การ ปฏิบัติ ระหว่าง สัมภาษณ์ มี หลักการ อย่างไร

หลังจาการสัมภาษณ์แล้ว  สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้พิจารณาผู้สมัครงานจะพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้  คือ  ความประทับใจครั้งแรก  ความฉลาด  มีไหวพริบ  ความคิดริเริ่ม  ความกระตือรือร้น  ความขยันหมั่นเพียร  ความสามารถในการสื่อข้อความ  และมีจุดมุ่งหมายของชีวิต

          จากข้อมูลในเบื้องต้นนี้ จะเห็นได้ว่า การสวมบทบาทกรรมการสอบสัมภาษณ์ถือเป็นเรื่องยาก เพราะนอกจากต้องพิจารณาบุคลิกภาพ ไปพร้อมกับการวิเคราะห์การตอบคำถามของผู้สอบสัมภาษณ์อย่างเป็นกลางแล้ว กรรมการสอบสัมภาษณ์ยังต้องมองให้ลึกถึงทัศนคติ และแนวคิด ที่ผู้สอบสัมภาษณ์มีต่อคำถามและองค์กร เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละตำแหน่งงาน มาช่วยการพัฒนาให้องค์กรรุดหน้ามากยิ่งขึ้น

การสัมภาษณ์ คือการคุยอย่างมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งนิยมใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่  เช่น  เกี่ยวกับบุคลิกภาพ  การปรับตัว  เจตคติ  ความสนใจ  รวมทั้งคุณลักษณะเกี่ยวกับการปฏิบัติในด้านวิธีการปฏิบัติ  การใช้การสัมภาษณ์เพื่อวัดความสามารถในด้านความรู้ความคิดทางสติปัญญาก็สามารถใช้ได้  แต่ต้องระมัดระวังในกรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์มีหลายคน  และใช้คำถามคนละชนิดคนละเรื่อง  ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเปรียบเทียบคะแนน
          ประเภทของการสัมภาษณ์
                  การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          1. การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ  เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือแบบสัมภาษณ์ล่วงหน้าให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือเรื่องราวที่ต้องการทราบจากผู้ถูกสัมภาษณ์
          2. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ  เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์เตรียมแต่      จุดมุ่งหมายไว้แล้วใช้วิธีการสนทนาซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  โดยผู้สัมภาษณ์ต้องพยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกว่ามีบรรยากาศที่เป็นกันเอง  และอาจมีการป้อนคำถามนำบ้าง
          หลักเกณฑ์ในการสัมภาษณ์
          1. ผู้สัมภาษณ์ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าต้องการรู้สิ่งใดจากผู้ถูกสัมภาษณ์
          2. ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือคำสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้า
          3. ผู้สัมภาษณ์ต้องสร้างความเป็นกันเองโดยการยิ้มแย้มแจ่มใสแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์
          4. ผู้สัมภาษณ์ควรรู้เรื่องที่ตนเองจะสัมภาษณ์เป็นอย่างดีเพื่อช่วยในการสรุปผล และช่วยในการตั้งคำถามเสริมระหว่างที่สัมภาษณ์
          5. ต้องมีการจดบันทึกผลการสัมภาษณ์อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์หวาดระแวง
         ขั้นตอนของการสัมภาษณ์
                 การสัมภาษณ์มีขั้นตอนในการดำเนินการ 3 ขั้น ดังนี้
         1.  ขั้นเริ่มสัมภาษณ์  ผู้สัมภาษณ์ควรคำนึงถึงเทคนิคที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้
              1.1 ผู้สัมภาษณ์จะต้องแนะนำตนเอง  บอกจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์  พร้อมทั้งพยายามชี้แนะให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เห็นว่าเขามีส่วนสำคัญมากในการที่จะทำให้งานเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างสมบูรณ์  และจะต้องชี้แจงแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วยว่า  ข้อมูลครั้งนี้ถือเป็นความลับ  และถ้าจะบันทึกเทปต้องแจ้งแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้ทราบก่อนด้วย
              1.2 พยายามสร้างบรรยากาศ และสัมพันธภาพที่ดีในการสัมภาษณ์  โดยใช้เวลาเล็กน้อยสนทนาเรื่องที่ผู้ถูกสัมภาษณ์สนใจทั่ว ๆ ไปก่อน  เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความคุ้นเคย  มีความรู้สึกเป็นมิตร  และไว้วางใจผู้สัมภาษณ์
        2.  ขั้นสัมภาษณ์เนื้อหา  ผู้สัมภาษณ์ควรคำนึงถึงเทคนิค  ดังต่อไปนี้
              2.1 คำถามควรสั้นกะทัดรัด  และปล่อยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดอย่างเสรีเพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าเขามีอิสระที่จะพูดตามที่เขาคิด
              2.2 อย่าวิพากษ์วิจารณ์  หรือสั่งสอนผู้ให้สัมภาษณ์  เมื่อผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลหรือมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับที่สังคมยอมรับ
              2.3  อย่าใช้คำถามที่เป็นการชี้แนะคำตอบ
              2.4 ในระหว่างสัมภาษณ์  ผู้สัมภาษณ์ไม่ควรจะเร่งรัด  หรือคาดคั้นคำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์
              2.5 ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนหรือเป็นที่พอใจ  ถ้ายังไม่คุ้นเคยกันนักอาจจะผ่านไปก่อน เมื่อจบการสัมภาษณ์แล้วค่อยย้อนกลับมาถามใหม่ โดยกล่าวในเชิงทบทวนคำถาม  หรือทบทวนคำตอบแบบสุภาพ
