ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร

ปัญญาเดียวกัน แต่ต่างแหล่งเกิด

ต่อไปนี้จะขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องที่ท่านวิทยากรบางท่านได้นำมาพูดกระตุ้นเตือนสติปัญญาไว้ แต่อยากจะเริ่มด้วยคำถามของอาจารย์จิตรกร ตั้งเกษมสุข คงยังตอบไม่ถึงกับชัดเจน เพราะเป็นเรื่องยาว แต่จะให้คำตอบพออ้างอิงโยงไปหาหลักในพระพุทธศาสนา ท่านถามว่า ปัญญามีแหล่งเกิด ๓ แหล่ง และเราก็เรียกชื่อตามแหล่งเกิดนั้นว่า

๑. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟังหรือจากการเล่าเรียนอ่านมา
๒. จินตมยปัญญา แปลว่า ปัญญาเกิดจากการคิด
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากภาวนา คือ การลงมือปฏิบัติ

สามอย่างนี้มีสถานะเท่ากัน หรือว่าสองอย่างแรกเป็นตัวประกอบ ตัวแท้คือข้อที่ ๓ ได้แก่ ภาวนามยปัญญา เรื่องนี้จะตอบตามคัมภีร์ก่อนเพราะง่ายดี

ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก โดยเฉพาะในพระอภิธรรมท่านแสดงปัญญา ๓ ประการนี้ พร้อมทั้งให้ความหมายไว้เสร็จ ถ้าดูตามคำอธิบายของท่านจะเห็นว่า ปัญญาทั้ง ๓ อย่าง มีสถานะเท่ากัน เพราะมันก็คือปัญญา เป็นแต่เพียงบอกแหล่งเกิดที่ต่างกันว่าเกิดจากแหล่งไหน ปัญญาเกิดจากการสดับก็เรียกว่า สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดก็เรียกว่า จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการลงมือปฏิบัติ ลงมือทำ ก็เรียกว่า ภาวนามยปัญญา เท่านั้นเอง แต่ตัวปัญญานั้นเหมือนกัน หมายความว่าต่างกันโดยแหล่ง

จุดสำคัญที่จะต้องสังเกตก็คือ มันมีตัวเชื่อม คือ "มย" ที่แปลว่า "เกิดจาก" ปัญญาเป็นจุดหมายแล้วตัวเชื่อมก็บอกว่าเกิดจากไหน คือบอกให้รู้ถึงแหล่ง ซึ่งมี ๓ อย่าง คือ

๑. สิ่งที่ได้เล่าเรียน สดับ อ่าน หรือรับถ่ายทอดมา
๒. การคิด
๓. การลงมือปฏิบัติ หรือลงมือทำ

จุดสำคัญอยู่ที่ว่า อะไรเป็นตัวเชื่อมทำให้แหล่งปัญญานั้นกลายเป็นปัญญาขึ้นมาได้ อันนี้สิสำคัญ ในที่นี้ขอตอบตามคัมภีร์ที่ว่า ปัญญาทั้ง ๓ ข้อนั้นมีค่าเท่ากัน แต่ตัวสำคัญที่เชื่อมโยงให้เกิดปัญญา คือ กระบวนการในระหว่าง ฉะนั้นคงจะไม่ต้องมาเถียงกันในแง่ว่าอันไหนเป็นปัญญาตัวจริง

ในที่นี้ท่านไม่ได้บอกถึงตัวกระบวนการ หรือตัวปฏิบัติการที่จะให้เกิดปัญญา ท่านเพียงแต่บอกแหล่งเกิดของมันเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่เราจะต้องใส่ใจ ก็คือ กระบวนการที่จะทำให้สุตะ จินตะ และภาวนานั้นเกิดเป็นปัญญาขึ้นมา ซึ่งเป็นข้อพิจารณาอีกเรื่องหนึ่งที่เลยจากคำถามนี้ไป จึงขอหยุดไว้แค่นี้ก่อน

เป็นส่วนหนึ่งของ
ธรรมะหนทางสู่การรู้แจ้ง
ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร

สติปัฏฐาน 4

  • กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สัมมัปปธาน 4

  • สังวรปธาน
  • ปหานปธาน
  • ภาวนาปธาน
  • อนุรักขนาปธาน

อิทธิบาท 4

  • ฉันทะ
  • วิริยะ
  • จิตตะ
  • วิมังสา

อินทรีย์ 5

  • สัทธินทรีย์
  • วิริยินทรีย์
  • สตินทรีย์
  • สมาธินทรีย์
  • ปัญญินทรีย์

พละ 5

  • ศรัทธา
  • วิริยะ
  • สติ
  • สมาธิ
  • ปัญญา

โพชฌงค์ 7

  • สติ
  • ธัมมวิจยะ
  • วิริยะ
  • ปีติ
  • ปัสสัทธิ
  • สมาธิ
  • อุเบกขา

มรรคมีองค์แปด

  • สัมมาทิฏฐิ
  • สัมมาสังกัปปะ
  • สัมมาวาจา
  • สัมมากัมมันตะ
  • สัมมาอาชีวะ
  • สัมมาวายามะ
  • สัมมาสติ
  • สัมมาสมาธิ

  • ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร
    สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย

ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ[1]

  1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)
  2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด)
  3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)
    หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับปัญญา3อย่างคือ
  1. กาลามสูตร จัดเป็นสุตามยปัญญา
  2. โยนิโสมนสิการ จัดเป็นจินตามยปัญญา
  3. สมถะและวิปัสสนา จัดเป็นภาวนามยปัญญา

ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

อ้างอิง[แก้]

  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

  1. "พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : สังคีติสูตร". มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 22 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษาภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)