งเสริมการขายโดยรวม จึงต้องปรับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านการ โฆษณา ฉลาก หรือสัญญา ซึ่งในบางกรณีกฎหมายที่มีอยู่ไม่อาจครอบคลุมปัญหาการละเมิดสิทธิ ผู้บริโภคได้ทั้งหมด นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่ากฎหมายของไทยยังมีการก าหนดบทลงโทษในทางแพ่ง และทางอาญาที่ไม่เอื้อต่อการชดใช้เยียวยาผู้บริโภคและการป้องปรามผู้กระท าผิด ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้มาตรการส่งเสริมการขายที่ไม่ธรรม ประกอบด้วย 1) การบัญญัติกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้มาตรการส่งเสริมการขายเป็น การเฉพาะ 2) การก าหนดหลักการในการพิจารณาว่ามาตรการส่งเสริมการขายประเภทใดสามารถ ท าได้และประเภทใดที่ไม่สามารถท าได้โดยดูแนวทางของสหภาพยุโรปและประเทศฝรั่งเศสเป็น ตัวอย่าง 3) การก าหนดบทลงโทษทางอาญาที่สะท้อนผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับจากการ ละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในกฎหมายเฉพาะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้มาตรการส่งเสริม การขาย 4) การก าหนดผลของสัญญาที่เกิดจากการใช้มาตรการส่งเสริมการขายที่ไม่เป็นธรรม รวมไปถึงวิธีการชดใช้เยียวยาที่ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับให้ชัดเจนในกฎหมายเฉพาะเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภคจากการใช้มาตรการส่งเสริมการขาย

    Downloads

    Download data is not yet available.

    ข้อใดคือมาตรการหลังการซื้อขาย

    License

    ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
    บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