หลักธรรมใดนำไปปฏิบัติในการดูแลครอบครัว

แม่บ้านดีผูกใจสามีได้ และทำให้ทั้งบ้านร่มเย็น ธรรมะโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ในสมัยพุทธกาล พระบรมศาสดาเคยทรงได้รับอาราธนาจากคฤหบดีท่านหนึ่งให้ทรงประทานโอวาทแก่กุมารีที่จะแยกครอบครัวไปอยู่ในตระกูลสามี ครั้งนั้นพระองค์ได้ตรัสสอนกุมารีเหล่านั้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับแม่บ้านหลายประการ หลักธรรมที่ทรงประทานครั้งนั้น พระองค์ตรัสให้เหมาะสมกับสภาพสังคมของชมพูทวีปยุคพุทธกาล ที่ฝ่ายพ่อบ้านเป็นผู้ประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว จึงเป็นหลักธรรมที่ใช้ได้อย่างดีในสังคมไทยแบบเดิม ซึ่งมีลักษณะการแบ่งงานในครอบครัวอย่างเดียวกัน

บัดนี้ แม้สังคมจะผันแปรไปตามกาลสมัย สตรีผู้ฉลาดก็สามารถยึดถือสาระจากหลักธรรมเหล่านั้น นำมาประพฤติปฏิบัติให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตครอบครัวได้เป็นอย่างดี

ยิ่งกว่านั้น แม้ในสมัยปัจจุบันที่สภาพและระบบการต่าง ๆ ในสังคมเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วนี่เอง ก็ยังอาจกล่าวยืนยันได้ว่าในครอบครัวที่ภริยายึดถือปฏิบัติเคร่งครัดตามหลักธรรมเหล่านี้ นับว่ามีปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะยึดเหนี่ยวค้ำจุนชีวิตครอบครัวไว้ให้มีความสุข ความราบรื่น มั่นคงด้วยดี และความประพฤติเช่นนี้จะไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียหายแก่ชีวิตครอบครัวแต่ประการใด

ในพุทธโอวาทครั้งนั้นทรงแสดงหลักธรรมสำหรับภรรยา 5 ข้อ ซึ่งมีใจความดังนี้

ข้อที่ 1พึงเป็นผู้ตื่นก่อนนอนทีหลัง เอาใจใส่คอยฟังว่าจะมีอะไรให้ช่วยทำ ประพฤติแต่สิ่งที่ถูกใจ พูดคำไพเราะน่ารัก คือรู้จักปรนนิบัติ ถนอมน้ำใจ

ข้อที่ 2 คนเหล่าใดเป็นที่เคารพนับถือของสามี เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ของสามี เป็นต้น ก็แสดงความเคารพนับถือด้วย เอาใจใส่ปฏิสันถารท่านเหล่านั้นเป็นอันดี

ข้อที่ 3เป็นผู้ขยัน เอาใจใส่ในงานบ้านทุกอย่าง เช่น งานเกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น เฉลียวฉลาด รู้จักคิดจัดทำงานเหล่านั้นให้เรียบร้อยเหมาะสม

ข้อที่ 4 เอาใจใส่สอดส่องดูแลคนในปกครองภายในบ้าน เช่น คนรับใช้และคนงานต่าง ๆ รู้งานของเขาว่าได้ทำแล้วหรือไม่เพียงใด มีใครเจ็บป่วยไข้เป็นอย่างไร เอาใจใส่รักษาพยาบาล จัดแบ่งอาหารของบริโภคเผื่อแผ่ให้ตามสมควร

ข้อที่ 5 รู้จักประหยัด เก็บรักษาทรัพย์สมบัติที่สามีหามาได้ ไม่เล่นการพนัน ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ทำลายผลาญทรัพย์สมบัติ

