หลักธรรมใดที่เป็นหลักทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล

คำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ โดยมิได้ทรงสร้างขึ้นเอง และมิได้ทรงรับคำสั่งสอนจากเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น การบรรลุธรรมด้วยตนเองโดยอบธรรม โดยคนนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น เพราะคำว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้หรือ ผู้รู้สัจธรรม การที่พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เหมาะสมกับบุคคลทุกระดับชั้นและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้เอง จังเป็นที่ยอมับกันโดยทั่วไปว่ามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
หลักธรรมใดที่เป็นหลักทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล

พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
คำว่า ทฤษฎี หมายถึง หลักการ
คำว่า วิธีการ หมายถึง แบบอย่างหรือกฎเกณฑ์ และ
คำว่า สากล หมายถึง ทั่วไป เป็นที่ยอมรับกันทั่ว ดังนั้นจากที่กล่าวว่า พระพทุธศาสนามีทฤษฏีและวิธีการที่เป็นสากล จึงหมายถึง พระพุทธศาสนามีหลักคำสั่งสอนที่มีหลักการและกฎเกณฑ์ ซี่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าถูกต้อง เป็นจริง พิสูจน์และเชื่อถือได้

หลักคำสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากมีอยู่หลายเรื่อง เช่น หลักกรรม หลักแห่งเหตุผล และปัจจัยที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา) หลักอริยสัก หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน หลักบูรณาการ ตี่พระพุทธองค์ทรงนำมาสอนมากเป็นพิเศษ คือ หลักอริยสัจ 4

ประกอบด้วย หลัก 4 ประการ ดังนี้
    1. ชีวิตและโลกนี้มีปัญหา (ทุกข์) ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีปัญหา มีทั้งปัญหาสากล เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่สมปรารถนา ความพลัดพรากจากบุคคล สัตว์ สิ่งของ อันเป็นที่รัก ฯลฯ และปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ
2. ปัญหามีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอย ๆ (สมุทัย) ปัญหามนุษย์เผชิญอยู่ดังข้างต้น มิใช่เกิดขึ้นลอย ๆ หรือบังเอิญ โดยไม่มีเหตุปัจจัย ทุกปัญหาเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุทั้งนั้น แต่เป็นเพราะเรามองไม่เห็นไม่เข้าใจปัจจัยของปัญหา จึงคิดว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
3. มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (นิโรธ) เนื่องจากปัญหาทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ การแก้ปัญหาได้ต้องสืบสาวหาสาเหตุให้พบ แล้วแก้ปัญหาที่สาเหตุนั้น พระพุทธศาสนาสอนไว้ว่า มนุษย์มีศักยภาพหรือความสามารถเพียงพอที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยตัวมนุษย์เองโดยมิต้องพึ่งพา ผีสางเทวดาหรืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ มาดลบันดาล
4. การแก้ปัญหานั้น ต้องใช้ปัญญาและความเพียร (มรรค) ในการแก้ปัญหา จำเป็นต้องใช้ปัญญา (ความรู้) และวิริยะ (ความเพียร) อย่างเกื้อหนุนกัน จึงสามารถแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ กล่าวคือ จะต้องรู้ว่าอะไรคือปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร มีหนทางแก้หรือไม่ จะแก้อย่างไร จะแก้อย่างไร เมื่อรู้แล้วจึงลงมือแก้ไขปัญหานั้นด้วยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง

อริยสัจ 4 ประการนี้เป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คือ สามารถนำไปแก้ปัญหาหรือความทุกข์ของทุก ๆคนได้

