หน่วยความจำประเภทใดที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด

1. หน่วยความจำหลัก

1หน่วยความจำแบบชั่วคราว (Random Access Memory : RAM)

แรม เป็นหน่วยความจำหลัก RAM  ย่อมาจาก Random Access Memory หมายถึง การที่ซีพียูสามารถเข้าถึงหน่วยความจำได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านส่วนอื่น ต่างกับการเข้าถึงข้อมูลในเทปเสียงหรือภาพซึ่งจะต้องรอให้เทปเล่นผ่านส่วนนั้น การใช้คำว่า “Random” ซึ่งแปลว่า  “สุ่ม” จึงเป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้องนักเพราะการเข้าถึงของแรมถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วโดยโปรแกรมเมอร์ไม่ใช้เป็นการเข้าถึง แบบสุ่ม ซึ่ง บริษัท IBM จะใช้คำว่า Direct Access Memory แทนที่จะใช้ Random Access Memory เหมือนที่ใช้กันทั่วๆ ไปแรมสามารถเก็บข้อมูลไดเฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยง
ข้อมูลที่อยู่ภายในแรมก็จะหายไป แรมมีหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลในขณะที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู? ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือการนำออกข้อมูล (Output) โดยหน้าที่ของแรมถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1) Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าซึ่งได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า โดยข้อมูลนี้จะถูกนำใช้ในการประมวลผลต่อไป
2) Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในระหว่างการประมวลผล
3) Output Storage Areaเป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ซึ่งได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4) Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ไปทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมายว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ

แรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1) SDRAM (Synchronous DRAM) มี 168 ขา SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการ
ทำงานโดยใช้ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนด และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 528 MB ต่อวินาที

2) DDR SDRAM หรือ SDRAM II (นิยมเรียก DDR RAM) มี 184 ขาDDR RAM แยกออกมาจาก SDRAMโดยจุดที่ต่างกันหลัก ๆ คือ DDR SDRAM สามารถใช้งานได้ทั้งขาขึ้นและขาลงของ สัญญาณนาฬิกาเพื่อส่งถ่ายข้อมูล ทำให้อัตราการส่งถ่ายเพิ่มขึ้นได้ถึงเท่าตัว ซึ่งมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาที

ผู้ใช้ต้องเลือกประเภทของแรมให้ตรงข้อกำหนดของเมนบอร์ดว่าให้ใช้กับ RAM Module ประเภทใด โดยมีขนาดความจุให้เลือก ได้แก่ 128 Mb, 256 Mb, 256 Mb  512 Mb 1024 Mb และ 2048 Mb

2 หน่วยความจำแบบถาวร (Read Only Memory – ROM)
คือ หน่วยความจำที่นำข้อมูลออกมาใช้งานเพียงอย่างเดียว (Read Only) โดยได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ล่วงหน้าแล้ว สามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการรักษาข้อมูล แม้เราจะปิดเครื่อง หรือไม่มีไฟฟ้าไปหล่อเลี้ยง ข้อมูลที่อยู่ในรอมก็จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไป ในปัจจุบัน หน่วยความจำถาวรนี้ เปิดโอกาสให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ เช่น การปรับปรุง/แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ (System Configuration) เป็นต้น

3. หน่วยความจำสำรอง

เนื่องจากส่วนความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Main Memory/Primary Storage) ที่ใช้บันทึกข้อมูลในขณะประมวลผลไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การบันทึกข้อมูลลงบนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จึงมีความจำเป็นในอันที่จะรักษาข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต และทำให้สามารถนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เคลื่อนย้ายไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเดียวกันได้อีกด้วย
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง แบ่งออกตามความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้

1.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยลำดับ (Sequential Access Storage)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงลำดับ การสืบค้นหรือเข้าถึงข้อมูลจึงล่าช้า เพราะต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของการบันทึก ซึ่งหน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
2.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Random/Direct Access Storage)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรงโดยไม่ต้องอ่านเรียงลำดับ เหมาะกับงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลแบบโต้ตอบ ที่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งได้แก่ จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ซีดีรอม (CD-ROM) และ ดีวีดี (DVD) นั่นเอง

ตัวอย่างหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ได้แก่
– ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
ฟลอปปี้ดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสก์เก็ต (Diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็กสีดำทรงกลม ทำจากแผ่นพลาสติกไมล่า เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก บรรจุอยู่ในซองพลาสติกแข็งรูปสี่เหลี่ยม เพื่อป้องกันแผ่นดิสก์เก็ต จากฝุ่นละออง สิ่งสกปรก การขูดขีด และอื่นๆ

– ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลความเร็วสูง ที่ทำจากจานแม่เหล็กซึ่งหมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อนาที และมีหัวอ่านคอยวิ่งไปอ่านหรือบันทึกข้อมูลตามคำสั่งจากซีพียู ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์หลักซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแต่ใช้เก็บข้อมูลเวลาที่ปิดเครื่องเท่านั้น แต่ยังเป็นที่พักข้อมูลระหว่างการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการด้วย ฮาร์ดดิสก์มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางซ้อนกัน โดยอาจมีจำนวนแผ่น 3-11 แผ่น ซึ่งจะไม่เรียกว่าดิสก์ แต่จะเรียกว่าแพลตเตอร์ (Platter) แทน ซึ่งแต่ละแพลตเตอร์จะสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน เนื่องจากแพลตเตอร์ผลิตจากสารจำพวกโลหะหรือแก้วบางชนิด จึงไม่สามารถงอไปงอมาได้เหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ทำให้ต้องมีโลหะปิดไว้ทุกด้านเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน
นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ยังมีหัวอ่าน/บันทึกข้อมูลอยู่ภายในตัวเดียวกัน ทำให้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเอง และเนื่องจากฮาร์ดดิสก์มีแพลตเตอร์หลายๆ แผ่นซ้อนกันอยู่ ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ตัวหนึ่งๆ จะมีหัวอ่านเขียนเท่ากับจำนวนแพลตเตอร์พอดี และหัวอ่านแต่ละหัวจะมีการเคลื่อนที่เข้าออกพร้อมกัน แต่เมื่อจะทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ก็จะมีเพียงหัวอ่าน 1 หัวเท่านั้น ที่จะทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูล ฮาร์ดดิสก์สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก แล้วแต่ความจุของแต่ละรุ่น เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 40 GB, 80 GB เป็นต้น

– ซีดีรอม (CD-ROM) และ ดีวีดี (DVD)
ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disk Read Only Memory) มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร (4 3/4 นิ้ว) ทำมาจากแผ่นโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ซีดีรอมนี้ใช้หลักของแสงในการอ่าน/บันทึกข้อมูล เหมาะสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อทำการบันทึกข้อมูลลงไปแล้ว จะไม่สามารถนำกลับมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ได้อีก ยกเว้นแต่จะใช้แผ่นลักษณะพิเศษที่สามารถลบและบันทึกใหม่ได้ แผ่นซีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 700 MB หรือเก็บข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงเช่น ภาพยนตร์หรือเพลงได้นานถึง 74 นาที ส่วนดีวีดี (Digital Video Disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอีกชนิดที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดีรอม แต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอม 7 เท่าตัว (4.7 GB) ซีดีรอมและดีวีดีไม่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง จะต้องมีตัวอ่านข้อมูลเช่นเดียวกับแผ่นดิสก์เก็ต อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอม เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)  ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านดีวีดี เรียกว่า ดีวีดี ไดร์ฟ (DVD Drive) โดยที่ดีวีดีไดร์ฟ สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นดีวีดี และจากแผ่นซีดีรอมได้ด้วย แต่ซีดีรอมไดร์ฟไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้ คุณสมบัติของไดร์ซีดีรอมที่ต้องพิจารณาคือ ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล ซึ่งปัจจุบันมีไดร์ซีดีรอมที่มีความเร็วที่ 60x (1x มีอัตราการถ่านโอนข้อมูล 150 kb/sec)

  1. อุปกรณ์แสดงผล
    หน่วยแสดงผลเป็นส่วนที่แสดงข้อมูลสู่มนุษย์ เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ เราเรียกเครื่องมือในส่วนนี้ว่า อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)
    อุปกรณ์แสดงผลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของข้อมูลที่แสดงออกมาสู่ผู้ใช้ ได้แก่
    – อุปกรณ์แสดงผลที่มนุษย์จับต้องไม่ได้ (Softcopy Output Device) หมายถึง อุปกรณ์แสดงข้อมูลที่มนุษย์ไม่สามารถจับต้องข้อมูลที่แสดงนั้นได้ เช่น ข้อมูลตัวอักษรหรือภาพบนจอภาพ หรือข้อมูลเสียงจากลำโพง เรา เรียกข้อมูลประเภทนี้ว่า Softcopy
    – อุปกรณ์แสดงผลที่มนุษย์จับต้องได้ (Hardcopy Output Device) หมายถึง อุปกรณ์แสดงข้อมูลที่มนุษย์สามารถจับต้องข้อมูลที่แสดงนั้นได้ เช่น ตัวอักษรหรือภาพบนกระดาษ เป็นต้น เราเรียกข้อมูลประเภทนี้ว่า Hardcopy
    ตัวอย่างอุปกรณ์แสดงผล ได้แก่

