อีวาปอเรเตอร์ของตู้เย็นเป็นอีวาปอเรเตอร์แบบใด

อีวาเปอร์เรเตอร์ EVAPORATOR 
คอยล์เย็น ตุ้เเอร์ 
ทำหน้าที่ดูดซับคามร้อนจากลมที่ผ่านตัว เเละ ทำให้ลมที่ผ่านอุณหภูมิลดลง เนื่อจาก อีวาเปอร์เรเตอร์ จะทำให้สารทำความเย็นที่เป็นอุณหภูมิต่ำ เเรงดันต่ำ ที่ออกจาก คอนเด็นเซอร์นั้นเป็นก๊าซเเละลดเเรงดัน , อุณหภูมิด้วยเอ้กเเพนชั่นวาล์ว
อากาศที่ผ่าน อีวาเปอร์เรเตอร์ คอยล์เย็น จะแห้งเเละเย็น

รูปที่ผ่าให้เห็นด้านเป็นเเบบ Serpentine Fine Typr แบบเก่า เเละ BRS Type เเบบใหม่ จะสังเกตุได้ว่าเเบบเก่า ท่อน้ำยาใหญ่กว่า เเบบ BRS มาก เทียบจากรูปากกา ครับ
 อีวาเปอร์เรเตอร์ คอยล์เย็น เเบบ Serpentine
 ประกอบปด้วยท่อแบบที่มีรูมากๆ เเละพับเป็นรูปร่างคล้ายงูเเล้วก็เชื่อมติดเข้ากับครีบ มีส่วนประกอบน้อยทำให้ไม่เกิดการั่วมากนัก  ลักษณะ ฟินห่าง การระบายลมน้อบกว่าเเบบ RS Type 

ความรู้เกี่ยวกับ อีวาโปเรเตอร์ มีหน้าที่อย่างไร

ความรู้เกี่ยวกับ อีวาโปเรเตอร์ มีหน้าที่อย่างไร  อีวาโปเรเตอร์ หรือ คอยล์เย็น จะติดตั้งอยู่ระหว่าง เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว กับ คอมเพรสเซอร์

 

อีวาปอเรเตอร์ของตู้เย็นเป็นอีวาปอเรเตอร์แบบใด
ความรู้เกี่ยวกับ อีวาโปเรเตอร์ มีหน้าที่อย่างไร

 

 

อีวาโปเรเตอร์ Evaporator หรือ คอยล์เย็น Cooling Coil  มีหน้าที่รับน้ำยาที่เป็นของเหลว มีแรงดันต่ำ และ อุณหภูมิต่ำเข้ามา  ซึ่งมีลักษณะเป็นฝอยและน้ำยาจะเดือดในตัวคอยล์เย็นนี้ ทำให้น้ำยาเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส และจะดูดความร้อนจากตัวคอยล์เย็นไป  เมื่อความร้อนของอากาศโดยรอบอีวาโปเรเตอร์ถูกดูดออกไป ที่เหลือก็คือ อากาศเย็นที่พัดออกมาทางช่องลมเย็น  ทำให้อีวาโปเรเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่น้ำยาเหลวไหล ระเหย ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คอล์ยเย็น Cooling coil  หรือ อีวาโปเรเตอร์  การที่น้ำยาเหลวไหลมาเดือดเป็นไอทำให้พื้นผิวภายนอกที่บรรจุน้ำยาเย็นลงในที่นี้เรียกว่า อีวาโปเรเตอร์

 

ถือเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอนโซลในห้องผู้โดยสาร มีลักษณะเป็นท่อขด และมีครีบหลายหลายอันเพื่อนำพาความร้อนผ่าน และท่อขด ความร้อนจะแพร่ไปที่สารทำความเย็น สารทำความเย็นที่เป็ฯของเหลวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอ เมื่อได้รับความร้อน และจะถูกดูดออกโดยคอมเพรสเซอร์ เพื่อไปผ่านขบวนการทำให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง และ การที่จะทำให้ อีวาโปเรเตอร์มีความเย็นมากน้อยนั้นขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้

 

1.ต้องมีพื้นที่สำหรับทำความเย็น เพื่อดูดความร้อนออกไปตามที่ต้องการ

2.ต้องมีปริมาณเพียงพอ แก่การรับเอาน้ำยาที่เป็นของเหลวไว้สำหรับการระเหย และปริมาณต้องกว้างพอ ที่จะรับเอาไอที่ระเหยแล้วนั้นได้

