ผู้แต่งมีจุดประสงค์อย่างไร

วัตถุประสงค์ของการเขียน

วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้งานเขียนมีลักษณะเนื้อหาที่แตกต่างกันแม้ว่าจะเขียนเรื่องเดียวกัน ผู้เขียนที่ดีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการเขียนให้ชัดเจนก่อนลงมือเขียน เพื่อให้งานเขียนมีเป้าหมายที่ชัดเจน

จุดมุ่งหมายในการเขียนมีหลายประการดังนี้

1.การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เป็นการเขียนเพื่อให้ข้อมูล เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง หรือประสบการณ์ที่ได้พบเห็นมา ผู้เขียนจะต้องให้ความสำคัญแก่ความถูกต้องและการจัดลำดับข้อมูลให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

2.การเขียนเพื่ออธิบาย เป็นการเขียนเพื่อชี้แจง ให้ความเข้าใจที่กระจ่างชัดเจนในเรื่องราวต่างๆใช้ภาษาที่ชัดเจน กะทัดรัด

3.การเขียนเพื่อสร้างเสริมจินตนาการ  เป็นการเขียบนเพื่อการสร้างอารมณ์และความรู้สึกให้ผู้อ่านคล้อยตาม

4.การเขียนเพื่อจูงใจ  เป็นการเขียนเพื่อแสดงเหตุผล ให้ข้อคิด ตลอดจนข้อแนะนำที่ต้องการให้ผู้อ่านปฏิบัติ

ที่มา หนังสือการเขียนในชีวิตประจำวัน ม.4-ม.6

วรรณคดีไทยมีจุดประสงค์หรือความมุ่งหมายในการแต่งดังต่อไปนี้

      ๑.เป็นการแต่งที่เกิดจากใจรักมิได้มุ่งหมายที่จะให้เป็นงานอาชีพ ถึงแม้ว่าในสมัยหนึ่งมีผู้วิจารณ์ว่าสุนทรภู่เคยเขียนกลอนรับจ้าง    แต่แท้ที่จริงแล้วเกิดจากเพราะใจรักงานด้านนี้เป็นฐานมากกว่าเพื่อรายได้หรืออามิสสินจ้าง  วรรณคดีไทยส่วนมากจึงเกิดขึ้นเพราะกวีต้องการแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านนี้  รวมทั้งที่เกิดจากใจรักเป็นประเด็นสำคัญ
              นรินทร์นเรศไท้                     บริบาล
       นิพนธ์พจน์พิสดารญาณ               ยศไว้
       กวีวรโวหาร                                   นายหนุ่ม
       ควรแก่ปราชญ์ใดได้                      อ่านแล้วเยียรยอ
                                                         (นิราศนรินทร์)

   

   ๒.เพื่อเป็นการตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณ  หรือสรรเสริญพระเกียรติของพรมหากษัตริย์หรือจากพระบรมราชโองการ  ความมุ่งหมายในลักษณะนี้มีมากในวรรณคดีไทย
               ราโชพระสาสนเอื้อน            โองการ
       สารสั่งพระคลังกราน                     กราบเกล้า
       ให้รังรจนสาร                                 เสาวพากย์
       โดยพยุหยาตรเต้า                         แต่งไว้เป็นโคลง
                                                         (ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง)

      ๓.เพื่อเป็นสื่อถ่ายทอดพรรณนาความในใจเกี่ยวกับความรัก  หรือความรู้สึกนึกคิดต่างๆ
                  รำรักรำเรื่องร้าง                  แรมนวล  นาฏฤา
        เสนาะสนั่นดินครวญ                     ครุ่นฟ้า
        สารสั่งพี่กำสรวล                          แสนเสน่ห์  นุชเอย
        ควรแม่ไว้ต่างหน้า                        พี่พู้นภายหลัง
                                                            (นิราศนรินทร์)

ผู้แต่งมีจุดประสงค์อย่างไร

     ๔.เพื่อบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญ 

     

๕.เพื่อแสดงความเชื่อในทางศาสนา  และความฝังใจจารีตประเพณี  รวมทั้งเพื่อเป็นอานิสงส์แก่ผู้เขียนตามความเชื่อทางศาสนา เช่นเรื่อง  เตภูมิกถา   ลิลิตโองการแช้งนำ ฯลฯ

 

   ๖.เพื่อเป็นเครื่องมือสอนความรู้และแนวคิด  ข้อปฏิบัติต่างๆ เช่น กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  โคลงโลกนิติ  สุภาษิตพระร่วง  ฯลฯ