หลักธรรมใดที่เป็นหลักทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล

พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
    ทางสายกลาง หมายถึง ทางที่ยึดความพอดี หรือข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด หรือเรียกสั้น ๆ  มรรค 8 ประการ คือ
1. สัมมาทิฎฐิ คือความเห็นชอบ เช่นเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เห็นว่าพ่อแม่มีพระคุณต่อเรา เห๋นว่าร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้น
2. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบ ได้แก่ คิดที่จะไม่โลภ อยากได้ของผู้อื่นหรือคิดที่จะหลุดพ้นจากอำนาจของสิ่งน่าปรารถนายั่วยวนใจทั้งหมด (กาม) คิดที่จะไม่พยาบาทอาฆาตผู้อื่น และคิดที่จะไม่เบียดเบียนใครให้เดือนร้อน
3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ หมายถึง การพูดจาที่เว้นจากลักษณะของการพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ โดยการพูดแต่สิ่งที่เป็นจริงมีประโยชน์ พูดด้วยความเมตตา พูดจาไพเราะ พูดในเวลาที่ควรพูด
4. สัมสมกัมมันตะ คือ การทำงานชอบ หมายถึง การประพฤติหรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเว้นจากการประพฤติดีชั่วทางกาย 3 ประการ คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และประพฤติในกาม
5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ โดยเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เช่น การหลอกลวงเขากิน ปล้น การปล้นเขา การบังคับผู้อื่นให้ค้าประเวณี การค้ายาเสพติด เป็นต้น
6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรพยายามชอบ หมายถึง ความเพียรพยายามทำสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ความเพียรพยายาม ระมัดระวังตนมิให้ทำความชั่ว ที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพียรพยายามทำความดีให้เกิดขึ้นกับตน เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นในตนให้อยู่ตลอดไป
7. สัมมสติ คือความระลึกชอบ หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งหลายที่ปรากฎตามสภาพความเป็นจริง ได้แก่การพิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึกของตนให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง ได้แต่การพิจารณาธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ตามสภาพของธรรมนั้น
8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ การตั้งจิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งหนึ่งโดยชอบ

องค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติสายกลางที่ไม่เคร่งครัดจนเกินไปและไม่ย่อท้อจนเกินไป เป็นข้อปฏิบัติที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติความหมดทุกข์หรือหมดปัญหาได้อย่างแน่นอน

ตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่นำทางสายกลางมาประยุกต์
    มาดี เป็นนักเรียนชั้น ม.6 เรียนเก่ง ได้เกรดเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป เขาได้ไฝ่ฝันที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในสาขาที่ตนชอบ จึงมุมานะพยายามอย่างหนัก เคร่งครัด เครียดตลอดเวลา ไม่คุยกับเพื่อน ไม่เล่นกีฬา นอนน้อย เพียง 2 ชั่วโมง ใกล้สอบคัดเลือก เริ่มมีความวิตกกังวลเริ่มมีอาการปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวโกรธ เขาไม่สามารถทำข้อสอบได้ พ่อแม่ร่วมให้กำลังใจ จึงค่อยสบายใจ ปีต่อมา มีอิสระ วางแผนใหม่ พักผ่อน ออกกำลัง คุยกับเพื่อน ไม่เครียด ในที่สุดก็สอบได้ตามความต้องการ เพราะหลักทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา มาประยุกต์ใช้

พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
    ศรัทธา คือความเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา หรือเหตุผล ซึ่งเรียกกว่า ศรัทธาเพื่อปัญญา แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้คนมีศรัทธา แต่ศรัทธาของพระองค์นั้นต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาให้รอบคอบเสียก่อน ดังที่ทรงสอนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม ในแคว้นโกศลว่า อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพียงเพราะฟังตาม ๆ กันมา เพียงเพราะถือปฏิบัติกันสืบ ๆมา เพียงข่าวเล่าลือ เพียงเพราะการอ่านตำราหรือคัมภีร์ เพียงเพราะการให้เหตุผลแบบตรรกะเพียงการอนุมานเอาตามอาการที่ปรากฏ เพียงเพราะเห็นว่าเข้ากันได้ตรงตามทฤษฎีหรือความคิดหรือความคิดของตน เพียงเพราะเห็นว่ารูปลักษณะน่าเชื่อถือ และเพียงพอถือว่าสมณะหรือนักบวชผู้นี้เป็นครูของเรา แต่เมื่อใดได้ใช้ปัญญาพิจารณาโดยรองคอบแล้ว และเห็นว่าที่ทำไปนั้น ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือนร้อน อีกทั้งปราชญ์ไม่ติเตียน ก็จงทำสิ่งนั้น หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ หากทรงสอนเรื่องศรัทธาในเรื่องใด ก็จะทรงสอนปัญญากำกับไว้ในเรื่องนั้นด้วย หมายความว่า ทรงสอนให้ใช้ศรัทธาประกอบด้วยปัญญาเสมอไป

