ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

"น้องปลายฟ้า" หนูน้อยผู้โชคดีจากการโหวตตั้งชื่อ "หลินปิง" คว้าเงินพร้อมรางวัลรถเก๋งมูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท กำลังเผชิญวิบากกรรมถูก "สรรพากร" ยื่นโนติสเรียกเก็บภาษีอีกกว่า 2.1 แสนบาท ยายโวยลั่นไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียภาษีถึง 2 ต่อ…

Show


ถ้าใครได้อ่านพาดหัวข่าวแบบนี้ เชื่อเลยว่าหัวใจที่มีต้องรู้สึกเจ็บปวดอย่างแน่นอน เพราะดูเหมือนกรมสรรพากรจะไปรังแกเด็กซะอย่างนั้น ทำไมถึงใจร้ายใจดำมาเก็บภาษีเสียได้


แต่ถ้าเรามองให้ดีและแจกแจงเรื่องนี้ออกมาตามหลักการของกฎหมาย จะเห็นว่ามันมีความรู้มากมายซ่อนอยู่ และเราสามารถดูเป็นตัวอย่างการคิดได้แบบนี้เลยล่ะครับ


1. เงินรางวัลที่ได้ ต้องเสียภาษีไหม?

สิ่งแรกที่เราควรตั้งคำถาม คือ เงินรางวัลที่ได้มา เราต้องเสียภาษีแบบไหนอย่างไร ซึ่งเงินรางวัลแบบนี้ กฎหมายจะกำหนดไว้ตามนี้ คือ

  1. ตอนส่งมอบรางวัล ผู้จ่ายต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% นั่นคือ ถ้าเงินรางวัล 1.6 ล้านบาท ก็ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 5% หรือ 80,000 บาท ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ในข้อ 9 ของ ทป.4/2528 นั่นเองครับ
  2. ตอนยื่นภาษีประจำปี ตัวผู้มีเงินได้ ต้องเอารายได้ส่วนนี้มายื่นภาษีเป็นรายได้ของตัวเอง โดยถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ตามกฎหมาย และคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป


2. น้องปลายฟ้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไหม?

เรามักแย้งในใจว่า น้องปลายฟ้ายังเด็กอยู่ แต่ในเรื่องของกฎหมายนั้นไม่มีคำว่า เด็ก หรือ ผู้ใหญ่ มีแต่คำว่า ‘ผู้มีเงินได้’ ดังนั้น ถ้าน้องปลายฟ้าเป็นผู้มีเงินได้ น้องปลายฟ้าก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน
 

ดังนั้น น้องปลายฟ้าจะต้องนำเงินรางวัลจำนวน 1.6 ล้านบาท มายื่นภาษีให้ถูกต้องต่อไป ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย เพียงแค่คำนวณจาก 2 วิธีนี้ คือ

ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

วิธีเงินได้สุทธิ = (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ซึ่งถ้าไม่รู้อะไรเลย การคำนวณน่าจะออกมาเป็นแบบนี้ครับ คือ

  • รายได้ = 1,600,000 บาท
  • ค่าใช้จ่าย (กรณีนี้ต้องหักตามจริง แต่เงินรางวัลก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว) = 0
  • ค่าลดหย่อน (กรณีนี้มีค่าลดหย่อนส่วนตัวอย่างเดียว) = 60,000 บาท
  • เงินได้สุทธิที่ได้ คือ 1,540,000 บาท คิดเป็นภาษี 250,000 บาท

วิธีเงินได้พึงประเมิน = รายได้ x 0.5%

  • รายได้ = 1,600,000 บาท  x 0.5% = 8.000
  • เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองวิธี จะเลือกวิธีที่คำนวณภาษีได้สูงกว่า ดังนั้นคือวิธีแรกที่คำนวณได้ทั้งหมด 250,000 บาท

เมื่อได้จำนวนภาษีแล้ว มาดูกันต่อจะเห็นว่ากรณีนี้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 80,000 บาท ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มจำนวน 170,000 บาท


3. ทำไมกรมสรรพากรถึงเรียกภาษีเกินกว่าที่คำนวณได้ ตรงนี้ตอบด้วยเหตุผลง่าย คือ มีเรื่องของเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามกฎหมาย ที่คิดเพิ่มจากยอดภาษี

  • โดยเบี้ยปรับจะคิดในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมีโทษสูงสุดคือ 2 เท่า
  • ส่วนเงินเพิ่มจะเป็นการคิดดอกเบี้ยจากทางกรมสรรพากรในอัตรา 1.5% ต่อเดือน โดยจำนวนเงินเพิ่มจะสูงสุดไม่เกินจำนวนภาษีที่คำนวณได้

จาก 3 คำถามเบื้องต้น จะทำให้เราตอบได้ว่า จากข่าวที่ว่ามา ถ้ามองกันดูแล้วจะเห็นว่าไม่ได้มีใครผิด เพียงแต่ทางน้องปลายฟ้า ได้รับรางวัลแล้วไม่รู้ว่าตัวเองต้องเสียภาษี ส่วนพี่สรรพากรก็ไม่ได้มาตรวจสอบทันที อาจจะเป็นเพราะระบบการตรวจสอบ หรือ กว่าจะเจอก็สาย ทำให้น้องปลายฟ้าต้องเสียเงินเพิ่มมากขึ้น

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเป็นผู้ที่มีเงินได้ในระหว่างปีที่ผ่านมาคือ “การเสียภาษี” และเมื่อครบ 1 ปีภาษี ประชาชนที่มีเงินได้ มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ สำหรับปีภาษี 2565 จะมีรายละเอียดและวิธีคำนวณภาษี รวมถึงลดหย่อนอะไรได้บ้าง FINNOMENA สรุปมาให้คุณแล้ว!

บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบภาษีเมื่อไร?

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้ ปกติการยื่นแบบแสดงรายการ จะยื่นปีละ 1 ครั้ง (ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป) แต่ถ้าเงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี (สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายนของทุกปี)

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

บุคคลธรรมดาต้องมีเงินได้เท่าไร ถึงจะต้องเสียภาษี

เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ “ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี” แบ่งเป็นสำหรับคนโสดและคนที่สมรสแล้ว

ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

หลักการคำนวณภาษี แบบสรุปสั้น ๆ คือ

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยเงินได้สุทธิ สามารถหาได้จากการนำรายได้ทั้งหมดมารวมกัน พร้อมหาค่าลดหย่อนต่าง ๆ (เช่น ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน) และนำมาหักออกจากรายได้ทั้งหมด เหลือเท่าไรคือเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี

การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้นตอน คือ

ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

ขั้นตอนที่หนึ่ง

คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีคิดอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันได

ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

อัตราภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได

  1. เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี)
    ภาษี = 0
  2. เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
    ภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5%
  3. เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500
  4. เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500
  5. เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000
  6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000
  7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000
  8. เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000

ขั้นตอนที่สอง

กรณีที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีคิดแบบเหมา คือต่อเมื่อมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน หากรายได้จากทางอื่นทั้งหมดมีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน

ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005

โดยวิธีนี้มีข้อควรระวังคือ

  • จะคำนวณจากรายได้ทางอื่น ๆ ทุกทางยกเว้นเงินเดือน
  • หากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้

ขั้นตอนที่สาม

เปรียบเทียบและสรุป โดยให้เทียบกันระหว่าง 2 วิธีนี้ คือ วิธีคิดแบบขั้นบันได กับ วิธีคิดแบบเหมา โดยวิธีใดคำนวณแล้วเสียภาษีสูงกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น

ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

ลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง?

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนพื้นฐาน

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส
  • ค่าลดหย่อนบุตร
  • ค่าฝากครรภ์และทำคลอดบุตร
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน

  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
  • เบี้ยประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันสุขภาพ
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)

กลุ่มที่ 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายภาครัฐ

  • ค่าลดหย่อนพิเศษในปีภาษี เช่น โครงการช้อปดีมีคืน 2565

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนเพื่อบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป
  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม สาธารณประโยชน์ และสถานพยาบาลรัฐ
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

วางแผนลดหย่อนภาษีจากการออมและการลงทุน

หากเราพอจะรู้แล้วว่า เงินได้ของเราในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณเท่าไร อยู่ขั้นบันไดไหนและต้องเสียภาษีในอัตราภาษีกี่เปอร์เซ็นต์ จะสามารถนำมาวางแผนลดหย่อนได้ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ควรจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ที่สามารถวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ดังนี้

ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน

จากประกันชีวิต ประกันแบบสะสมทรัพย์ ประกันสุขภาพตัวเองและบิดามารดา ประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยแต่ละประเภทจะลดหย่อนได้ไม่เท่ากัน

ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) โดยกองทุนแต่ละแบบจะลดหย่อนได้แบบละไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี เช็กได้จาก เครื่องคำนวณ SSF RMF

หากต้องการเปรียบเทียบดูความแตกต่างระหว่างการลดหย่อนภาษีจากประกันและกองทุนรวม ว่าแบบไหนเหมาะกับเราและลดหย่อนได้เท่าไรบ้าง แนะนำให้อ่านบทความนี้เพิ่มเติม ประกัน VS กองทุนรวม

สำหรับใครที่ลงทุนในหุ้น และได้รับเงินปันผลด้วย แนะนำให้อ่านบทความภาษีเงินปันผลเพิ่มเติม ได้ที่

เครดิตภาษีเงินปันผล คืออะไร? แล้วเราต้องยื่นไหม? I TAX เพื่อนๆ EP4

หากพร้อมแล้วสามารถเข้าไปยื่นภาษีแบบออนไลน์ ได้ที่ https://rdserver.rd.go.th

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

FINNOMENA Admin

ค่าบริการ เป็นรายได้ประเภทไหน

แท็ก:

ArticleBasicKnowledgeLong ContentPersonalFinance101Tax Saving Fundคำนวณภาษีประหยัดภาษีภาษียื่นภาษีลดหย่อนภาษีวางแผนภาษี

ค่าจ้างเหมาบริการเป็นรายได้ประเภทใด

เงินได้ประเภทที่ 7 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(7)

ค่าตอบแทน เป็นเงินได้ประเภทใด

216,688 views. โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้พึงประเมิน ในรูปของ เงินค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนที่คุณไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(2)

ค่าที่ปรึกษา ถือเป็นเงินได้ประเภทใด

คำถาม : ค่าที่ปรึกษาเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด ? คำตอบ : หากเป็นการให้คำปรึกษาทั่วไปเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แต่หากเป็นการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย บัญชี เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6)

เงินได้จากการทำกิจการโรงแรมเป็นเงินได้ประเภทใด

กิจการโรงแรมที่ผู้ประกอบกิจการเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ๑. การคํานวณภาษี ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้จากการประกอบกิจการถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๘) แห่งประมวลรัษฎากร สามารถเลือกหัก ค่า ...