ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้คือภาษาอะไร

ภาษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

 

ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้คือภาษาอะไร

สาระสำคัญ
ภาษาคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง ภาษาเครื่องประกอบด้วยตัวเลขที่เป็นรหัส ซึ่งใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ ภาษาระดับต่ำมีการใช้ตัวอักษรเป็นรหัส ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ใช้อักษรภาษาอังกฤษที่แปลง่ายและเข้าใจได้เร็ว เช่น ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาจาวา ภาษาซี
โปรแกรมแปลภาษาแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ คอมไพเลอร์และอินเทอร์พรีเตอร์ ระบบติดต่อ ใช้งานคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด กลุ่มเลือกรายการเมนู และกลุ่มเลือกรูป

ภาษาคอมพิวเตอร์

การใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการจำเป็นต้องมีการกำหนดภาษาสำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาประดิษฐ์ ( artificial language ) ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ( formal language ) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน กฏเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง

     1. ภาษาเครื่อง
การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยน เครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

     2. ภาษาระดับต่ำ
เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่งโดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน และใช้การตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่าภาษาระดับต่ำ
ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า ภาษาอิงเครื่อง ( machine – oriented language ) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน ๆ
การใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงาน ได้ทันที จำต้องมีตัวแปลโปรแกรมจากภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องก่อนโดยอาศัยโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่าแอสเซมเบลอร์ ( assembler ) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้น แอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีของชนิดอื่น ๆ ได้
ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำ ในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อยและมักจะใช้ในกรณี ที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

     3. ภาษาระดับสูง
เป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ลักษณะของคำสั่งต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาวิชวลเบสิก ภาษาซี ภาษาจาวา เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูง ได้แก่
1) ภาษาฟอร์แทรน เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด เป็นภาษาที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และงานวิจัยต่าง ๆ
2 ) ภาษาโคบอล เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่สร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเขียนโปรแกรม แทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
4) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดีจึงเหมาะกับการช้าอนหลักการเขียนโปรแกรม
5) ภาษาซีและซีพลัสพลัส เป็นภาษาที่มีใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกระดับ เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่ายทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็ว ในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นได้ว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอกจากนี้เมื่อมีแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า ภาษาซีพลัสพลัส
6) ภาษาวิชวลเบสิก เป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก เป็นภาษาที่ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้ เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิก เป็นภาษาที่ใช้แนวคิด
7) การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ ในการพัฒนาโปรแกรมภาษานี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแบบจียูโอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
8) ภาษาจาวา เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่มีการนำภาษาจาวามาใช้งาน จะเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ปาล์มท็อป หรือแม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งานระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่าแอปเพลต( applet ) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้นเรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย( server ) ได้
9) ภาษาเดลฟาย แนวคิดการเขียนโปรแกรมของภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดของภาษาวิชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพแต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์( component ) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้งานมากรวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม

ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้คือภาษาอะไร

     4. การทำงานของโปรแกรมแปลภาษา

ในการประมวลผลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูงจำเป็นต้องอาศัย โปรแกรม ที่ทำหน้าที่ช่วยในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมภาษาที่ใช้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1) คอมไพเลอร์ ( compiler ) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า โปรแกรมต้นฉบับ ( source program ) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง ( object program ) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรมและสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีกโดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี
2) อินเทอร์พรีเตอร์ ( interpreter ) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่ อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือ ถ้านำโปรแกรมนี้มาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์