ตัวอย่างในหลักคำสอน หมวด พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง) ประกอบด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ) ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พหุสัจจะ จาคะ และปัญญา จะเห็นได้ว่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องมีปัญญากำกับด้วยเสมอ ซึ่งต่างจากศาสนาอื่น บางศาสนาที่จะสองให้ศรัทธาอย่างเดียว คือ ถ้าพระคัมภีร์สอนอย่างนี้จะต้องเชื่อตามโดยไม่มีข้อแม้ ถ้าหากไม่เชื่อถือว่าบาป พระพุทธศาสนา แม้แต่การสอนหลักธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงบังคับให้เชื่อตามพระองค์แต่อย่างใด ทรงแนะให้พิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผลและเห็นด้วยจึงเชื่อ

การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
    ศรัทธา  ในกระบวนการพัฒนาตามหลักพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อมั่น การซาบซึ้ง ความมั่นใจเหตุเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริง และมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบมอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา แบ่งออกเป็น 4 ประการ
1. ความเชื่อมั่นในศักยภาพในการเข้าถึงอิสรภาพทีแท้จริงของมนุษย์ (ตถาคตโพธิสัทธา)
2. ความเชื่อมั่นในกฎการกระทำ (กัมมาสัทธา)
3. ความเชื่อมั่นในผลของการกระทำ (วิปกาสัทธา)

ปัญญา หมายถึง ความรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนา มีลักษณะ  3 ประการ คือ
1. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษของความเสื่อม (อปายโกศล)
2. ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ (อายโกศล)
3. ความรู้จักวิธีการละเหตุความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ (อุปายโกศล)

จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนให้ได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้ว จึงค่อยเชื่อ

หลักธรรมใดที่เป็นหลักทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล

สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล
    ชมพูทวีป เป็นดินแทนที่เป็นแหล่งกำเนินของพระพุทธศาสนา ตามรูปศัพท์ คำว่า ชมพูทวีป แปลว่า เกาะแห่งต้นหว้า สันนิษฐานว่า อดีตอาจมีต้นหว้าขึ้นอยู่มากมายในดินแดนแห่งนี้ ชมพูทวีปดก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามา เดิมเป็นถิ่นที่อยู่พวก ดราวิเดียน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติที่พูดภาษาทมิฬ เตลุคุ มาลาบาร์ และ  กะนะริส

เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนพุทธกาล พวกอารยัน ซึ่งเป็นชนผิวขาวได้อพยพเข้ามายึดครองดินแดนส่วนที่อุดมสมบูรณ์ได้ รุกไล่ชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางทิศใต้ และทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคง ส่วนพวกอารยันได้เข้าครอบครองดินแดนตอนเหนือ ได้แก่ ส่วนที่เป็นภาคเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน ดินแดนบริเวณนี้ในสมัยพุทธกาลเรียกกว่า มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ

พวกอารยัน เมื่อเข้ามายึดครองดินแดงชมพูทวีป ได้เรียกชนพื้นเมืองหรือดราวิเดียนว่า ทัสยุ หรือ ทาส หรือ มิลิกขะ ซึ่งแปลว่า ผู้ที่ไม่เจริญ เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ อริยกะ ซึ่งแปลว่า ผู้เจริญ

