ศรัทธาในพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของคนหลายตระกูล คนหลายประเภท คนละพันธุ์ ศาสนาพุทธถือระบบการศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดที่เคยปรากฏอยู่ในโลก ในศาสนาที่อยู่ในตระกูลนี้คุณธรรมหลักคุณธรรมใหญ่ไม่ใช่ศรัทธา คุณธรรมใหญ่ของเราคือปัญญา ถ้าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เน้นทางปัญญาไม่ได้เน้นทางศรัทธา แปลว่าศรัทธาไม่สำคัญอย่างนั้นหรือ? ไม่ใช่ แต่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้มีไว้เพื่อเชื่อ แต่มีไว้เพื่อใช้ คำสอนพระพุทธองค์ เปรียบเทียบเหมือนเครื่องมือที่เราควรจะหรือต้องใช้ในการศึกษา ในการพัฒนาตน

ศรัทธาก็มีบทบาทสำคัญเหมือนกันแต่เราถือว่าศรัทธาต้องมีปัญญาคอยกำกับอยู่เสมอ ศรัทธาขาดปัญญาก็่ล่อแหลมต่ออันตรายสองอย่าง หนึ่งคือความงมงาย สองคือความบ้าคลั่ง ทุกวันนี้ในโลกปัจจุบันคนทำความชั่วไปฆ่า ศาสนา หรือว่าทำด้วยศรัทธาคงไม่บาป แต่พุทธศาสนาเราถือว่าถ้ามีเจตนาจะเบียดเบียนไม่ได้ด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตาม เจตนาจะเบียบเบียนเป็นตัวบาป บาปอยู่ที่เจตนา ผลก็เป็นแค่ตัวตัดสินว่าบาปมากหรือบาปน้อย ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาของเรามีเครื่องวัด คือตัดสินว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง อยู่ที่การกระทำ เราถือว่าการกระทำเป็นใหญ่ พระพุทธองค์จึงตรัสเรียกพระธรรมวินัยของพระองค์ว่าเป็นศาสนาประเภท “วิริยวาท” วิริยวาทแปลว่าเป็นศาสนาที่ถือวิริยะ ความเพียรหรือการกระทำเป็นใหญ่

งั้นศรัทธาของชาวพุทธคือศรัทธาความเชื่อในการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่าศรัทธา โพธิสัทธา แต่ความเชื่อเช่นนี้ไม่ใช่เชื่อแล้วจบ เพราะความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าคือความเชื่อในการตรัสรู้ของมนุษย์คนหนึ่ง พระองค์ตรัสรู้พระโพธิสัตว์ยังเป็นคนอยู่ เป็นคนมีบุญบารมีอย่างยิ่งก็จริงแต่ก็ยังไม่ใช่พระพุทธเจ้า งั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ในฐานะเป็นมนุษย์คนหนึ่งและได้พิสูจน์ถึงศักยภาพของมนุษย์ที่จะบรรลุธรรมด้วยความพากเพียรพยายามของตน เจ้าชายสิทธัตถะจึงบรรลุ คล้ายๆเป็นผู้แทนของมนุษย์ เราถือว่าความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะตรัสรู้ธรรม

เราเห็นผลต่อไปข้อที่สำคัญที่สุด ก็ในเมื่อพวกเราทั้งหลายเป็นมนุษย์ ด้วยการถือว่าเราทุกกคนมีส่วน ทุกคนมีศักยภาพในการบรรลุธรรม ไม่ว่าเราเป็นชาวตะวันตก ชาวตะวันออก ผู้ชาย ผู้หญิง เกิดเป็นมนุษยแล้วถือว่ามีคุณสมบัติพร้อมที่จะบรรลุธรรม งั้นจากความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สติปัญญาจะนำไปสู่ความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะตรัสรู้ ขั้นสุดท้ายนำไปสู่ความเชื่อในศักยภาพของตัวเองที่จะตรัสรู้ธรรม