นอกจากหลักความประพฤติเหล่านี้แล้ว ในที่บางแห่งทรงแสดงคุณธรรมในใจกำกับไว้เป็นข้อสุดท้ายด้วย คือการอยู่ครองเรือนด้วยจิตใจโอบอ้อมอารี ไม่คับแคบด้วยความตระหนี่เห็นแก่ตัว คุณธรรมประจำใจนี้เป็นพื้นฐานชีวิตที่สำคัญ ทำให้บ้านเรือนเป็นสถานที่ร่มรื่น แช่มชื่น เยือกเย็นเบิกบานใจทั้งแก่ผู้อาศัยที่อยู่ร่วมกันและแก่ผู้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยือน มีญาติ มิตรสหาย เป็นต้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัว หลักธรรมข้อต้น ๆ อันเป็นความประพฤติที่แสดงออกภายนอกอาจเปลี่ยนแปลงประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมตามยุคสมัย แต่คุณธรรมที่เป็นพื้นใจจะยังคงรูปเป็นอย่างเดียวกันตลอดทุกกาล

(หลักธรรมที่ภรรยาควรมีไว้ผูกใจสามี)

ที่มา  รักนั้นดีแน่ แต่รักแท้ดีกว่า โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ

Image by Pexels from Pixabay

Secret Magazine (Thailand)


บทความน่าสนใจ

ไขข้อข้องใจ หากคู่รัก ปฏิบัติธรรม ชีวิตคู่มักจะไปไม่รอดจริงหรือ

  DSpace Repository

หลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความมั่นคง ในครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา

  • DSpace Home
  • สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
  • Research
  • View Item

JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

หลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความมั่นคง ในครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา

วัฒนะ, กัลยาณ์พัฒนกุล; พระครูนิรมิตสังฆกิจ; พระครูสมุห์ณรงค์, โฆสิตธมฺโม; อานนท์, เมธีวรฉัตร; สุวรรณฐา, ลึม

Date: 2560

Abstract:

การวิจัยเรื่อง “หลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความมั่นคงในครอบครัวตามแนว พระพุทธศาสนา”มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาหลักธรรมและหลักการเสริมสร้าง ความมั่นคงของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา ๒. เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความ มั่นคงของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา ๓. เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความ มั่นคงของครอบครัวพ่อแม่มือใหม่ในสังคมไทย ทั้งนี้ เป็นการศึกษาจากหลักธรรมและหลักการทาง พระพุทธศาสนา เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของมารดาบิดา วิเคราะห์ตามหลักการสั่งสอนตามหลักพุทธ ธรรมและบูรณาการในการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวสำหรับพ่อแม่มือใหม่ในสังคมไทย สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ ๑. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ เพื่อศึกษาหลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความ มั่นคงของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า หลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความมั่นคง ของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา ทำให้ได้ทราบหลักธรรมและหลักการสร้างความั่นคงของ ครอบครัว เช่น มงคล ๓๘ ประการ ทิศ ๖ พรหมวิหาร ๔ ฆราวาสธรรม ๔ สังคหวัตถุ ๔ คารวะ ๖ เป็นต้น ซึ่งเป็นหลักธรรมที่นำความสำเร็จมาสู่ครอบครัว โดยการดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน สามารถ ดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหลักธรรมคำสอนที่มีความเกี่ยวข้องกับการสั่งสอน บุตรธิดา สามารถนำไปอบรมสั่งสอน เลี้ยงดูบุตรธิดา และฝึกหัดพัฒนากายวาจาใจ ให้เป็นมนุษย์ที่ ก เจริญแล้ว ซึ่งแต่ละหลักธรรมจะมุ่งเน้นการวางแผน แนวทางประพฤติปฏิบัติต่อกัน ความรับผิดชอบ บทบาทหน้าที่ของตน การอยู่ร่วมกันอย่างมีวัฒนธรรมด้วยความรักความเข้าใจ การสร้างสัมพันธภาพ อันดี ด้วยความเข้าใจกันอย่างมีมิตรไมตรี ที่ประกอบไปด้วยความเมตตา กรุณา มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ๒. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความมั่นคง ของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา จากการวิเคราะห์พบว่า กระบวนการเสริมสร้างความมั่นคง ของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา มี ๓ ประการ ได้แก่ ๑) กระบวนการเสริมสร้างด้าน สมรรถภาพ ๒) กระบวนการเสริมสร้างด้านเสรีภาพ ๓) กระบวนการเสริมสร้างด้านความเสมอภาค ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ นี้ ทำให้ทราบสมรรถภาพของมารดาบิดาในการทำ หน้าที่พ่อแม่ที่ดี ความสามารถในการเลี้ยงบุตรธิดาได้ดี ความสามารถส่งบุตรธิดาให้เรียนดี ความสามารถสอนลูกให้เป็นคนดี ได้ทราบเสรีภาพสำหรับครอบครัว เช่น การสร้างเจตนคติที่ดีด้าน ครอบครัว การสร้างกิจกรรมในครอบครัว กิจกรรมพาลูกเข้าวัด การเตรียมความพร้อมเป็นพ่อแม่ มือใหม่ และได้ทราบความเสมอภาคในมิติต่าง ๆ เช่น ความเสมอภาคทางเพศ ความเสมอภาคทาง ความคิด ความเสมอภาคในครอบครัว ความเสมอภาคในการตัดสินใจร่วมกัน ๓. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้าง ความมั่นคงของครอบครัวพ่อแม่มือใหม่ในสังคมไทย พบว่า พุทธธรรมสามารถเสริมสร้างความมั่นคง ในครอบครัว ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง การแต่งงานเป็นสามีภรรยา การดูแลเอาใจใส่กัน การดำรงอยู่ใน สถานะมารดาบิดา การอบรมเลี้ยงดูบุตรธิดา การเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้บุตรธิดา บูรณาการ ใช้หลักมงคล ๓๘ สำหรับพ่อแม่มือใหม่ บูรณาการสู่ภาคปฏิบัติ ในขณะเดียวกันได้ทราบความสัมพันธ์ ของบุตรธิดาต่อสังคมภายนอก มีความเข้าใจจริยธรรมทางสังคม ซึ่งการมีคู่ครอง ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ เป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้เกิดฐานะ และหน้าที่อย่างใหม่ คือ ฐานะแห่งสามี และฐานะแห่งภรรยา พร้อมทั้งหน้าที่ซึ่งผูกพันกันในฐานะ สามีภรรยา เช่น สามีจะต้องเอาใจใส่ดูแลภรรยา ๕ ประการ คือ ๑. ให้ความนับถือ ยอมรับฐานะแห่ง ภรรยาและคู่ครอง ๒. ยกย่องให้เกียรติ ไม่แสดงอาการเหยียดหยามดูหมิ่น ๓. มีความซื่อสัตย์ ไม่ นอกใจ ๔. มอบความเป็นใหญ่ แสดงความไว้วางใจในงานบ้าน ๕. หาเครื่องประดับเครื่องแต่งตัวมา มอบให้เป็นของฝากของขวัญ แสดงน้ำใจรักไม่จืดจาง ส่วนภรรยา ก็แสดงน้ำใจต่อสามีด้วยการเอาใจใส่ดูแล ๕ ประการ เช่นกัน คือ ๑. จัดการ ดูแลงานบ้านให้เรียบร้อย ๒. ใส่ใจสงเคราะห์คนข้างเคียงคือหมู่ญาติและบริวารอย่างดี ๓. ซื่อสัตย์ ไม่ ประพฤตินอกใจสามี ๔. ช่วยประหยัดดูแลเก็บรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ ๕. เป็นผู้ขยัน เอาใจใส่ ไม่ เกียจคร้านในการงาน เป็นต้น

Show full item record

Files in this item

หลักธรรมใดนำไปปฏิบัติในการดูแลครอบครัว

Name: 2560-328ดร.วัฒนะ ...

Size: 2.247Mb

Format: PDF

This item appears in the following Collection(s)

  • Research

Search DSpace

Browse

  • All of DSpace

    • Communities & Collections
    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects
  • This Collection

    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects

My Account

  • Login
  • Register