การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

Drawing

ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


           Drawing หรือการวาดเส้นดินสอดำ เป็นวิชาพื้นฐานของศิลปะทั้งหมด การที่เราจะวาดภาพให้เหมือนนั้น เราจะต้องเรียนรู้ถึงองค์ประกอบต่างๆและจะต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอเพื่อให้เกิดความชำนาญและสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดีที่สุด


หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

           หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หมายถึง หลักการจัดวางสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันและเกิดเป็นศิลปะจะเอาองค์ประกอบมาจัดทุกอย่างหรือบางอย่างก็ได้มาประกอบกัน สิ่งต่างๆเหล่านั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งมนุษย์ได้แบบอย่างมาจากธรรมชาติ บางครั้งก็ดัดแปลงขึ้นมาใหม่ แต่บางอย่างก็นำธรรมชาติมาใช้เลย สิ่งต่างๆที่กล่าวมา ได้แก่

1. จุด

2. เส้น

3. ทิศทาง

4. รูปร่างและรูปทรง

5. ขนาดและสัดส่วน

6. ลักษณะผิว

7. น้ำหนักสีอ่อนแก่

8. สี

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ



เขียนโดย Arunee_S 1 ความคิดเห็น:

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

พื้นฐานการวาดภาพ

การจับดินสอ

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัด ฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน

1. จับแบบเขียนหนังสือ 

   - ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ

   - วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร

   - เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง 

2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ

3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง

4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด


*ห้ามใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งล๊อคดินสอ พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุด 

โดยนิ้วแค่เป็นตัวประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งใน

มือของเราที่จะบังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้


แนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอ

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอวซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ เช่นวาดบนกำแพง เป็นต้น


@ALPHA FO

เขียนโดย Arunee_S 1 ความคิดเห็น:

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

เริ่มฝึก


การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ



1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
3. ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว
4. ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล อย่างไม่หยุดนิ่ง

การลงน้ำหนักดินสอEE


การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


       ใช้ดินสอEEตีกรอบ เพื่อฝึกการไล่น้ำหนัก 6 น้ำหนักจากนั้นก็แบ่งครึ่งในช่องน้ำหนักทั้ง 6 ไปเรื่อยๆจนสามารถกระจายน้ำหนักได้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆการลงน้ำหนักนี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะสามารถทำให้เกิด ความลึก ระยะ หรือมิติ เพราะตัวน้ำหนักนี้เอง สามารถทำให้เกิดภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ 


เริ่มร่างวงกลม 

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


      เริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงาที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง



*ก่อนจะวาดรูปใดๆให้ได้ดั่งใจนั้น
ควรฝึกพื้นฐานเหล่านี้ก่อนแล้วค่อยวาด ฝึกให้ชำนาญ
จนสามารถควบคุมมือให้ลากเส้นได้
ลากจนเส้นตรงให้ตรง เฉียงให้เฉียง กลมก็ต้องให้กลมจริงๆ
ก่อนที่จะวาดภาพต่อไป

@ALPHA FO

เขียนโดย Arunee_S ไม่มีความคิดเห็น:

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

อุปกรณ์เบื้องต้น

แนะนำอุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับวาดภาพ

กระดาษ

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


          รูปแบบกระดาษมีให้เลือกเยอะมากการเลือกกระดาษให้เหมาะกับสไตล์งานนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเลย คือต้องลองเองหลักในการเลือกซื้อกระดาษจะต้องเลือกซื้อที่เนื้อแน่นๆไม่บางไป เพราะเวลาลบจะทำให้เป็นขุยได้ ถ้าเป็นในกรณีของคนที่วาดแล้วนำไปตกแต่งในคอมพิวเตอร์ก็สามารถเลือกซื้อกระดาษที่หนาเพียง 80 แกรมได้


ดินสอ/ปากกา

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

เราสามารถเลือกใช้ดินสอหรือปากกาชนิดใดก็ได้ตามความถนัดและชนิดของงาน 


ยางลบ


การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


ควรเลือกยางลบที่เนื้อนิ่ม ไม่ควนใช้ยางลบที่แข็งหรือเสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ลบไม่สะอาด และทำให้ผลงานของเราฉีกขาดได้อีกด้วย

คัตเตอร์

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

มีดคัตเตอร์ใช้สำหรับเหลาดินสอ


ไม้บรรทัด

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

               ใช้ช่วยบางครั้งในการตีสเกลหรือเส้นต่างๆ ควรเลือกที่มีหน่วยสเกลชัดเจน หลังใช้เสร็จควรหมั่นทำความสะอาด เพราะถ้ามันมีคราบสกปรกคราบนั้นจะเปื้อนงานของเราให้สกปรกไปด้วย



เขียนโดย Arunee_S ไม่มีความคิดเห็น:

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ

การเหลาดินสอEE

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


สำหรับการเหลาดินสอ EE ให้ใช้คัตเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย จับดินสอให้ห่างจากจุดสีน้ำเงินประมาน2-4เซนติเมตรเเละใช้นิ้วชี้ประคองดินสอให้ห่างจากเนื้อไม้สีประมาน1เซนติเมตร

ห้าม ถูคัดเตอร์กับอีอีไปมา ให้ใช้การยกเเล้วเเล้วปาดลงอย่างเเผ่วเบาในตอนเหลาให้หันดินสอลงเป็นมุม45องศา เเละใช้คัดเตอร์ทำมุมกับดินสองประมาน45องศาเช่นกัน


การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


ขณะเหลาให้หมุนดินสอไปด้วย เพื่อที่ดินสอจะได้กลมเท่ากันเมื่อเหลาไส้ดินสอเสร็จแล้วใช้คัตเตอร์ค่อยๆเเต่งปลายให้เเหลม


การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำหนักเบา ๆ ร่างภาพ


เหลาเปิดเนื้อดินสอเหลาเนื้อไม้ให้เเท่งคาร์บอนโผล่มาประมาน1.5นิ้วและที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

การจับดินสอแบบใดเป็นการลงน้ำเบาๆแบบร่างภาพ

2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบาย 3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง 4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

การจับดินสอมีกี่แบบ

2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ 3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง 4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

ดินสอชนิดใดเหมาะสมกับการร่างภาพ

การร่างภาพและเขียนรายละเอียดของภาพควรใช้ดินสอดำชนิดแข็ง ชนิดปานกลาง ได้แก่ H, และ HB ผลงานจะมีความสะอาดและประณีต การแรเงาภาพ หรือ การสร้างค่าน้ำหนักเข้ม ควรใช้ดินสอดำชนิด B เช่น 6B หรือ EE เป็นต้น ผลงานจะมีค่าน้ำหนักและแสงเงาเข้ม และมีความนุ่มนวลกลมกลืนได้ดี

ดินสอวาดเส้นในข้อใดให้ค่าน้ำหนักอ่อนที่สุด

ทั้งนี้ ดินสอที่ผลิตอยู่ในท้องตลาด มีตั้งแต่ 9H ซึ่งมีไส้ดินสอที่แข็งที่สุดแต่ให้สีอ่อนที่สุด ไล่ไปที่ 8H, 7H, 6H, 5H, 4H, 3H, 2H, H, F และ HB ซึ่งเป็นดินสอระดับมาตรฐานสำหรับงานเขียน ไปจนถึงระดับ B, 2B, 3B, 4B, 5B, 6B, 7B, 8B และ 9B ซึ่งเป็นดินสอที่มีไส้อ่อนที่สุดแต่ก็สีดำที่สุด