การแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ คือข้อใด ข้อใดคือปัญหาการค้าระหว่างประเทศในประเทศปัจจุบัน ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของการกีดกันทางการค้าในการค้าขายระหว่างประเทศ การค้าภายในกับการค้ากับต่างประเทศมีความแตกต่างกันอย่างไร ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุที่ต้องมีการค้าระหว่างประเทศ ข้อใด ไม่ใช่รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ วิธีการกีดกันการค้าระหว่างประเทศ การกีดกันการค้าระหว่างประเทศ มีกี่ประเภท การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ตัวอย่าง สาเหตุการกีดกันทางการค้า มีอะไรบ้าง ผลเสียของการกีดกันทางการค้า คืออะไร แนวข้อสอบการค้าระหว่างประเทศ

การแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆ นํามาใช้ คืออะไร

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับพิกัดศุลกากร

  1. หน้าหลัก
  2. สิทธิพิเศษทางการค้า
  3. เขตการค้าเสรี (FTA และ WTO)

สิทธิ์เขตการค้าเสรีและ WTO

  • WTO
  • ASEAN
  • ASEAN - CHINA
  • ASEAN - KOREA
  • ASEAN - JAPAN
  • ASEAN - INDIA
  • ASEAN - AUSTRALIA - NEW ZEALAND
  • THAI - AUSTRALIA
  • THAI - NEW ZEALAND
  • THAI - JAPAN
  • THAI - PERU
  • THAI - INDIA
  • THAI - CHINA
  • THAI - CHILE
  • THAI - SINGAPORE
  • THAI - EU
  • RCEP
  • DFQF
  • GSP
  • GSTP
  • AISP
  • BIMSTEC
  • ASEAN - HONGKONG

    ความสำคัญและความเป็นมาของ FTA

    FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

      

    1. ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี
    2. แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)
      นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้
      1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
      2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
      3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
      4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

    3. ความหมายของเขตการค้าเสรี
    4. เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
    5. เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย
    6. เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

    ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA 

    ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

    1. ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
    2. เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
    3. เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
    4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
    5. สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
    6. ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบ หลีกเลี่ยง และสินค้าอันตราย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
    7. พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
    8. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
    9. สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

    ประเด็นสำคัญ

    •    มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTMs) มักถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ประเทศต่างๆนำมาใช้
         เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตน

    •    การติดตามการกำหนดมาตรการNTMs ในกรอบพหุภาคีได้เน้นการดูผลจากกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าต่างๆขององค์การการค้า
          โลก (WTO)หรือพันธกรณีระหว่างประเทศเป็นหลัก

    •    การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในประเทศคู่ค้า 4 ประเทศเป้าหมายคือญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรปและจีนพบว่าประเทศคู่ค้าให้ความ
         สำคัญต่อ NTMs ที่แตกต่างกันโดยญี่ปุ่นจะเน้นมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้       บริโภคสหรัฐอเมริกาเน้นมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตสหภาพยุโรปเน้น
         มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมส่วนจีนนั้นมีแนวโน้มจะออกมาตรการ NTMs ที่คล้ายกับสหภาพยุโรปมากขึ้น

    •    มาตรการ NTMs ในอนาคตมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต (production cost) และต้นทุนธุรกรรม (transaction cost) ที่เกี่ยวข้อง
         กับการค้าเป็นอย่างมาก

    •    ในอนาคตควรมีการจัดตั้งองค์กรที่สามารถทำหน้าที่เป็น Information Bridging Centre เพื่อประสานงานติดตามวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูล
          เกี่ยวกับมาตรการ NTMs อย่างมีบูรณาการ

    * Policy Brief ฉบับนี้เรียบเรียงและเขียนโดยดร. นลิตราไทยประเสริฐ () จากโครงการติดตามกระแสการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่อากรศุลกากรสำหรับสินค้าไทยส่งออกไปต่างประเทศ (NTMs Watch). นิรมลสุธรรมกิจและคณะ (2553) คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