ด้านการปกครอง
    สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีป มักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม คือ พระราชวงศ์ชั้นผูใหญ่และประชาชนมสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญให้สละราชสมบัติได้ สมัยก่อนพุทธกาล การปกครองมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นแคว้น ๆ ตามที่ระบุในติกนิบาตร อังคตตรนิกาย พระสุตตันตปิฏก พระไตรปิฏก เล่มที่ 20 มีทั้งหมด 21 แคว้น แบ่งเป็นแคว้นใหญ่ 16 แคว้น และแคว้นเล็ก ๆ อีก 5 แคว้น
1. แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
2. แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อสาวัตถี พระเจ้ามหาโกศล รุ่นเดียวกับพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นสหายกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ
3. แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพี พระเจ้าอุเทนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
4. แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่อุชชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
5. แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อเวสาลี มีการปกครองแบบสามัคคีธรรม มีแคว้นสักกะ แคว้นมัลละ มีการปกครองเดียวกัน

ลักษณะการปกครอง
    1. ราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นรูปแบบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุข มีอำจาจสูงสุด เด็ดขาด มีรัชทายาทสืบสันติวงศ์ มีแคว้นมคธ แคว้นโกศล แคว้นวังสะ และแคว้นอวันตี เป็นต้น
2. สามัคคีธรรม เป็นรูปแบบที่ไม่มีกษัตริย์ใช้อำนาจสิทธิ์ขาดเพียงผู้เดียว ไม่มีรัชทายาทสืบสันติวงศ์ ผู้ได้รับการคัดเลือกและมอบหมายจากประชาชนให้เป็นประมุข โดยดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนด การบริการแคว้นจะดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนด การบริการแคว้นจะกระทำ เพื่อวินิจฉัยตัดสินปัญหาต่าง ๆ โดยยึดเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยสัณฐาคารหรือเรียกว่า รัฐสภาในปัจจุบัน เพื่อวินิจฉัยตัดสินปัญหาต่าง ๆ เช่น แคว้นสักกะ แคว้นมัลละ แคว้นวัชชี ชาวพื้นเมืองหรือพวกที่อารยันเรียกว่า มิลักขะ ความจริงเป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองด้านวัตถุ เช่นสถาปัตยกรรม และด้านจิตใจ เช่น ด้านศาสนา ปรัชญา อาจกล่าวได้ว่า มีความเจริญรุ่งเรือกว่าพวกอารยันเสียอีก

เมื่อพวกอารยันยึดครองดินแดนชมพูทวีปก็ได้นำความเจริญด้านศาสนา ปรัชญามาปรับใช้และพัฒนาให้เป็นประโยชน์แก่ตนเป็นเครื่องมือในการปกครองชาวพื้นเมืองหลักศาสนาที่พวกอารยันนำมาปรับใช้ในการปกครองชาวพื้นเมืองก็คือ ศาสนาพราหมณ์ เพราะชาวพื้นเมืองนับถือพระพรหม และเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์ และเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ ตามความเชื่อในลักษณะนี้ เรียกว่า พรหมลิขิต พวกอารยันก็สวมรอยว่า พระพรหมได้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ไว้ 4 วรรณะ คือ
1. วรรณะพราหมณ์ โดยกำหนดให้พราหมณ์หรือนักบวช ครู อาจารย์ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ศึกษาพระคัมภีร์ ประกอบพิธีศาสนา และสั่งสอนศิลปวิทยา เชื่อกันว่าคนในวรรณะนี้เกิดจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพรหม
2. วรรณะกษัตริย์ โดยกำหนดให้ผู้ปกครองบ้านเมือง นักรบ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง เชื่อกันว่ากลุ่มคนในวรรณะนี้เกิดจากพระพาหา (แขน) ของพระพรหม
3. วรรณะแพศย์ โดยกำหนดให้พ่อค้า นักธุรกิจ สถาปนิก วิศวกร แพทย์ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ค้าขาย ทำธุรกิจต่าง ๆ เชื่อกันว่ากลุ่มคนในวรรณะเกิดเกิดจากพระอูรู (โคนขา หรือ ตะโพกของพระพรหม)
4. วรรณะศูทร โดยกำหนดให้กรรม ลูกจ้า คนแบกหาม อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ รับใช้คนในวรรณะทั้งสามข้างต้น เป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย ซึ่งเชื่อกันว่า เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม

การจัดแบ่งชนชั้นทางสังคมของชาวชมพูทวีป โดยได้ใช้ระบบวรรณะในสมัยต้น ๆ ยังไม่เคร่งครัด และยังไม่ก่อปัญหาใด ๆ เพราะเป็นการแบ่งเพื่อความเหมาะสมของฐานะหน้าที่ของงานบุคคล และเพื่อประโยชน์ในการปกครอง แต่ภายหลังเฉพาะช่วงสมัยที่พวกพราหมณ์มีอำนาจ ได้มีการแปรเปลี่ยนความหมาย หลักการ และสาระสำคัญของการจัดแบ่งชั้น วรรณะในทางอื่นคือ พวกพราหมณ์อ้าง การจัดแข่งวรรณะเช่นนี้มิใช่ตัวเองเป็นผู้แบ่ง แต่เป็นพระผู้เป็นเจ้าเบื้องบนทรงเป็นผู้กำหนด จึงได้ถือกันอย่างเคร่งครัด ผู้อยู่วรรณะใดก็ต้องดำรงตนอยู่ในวรรณะนั้นตลอดไป และการประกอบอาชีพก็ต้องให้เป็นไปตามหน้าที่ของตน จะทำงานก้าวก่ายกันไม่ได้

ระบบวรรณะแพร่หลายไปทั่วประเทศอินเดียและเนปาล พระสิทธัตถะ ซึ่งเกิดในวรรณะกษัตริย์ ทรงรับรู้ปัญหามาโดยตลอด ทรงคิดว่า ถ้าสังคมยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่สอนให้เชื่อเรื่องพรหมลิขิต และยอมรับเรื่องระบบวรรณะอยู่ ประชาชนที่จัดอยู่ในวรรณะอันต่ำต้อย จะไม่มีโอกาสเป็นไทแก่ตนเองได้เลย ด้วยพระเมตตากรุณาต่อมนุษย์ พระองค์จึงทรงคิดหาทางปฏิวัติความคิดความเชื่อของประชาชนให้เลิกเชื่อเรื่องพรหมลิขิต  เวลา 6 ปี พระองค์ทรงค้นคว้า ทดลอง จนทรงค้นพบหนทางที่ช่วยให้มนุษย์เป็นไทแก่ตนเอง จากนั้นทรงประกาศสัจธรรมที่ตรัสรู้ คือ หลักกรรมลิขิต โดยพระองค์ทรงสั่งสอนว่า ชีวิตคนเราจะดีหรือชั่วไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรหมลิต หากขึ้นอยู่กับการกระทำของเรานั่นเอง