3.ต้องมีการหมุนเวียนสะดวก ปราศจากความดันตกค้างอยู้มากเกินไปในอีวาโปเรเตอร์

 

อีวาโปเรเตอร์ มีความสำคัญในระบบเครื่องทำความเย็นเป็นอย่างมาก เพราะหากต้องการความเย็นมาก ๆ ก็แค่ใส่อีวาโปเรเตอร์โตๆ ที่ถูกต้องแล้ว อีวาโปเรเตอร์จะให้ความเย็นดี จะต้องมีความสัมพันธ์หมดทั้งระหว่าง คอมเพรสเซอร์ ตัวควบคุม น้ำยา และคอนเดนเซอร์  โดยการติดตั้งอีวาโปเรเตอร์ไว้ ภายในรถยนต์ อาจจะวางตำแหน่งได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขึ้นกับแบบของอีวาโปเรเตอร์ จุดประสงค์ที่สำคัญคือ ให้ไอความเย็นออกมาได้ทั่ว

 

ชนิดของอีวาโปเรเตอร์ มี 2 ชนิดคือ

1.แบบท่อและครีบ โดยจะมีที่ขดไปขดมา ส่วนมากทำจากทองแดง และมีครีบยึดระหว่างท่อ เพื่อการรับความร้อน ส่วนมากทำจากอลูมิเนียม

2.แบบครีบขดไปมา ท่อจะมีการขดไปขดมา และระหว่างนั้นจะมีครีบ โดยที่ครีบนั้นจะมีการขดไปมาด้วย ส่วนมากทำจากอลูมเนียมทั้งท่อและครีบ

 

ส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบการทำความเย็น มีกระบวนการทำความเย็นมีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนได้แก่

1.คอมเพรสเซอร์ Compressor  – ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำความเย็น หรือ น้ำยา Refrigerant ในระบบ  โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และ ความดันสูงขึ้น

2.คอยล์ร้อน Condenser  – ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น

3.คอยล์เย็น Evaporator – ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น

4.อุปกรณ์ลดความดัน Throttling Device – ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็นแค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ Capillary tube หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว Expansion valve

 

ระบบการทำความเย็นที่เรา กำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ Vapor-Compression Cycle  ซึ่งมีหลักการทำงานง่าย ๆ คือ การทำให้สารทำความเย็นไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็นวัฏจักรการทำความเย็น โดยมีกระบวนการดังนี้

1.เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ ดูดและอัดสารทำความเย็น เพื่อเพิ่มความดัน และ อุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

2.น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อน โดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

3.น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดัน จะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น

4.จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็น โดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อน จากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความดันคงที่ จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอรืเพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

 

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้ว ก็พอสรุปง่าย ๆ ได้ดังนี้

1.สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ ทำหน้าที่ เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง ออกมานอกห้อง จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้ง แล้วส่งกลับเข้าห้อง เพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์

2.คอมเพรสเซอร์ เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยา ผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้  ดังนั้น คอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะ ๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตาที่เราต้องการ

 

หากท่านใดสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศอย่างละเอียด สามารถพูดคุยกับทีมงานแอร์ดีเซอร์วิสได้ www.airdeeservice.com  เพราะที่ Airdeeservice.com เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคอย่างมืออาชีพ มีประสบการณ์มานานหลายปี เรามีความภาคภูมิใจในการเป็น บริษัท ซ่อมเครื่องปรับอากาศที่ดีที่สุด ทีมงานของเราได้รับการฝึกอบรมและได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติที่ถูกต้องตามกฎหมายและให้บริการอย่างมืออาชีพ โดยเราใช้อุปกรณ์และโปรแกรมซอฟต์แวร์ล่าสุดในการวิเคราะห์และวินิจฉัยระบบปรับอากาศ เราจึงสามารถค้นหาและแก้ไขปัญหาได้ในครั้งเดียว มั่นใจได้ว่าเรามอบความสะดวกสบายสูงสุดให้กับทุกครอบครัว  ท่านสามารถเข้าไปชมผลงานของเราก่อนได้ที่ www.airdeeservice.com ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ขอบคุณเครดิตภาพ shorturl.asia/rlZO3

อ่านบทความเพิ่มเติมที่ www.airdeeservice.com