หรือพูดอีกนัยนึงก็คือเราเชื่อว่าข้าพเจ้าสามารถล้างบาปทั้งปวงได้ ข้าพเจ้าสามารถทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมได้ ข้าพเจ้าสามารถชำระจิตใจของตนให้ขาวสะอาดได้ ทำได้ ควรทำ ต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ งั้นศรัทธาของเราไม่ใช่ศรัทธาในสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสองพันปีที่แล้วหรือศรัทธาในสิ่งที่มองไม่เห็น แต่เป็นศรัทธาว่าข้าพเจ้าละบาปได้และควรจะละ ถ้าเชื่ออย่างนั้นแล้วไม่พยามละบาปเรียกว่าศรัทธาปลอม ศรัทธาไม่แท้ แต่เราถือว่าเราเป็นชาวพุทธด้วยการละบาป เป็นชาวพุทธด้วยการบำเพ็ญกุศล เป็นชาวพุทธด้วยการชำระจิตใจของตน แล้วไม่มีความพยามเลยในการละบาปบำเพ็ญกุศลชำระจิตใจของตน สมควรหรือที่จะพูดว่าเป็นพุทธมามกะ เป็นพุทธศาสนิกชน

งั้นพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่ไหน พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ทีวัดวาอาราม พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ในตู้พระไตรปิฏก พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่ศรัทธาของสงฆ์อย่างเดียว พุทธศาสนาอยู่กาย อยู่ที่วาจา อยู่ที่ใจ ของชาวพุทธทุกคน เราทุกคนมีส่วนมีสิทธิ์ในการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา…”


[181] ��ѷ�� 4 (��������, �������ͷ���Сͺ�����˵ؼ� - faith; belief; confidence)
�������1. �����ѷ�� (���͡���, ���͡���觡���, ������ҡ����������ԧ ��� �����������ͷ���������ਵ�� ��� ��㨷ӷ����� �����繡��� ��� �繤������Ǥ������բ��㹵� ���˵ػѨ��¡������Դ�Ŵռ������׺���ͧ���� ��á�з������ҧ�������������Ҽŷ���ͧ��è����������¡�á�з� ���������͹�͹���͹͹���⪤ �繵� - belief in Karma; confidence in accordance with the law of action)
�������2. �Իҡ�ѷ�� (�����Ժҡ, ���ͼŢͧ����, ������ҼŢͧ�����ը�ԧ ��� ������ҡ����������ǵ�ͧ�ռ� ��мŵ�ͧ���˵� �Ŵ��Դ�ҡ������ �Ū����Դ�ҡ�������� - belief in the consequences of actions)
�������3. ������ʡ���ѷ�� (���ͤ�������ѵ���ա����繢ͧ��, ����������Ф�����Ңͧ �е�ͧ�Ѻ�Դ�ͺ�����Ժҡ��仵�������ͧ�� - belief in the individual ownership of action)
�������4. ��Ҥ�⾸��ѷ�� (���ͤ����������ͧ��оط����, �����ͧ���е�Ҥ� ��ҷç�繾�����������ط�� �ç��Фس��� 9 ��С�� ���ʸ��� �ѭ�ѵ��Թ�������´� �ç�繼��ӷҧ����ʴ���������� ����������ҷء����� �ҡ�֡�����´� ������ö��Ҷ֧���Ը����٧�ش ����ط�����ش���� �ѧ�����ͧ����ç���������Ẻ���ҧ - confidence in the Enlightenment of the Buddha)

���������ѷ�� 4 ���ҧ��� ����㹺���੾�Т�ͷ�� 4 ���ҧ���� (�� ͧ�.ʵڵ�. 23/4/3; A.III.3 �繵�) �����㨤��� ��ѷ�� 3 ��͵� �������ŧ㹢�ͷ�� 4 �������
�������͹�� 㹢�� 3 �բ�͸��������㹺��դ���¡ѹ ��� ������ʡ�ҭҳ (��ժ���������������ѵ���ա����繢ͧ�� - knowledge that action is one's own possession) �� ���.��. 35/822/443; Vbh.328.

���ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ��� �������駷�� �� �.�. ����
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=181

ศรัทธาที่ลึกซึ้งนี้ มักเป็นศรัทธาทางศาสนา ศรัทธาในสิ่งที่สูง ที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวในจิตใจ ซึ่งไม่ว่าเราจะทำอะไรในภายนอก จะดำเนินชีวิตอย่างไรก็ตาม ทำงานอะไรก็ตาม เราก็มีศรัทธาที่ลึกอยู่ในใจเป็นฐานอันแน่นแฟ้น เป็นความเชื่อในสิ่งที่สูงสุด สิ่งที่เป็นเครื่องเชิดชูกำลังใจว่า ไม่ว่าเราจะมีชีวิตอยู่อย่างไรก็ตาม เราก็มีสิ่งที่เราเคารพนับถือ บูชา เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เรารู้ แม้ว่าจิตใจของเราจะอยู่ในยามที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องพัวพัน เมื่อนึกถึงสิ่งเหล่านี้แล้วเราก็มีความสบายใจ ไม่อ้างว้าง ไม่เลื่อนลอยไร้ความหมาย เช่น ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา มีความเชื่อความเคารพในพระรัตนตรัย คำว่ามีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็หมายถึงว่า มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ศรัทธาในพระพุทธเจ้า หมายความว่า เราเห็นว่ามีบุคคลที่มีชีวิตที่ดีที่สุดเป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่างของการที่ได้เข้าถึงความจริง เข้าถึงความสมบูรณ์แห่งศักยภาพของความเป็นมนุษย์ เป็นเครื่องยืนยันว่ามนุษย์เราทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนได้ จนเข้าถึงความรู้และความดีงาม มีปัญญาและคุณธรรมสูงสุด แต่จะต้องเพียรพยายามเข้มแข็งในการพัฒนาศักยภาพของตน เรามีความเชื่อและมั่นใจอย่างนี้ แล้วก็มีกำลังใจ ในเวลาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องไม่ได้ยุ่งกับภารกิจการงานอย่างอื่น จิตใจก็จะได้มาผูกพันอยู่กับความรู้สึกนี้ อันนี้ก็เป็นหลักอย่างหนึ่งในทางจิตใจ ซึ่งทำให้จิตใจไม่ว้าเหว่

ศรัทธานี้ นอกจากเป็นแรงส่งให้จิตใจของเรามีแรงทำงานทำการแล้ว ก็ทำให้จิตใจไม่ว้าเหว่ด้วย คนเรานี้ เวลาอยู่ว่างๆ ไม่มีอะไรทำ ไม่มีงานทำ ว่างจากงาน บางทีก็เกิดอาการอ้างว้างว้าเหว่ เหนื่อยหน่ายหรือเหงาขึ้นมา ทำอย่างไรจะให้หายเหงาได้ ก็ต้องมีสิ่งที่เป็นหลักยึดเหยี่ยวในใจ ศรัทธาความเชื่อในทางศาสนานี้มาเป็นหลัก มาเป็นเครื่องให้กำลังใจในเวลาที่ไม่มีสิ่งอื่นที่ทำอยู่ หรือไม่มีงานที่ทำอยู่ หรือแม้ไม่มีคนอื่นอยู่ คนเราตามปกติก็ต้องมีเพื่อน จึงจะไม่เหงา แต่บางทีเพื่อนก็ไม่อยู่กับเรา เราก็อยู่คนเดียว ในเวลานั้นก็อาจจะเกิดความเหงาขึ้น หรือบางที ทั้งๆ ที่มีเพื่อนนั่นแหละ เพื่อนก็ไม่สามารถเข้าไปในจิตใจที่ลึกซึ้งได้ บางทีเรามีความต้องการอะไรบางอย่าง ที่แม้แต่เพื่อนก็ไม่อาจจะสนองได้ ใจเราก็เหงา เราก็ว้าเหว่ แต่ถ้าเรามีศรัทธาเป็นหลักใจอยู่ ใจก็ไม่อ้างว้าง คนที่ไม่มีศรัทธาอยู่ในใจ ใจจะเหงาจะว้าเหว่บ่อยๆ เสมอๆ

