เพลง ยามเย็น เป็นเพลง ประเภท ใด

  • 24 มี.ค. 2560
  • 0

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

วันวัณโรคโลก (World Tuberculosis Day) ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปีตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังคงระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนราว 1.6 ล้านคนต่อปีโดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม     ช่วงหนึ่งประเทศไทย ก็ประสบกับการระบาดของวัณโรค  อีกทั้งขาดความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและขาดแคลนยารักษาโรค แต่ด้วยความพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ การระบาดของวัณโรคจึงหมดไป

เพลง ยามเย็น เป็นเพลง ประเภท ใด

คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :  รำลึก 70 ปีสร้าง รพ.ปอดเหล็ก

หนึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ในการสนับสนุนปราบปรามวัณโรค คือ การพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็นซึ่งเป็นเพลงแรกที่พระราชทานให้วงดนตรีนำไปบรรเลงในงานแสดงดนตรีการกุศลเพื่อหารายได้สมทบทุนช่วยเหลือโครงการรณรงค์ต่อต้านวัณโรคแห่งชาติของสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

เพลงฮิตแห่งยุค

เพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็นนั้น เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 แต่เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่นำบรรเลงสู่ประชาชน โดยเป็นเพลงทดลองของพระองค์ท่านในจังหวะ ฟ็อกทร็อตเปิดตัวครั้งแรกในงานของสมาคมป้องกันวัณโรค ด้วยทำนองสนุกสนานทำให้เป็นที่นิยมในทันทีเพราะเหมาะกับการเต้นรำในสมัยนั้น

เพลงยามเย็นกล่าวถึงการที่คนรักจากไปไกล มีความคิดถึงและความรู้สึกดีๆ ต่อกันแม้ยามต้องห่างไกล โดยย้ำเตือนให้รับความเป็นจริงและปรับตัวให้ได้กับความเปลี่ยนแปลง โดยเปรียบเปรยคนรักเป็นดังดวงอาทิตย์ที่กำลังลับจากฟ้าไป โดยเนื้อร้องทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเปรียบเปรยและมีความหมายแทบจะเหมือนกันทำนองเพลง “ยามเย็น”

เพลง ยามเย็น เป็นเพลง ประเภท ใด

เพลง “ยามเย็น” มีทำนองสนุกสนานฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายฟังสบายใจ ประกอบกับเนื้อร้องที่จำง่าย ติดหูจนได้เป็นหนึ่งในเพลงประกอบหลักของหนังเรื่อง พรจากฟ้าด้วย!! และเป็นหนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคนนำไป Cover มากที่สุด

จึงกล่าวได้ว่า “เพลงยามเย็น” เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชทานเพื่อเสริมสร้างกำลังใจแด่ผู้ป่วยวัณโรค อันแสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรไทยเป็นล้นพ้น

บทเพลงพระราชนิพนธ์ “ยามเย็น”

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

“แดดรอนรอน

เมื่อทินกรจะลับเหลี่ยมเมฆา

ทอแสงเรืองอร่ามช่างงามตา

ในนภาสลับจับอัมพร

แดดรอนรอน

เมื่อทินกรจะลาโลกไปไกล

ยามนี้จำต้องพรากจากดวงใจ

ไกลแสนไกลสุดห่วงยอดดวงตา

แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน

ทุกวันคืนรื่นอุรา

ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญาณ์

เหมือนดังนภาไร้ทินกร

แดดรอนรอน

หากทินกรจะลาโลกไปไกล

ความรักเราคงอยู่คู่กันไป

ในหัวใจคงอยู่คู่เชยชม

แดดรอนรอน

หมู่มวลภมรบินลอยล่องตามลม

คลอเคล้าพฤกษาชาติชื่นเชยชม

ชมสมตามอารมณ์ล่องเลยไป

ลิ่วลมโชย

กลิ่นพรรณไม้โปรยโรยร่วงห่วงอาลัย

ยามสายัณห์พลันพรากจากดวงใจ

คอยแสงทองวันใหม่กลับคืนมา

แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน

ทุกวันคืนชื่นอุรา

ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญาณ์

เหมือนดังนภาไร้ทินกร

โอ้ยามเย็น

จวบยามนี้เป็นเวลาสุดอาวรณ์

ยามไร้ความสว่างห่างทินกร

ยามรักจำจะจรจากกันไป

ที่มา : https://www.mangozero.com

        : http://www.srayaisomwittaya.ac.th

Tags

เพลงยามเย็นเป็นเพลงรูปแบบใด

เพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2โแต่เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่นำบรรเลงสู่ประชาชน โดยเป็นเพลงทดลองของพระองค์ท่านในจังหวะ “ฟ็อกทร็อต” เปิดตัวครั้งแรกในงานของสมาคมป้องกันวัณโรค ด้วยทำนองสนุกสนานทำให้เป็นที่นิยมในทันทีเพราะเหมาะกับการเต้นรำในสมัยนั้น

เพลงยามเย็นเป็นของรัชกาลใด

เพลงพระราชนิพนธ์ยามเย็น: Love at Sundown เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ แล้วพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มี ...

เพลงยามเย็นเป็นเพลงของใคร

ยามเย็น - ธนิดา ธรรมวิมล

เพลงพระราชนิพนธ์เป็นเพลงแนวใด

เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่ขณะประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเมื่อเสด็จฯ นิวัติพระนครใหม่ ๆ นั้นเป็นเพลงในแนว "บลูส์" (Blues) ซึ่งเป็นสไตล์หนึ่งของดนตรีแจ๊ส ที่เริ่มเป็นที่นิยมในสหรัฐตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2443 เสียงโน้ตที่แปร่งหูในแนวบลูส์ และช่วงจังหวะที่ขัดธรรมชาติของเพลงในบางครั้ง ได้สร้างมิติใหม่ให้แก่วงการ ...