การ พิจารณา การ ตรวจ สอบ การละเมิดสิทธิ มนุษย ชน มี ขั้น ตอน อะไร

บริษัทดำเนินงานภายใต้นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGP) และสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) รวมถึงกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบครลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ เช่น การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ การเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางเพศ เป็นต้น บริษัทมีการประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) ในทุกพื้นที่ดำเนินการและทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท พร้อมทั้งประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Impact Assessment : HRIA) ในหน่วยงานที่มีความเสี่ยงตลอดจนทบทวนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร (Human Rights Risk Assessment) รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่พันธมิตรทางธุรกิจ และคู่ค้าที่สำคัญผ่านโครงการที่หลากหลาย เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมกันนี้ บริษัทยังประเมินค่าครองชีพสำหรับพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

นอกจากนี้ บริษัทยกระดับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผ่านการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนชั้นพื้นฐานในการดำเนินการด้านสาธารณสุข โดยกำหนดมาตรการด้านสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อาทิ ค่ารักษาพยาบาลพนักงานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ช่วยเหลือค่าการศึกษาของบุตรพนักงาน ในกรณีที่คู่สมรสพนักงานได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และเป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัท

กระบวนการติดตามสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

บริษัทกำหนดให้มีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ดำเนินกิจของบริษัท รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทตลอดห่วงโซ่คุณค่า ครอบคลุมคู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา และพันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture) กิจการควบรวมและกิจการเข้าซื้อ

นอกจากนี้ บริษัทพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถระบุประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การใช้แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก สิทธิและเสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง การให้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ และการคุมคามทั้งที่เกี่ยวข้องกับทางเพศและรูปแบบอื่นๆ รวมถึงความมั่นคงปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสิทธิลูกค้า โดยครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่มีความเสี่ยงอาจถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ พนักงาน ชุมชนและคนในท้องถิ่น คู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา ลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงกลุ่มเปราะบางที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เพศทางเลือก (LGBTQI+) ผ่านการรับฟังประเด็นจากผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทจะไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  • ระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ ทั้งที่เกดิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • ระบุผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงพิจารณาสถานะของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิงและเด็ก แรงงานอพยพ บุคคลทุพพลภาพและผู้สูงอายุ
  • การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Risk Assessment)
  • การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Impact Assessment : HRIA)

  • ออกแบบมาตรการป้องกันและลดผลกระทบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • นำมาตรการในเบื้องต้นไปปฏิบัติใช้สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ติดตามผลและทบทวนกระบวนการ

มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เช่น พนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม เพื่อสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท

  • การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • การจัดตั้งกลไกรับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทมีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment : HRRA) เป็นประจำทุก 3 ปี อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 พร้อมทั้งทบทวนมาตรการป้องกันและลดผลกระทบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปี ครอบคลุม 8 หน่วย ธุรกิจหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ดำเนินธุรกิจ และคิดเป็นร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ การจัดซื้อ การผลิตและจำหน่าย การตลาดและการขาย ลูกค้าและบริการ

ในปี 2564 บริษัททบทวนผลการประเมินความเสี่ยง โดยรวบรวมผลการประเมินประจำปี 2562-2564 มาทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน พบว่าประเด็นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิแรงงานของพนักงาน แรงงานคู่ค้า ผู้รับเหมา สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม และสิทธิลูกค้า มีประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ (Salient Human Rights Issues) ที่มีระดับความเสี่ยงหลงเหลืออยู่ (Residual Risks) ในระดับสูง จากหน่วยธุรกิจหลัก ได้แก่ บริการร้านสะดวกซื้อ บริการด้านค้าส่ง บริการผลิตและจำหน่าย เบเกอรี่ อาหารพร้อมรับประทาน อาหารแช่เข็ง รวมถึงให้มีการติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกันลดผลกระทบจากความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที สมดังเจตนารมณ์ของบริษัทที่ต้องการให้พนักงาน สังคมและบริษัทอยู่ร่วมกันได้อย่างเอื้ออาทร มีเมตตา เคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน เพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมด ครอบคลุมคู่ค้าจำนวน 4,710 ราย โดยมีประเด็นสำคัญ เช่น การจัดการแรงงานและสิทธิมนุษยชนในเรื่องการปรับปรุงคู่ค้าแรงงงานให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน การจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทนในเรื่องการหักค่าจ้างพนักงานให้สอดคล้องตามกฎหมาย ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในเรื่องการอบรมความปลอดภัยในการทำงาน การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด และการตวจสุขภาพของพนักงานตามปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม บริษัทยังได้ส่งเสริมให้คู่ค้าจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขสำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมด

การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการเก็บข้อมูล การสำรวจ และสัมภาษณ์ความคิดเห็นกับผู้ถือครองสิทธิ์ โดยในปี 2564 บริษัทประเมินผลกระทบครอบคลุมจำนวนพนักงานทั้งหมดในทุกพื้นที่ที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงจำนวน 4 พื้นที่ ซึ่งเป็นข้อมูลจากพนักงานร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ ศูนย์กระจายสินค้า โรงงานซีพีแรม และแพลตฟอร์มออนไลน์ 24Shopping ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 4,100 ราย และดำเนินการยกระดับมาตรการบรรเทาผลกระทบ และผู้บริหารระดับสูงส่งสารถึงพนักงานทั่วองค์กรให้ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน

มาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของประเด็นที่เสี่ยงสูงแบบบูรณาการ

ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบของบริษัท สโตร์พาร์ทเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ)

ประเด็นที่มีความเสี่ยงสูงมาตรการป้องกัน ลดผลกระทบการบูรณาการมาตรการ
ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานร้าน 7-Eleven
  • มีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis)
  • มีการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล รวมถึงเครื่องทุ่นแรงสำหรับพนักงานตามลักษณะงาน
  • โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการขับขี่สำหรับพนักงานร้าน 7-Eleven
  • กำหนดแนวปฏิบัติของพนักงานร้านในช่วงสถานการณ์โควิด 19 (มาตรการเพิ่มเติมจากการประชุมทบทวน)
  • คู่มือความปลอดภัย Safety Hand Book
  • นโยบายบริษัท
  • ประกาศเป้าหมายการดำเนินการความปลอดภัยยานยนต์
  • มาตรฐานการทำงานของร้าน 7-Eleven และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ความปลอดภัยและสุขภาพของลูกค้าร้าน 7-Eleven
  • การตรวจสอบและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนนำมาวางขายในร้าน 7-Eleven
  • มีการตรวจสอบมาตรฐานร้านทุกเดือนโดย QSSI
  • มีมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยของร้านทุกเดือน
  • คัดสรรผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาทิ เมนูคุมแคล โครงการ กินดี อยู่ดี มีสุข โครงการ Eat Well
  • แนวปฏิบัติในการดูแลลูกค้า และร้านในช่วงสถานการณ์โควิด 19 (มาตรการเพิ่มเติบจากการประชุมทบทวน)
  • ระบบการเรียกคืนสินค้า และระบบจัดการข้อร้องเรียนลูกค้า
  • จัดทำฉลากโภชนาการ และสลากแสดงค่าพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมแบบจีดีเอ ในสินค้าประเภทอาหารและเบเกอรี่
  • นโยบายบริษัท
  • มาตรฐานการทำงานของร้าน 7-Eleven

การสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน

จัดอบรมหลักสูตร “สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ”

เพื่อสร้างความตระหนักและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างถูกต้อง รวมถึงป้องกันการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนภายใน และภายนอกองค์กร บริษัทดำเนินโครงการอบรมหลักสุตร “สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ” สำหรับพนักงานระดับบริหารขึ้นไปของกลุ่มซีพี ออลล์ โดยหลักสูตรมีเนื้อหาครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ได้แก่

ในปี 2564 มีผู้เข้าร่วมการอบรมรวมจำนวน 1,900 ราย พร้อมทั้งมีแผนขยายขอบเขตการสร้างความตระหนัก และความเข้าใจให้แก่พนักงานทุกระดับ ทุกพื้นที่ รวมถึงสโตร์พาร์ทเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ) ผ่านระบบออนไลน์ครบร้อยละ 100 ภายในปี 2568

การยกระดับระบบกลไกข้อร้องเรียนและการเยียวยา

บริษัทให้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและข้อกังวล ผ่านช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของพนักงานที่หลากหลาย เช่น ระบบ Voice of Employee รวมถึงแสดงความคิดเห็นและข้อกังวลผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ (คสส.)

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทยึดมั่นในการเคารพสิทธิแรงงานของพนักงาน และการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายต่างๆ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานไทยและสากล ผ่านการสร้างความเหมาะสมด้านการจ้างงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด และสวัสดิการ รวมถึงสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้ บริษัทกำหนดสวัสดิการสำหรับพนักงาน ตัวอย่างต่อไปนี้

สวัสดิการสิทธิตามกฎหมายกำหนดสิทธิที่บริษัทมองให้พนักงาน
จำนวนวันเพื่อเลี้ยงดูบุตรสำหรับพนักงานหญิง 98 วัน 120 วัน
วันหยุดตามประเพณี ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน 14-18 วัน
วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน 6-15 วัน
วันลากิจ 3 วัน 3-7 วัน