        3. ขั้นยุติการสัมภาษณ์  ควรกล่าวคำขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการสัมภาษณ์
        การจดบันทึกคำตอบในแบบสัมภาษณ์
                 การจดบันทึกคำตอบในการสัมภาษณ์  มีแนวปฏิบัติดังนี้
        1.  ต้องจดบันทึกทันทีหลังจากการสัมภาษณ์แล้ว  เพื่อกันลืมหรือสับสน
        2. รายละเอียดที่จะบันทึก ได้แก่  ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์  ที่อยู่  วันที่สัมภาษณ์   ผลการสัมภาษณ์  ซึ่งประกอบด้วย  เรื่องที่สัมภาษณ์  คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์  ความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีต่อปัญหา  ข้อสังเกตที่ได้ในขณะสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ สรุปข้อเสนอแนะและสรุปผลการสัมภาษณ์
        3. ควรบันทึกแต่เนื้อหาสาระเท่านั้น ไม่ควรใส่ความคิดเห็นของผู้สัมภาษณ์เพราะอาจก่อให้เกิดความเอนเอียงได้
        4. ถ้าไม่ได้คำตอบในการสัมภาษณ์ในคำถามใดผู้สัมภาษณ์ควรจะบันทึกเหตุผลไว้ด้วย
         การสัมภาษณ์ในการเรียนการสอน
                   ในการเรียนการสอนสามารถนำการสัมภาษณ์ไปใช้ได้ 4 ลักษณะ  ดังนี้
            1. ใช้ในการทดสอบ  ในกรณีที่นักเรียนยังเขียนไม่เป็น  ครูอาจนำข้อสอบมาถามให้นักเรียนตอบด้วยวาจา  ก็ถือเป็นการสัมภาษณ์
            2. ใช้ประกอบการสังเกต  ถ้าครูใช้การสังเกตแล้วยังพบว่าได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนก็อาจจำเป็นต้องสัมภาษณ์เพิ่มเติม
            3. ใช้แทนการสังเกต  ในบางครั้งครูอาจไม่สามารถสังเกตนักเรียนได้ทั่วถึงทุกคน  ก็อาจใช้วิธีการซักถามจากเพื่อนครูคนอื่น  หรือบุคคลอื่นที่เชื่อถือได้ เพื่อนำข้อมูลมาตัดสิน
            4. ใช้การสัมภาษณ์ซักถามนักเรียนโดยตรงเพื่อหาข้อเท็จจริง
            การสัมภาษณ์ควรจะมีแบบบันทึกการสัมภาษณ์ด้วย  เพื่อจะได้ทำให้เกิดความสะดวกในการบันทึก
            การใช้การสัมภาษณ์
                   การสัมภาษณ์มีลักษณะเหมือนการสอบปากเปล่า โดยใช้ประสาทสัมผัสเป็นสื่อ  ซึ่งจะต้องระมัดระวัง ดังนี้
            1. ผลของการสัมภาษณ์ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้สัมภาษณ์  วิธีการ  และคำถามที่จะใช้  ผู้สัมภาษณ์จึงควรมีลักษณะดังนี้
                1.1  มีการเตรียมตัวให้พร้อม คำพูด  ท่าทาง  ต้องเหมาะสมถูกกาลเทศะ
                1.2  มีความคล่องแคล่วในการใช้คำถาม  และการสรุปผล
                1.3  มีการกระตุ้นเตือนในการใช้คำถามยั่วยุให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถาม แต่ไม่ใช้คำพูดแบบตีโวหารหรือเล่นสำนวน
                1.4  พยายามถามเรื่องที่ผู้ถูกสัมภาษณ์อยากตอบ  และไม่ถามเชิงแนะคำตอบ
           2. ผู้ถูกสัมภาษณ์จะให้ข้อเท็จจริงและรายละเอียดมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความร่วมมือเป็นสำคัญ  ดังนั้นผู้สัมภาษณ์ควรปฏิบัติต่อผู้ถูกสัมภาษณ์  ดังนี้
               2.1  สร้างความเป็นกันเองเพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัด มีอิสระในการตอบ
               2.2  ให้ความสนใจ และความจริงใจ
               2.3 ไม่ควรถามในเรื่องที่ทำให้เสียศักดิ์ศรีหรือเป็นจุดบกพร่องที่รุนแรงของผู้ถูกสัมภาษณ์
          3. ควรมีการติดต่อนัดหมายและแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า
          4. พยายามอย่าให้มีอคติทางอารมณ์เกิดขึ้นกับผู้สัมภาษณ์หรือผู้ถูกสัมภาษณ์
          5. ไม่ควรใช้เวลาสัมภาษณ์ติดต่อกันนานเกินไป
         ข้อดีของการสัมภาษณ์
         1. ใช้ได้กับคนทุกเพศ  ทุกวัย  แม้ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก  หรือเขียนไม่ได้ก็สามารถให้ ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ได้
         2.  การสัมภาษณ์เป็นการสร้างความเป็นกันเองกับผู้สัมภาษณ์โดยตรง
         3.  ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถซักถามคำถามให้เข้าใจก่อนที่จะตอบได้
         4.  ข้อมูลที่ได้มีความเชื่อถือได้มากกว่าแบบสอบถาม
         5.  ผู้ถูกสัมภาษณ์มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและซักถามเมื่อไม่เข้าใจได้
         6.  ผู้สัมภาษณ์สามารถอ่านความรู้สึกนึกคิดของผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องต่าง ๆ ได้
         ข้อเสียของการสัมภาษณ์
         1.  ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับผู้สัมภาษณ์โดยตรงได้แก่คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ เช่น  บุคลิกภาพ  มนุษยสัมพันธ์  ไหวพริบ  การตัดสินใจ  เป็นต้น
         2. อารมณ์ของผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์  มีผลต่อความเที่ยงตรงของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
         3.  การสัมภาษณ์ต้องใช้เวลามากเพราะต้องสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
         4. ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  สภาพอากาศ  แสง  เสียงรบกวน  เป็นต้น