ข้อสอบ
  • หลักธรรมในข้อใดที่ยืนยันได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา
    1. ไตรสิกขา
    2. อริยสัจ 4
    3. มรรคมีองค์ 8
    4. เบญจศีล–เบญจธรรม
  • อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ยืนยันความสำคัญของพระพุทธศาสนาในด้านใดได้ดีที่สุด
    1.  พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งเหตุผล
    2. พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา
    3. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มุ่งฝึกคนไม่ให้ประมาท
    4. พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์ที่มุ่งสร้างประโยชน์สุขแก่บุคคลและสังคม
  • หลักคำสอนข้อใดที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าพระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
    1.  โภควิภาค 4
    2. โภคอาทิยะ 5
    3. ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4
    4. ถูกทุกข้อ
  • “ตราบใดที่ยังไม่บรรลุสิ่งที่ต้องการ จะไม่ยอมลุกจากที่นั่ง แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่กระดูกก็ตามที” นักเรียนได้ข้อคิดอะไรจากข้อความนี้
    1. ชีวิตยังไม่สิ้น ก็ดิ้นต่อไป
    2. ถ้าจะทำสิ่งใด ก็ควรทำให้จริงจัง
    3. เพื่อรักษาความถูกต้อง ยอมสละได้แม้ชีวิต
    4. ทำอะไรแล้ว ถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการเสียเวลาเปล่า
  • หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับปรินิพพานไปแล้ว อะไรเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์
    1. พระสงฆ์
    2. พระพุทธรูป
    3. พระไตรปิฎก
    4. พระธรรมวินัย
  • มหาชนกชาดกมีเนื้อหาสาระต้องการสอนเราในเรื่องอะไร
    1. ความซื่อสัตย์
    2. ความมีสติปัญญา
    3. ความเพียรพยายาม
    4. ความกตัญญูกตเวที
  • วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาใดเป็น “วันสำคัญสากลของโลก”
    1. วันมาฆบูชา
    2. วันวิสาขบูชา
    3. วันอัฏฐมีบูชา
    4. วันอาสาฬหบูชา
  • เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาใดเราควรไปทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล ฝึกสมาธิ และเวียนเทียน
    1. วันธรรมสวนะ
    2. วันเข้าพรรษา
    3. วันออกพรรษา
    4. วันอาสาฬหบูชา
  • ลักษณะของพระสงฆ์ในข้อใดที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตรง
    1. ปฏิบัติได้น่ายกย่องนับถือ
    2. ปฏิบัติโดยมุ่งความหมดทุกข์เป็นเป้าหมายสูงสุด
    3. ต่อหน้าประพฤติอย่างไร ลับหลังประพฤติอย่างนั้น
    4. ปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยและมรรคมีองค์  8
  • คำว่า “สังขาร” ในขันธ์ 5 หมายถึงอะไร
    1. ความรู้แจ้งทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ
    2. การกำหนดรู้เพื่อแยกแยะกายและจิต
    3. ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย
    4. แรงจูงใจที่ผลักดันให้เกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • “สมพงศ์กับสมพรจี้ชิงสร้อยคอของสุชาดา ขณะขี่จักรยายนต์หลบหนีพบด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สมพรเกิดความกลัวจึงกระโดดหนี ถูกรถกระบะที่วิ่งตามมาชนได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนสมพงศ์ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้” จากกรณีตัวอย่างนี้อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ทั้งหมด
    1. ความโลภ
    2. ความโกรธ
    3. ความกลัว
    4. ความหลง
  • ในพระพุทธศาสนาถือว่าอะไรเป็นมูลเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด
    1. ชาติ
    2. อวิชชา
    3. สังขาร
    4. วิญญาณ
  • การที่ประจวบซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มตัดสินใจดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยคำนึงถึงความเห็นของสมาชิกส่วนใหญ่ แสดงว่าประจวบยึดหลักการใดในพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทาง
    1. โลกาธิปไตย
    2. อัตตาธิปไตย
    3. ธรรมาธิปไตย
    4. ประชาธิปไตย
  • ถ้านิวรณ์ข้อ พยาบาท เกิดขึ้นในจิตใจของเรา เราควรทำอย่างไรจึงจะกำจัดนิวรณ์ข้อนี้ได้
    1. หมั่นฝึกสมาธิบ่อย ๆ
    2. ฝึกให้เป็นคนมีเมตตา
    3. ทำจิตใจให้เบิกบานผ่องใส
    4. หมั่นศึกษาค้นคว้าหาความรู้
  • ผู้ที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหารบ้านเมืองที่มีเล่ห์เหลี่ยมและทุจริตคอร์รัปชัน แสดงว่าขาดทศพิธราชธรรมข้อใด
    1. ทาน
    2. มัททวะ
    3. อาชชวะ
    4. อักโกธะ
  • พระพุทธดำรัสที่ว่า “ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นก็เห็นทั้งสมุทัย เห็นทั้งนิโรธ เห็นทั้งมรรค…” เป็นพระพุทธดำรัสที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
    1. การเห็นอริยสัจ 4
    2. การบรรลุนิพพาน
    3. การปฏิบัติตามมรรค 8
    4. การดับทุกข์และหมดสิ้นกิเลส
  • พิจารณาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาต่อไปนี้ 
    ก  อรรถกถา 
    ข  บาลีพุทธวจนะ
    ค   สัททาวิเสส
    ง   ฎีกา
    จ   อนุฎีกา
    ข้อใดเรียงลำดับจากเก่าแก่ที่สุดไปถึงใหม่ที่สุดได้ถูกต้อง
    1. ก,  ข,  ค, ง,  จ
    2. ก,  ข,  ง,  จ,  ค
    3. ข,  ก,  ค,  ง,  จ
    4. ข,  ก,  ง,  จ,  ค
  • “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นผลงานที่เกิดจากการศึกษาพระไตรปิฎกโดยวิธีใด
    1. อ่านและพยายามทำความเข้าใจ
    2. อ่านและตีความจากภูมิหลังของตน
    3. อ่านเพื่อหาความหมายระหว่างบรรทัด
    4. อ่านเพื่อประมวลคำตอบอย่างหลากหลายในประเด็นเดียวกัน
  • ถ้าเปรียบส่วนของพระพุทธศาสนากับส่วนประกอบของต้นไม้ การมีศีลบริสุทธิ์ เปรียบได้กับส่วนใดของต้นไม้
    1.  ลำต้น
    2. เปลือก
    3. สะเก็ด
    4. กิ่งและใบ
  • อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ แต่อุบัติเหตุป้องกันได้ ถ้าเรายึดถือข้อคิดจากพุทธศาสนสุภาษิตข้อใดเป็นแนวปฏิบัติ
    1.  นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
    2. นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
    3. สติ โลกสฺมึ ชาคโร
    4. ราชา มุขํ มนุสฺสานํ
Credit