    1. บทนำ

               มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Measures: NTMs) คือการกีดกันทางการค้าที่อยู่ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก(World Trade Organization: WTO) หรือกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆเช่นการขนส่งปัญหาโลกร้อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนฯลฯหรือกรอบกฎหมายของประเทศคู่ค้าเองทั้งนี้มาตรการNTMs นี้มักถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ประเทศต่างๆนำมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตนหลังจากความร่วมมือกันลดอัตราภาษีศุลกากรภายใต้หลักการค้าเสรีไม่สามารถคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตนได้อีกต่อไปในเมื่อประเทศผู้นำเข้าเป็นผู้กำหนดมาตรการนี้ผู้ประกอบการไทยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าควรจะดำเนินการตามกฎระเบียบของมาตรการ NTMs ของประเทศคู่ค้าหรือไม่ผู้ประกอบการไทยจะเสียหรือได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใดหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการ NTMs ของคู่ค้าแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าการปฏิบัติตามระเบียบของมาตรการ NTMs นั้นมักมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ส่งออกและผู้ผลิตสินค้าไทยต้องมีภาระต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นก็ตามแต่หากผู้ประกอบการรายใดสามารถดำเนินการตามข้อเรียกร้องได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ก็น่าจะอยู่ในแง่ของความสามารถเข้าถึงตลาดหรือรักษาส่วนแบ่งของตลาดของตนในประเทศคู่ค้าเอาไว้ได้ในระยะยาว

               ในประเทศไทยนั้นมีหน่วยงานของรัฐหลายองค์กรที่ทำการติดตามมาตรการNTMsและนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ผู้ประกอบการมาโดยตลอดลักษณะของเนื้อหาที่องค์กรเหล่านี้นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปของข่าวสารหรือเนื้อหาของมาตรการใหม่ๆเช่นประเทศผู้ออกมาตรการรายละเอียดของมาตรการการมีผลบังคับใช้ผลกระทบของมาตรการประเภทผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายที่จะได้รับผลกระทบ การนำเสนอผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจและการเสนอข้อมูลจากการอบรมจากการสัมมนาผู้ประกอบการฯลฯอย่างไรก็ตามการทำงานของรัฐในส่วนนี้ถือว่ามีความซ้ำซ้อนกันเป็นอย่างมากทำให้ผู้ประกอบการต้องหาข้อมูลจากหลายช่องทางเพราะไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้มาจากองค์กรเดียวจะครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากรของรัฐโดยใช่เหตุอีกด้วยด้วยเหตุนี้โครงการติดตามกระแสมาตรการNTMs ซึ่งทำการศึกษาโดยนิรมลสุธรรมกิจและคณะ(2553) และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้พยายามนำเสนอและวิเคราะห์ตัวแปรเฝ้าระวัง(early warnings)ที่สำคัญของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังต่างประเทศอย่างเป็นระบบระเบียบรวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการ NTMs ต่อเศรษฐกิจไทยตลอดจนส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย ทั้งนี้โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องที่จะมีการดำเนินต่อไปเช่นการออกจุลสารรายไตรมาสที่นำเสนอเนื้อหาด้านมาตรการ NTMs ที่มีผลกระทบต่อสินค้าทั่วๆไปและตัวแปรเฝ้าระวังที่อาจนำไปสู่มาตรการNTMs ใหม่ๆเพื่อเป็นต้นแบบของInformation Bridging Centre ในอนาคต

    2. ตัวชี้วัดจับตามาตรการ NTMs

               ตัวชี้วัดจับตาที่ส่งสัญญาณว่าจะมีการนำมาตรการ NTMs มาบังคับใช้กับสินค้าส่งออกของไทยหรือไม่ที่สำคัญคือข้อมูลด้านการส่งออกของไทยได้แก่ส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าไทยในประเทศเป้าหมายอัตราการเติบโตของสินค้าไทยในประเทศเป้าหมายราคาสินค้าในประเทศเป้าหมายและต้นทุนการผลิตในไทยโดยดูว่าถ้าสินค้าไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าการขยายตัวรวมของสินค้านำเข้าในตลาดนั้นๆสามารถแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศเป้าหมายทั้งในราคาและคุณภาพ ก็อาจกลายเป็นการส่งสัญญาณให้ประเทศผู้นำเข้าเพ่งเล็งและคิดค้นหามาตรการNTMs ต่างๆเข้ามาควบคุมการนำเข้าสินค้าไทยก็เป็นได้อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่าตัวชี้วัดจับตาทางเศรษฐกิจดังกล่าวมีบทบาทน้อยลงในปัจจุบันและมาตรการ NTMs ก็คงมุ่งบังคับใช้กับทุกประเทศนอกจากนี้ไทยมิได้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ดังนั้นตัวชี้วัดจับตาที่เกี่ยวกับการส่งออกของไทยก็จะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่ากับการส่งออกของจีนหรือของประเทศคู่แข่งของไทยรายใหญ่อื่นๆแต่ถ้าเมื่อใดผู้นำเข้ามีการตรวจพบสารปนเปื้อนในสินค้าไม่ว่าสินค้านั้นจะนำเข้ามาจากประเทศใดก็ตามหรือมีคุณภาพไม่ตรงตามมาตรฐานของประเทศที่ผู้นำเข้ากำหนดไว้ก็จะทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าชนิดนั้นๆเพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบมาถึงการส่งออกของไทยด้วย

