ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาแบดมินตัน มีอะไรบ้าง

คนที่มีโรคประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งโรคเบาหวาน ไขมัน ความดัน หรือโรคหัวใจ ก็ตาม สามารถจะเล่นกีฬาได้เหมือนคนที่มีสุขภาพดี เพียงแต่อย่าหักโหม ต้องรู้จักประเมินสภาพร่างกายของตัวเองไว้ก่อน

6. การคูลดาวน์ (Cool down)

หลังเล่นกีฬาเสร็จแล้ว ควรจะเคลื่อนไหวร่างกายไปสักพักด้วยการเดินไปมา เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนขาได้คลายความเมื่อยล้า โดยเฉพาะกรดแลคติกในกล้ามเนื้อเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยจะค่อยๆ สลายไป หลังออกซิเจนในเลือดได้เข้ามาหล่อเลี้ยงอีกครั้งช่วยลดการปวดกล้ามเนื้อได้ หัวใจที่เต้นถี่มากขึ้นได้กลับมาเต้นในอัตราปกติ การสูบฉีดของเลือดไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นปกติอีกครั้ง

และหากสนใจเพิ่มความปลอดภัยให้คนที่คุณห่วงใยจากการออกกำลัง หรือเล่นกีฬา เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา มีประกันอุบัติเหตุจากแอกซ่า เราพร้อมคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลทุนประกันภัยคุ้มครองสูงสุด 1,000,000 บาท ราคาคุ้มค่า เบี้ยเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท/ปี พร้อมบริการรับแจ้งอุบัติเหตุ แอกซ่า ฮอตไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-2118-8111

_____________________________________________________________________________________________

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาแบดมินตัน มีอะไรบ้าง

______________________________________________________________________________________________

ซื้อระกันอุบัติเหตุจากแอกซ่าผ่านออนไลน์ได้ที่นี่

ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาแบดมินตัน มีอะไรบ้าง

______________________________________________________________________________________________

หากสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติม แอกซ่าพร้อมแสตนด์บายผ่านช่องทาง

- Line Official: @axathailand
- Facebook: www.facebook.com/AXAThailand
- AXA Customer Service 02 118 8111

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬานั้นมีประโยชน์ แต่หากทำโดยไม่ถูกวิธีก็อาจจะเกิดโทษได้ เช่น เกิดการบาดเจ็บขึ้น

ก่อน จะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาควรวอร์มร่างกายก่อนทุกครั้งอย่างน้อย 15-20 นาที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ อาจเริ่มจากเดินช้าๆ แล้วเร่งความเร็วขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะวิ่งเหยาะๆ สะบัดแขนขา หมุนหัวไหล่ หัวเข่า คอ เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น เหยียดแขนออกช้าๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที สลับทำอีกข้าง แล้วทำที่ขาเช่นเดียวกัน

กีฬา แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป หากจะเลือกเล่นกีฬาชนิดใดก็ควรศึกษาให้ดีก่อน เช่น หากชอบเล่นแบดมินตัน ควรเริ่มตั้งแต่เลือกไม้ให้เหมาะสม น้ำหนักกำลังพอดี เพื่อไม่ให้เกิดความเมื่อยล้าหรือการบาดเจ็บ หากชอบเดินหรือวิ่ง ก็ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมและสถานที่ที่เหมาะกับการออกกำลังกาย

นอก จากนี้ร่างกายของแต่ละคนมีความทนทานไม่เท่ากัน หากหักโหมเล่นกีฬาติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นลมหรือบาดเจ็บได้ การเล่นกีฬาที่ได้ประโยชน์ จึงควรเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย ไม่หนักเกินไป ไม่นานเกินไป แต่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพที่สุด

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. อาการบาดเจ็บเฉียบพลัน คือการบาดเจ็บเกิดขึ้นทันที เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก
  2. อาการบาดเจ็บเรื้อรัง คืออาการบาดเจ็บที่เกิดซ้ำๆ ที่เดิมและสะสมมานาน เช่น การวิ่ง ทำให้หัวเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกระแทก จะทำให้เกิดการสึกกร่อนจนเกิดอาการข้อเข่าเสื่อมขึ้นได้ กีฬาบางชนิดหากเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไม่เหมาะสมเป็นประจำ ก็อาจทำให้บาดเจ็บเรื้อรังได้ เช่น การเล่นเทนนิส การตีกอล์ฟ

อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาชนิดต่างๆ ได้แก่

  • วิ่งหรือเดิน อาจทำให้ข้อเท้าแพลง เอ็นข้อเท้าหรือเอ็นหัวเข่าฉีกขาด กล้ามเนื้ออักเสบ หรือเป็นโรคเข่า
  • แบดมินตัน อาจทำให้กล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก เอ็นข้อเท้าฉีกขาด เจ็บหัวเข่า หรือปวดข้อศอก
  • เทนนิส อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นฉีก กระดูกข้อมือหัก ข้อศอกหลุด ปวดสะโพก หรือเป็นโรคเข่า
  • ว่ายน้ำ อาจทำให้ไหล่หลุด หรือเป็นหูน้ำหนวก
  • ฟุตบอล อาจทำให้ไหล่หลุด กระดูกหักหรือหลุด หรือเกิดบาดแผลจากการปะทะกันของผู้เล่นหรือลูกบอล
  • กอล์ฟ อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนิ้วมือบวมพองจากการเสียดสีกับไม้กอล์ฟ เกิดข้ออักเสบ ไหล่หลุด หรือปวดหลัง
  • บาสเกตบอล อาจทำให้ข้อเท้าเคล็ด เอ็นข้อเท้าฉีก นิ้วหลุดหรือหัก ไหล่หลุด แขนหัก หรือเกิดบาดแผลจากการปะทะกัน
  • เบสบอล อาจทำให้กล้ามเนื้อขัดยอก ข้อเคล็ด ข้อมือหักหรือหลุด หรือเกิดบาดแผลจากการกระแทกของลูกบอลหรือไม้ตี ฟันหัก หรือไขสันหลังถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
  • ยิมนาสติก อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นฉีกขาด กระดูกสันหลังบาดเจ็บ แขนหัก ขาหัก
  • พายเรือ อาจทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดไหล่
  • สเก็ต อาจทำให้มีอาการปวดที่กระดูกก้นกบเนื่องจากการล้มกระแทก
  • ฮอกกี้ อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ หรือเกิดบาดแผลจากการปะทะกัน

หลักเบื้องต้นในการปฐมพยาบาล มีดังนี้

  • หากเกิดการบาดเจ็บขึ้น ควรหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่นั้น ไม่ควรฝืนเล่นต่อไป เพราะจะยิ่งทำให้บาดเจ็บมากขึ้น ควรหยุดพักให้ร่างกายหายดีก่อน จึงกลับไปเล่นอีกครั้ง
  • การประคบเย็นใน 1-2 วันแรกหลังเกิดการบาดเจ็บจะช่วยลดอาการปวดบวมลงได้ โดยใช้ cold pack หรือ ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งประคบตรงบริเวณที่บาดเจ็บประมาณ 15 นาที เว้นไปประมาณ 10 นาที แล้วจึงประคบอีกครั้ง ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิดการบาดเจ็บ
  • การรัดด้วยผ้ายืดบริเวณที่บาดเจ็บจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมมากขึ้น แต่ต้องระวังไม่รัดให้แน่นจนเกินไปจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากมีอาการชา ควรคลายผ้ารัดออก แล้วจึงค่อยพันใหม่
  • หากบาดเจ็บบริเวณแขนหรือขา ให้ยกแขนขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อเป็นการห้ามเลือดหรือป้องกันไม่ให้ของเหลวในร่างกายไหลไปยังบริเวณที่ บาดเจ็บ

หลัก การดังกล่าวใช้ในกรณีที่มีการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย หากเป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรง หลังจากปฐมพยาบาลแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์

ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

Tags: การปฐมพยาบาล, การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา, คู่มือความปลอดภัย, รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย, อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

เล่นแบดมินตันอย่างไรให้ปลอดภัย

➽ วิธีป้องกันอาการบาดเจ็บจากการเล่นแบดมินตัน ควรยืดกล้ามเนื้อทุกครั้งก่อนและหลังตีแบด เพื่อให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น ช่วยลดอาการบาดเจ็บ และป้องกันกล้ามเนื้อและเอ็นฉีกขาดได้ และยังช่วยให้สามารถเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้นอีกด้วย ศึกษาการใช้ไม้แบดให้ถูกวิธี เช่น ขนาดด้ามจับต้องพอดีมือ ไม่ขึ้นเอ็นจนตึงเกินไป

การเล่นกีฬาให้ปลอดภัยมีอะไรบ้าง

ใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายควรสวมแต่งกายให้เหมาะสมกับประเภทกีฬา รวมถึงมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่มีคุณภาพ เช่น หมวกขี่จักรยาน ป้องกันศีรษะจากอุบัติเหตุ หรือผู้รักษาประตูในการแข่งขันฟุตบอล ควรใส่ถุงมือเพื่อป้องกันข้อมือ ข้อนิ้วหัก รวมถึงนักวิ่งมาราธอนที่มักเกิดเอ็นลูกสะบ้าเข่าอักเสบ ควรสวมสาย ...

กติกาการเล่นแบดมินตันมีอะไรบ้าง

กติกาการเล่นแบดมินตัน.
หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด.
หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด.
ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว.
ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา.

ก่อนการเล่นกีฬาแบดมินตันทุกครั้งควรทำอย่างไร

ก่อนเล่น แบดมินตัน คุณควรมีการเตรียมตัวอย่างไร.
คุณอาจใช้วิธีเดินเร็วไปรอบ ๆ สนาม หรือพื้นที่หน้าบ้านของคุณก่อนการเล่นแบดมินตันโดยควรใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 10 นาที.
กระโดดเชือกเพิ่มเติม โดยจำนวนครั้งอาจอยู่ที่สุขภาพร่างกายของคุณจะรับไหว.