แอมมิเตอร์ มีหน่วยวัดคืออะไร

หัวข้อเรื่อง

            2.1 การวัดปริมาณทางไฟฟ้า

            2.2 หน่วยวัดเอสไอ

            2.3 หน่วยการวัดและเครื่องวัดทางไฟฟ้า

            2.4 บทสรุป

สาระสำคัญ

            การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ คือ ประจุไฟฟ้าเกิดการเคลื่อนที่ ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น การที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่นี้เรียกว่าการถ่ายเทประจุ ซึ่งการถ่ายเทประจุนี้มีขีดจำกัด เพราะพลังงานในตัวอิเล็กตรอนมีไม่เพียงพอ เมื่อมีการถ่ายเทประจุแล้วอิเล็กตรอนจะหยุดนิ่งไม่มีการถ่ายเทประจุอีก การทำให้การถ่ายเทประจุไฟฟ้าหรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ ต้องมีพลังงานหรือแรงจากภายนอกมาผลักดัน สภาวะการวิ่งเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ก็คือ สภาวะการไหลของกระแสไฟฟ้า อาจกล่าวได้ว่า กระแสไฟฟ้าไหลก็คือ การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในตัวนำ

            ปริมาณทางไฟฟ้า หมายถึง ค่าต่างๆทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในวงจรไฟฟ้า เมื่อวงจรไฟฟ้าทำงานปริมาณทางไฟฟ้าพื้นฐานที่จำเป็นต้องวัดค่า ได้แก่ กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า

            1. กระแสไฟฟ้ามีหน่วยวัดเอสไอ (SI) เป็นแอมแปร์ เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เรียกว่า แอมมิเตอร์ กระแสไฟฟ้ามี 2 ชนิด ได้แก่ ไฟฟ้ากระแสตรง คือ ไฟฟ้าที่ไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น ไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์ไฟฟ้าเคมี แบตเตอรี่ และไฟฟ้ากระแสสลับ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับไปกลับมาตลอดเวลา เช่น ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน

            2. แรงดันไฟฟ้า หรือความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ ระดับของปริมาณพลังงานไฟฟ้าจากจุด 2 จุด ซึ่งวัดได้ด้วยเครื่องวัด เรียกว่า โวลต์มิเตอร์ มีหน่วยเป็น โวลต์

            3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึง คุณสมบัติของลวดตัวนำที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า วัดได้ด้วยเครื่องมือวัด เรียกว่า โอห์มมิเตอร์ มีหน่วยเป็น โอห์ม หรือกิโลโอห์ม

สมรรถนะประจำหน่วย

            1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดทางไฟฟ้า

            2. ระบุหน่วยวัดทางไฟฟ้าเอสไออย่างถูกต้อง

            3. ใช้เครื่องวัดทางไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

            4. ยอมรับและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวัดปริมาณทางไฟฟ้าโดยไม่ประมาท

            5. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน

            6. แสดงพฤติกรรมความปลอดภัย สนใจใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา

จุดประสงค์การเรียนรู้

            1. ด้านความรู้

                1.1 บอกปริมาณทางไฟฟ้าและหน่วยวัดได้ถูกต้องอย่างน้อย 5 ชนิด

                1.2 บอกความหมายของหน่วยเอสไอได้ถูกต้อง

                1.3 ระบุหน่วยเอสไอที่แสดงปริมาณทางไฟฟ้าได้ถูกต้องอย่างน้อย 3 ชนิด

                1.4 ระบุหน่วยการวัดและเครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้าได้ถูกต้อง

                1.5 ระบุหน่วยการวัดและเครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้าได้ถูกต้อง

                1.6 ระบุหน่วยการวัดและเครื่องมือวัดความต้านทานได้ถูกต้อง

                1.7 ระบุหน่วยการวัดและเครื่องมือวัดความถี่ไฟฟ้าได้ถูกต้อง

                1.8 ระบุหน่วยการวัดและเครื่องมือวัดกำลังไฟฟ้าได้ถูกต้อง

                1.9 คำนวณและแปลงหน่วยการวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้ถูกต้อง

            2. ด้านทักษะ

                2.1 วัดค่าแรงดันไฟฟ้าด้วยเครื่องมือวัดได้ถูกต้อง

                2.2 วัดค่ากระแสไฟฟ้าด้วยเครื่องมือวัดได้ถูกต้อง

                2.3 วัดค่าความต้านทานด้วยเครื่องมือวัดได้ถูกต้อง

            3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

               3.1 ยอมรับและเห็นความสำคัญของหน่วยวัดและการวัดปริมาณทางไฟฟ้า

               

3.2 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