    3. มาตรการNTMs เฉพาะเรื่องที่สำคัญ

    3.1 การติดตามการกำหนดมาตรการ NTMs กรอบพหุภาคี
               หลักการขององค์การการค้าโลก (WTO) คือการสนับสนุนให้มีการใช้มาตรการทางด้านภาษีศุลกากรเป็นมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศเพียงอย่างเดียวต่อมาเมื่อการค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นWTO ได้อนุญาตให้มีการนำมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรมาใช้ได้แต่จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของความตกลงต่างๆของ WTO ซึ่งต่อมาWTO ก็ได้มีกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าต่างๆเป็นจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกดังนั้นบทเรียนจากข้อพิพาทต่างๆจึงควรถูกนำมาเป็นแนวทางการติดตามมาตรการ NTMs ในอนาคตด้วยยกตัวอย่างเช่น(1) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Standard: SPS) แต่ละประเทศสามารถกำหนดระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมได้แต่ต้องยึดเหตุผลทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัดและต้องส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าและความโปร่งใส(2) มาตรการที่เกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า(Technical Barriers to Trade: TBT)ห้ามมีการเลือกปฏิบัติต้องไม่สร้างอุปสรรคต่อการค้าเกินความจำเป็นต้องอิงข้อกำหนดทางเทคนิคขององค์การระหว่างประเทศให้มีการยอมรับร่วมกันมีความโปร่งใส และให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษและแตกต่างกับประเทศกำลังพัฒนา(3)ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS)ให้มาตรการภายใต้การตกลงGATS ไม่รวมถึงมาตรการที่ใช้กับผู้บริโภคการเข้าถึงตลาดจะต้องไม่เป็นการจำกัดการนำเข้าบริการ (โควตาการนำเข้าเท่ากับศูนย์)จะต้องไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่สมควรและไม่เป็นการจำกัดการค้าบริการอย่างแอบแฝงและได้มีการกำหนดไว้ว่าการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตจัดเป็นการให้บริการรูปแบบข้ามพรมแดน(4)ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-Related Intellectual Property Rights: TRIPs)ให้การคุ้มครองเฉพาะส่วนของสิทธิทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น และหากมีข้อจำกัดการคุ้มครองจะต้องพิจารณาว่าไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติและไม่เสื่อมเสียอย่างไม่สมควรต่อประโยชน์อันชอบธรรมของผู้ทรงสิทธิ (5) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการค้าเช่นมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ประเทศคู่ค้าที่มีพันธกรณีระหว่างประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโต ออกมาตรการเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศโดยเฉพาะสาขาที่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมิให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางการค้าโดยบังคับใช้กฎหมายของตนกับสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศที่ไม่มีกฎหมายในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นไทยได้ (6) มาตรการด้านการขนส่งทางอากาศภายใต้ข้อกำหนดของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศหรือ IATAได้ส่งเสริมให้มีการจัดสรรเวลาสำหรับการจราจรทางอากาศณท่าอากาศยาน (Airport slot allocation) ด้วยวิธีการประมูล (auction)เพื่อแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติ 

    3.2 การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในประเทศคู่ค้า
               การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในประเทศคู่ค้าของโครงการนี้มี 4 ประเทศเป้าหมายคือญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรปและจีนเนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยและยังมีข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยอีกด้วยผลการศึกษาพบว่าประเทศคู่ค้าจะให้ความสำคัญต่อ NTMs ที่แตกต่างกันโดยญี่ปุ่นจะเน้นมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสหรัฐอเมริกาจะเน้นมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตสหภาพยุโรปจะเน้นมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (ซึ่งมักครอบคลุมทุกขั้นตอนการผลิตตลอดจนบรรจุภัณฑ์และการกำจัดซาก) ส่วนจีนนั้นมีแนวโน้มจะออกมาตรการ NTMs ที่คล้ายกับสหภาพยุโรปมากขึ้นซึ่งรายละเอียดสามารถดูได้ในตารางที่ 1