การปฏิบัติระหว่างสัมภาษณ์มีหลักการอย่างไร *

เมื่อได้รับเรียกให้เข้าไปรับการสัมภาษณ์ ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้ และกล่าวคำสวัสดีกับเจ้าหน้าตามมารยาท แล้วจึงนั่งเมื่อเจ้าหน้าที่เชิญให้นั่ง ในระหว่างการสัมภาษณ์ควรตั้งใจฟังคำถาม และตอบคำถามทุกข้ออย่างชัดเจน มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงความกระตือรือร้นไม่พูดมากเกินความจำเป็น

นศ. มีหลักการเตรียมตัวสัมภาษณ์อย่างไรบ้าง

คู่มือ 10 ข้อเพื่อเตรียมตัวสัมภาษณ์ สำหรับนักศึกษาฝึกงาน ลงสนาม....
1. เตรียมตัวตั้งรับ ... .
2. สร้างความประทับใจแรกเจอ ... .
3. ให้ความสำคัญกับทักษะ ... .
4. ให้การสัมภาษณ์พร้อมยกตัวอย่างทักษะประกอบ ... .
5. เข้าใจคำถามก่อนตอบ ... .
6. ปฏิบัติตามบทสัมภาษณ์ ... .
7. เน้นเรื่องเชิงบวก ... .
8. ยกตัวอย่างผลงาน.

การสัมภาษณ์มีความสําคัญอย่างไร

3. จุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ 1.เพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริงของผู้ถูกสัมภาษณ์ 2. เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน 3. เพื่อจะได้ทราบถึงความสนใจ แนวคิด ทัศนคติ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ 4. เพื่อจะได้ทราบถึงความรู้ความสามารถ ของผู้ถูกสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์งานมีอะไรบ้าง

การสัมภาษณ์งานควรทำในที่เงียบสงบ มีสมาธิในการสัมภาษณ์ ไม่ใจลอยงานหลัก ของการสัมภาษณ์ไม่ใช่การถามคำถามผู้สมัคร แต่คือการฟัง โดยใช้หลัก 80/20 คุณฟัง 80% และพูดได้เพียง 20% ในช่วงเริ่มต้นการสัมภาษณ์ ปิดการสัมภาษณ์ และการถามคำถามสมมุติ