พร้อมกันนี้ บริษัทจัดสรรสวัสดิการที่หลากหลายให้กับพนักงาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างการทำงานร่วมกับบริษัท เช่น สวัสดิการเงินกู้ฉุกเฉินจากสถาบันการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เงินช่วยเหลือบ้านเช่าบ้านพัก เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำสำนักงานต่างจังหวัด (เบี้ยกันดาร) เป็นต้น ตลอดจนสวัสดิการด้านความมั่นคงของชีวิต อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิต เงินช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ โดยในปี 2564 บริษัทได้มีการทบทวนเพิ่มสวัสดิการด้านสุขภาพสำหรับพนักงาน ได้แก่ ห้องสวัสดิการ Health Center (กายภาพบำบัด) สวัสดิการใบสั่งยาสำหรับพนักงานที่มีใบสั่งยาหรือใบรับรองแพทย์โดยพนักงานไม่ต้องสำรองจ่าย และสามารถเลือกรับยาได้จากที่บ้านหรือที่ทำงานช่วยลดความเสี่ยง รวมถึงส่งเสริมกดารเข้าถึงวัคซีนตามสิทธิให้กับพนักงานทุกระดับ และจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพิ่มเติมให้พนักงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานร้าน 7-Eleven เป็นต้น

เสรีภาพในการสมาคม

บริษัทให้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและข้อกังวล ผ่านช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของบริษัทที่หลากหลาย เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์แจ้งข้อมูล สื่อออนไลน์ของบริษัท เคาะระฆัง ระบบ Voice of Employee เป็นต้น รวมถึงผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ (คสส.) ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญบัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ปัจจุบันมีพนักงานตัวแทนคณะกรรมการสวัสดิการ จำนวน 103,257 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานทั้งหมด โดยมีการประชุมหารือร่วมกันทุกไตรมาส ในปี 2564 คณะกรรมการสวัสดิการได้พิจารณาอนุมัติสวัสดิการ (เพิ่มเติม) สำหรับพนักงาน ดังนี้

  • ลาเพื่อดูแลบุตรที่คลอดใหม่ (พนักงานชาย) จำนวน 5 วัน/ปีปฏิทิน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน
  • เพิ่มประเภทของลากิจธุระส่วนตัว เพื่อสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work Life Balance) โดยได้รับค่าจ้างและไม่นับรวมวันหยุดที่คั่นกลางระหว่างการลา
  • โครงการให้พนักงานประจำสายสำนักงานระดับเจ้าหน้าที่ และบังคับบัญชา มีทางเลือกในการทำงานพาร์ทไทม์ (Part-time working options) เพื่อช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวของพนักงานที่ได้รับผลกระทบหรือมีวิกฤติทางด้านการเงิน

การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมและความหลากหลายของบุคลากร

บริษัทเคารพความแตกต่างของพนักงานที่หลากหลาย มุ่งปฏิบัติกับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมบนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ไม่แบ่งแยกสถานใด อาทิ เชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา อายุ รวมถึงผู้พิการโดยมีการบริหารความหลากหลายและความแตกต่างอย่างเหมาะสมผ่านการจ้างงาน การพัฒนาศักยภาพ และวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพให้แก่พนักงานทุกคน เพื่อดึงดูด และรักษาบุคลากรที่เป็นคนเก่ง คนดี ทั้งนี้ บริษัทส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างพนักงานหญิงและพนักงานชายให้มีโอกาสเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างเท่าเทียม อีกทั้งมอบโอกาสการดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงตลอดจนรับฟังมุมมองที่แตกต่างจากความหลากหลายทางเพศในการช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้ง บริษัทมอบโอกาสในการสร้างอาชีพผ่านการจัดจ้างพนักงานทุพพลภาพให้เหมาะสมโดยผู้พิการสามารถทำงานในถิ่นพำนัก เพื่อกระจายรายได้ชุมชน พร้อมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสำนักงาน เช่น ทางลาด การขยายประตู ช่องพิเศษสำหรับผู้พิการ ห้องละมาด ห้องเก็บนมบุตร เป็นต้น

ค่าครองชีพ

บริษัทมุ่งดำเนินงานด้านค่าครอบชีพ โดยทบทวนเงินเดือนและสวัสดิการสำหรับพนักงานในแต่ละพื้นที่อย่างสม่ำเสมอให้เป็นธรรมอย่างเท่าเทียมและเป็นไปตามกฎหมาย รวมถึงสามารถแข่งขันได้เพื่อให้พนักงานได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมที่สุดในการดำรงชีพ โดยบริษัทจ่ายค้าจ้างให้กับพนักงานสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดตลอดจนมีเงินสนับสนุนและค่าตอบแทนที่เหมาะสม พร้อมทั้งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อาทิ ค่าทำงานนอกเวลา ค่าเดินทาง เบี้ยพิเศษ ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร เบี้ยขยัน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจ่ายค่าจ้างและผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมแก่พนักงาน บริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์ค่าจ้างประจำปี โดยเข้าร่วมกับโครงการสำรวจค่าจ้าง และสวัสดิการกับบริษํท Korn Ferry Hay Group ซึ่งเป็นที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก อีกทั้งยังกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของค่าครอบชีพ และปัจจัยการจ้างงานในแต่ละด้านของการดำเนินธุรกิจสม่ำเสมอ โดยในปี 2564 บริษัทประเมินค่าครอบชีพครอบคลุมพนักงานร้อยละ 100 พร้อมทั้ง มีแผนขยายการประเมินไปยังคู่ค้าและผู้รับเหมาในอนาคต