https://jiab007.wordpress.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%A1-6/

หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในข้อใดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล

ทฤษฏีที่เป็นสากลของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 หรือหลักความจริงอันประเสริฐ ดังนี้ 1) สอนว่าชีวิตและโลกนี้มีปัญหา 2) สอนว่าปัญหามีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอยๆ 3) สอนว่ามนุษย์สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ความเป็นสากลของพระพุทธศาสนาคืออะไร

2.2 ความหมายตามนัยของพุทธศาสนา ความเป็นสากล หากพิจารณาทางพุทธศาสนา สามารถอธิบายทั้งในด้านความคิดและ การปฏิบัติ หรือมีความเป็นสากลทั้งทางจิตใจและทางปัญญา ทั้งนี้พุทธศาสนา อธิบายถึง ความเป็นสากลที่แท้จริงว่า หมายถึง “ทั่วกัน ทั้งหมด ทั้งโลก ไม่มีการแบ่งแยกอีกต่อไป”

หลักธรรมใดเป็นแนวทางการปฏิบัติไปสู่มัชฌิมาปฏิปทา

ทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ในพุทธศาสนา หมายถึง การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความ สบาย พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียก "ไตรสิกขา" ได้แก่ศีล สมาธิปัญญา

เพราะเหตุใด พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ถูกจัดให้เป็นศาสนาสากล

ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธ ได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก ประมาณ 700 ล้านคน ด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล

หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในข้อใดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล ความเป็นสากลของพระพุทธศาสนาคืออะไร หลักธรรมใดเป็นแนวทางการปฏิบัติไปสู่มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเหตุใด พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ถูกจัดให้เป็นศาสนาสากล ใบงานที่ 2.1 พระพุทธศาสนามีทฤษฎีที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง หลักธรรมที่เป็นสากลคือ พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงที่เป็นสากลในเรื่องใด เฉลย เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงมีทฤษฎี และวิธีการที่เป็นสากล เพราะเหตุใดอริยสัจ 4 จึงถือว่าเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล ความเป็นสากลหมายถึงข้อใด ความเชื่อ หรือความศรัทธาทางพระพุทธศาสนาไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับข้อใด