    ตารางที่1 บทเรียนและผลกระทบต่อไทยของมาตรการ NTMs รายประเทศ
     

    ติดตามรายประเทศ

    บทเรียนต่อไทย

    ผลกระทบต่อไทย

    ญี่ปุ่น:เน้นความปลอดภัยของผู้บริโภค

    – ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามความต้องการของผู้บริโภค

    – ผู้บริโภครับผิดชอบส่วนหนึ่งต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นการรีไซเคิลโดยผู้ผลิต

    เตรียม facilities

    – การกีดกันสินค้านำเข้าจะดำเนินการผ่านด้านผู้บริโภคเช่นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเรื่องความปลอดภัยของสินค้าดังนั้นการส่งออกสินค้าของไทยอาจไม่ถูกกีดกันจากมาตรการทางการค้าหากแต่จะถูกปฏิเสธจากผู้บริโภคเอง

    – ต้องติดตามกฎระเบียบอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าสาหรับสินค้านำเข้า

    – ต้องติดตามการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่าสินค้าใดกำลังประสบปัญหาการส่งออกไปประเทศต่างๆเหล่านี้

    – ธุรกิจไทยอาจมีต้นทุนธุรกรรมเพิ่มขึ้นในการดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาตรการด้านแรงงานเด็กและแรงงานบังคับและมาตรการด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯลฯ

    – ต้องติดตามมาตรการต่างๆที่แตกต่างกันระหว่างมาตรการระดับประเทศและมาตรการระดับท้องถิ่นหรือมลรัฐ

    สหรัฐอเมริกา:เน้นคุ้มครองผู้ผลิต

    – เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

    – เพื่อรักษาระดับการแข่งขันให้เท่าเทียมกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีกฎระเบียบหย่อนยานกว่า

    – เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดต่างประเทศ

    สหภาพยุโรป:เน้นด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

    – มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหนึ่งมากมายครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบกระบวนการผลิตผลผลิตและบรรจุภัณฑ์

    – เน้นการแวดระวังล่วงหน้าก่อนเกิดปัญหา

    – ระบบ Rapid Alert ที่มีการแจ้งเตือนประเทศสมาชิกอย่างรวดเร็วและมีการจัดระดับของความรุนแรงจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศใดๆซึ่งจะเป็นข้อมูลสาหรับการส่งออกของไทยในการเตรียมการป้องกันมิให้เกิดปัญหา

    จีน:เน้นคุ้มครองผู้ผลิต

    เลียนแบบกฎระเบียบเหมือนสหภาพยุโรปเช่น WEEE (Waste on Electric and Electronic Equipment) และRoHS (Restrictions on Hazardous Substances)

    ต้องติดตามกฎระเบียบทั้งของระดับประเทศและระดับภูมิภาค

    ที่มา: นิรมลสุธรรมกิจและคณะ(2553)

    3.3 การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในกลุ่มผลิตภัณฑ์

               การติดตามกระแสมาตรการ NTMs เฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของโครงการนี้จำแนกออกเป็น4กลุ่มคือผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและสาขาบริการมาตรการ NTMs ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลิตภัณฑ์เป้าหมายทั้ง 4 กลุ่มนั้นได้อาศัยมาตรการต่างๆที่กำหนดโดยภาครัฐทั้งที่อยู่ในรูปของกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับภายในประเทศและมาตรการหรือมาตรฐานระหว่างประเทศซึ่งอาจสรุปได้ว่า

               () มาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจะมีรายละเอียดมากมายซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค

               () มาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (เช่นอัญมณีและสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม) จะมีรายละเอียดน้อยกว่าและเน้นเรื่องความเป็นธรรมจากการใช้แรงงานและการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

               () มาตรการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์และชิ้นส่วน)จะเน้นเรื่องมาตรฐานสินค้าเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการใช้งานและมาตรฐานด้านความปลอดภัยจากการใช้งาน

