กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

ไม่ว่ารัฐบาลจะเบิกงบประมาณชาติ (กรมบัญชีกลาง) ผลิตเหรียญออกมาใช้ (กรมธนารักษ์) เก็บภาษีประชาชน (กรมสรรพากร) ฯลฯ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเงินของชาติมักต้องอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลังทั้งนั้น เพราะกระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเงินการคลังของแผ่นดิน เช่น การเก็บภาษีอากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจ การบริหารพัสดุของภาครัฐ และทรัพย์สินของแผ่นดิน ฯลฯ

ดังนั้นภาษีคนไทยถือเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยกระทรวงการคลังจะมอบหมายให้กรมสรรพากรต้องเก็บภาษีอากรประมาณ 60% ของรายได้ทั้งประเทศ (ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นทุกปี) อย่างไรก็ตามภายใต้กระทรวงการคลังแบ่งหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีเป็น 3 ส่วนได้แก่

  1. กรมสรรพสามิต รับผิดชอบในการเก็บภาษีสินค้าบางประเภทที่ผลิตในประเทศไทย รวมถึงเก็บภาษีสินค้าบางอย่างที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีสถานบริการ ฯลฯ และมีมาตรการปราบปรามคนที่ทำผิดกฎด้วย
  2. กรมศุลกากร    รับผิดชอบเก็บภาษีศุลกากร จากการค้าระหว่างประเทศ เช่น ภาษีอากรขาเข้า-ขาออก ซึ่งหน่วยงานนี้สามารถเก็บภาษีแทนกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงมีมาตรการป้องกัน ปราบปรามไม่ให้คนลักลอบหนีภาษี
  3. กรมสรรพากร   รับผิดชอบการเก็บภาษีตามประมวลรัษฏากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป แบ่งเป็นภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และเก็บภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีปิโตรเลียม และอากรแสตมป์

ทั้งนี้กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่สร้างรายได้ภาษีหลัก จึงมีอำนาจในการกำกับ ตรวจสอบ ติดตามและเร่ง (ให้คนจ่าย) ภาษีอากรค้าง รวมถึงมีอำนาจในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและระบบการจัดเก็บภาษี ไปจนถึงการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการออม การลงทุน ช่วยให้แข่งขันกับต่างประเทศ และใช้ภาษีเพื่อกระจายรายได้ ที่สำคัญต้องสร้างให้คนไทยสมัครใจในการเสียภาษี

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

ปี 2562 สรรพากรตั้งเป้าเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท

ปีงบประมาณ 2562 (เริ่มเดือนต.ค. 2561-ก.ย.2562) ภาครัฐตั้งเป้าหมายให้กรมสรรพากรต้องจัดเก็บภาษี 2,000,000 ล้านบาท ภายใต้การส่งออกไทยโต 8% GDP โต 4% (ปีงบประมาณ 2561 ยอดเก็บภาษีจริงอยู่ที่ 1,915,456 ล้านบาท)

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร บอกว่า ปีงบประมาณ 2562 คาดว่าจะเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย โดยครึ่งปีแรกงบประมาณปีนี้ (ณ มี.ค. 2562) เก็บภาษีได้แล้ว 823,000 ล้านบาท ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทั้งนี้เฉพาะเดือนมี.ค. 2562 กรมสรรพากรเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ สาเหตุที่เก็บภาษีได้น้อยลงมาจากผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง และนักลงทุนชะลอการลงทุน

ที่ผ่านมากรมสรรพากร รายได้ภาษีจะมาจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ประมาณ 40% รองลงมาคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)

สรุป

เรียกว่ากรมสรรพากรมีหน้าที่หารายได้ภาษีเข้าภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ ทำธุรกิจ หรือซื้อของในชีวิตประจำวันก็เสียภาษีให้สรรพากรทั้งนั้น

ที่มา BU, Postoday, กรมสรรพากร

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Share this:

  • Tweet

Related

Chutinun Sanguanprasit (Liu)

จากนักข่าวการเงินหนังสือพิมพ์ธุรกิจย่านประชาชื่น ผันตัวเข้าโลกออนไลน์ ความท้าทายครั้งใหม่คือการเล่าเรื่องเงินให้เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

กรมสรรพากรมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทางภาษีอากร เพื่อให้ได้ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นกลไกลในการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเกิดความสมัครใจในการเสียภาษี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง
3. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                ข้อ 7  คนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินได้ ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

ประเด็นสำคัญทางภาษี

          ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้า หรือ ให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

          ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก
e-Commerce ไปรวมคำนวณกับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของ
ปีถัดไป

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่าย(เลือก)
หักค่าลดหย่อนตามกฎหมายจากการขายสินค้า1. เป็นการเหมา1. ส่วนตัวจาการให้บริการ2. ตามความจำเป็นและสมควร2. คู่สมรส
(หักค่าใช้จ่ายจริง)3. บุตร
4. เบี้ยประกันชีวิต
5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
6. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
7. เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
8. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
9. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา
10. ค่าเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรพิการหรือทุพพลภาพ
11. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา12. เงินบริจาค13. อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

คำนวณภาษีวิธีที่ 1 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1-150,000 บาท

150,001-300,000 บาท

300,001-500,000 บาท

10%

500,001-750,000 บาท
750,001-1,00,000 บาท
1,000,001-2,000,000 บาท
2,000,001-5,000,000 บาท5,000,001 ขึ้นไป

รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป

คำนวณภาษีวิธีที่ 2

กรณีเงินได้ทุกประเภทไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนรวมตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดเงินได้
คูณด้วย 0.005
คำนวณภาษีจาก 2 วิธี แล้วให้ชำระจากยอดที่มากกว่า
เว้นแต่คำนวณภาษวีธีที่ 2 แล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระตามวิธีที่ 1

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

          ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีจากำไรสุทธิ ตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการ
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละไม่เกิน 300,000 บาท
ยกเว้น300,001-3,000,000 บาท
15%3,000,001 บาทขึ้นไป20%

รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 603) พ.ศ. 2559 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

2. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและ
งบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละ1 - 300,000 บาท
ยกเว้น300,001 บาทขึ้นไป
10%

รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560 เสียภาษีจาก
กำไรสุทธิ

3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละจำนวนกำไรสุทธิ
20%

รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 42 เสียภาษีจากกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

         ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ

กรมสรรพากร เก็บภาษีอะไรบ้าง

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน

ภาษีอากรที่กรมสรรพากรจัดเก็บมีอะไรบ้าง

ถ้าจะเสียภาษีต้องทำอย่างไรล่ะคะ ? กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการคลัง มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยจัดเก็บจากประชาชน หรือผู้ประกอบการ ผู้มีเงินได้ ซึ่งมีภาษีที่จัดเก็บอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม

กรมสรรพากร มีหน้าที่อะไรบ้าง

1. จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง 3. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

กรมสรรพากรเก็บภาษีอะไรได้มากที่สุด

โดยในปีงบประมาณ 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564) ประเทศไทยเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ทั้งหมดประมาณ 793,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับภาษีประเภทอื่น ๆ ที่ทางกรมสรรพากรเก็บได้

กรมศุลกากรจัดเก็บภาษีประเภทใดบ้าง

ปัจจุบัน กรมศุลกากร มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร พร้อมทั้งได้รับมอบหมาย ให้ จัดเก็บ ภาษีบ ารุงท้องถิ่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต แทนกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต ส าหรับการน าเข้าและส่งออก อีกด้วย