ตามปกติเมื่อซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน มักจะได้ระบบปฏิบัติการมาพร้อมกับเครื่อง ซึ่งสามารถช่วยจัดการให้ผู้ใช้เรียกใช้หรือติดต่อกับเครื่องได้ทันที โดยรูปแบบของการติดต่อ กับเครื่องจะขึ้นกับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้ง และซอฟต์แวร์เสริมสภาพแวดล้อมการใช้งาน ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบติดต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้ให้ง่ายและทำงานได้รวดเร็วขึ้น
ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็นสามกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด กลุ่มเลือกรายการเมนู และกลุ่มเลือกสัญรูป
1. กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด
ระบบการติดต่อแบบนี้เป็นระบบติดต่อแบบแรก ที่พัฒนามาพร้อม ๆ กับคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบอื่น ๆ เป็นการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่ง ไม่เอื้อต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เท่าใดนัก เพราะผู้ใช้จะต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้ได้เสียก่อน เช่นการเรียกใช้คำสั่งของดอส ระบบนี้ผู้ใช้จะมีความสับสนในระยะแรก เพราะจะต้องเรียนรู้คำสั่งว่าใช้งานอย่างไร ซึ่งการป้อนหรือพิมพ์คำสั่งเข้าไปจะต้องพิมพ์ไม่ผิดเลย ระบบติดต่อนี้จะใช้ยากและเสียเวลาบ้าง ถ้าจำคำสั่งไม่ได้ แต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ จนคุ้นเคยอาจมีข้อดีที่สามารถเรียกโปรแกรมมาทำงานได้รวดเร็วที่สุด ใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อยเพราะลดการแสดงผลในส่วนของกราฟิก
2. กลุ่มเลือกรายการเมนู
ในระบบนี้จะแสดงรายการย่อยของคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไป จะเป็นข้อความ ตัวอักษรไม่เป็นรูปกราฟิก ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนตัวชี้ แถบสี หรือสัญลักษณ์ลูกศรขึ้นหรือลงรูปสัญลักษณ์อื่น ๆ ไปยังรายการที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกรายการนั้น หรืออาจใช้เมาส์เลือกรายการใช้เช่นกัน ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะใช้งานได้ง่ายขึ้นไม่ต้องจดจำคำสั่งมาก เพราะจะมีรายการคำสั่งแสดงไว้ให้เลือก
3. กลุ่มเลือกสัญรูป
มีลักษณะคล้ายระบบติดต่อกลุ่มที่สองที่เป็นรายการเมนูให้เลือก เพียงแต่ว่ารายการของกลุ่มที่สามจะเป็นรูปภาพ หรือสัญรูปสำหรับเลือกโดยมีอุปกรณ์เมาส์เป็นตัวเลื่อนตัวชี้และเลือกรายการ ในบางกรณีก็อาจเป็นรายการเมนูย่อยของข้อมูลในระบบ การติดต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้ในลักษณะนี้ได้รับความสนใจมาก เพราะใช้งานง่าย ไม่ต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งที่ซับซ้อน
ระบบติดต่อใช้งานในกลุ่มที่สามที่มีผู้นิยมคือ ระบบติดต่อผู้ใช้เชิงกราฟิกเรียกว่า จียูไอ นับเป็นระบบท่แสดงรูปกราฟิกแบบบิตแมพ ( bit map ) ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ ดอส โอเอสทู หรือยูนิกซ์ ต่างก็มีซอฟต์แวร์มาเสริมสภาพการใช้งานเป็นแบบจียูไอกันทั้งหมด
ซอฟต์แวร์ประเภทจียูไอ ส่วนใหญ่เป็นโปแกรมที่ซับซ้อนและมีขีดความสามารถสูง ดังนั้นการติดต่อหรือการเรียนรู้จึงยากกว่าปกติแต่หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะใช้งานได้ง่าย และถ้านำไปทำงานในเครื่องความเร็วสูง ก็จะช่วยประหยัดเวลาและทำให้โปรแกรมต่าง ๆ ใช้งานง่ายขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทจียูไอเป็นซอฟต์แวร์ประเภทขนาดใหญ่จึงใช้พื้นที่หน่วยความจำมาก ต้องใช้ ตัวประมวลผลที่มีขีดความสามารถสูงจึงจะทำงานได้ผล
ลักษณะเด่นของระบบติดต่อกุยเมื่อใช้กับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการหลายภารกิจคือ สามารถทำหลายงานได้ในเวลาเดียวกัน โดยงานหนึ่ง ๆ จะปรากฏในช่องหน้าต่างที่เปิดขึ้นมาบนจอภาพ สามารถสลับระหว่างช่องหน้าต่างไปมา เปลี่ยนและย้ายตำแหน่งของช่องหน้าต่างและการโอนย้ายข้อมูลระหว่างช่องหน้าต่าง หรือระหว่างโปรแกรมได้ ในส่วนของผู้ที่เป็นนักเขียนโปรแกรมก็จะได้ประโยชน์ สามารถเขียนโปรแกรมประยุกต์สร้างเป็นเมนูภาพ สัญรูป และช่องหน้าต่างแสดงข้อมูล
ระบบติดต่อกุยที่สมบูรณ์แบบควรมีองค์ประกอบดังนี้
1) มีระบบที่ใช้รูปกราฟิกและสัญรูป
2) มีการแสดงรายการบนจอที่สวยงาม น่าดู และให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน กับการใช้งาน
3) สามารถพิมพ์ผลลัพธ์ที่ปรากฏบนจอได้เหมือนกับที่เห็น
4) สนับสนุนการใช้เครื่องพิมพ์หลายรุ่น
5) แสดงองค์ประกอบของระบบไม่ว่าจะเป็นช่องหน้าต่าง หรือรายการเมนูเป็นมาตรฐาน เดียวกัน จนทำให้แยกไม่ออกว่ากำลังทำงานอยู่กับเครื่องต่างระบบ หรือทำงานต่างโปรแกรม เป็นต้น
6) มีลักษณะการใช้งานแบบเลือกรายการ เลือกชิ้นวัตถุที่สามารถชี้และเลือกด้วยเมาส์
7) มีระบบที่ติดตั้งได้ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนระบบภายในได้ง่าย
8) สามารถทำงานเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รุ่นเก่า
9) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรม

ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้คือภาษาอะไร

อ้างอิง ภาษาคอมพิวเตอร์

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีภาษา อะไรบ้าง

ทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น.
ภาษาเครื่อง (machine language).
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language).
ภาษาชั้นสูง (High level Langu).
ภาษาขั้นสูงมาก (Very High level Language).
ภาษาธรรมชาติ (National Language ).

ภาษาของคอมพิวเตอร์คืออะไร

ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาเดียวที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และเป็นภาษาที่ประกอบด้วยตัวอักษรเพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 เท่านั้น การใช้ ภาษาเครื่องนั้นค่อนข้างยากมาก นอกจากจะต้องจำคำสั่งเป็นลำดับของเลข 0 กับ 1 แล้วยังจะต้องออกคำสั่งต่างๆ อย่างละเอียดมากๆ ด้วย

ภาษาทางคอมพิวเตอร์มีกี่ภาษา

ภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)

ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม มีอะไรบ้าง

1. JavaScript. JavaScript (JS) เป็นภาษาสำหรับการทำ Frontend Development ซึ่งมักจะใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำ Frontend Web Application ต่างๆ โดยเฉพาะ Web App ที่มีความ interactive ยกตัวอย่างเช่น การทำให้มี Popup เด้งขึ้นมาตอนที่เรากดปุ่ม Button เป็นต้น ... .
2. Python. ... .
3. Golang. ... .
4. Kotlin. ... .
5. Swift. ... .
6. Dart. ... .
7. Java..