               () มาตรการที่เกี่ยวกับสาขาบริการ(service sector) นั้นเน้นเรื่องการเปิดตลาดและการเข้าถึงแหล่งจำหน่ายแต่มาตรการที่ประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญในอนาคตคือมาตรฐานแรงงานที่ส่งออกเพื่อเป็นผู้ให้บริการด้านโภชนาการ (พ่อครัวแม่ครัว) ด้านสุขภาพ (แพทย์โรงพยาบาลการนวดแผนโบราณ) และมาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยวเช่นความสะอาดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นต้น

    4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

               4.1    ประเด็นที่ควรติดตามและเฝ้าระวังที่เกี่ยวกับมาตรการ NTMs ภายใต้กรอบของ WTO ในภาพรวมได้แก่ควรมีการติดตามความคืบหน้าในการจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศรวมทั้งข้อพิพาทใหม่ๆที่เกิดขึ้นควรมีการปรึกษาหารือกับประเทศคู่ค้าถึงความสอดคล้องของมาตรการกับความตกลงเป็นระยะๆควรมีการเผยแพร่ผลคำวินิจฉัยที่คาดว่ามีผลกระทบต่อหน่วยงานที่จัดทำมาตรฐานและควรทบทวนมาตรฐานหรือมาตรการให้สอดคล้องกับแนวการวินิจฉัยข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

               4.2    แนวทางการติดตามกระแสมาตรการ NTMs สำหรับการส่งออกของไทยขั้นต่อมาที่ต้องรีบดำเนินการคือการติดตามรายประเด็น (Issue-based หรือ Case-based) เนื่องจากการติดตามมาตรการ NTMs ที่ผ่านมานั้นพบว่าไม่ว่าจะเป็นการศึกษารายผลิตภัณฑ์หรือรายประเทศต่างก็มีประเด็นเงื่อนไขที่นำมาใช้เป็นมาตรการNTMs คล้ายๆกันเช่นประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากการอุปโภคบริโภคสินค้าประเด็นเรื่องการควบคุมสารเคมีและประเด็นเรื่องการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นต้นนอกจากนี้แล้วในอนาคตน่าจะเห็นความเชื่อมโยงกันของมาตรการ NTMs จากหลายกรอบเวทีมากขึ้นกล่าวคือผลิตภัณฑ์ใดๆอาจจะเกี่ยวข้องกับมาตรการ NTMs มากกว่า 1 มิติ (ภายใต้กรอบ WTO ด้วยกัน) หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับมาตรการ NTMs ที่มาจากเวทีต่างกันเช่น() สินค้าชุมชนเพื่อการส่งออก (เช่นสินค้า OTOP) ที่อาจจัดได้ว่าเป็นสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากการค้าเสรีสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental Goods and Services: EGS)และยังเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ ()การเข้ามาของธุรกิจต่างชาติด้านบริการเพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบการค้าบริการและกรอบการค้า EGS อาจเกิดความขัดแย้งกันในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมกล่าวคือการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจ Environmental Service ย่อมนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยแต่หากธุรกิจนี้เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างเสรีก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อธุรกิจของคนไทยเนื่องจากบริษัทต่างชาติมีความได้เปรียบทางด้านเงินทุนและเทคโนโลยีมากกว่า () สินค้านำเข้าเพื่อช่วยลดโลกร้อน (ภายใต้กรอบ UNFCCC: อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) อาจจะเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกรอบการค้าเสรีสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม (EGS) ก็ได้ขึ้นอยู่กับขอบเขตนิยามของ EGS ภายใต้กรอบ WTO และขึ้นอยู่กับขอบเขตภายใต้กรอบ UNFCCC

               4.3    แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการ NTMs ต่อผู้ประกอบการไทยและภาครัฐของการศึกษานี้พบว่าผลกระทบด้านต้นทุนเป็นประเด็นสำคัญที่สุดทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรจะเน้นเปรียบเทียบต้นทุน” (economic cost) กับผลประโยชน์” (economic benefit) ที่จะได้รับจากการดำเนินการตามกฎระเบียบของมาตรการ NTMs ที่ใช้ในประเทศคู่ค้า(ทั้งแบบบังคับและแบบสมัครใจ) เพื่อให้เกิดต้นทุนต่อสังคมไทยต่ำสุดหรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยสูงสุดโดยต้นทุนที่ควรวิเคราะห์ได้แก่ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นต้นทุนธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ NTMs ที่เกิดขึ้นต้นทุนการเรียนรู้และเกาะติดสถานการณ์มาตรการ NTMs ในต่างประเทศต้นทุนการกำหนดกฎหมายภายในประเทศเพื่อรองรับมาตรการ NTMs ของต่างชาติและต้นทุนค่าเสียโอกาสในการไม่ปฏิบัติตามมาตรการ NTMs