ในโลกปัจจุบันนี้ ชีวิตวุ่นวายสับสนมาก ความสับสนวุ่นวายนี้ บางครั้งก็ทำให้เรารู้สึกสนุก แต่บางครั้งก็ทำให้เรารู้สึกว้าวุ่นยุ่ง ดังนั้น ในเวลาที่สิ่งวุ่นวายเหล่านี้ไม่มี เราอยู่สงบว่างๆ ใจของเราบางครั้งก็สบาย เพราะในเวลาที่มีความรู้สึกว่าเรื่องวุ่นๆ ใจมีอะไรเกะกะ ทำให้ยุ่งมาก ถ้าจิตใจของเราได้ว่างเว้นจากสิ่งเหล่านั้นแล้วก็รู้สึกสงบและสบาย แต่บางครั้งเรากลับต้องการความวุ่นวายนั้น คล้ายกับว่ามันทำให้เกิดชีวิตชีวามีรสชาติ พอมาสงบเข้ากลับรู้สึกว้าเหว่ ถ้าคนไม่มีหลัก ใจก็ยุ่ง ถ้าไม่กระวนกระวายก็กลายเป็นเหงาเป็นว้าเหว่ จิตใจมี ๒ ลักษณะอย่างนี้ คนจำนวนมากเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จะทำอย่างไรในเวลาที่อยู่ท่ามกลางกิจกรรมก็ไม่ให้วุ่น เวลาว่างจากกิจกรรมก็ไม่ให้เหงาไม่ให้ว้าเหว่ อันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญของจิต

คนที่มีศรัทธา ท่านบอกว่าเหมือนมีเพื่อนใจ เพื่อนที่อยู่ในใจ ทำให้ใจไม่เหงาไม่ว้าเหว่ ในทางพระศาสนาบอกว่า ศรัทธาเป็นเพื่อนประจำใจของตัวเอง ไม่ว่าเราจะมีเพื่อนภายนอกหรือไม่มีเพื่อนก็ตาม ถ้ามีศรัทธาแล้วก็เท่ากับ มีเพื่อนอยู่ในใจที่ช่วยให้จิตใจแช่มชื่น มีกำลังเสมอ ไม่ว้าเหว่ เริ่มต้นตั้งแต่ศรัทธาที่ว่าเมื่อกี้ คือศรัทธาในการงาน ศรัทธาในวิถีชีวิตที่เราเห็นว่าดีงาม ตลอดจนถึงศรัทธาในพระศาสนา ศรัทธาในพระศาสนาเป็นศรัทธาที่ลึกถึงก้นกลางใจเป็นฐาน เป็นแกนทำให้จิตใจของเรามีหลักยึดเหนี่ยว มีที่ปรึกษาอยู่เสมอ ไม่อ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว โดดเดี่ยว และไม่ห่อเหี่ยว แต่ศรัทธาที่ถูกต้องจะต้องให้เครื่องนำทางแก่ชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะมีศรัทธาเชื่อกันเฉยๆ เท่านั้น เช่นความเชื่อในพระรัตนตรัยนี้ ก็มีความหมายเป็นเครื่องนำทางศรัทธาในพระรัตนตรัย คือในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ เป็นอย่างไร

ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

ศรัทธาในพระพุทธศาสนา มี อย่าง คือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อว่า กรรมมีจริง ๒. วิปากสัทธา เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนจริง

แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างไร

สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้

ศรัทธา 4 มีความสําคัญต่อชาวพุทธอย่างไร

กัมมสัทธา : เชื่อในเรื่องกรรม = กรรมมีอยู่จริง วิปากสัทธา :เชื่อในผลของกรรม = ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ทำะไรไว้ ย่อมได้รับ ผลอย่างนั้น กัมมัสสกตาสัทธา : เชื่อในเรื่องที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง = รับผิดชอบในการกระทำของตนเอง ตฤาคตโพธิสัทธา : เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง = พระองค์ทรงค้นพบหลักธรรมด้วยตนเอง

หลักศรัทธา4มีอะไรบ้าง

กัมมสัทธา : เชื่อในเรื่องกรรม = กรรมมีอยู่จริง วิปากสัทธา : เชื่อในผลของกรรม = ทาดีได้ดี ทาชั่ว ได้ชั่ว ทาอะไรไว้ย่อมได้รับ ผลอย่างนั้น กัมมัสสกตาสัทธา : เชื่อในเรื่องที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง = รับผิดชอบในการกระทาของตนเอง ตถาคตโพธิสัทธา : เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง = พระองค์ทรงค้นพบหลักธรรมด้วยตนเอง ศรัทธา หมาย ...