               4.4    กิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้าน NTMs สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กควรให้มีการจัดทำ () การประชุมสัมมนาเฉพาะกลุ่ม (focus group) เพื่อเป็นช่องทางในการได้มาซึ่งข้อมูลที่มาจากประสบการณ์ตรงและการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติจริง() การประชุมระดมสมอง (brainstorming) เพื่อหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการศึกษารายละเอียดติดตามมาตรการ และวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และการเมืองเป็นต้น() เอกสารเผยแพร่ที่มีรูปแบบเหมาะสมจนสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้โดยเนื้อหาที่สำคัญและยังไม่มีหน่วยงานใดนำเสนอได้แก่ผลกระทบของมาตรการต่อผู้ประกอบการไทยและเศรษฐกิจไทยและประเด็นจับตามองซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการติดตามมาตรการ NTMs ต่อไปในอนาคต

               4.5    แนวทางการเตรียมการรับมือกับมาตรการ NTMs ในอนาคตจะประกอบด้วยการนำประเด็นจับตามองมาวิเคราะห์ถึงแนวทางการเตรียมการรับมือทั้งเชิงรับและเชิงรุกโดยในระยะอันใกล้นี้ควรมุ่งเน้นการติดตามและเตรียมการรับมือกับมาตรการ NTMs ของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งประเทศดังกล่าวนี้มักจะกำหนดมาตรการ NTMs รูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าของประเทศไทย

               4.6    ในอนาคตควรมีองค์กรที่สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน(Collaborating Centre)หรือศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร” (Information Bridging Centre)ทำหน้าที่โดยตรงในการประสานงานติดตามวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการ NTMs ของประเทศคู่ค้าได้อย่างมีบูรณาการ 

    เอกสารอ้างอิง
    นิรมลสุธรรมกิจและคณะ (2553).
                โครงการติดตามกระแสการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่อากรศุลกากรสำหรับสินค้าไทยส่งออกไปต่างประเทศ(NTMs Watch), คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

    การแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ คือข้อใด

    มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTMs) มักถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตน การติดตามการกำหนดมาตรการ NTMs ในกรอบพหุภาคี ได้เน้นการดูผลจากกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าต่างๆขององค์การการค้า

    ข้อใดคือปัญหาการค้าระหว่างประเทศในประเทศปัจจุบัน

    ปัญหาทางด้านการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศไทยประสบอยู่นี้ กล่าวได้ว่า เกิดจาก การส่งสินค้าออกลดลงและมีการนําสินค้าเข้าเพิ่มขึ้น สินค้าส่งออกที่ลดลงนี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้า เกษตรกรรม ซึ่งเกิดจากปัญหาทางด้านการผลิตซึ่งมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ขาดการนําสินค้า เกษตรไปแปรรูปให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล เกษตรกรเองขาดแคลนทั้งเงินทุน ...

    ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของการกีดกันทางการค้าในการค้าขายระหว่างประเทศ

    การกีดกันทางการค้า คือ การที่รัฐบาลหรือประเทศใดๆใช้มาตรการแทรกแซง เพื่อลดปริมาณการนำเข้าสินค้ามาในประเทศตนหรือเพื่อลดปริมาณการส่งออกสินค้าของประเทศอื่น โดยวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่มักกระทำเพื่อปกป้องผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศ อาจโดยการใช้มาตรการที่ทำให้ผู้ส่งออกมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับผู้ผลิตภายในประเทศได้น้อยลง ...

    การค้าภายในกับการค้ากับต่างประเทศมีความแตกต่างกันอย่างไร

    การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศจะแตกต่างจากการค้าภายในประเทศคือ การค้าภายในประเทศ จะใช้เงินสกุลเดียวกันในการแลกเปลี่ยน แต่การค้าระหว่างประเทศจะต้อง ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ว่าจะใช้เงินสกุลใดในการแลกเปลี่ยน

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