3.1 จอภาพ (Monitor)
จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่มนุษย์จับต้องไม่ได้ (Softcopy Output Device) ในลักษณะของข้อความและรูปภาพ หลักการในการแสดงภาพหรือข้อมูลบนจอ จะคล้ายกับการทำงานของจอโทรทัศน์ คือ เกิดจากการที่คอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณให้เกิดการยิงแสงอิเล็กตรอนไปยังพื้นผิวของจอภาพ ซึ่งฉาบไว้ด้วยสารฟอสฟอรัสที่สามารถเรืองแสงได้เมื่อโดนอิเล็กตรอนตกกระทบ แต่ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างจอภาพกับจอโทรทัศน์ก็คือ คุณภาพและความละเอียดของภาพที่ปรากฏขึ้นบนจอ โดยภาพบนจอภาพของคอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณภาพที่ดีกว่า เนื่องจากลักษณะการใช้งานที่ผู้ใช้ต้องอยู่ใกล้ชิดจอคอมพิวเตอร์มากกว่านั่นเอง จอภาพสี (Colour) เป็นจอภาพที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งลักษณะการแสดงผลจะอาศัยสัญญาณดิจิตัล เช่นกัน แต่จะแยกออกเป็น 3 สัญญาณ ตามแม่สีของแสง คือ แดง เขียว และน้ำเงิน (Red, Green, Blue : RGB) ซึ่งจะทำให้เกิดสีต่างๆ มากมายตามหลัการผสมของแม่สีนั่นเอง ขนาดความกว้างของจอภาพมีหลายขนาด ซึ่งก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลมากน้อยไม่เท่ากัน โดยความละเอียดของภาพจะมีหน่วยวัดเป็นจุดภาพหรือที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ในแนวตั้งและแนวนอนของจอภาพ เช่น 640×480, 800×600, 1,024×768 และ 1,280×1,024 เป็นต้น ยิ่งมีขนาดของพิกเซลมากขนาดของภาพจะมีความละเอียดสูงมากขึ้น ภาพที่ปรากฏจะมีความสวยงามมากขึ้น และขนาดของภาพที่แสดงผลบนจอจะเล็กลง ทำให้มีเนื้อที่ใช้งานบนจอมากขึ้น การทำงานของจอภาพต้องใช้ร่วมกับแผงวงจรควบคุมจอภาพ (Graphic Adapter Card) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า การ์ดแสดงผล ซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่เสียบเข้าไปในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับคำสั่งในการแสดงผลจากโปรแกรมต่างๆ แล้วแปลงสัญญาณนั้นเป็นสัญญาณที่จอภาพเข้าใจได้ จากนั้นจึงส่งสัญญาณที่แปลงแล้วไปยังจอภาพ นอกจากนี้ยังมีจอภาพอีกประเภทที่มีลักษณะพิเศษ นั่นคือ จอภาพระบบสัมผัส (Touch Screen Monitor) ซึ่งเป็นจอภาพที่มีลักษณะไวต่อการรับรู้ โดยการส่งผ่านข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์อาศัยการสัมผัสที่จอภาพ ซึ่งมักทำเป็นลักษณะรายการ (Menu) ให้ผู้ใช้เลือก โดยที่ตัวผิวจอจะถูกปกคลุมด้วยแผ่นพลาสติกที่มีลำแสงอินฟาเรด ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ สัญญาณที่เกิดจากการสัมผัสกับลำแสงอินฟาเรดก็จะส่งเข้าสู่ระบบเพื่อตีความหมาย และประมวลผล จากนั้นจึงแสดงผลออกมาทางจอภาพเดียวกัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
จะเห็นว่า จอภาพประเภทนี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ทั้งป้อนข้อมูล (Input Device) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และเป็นอุปกรณ์แสดงผล (Output Devive) ออกมาสู่ผู้ใช้ในตัวเดียวกัน

3.2 การ์ดแสดงผล (Graphic card)
การ์ดแสดงผลเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ประมวลผลจากซีพียูมาแสดงบนจอภาพ ซึ่งการ์ดแสดงผลจะมีหน้าที่คิดว่าจะต้องใช้จุด(pixels)ในการสร้างรูปภาพขึ้นมาอย่างไร หลังจากนั้นจึงส่งข้อมูลต่อไปยังจอภาพ(monitor)โดยผ่านสายเคเบิล การ์ดแสดงผลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ การ์ดวิจีเอ (VGA : Video Graphics Array) สามารถแสดงผลได้ตั้งแต่ 16 สี ที่ความละเอียด 640×480 พิกเซล และต่อมาได้พัฒนาเป็นการ์ดซุปเปอร์วีจีเอ (SVGA : Super Video Graphics Array) ซึ่งสามารถแสดงสีได้ 256 สี ที่ความละเอียด 800×600 พิกเซล ปัจจุบันนี้พัฒนาจนถึงการ์ดเอ็กจีเอ (XGA : Exchanced Graphics Array) ซึ่งสามารถแสดงจำนวนสีได้ถึง 16.7 ล้านสี ที่ความละเอียด 1600×1200 พิกเซล และ Quantum Extended Graphics Array (QXGA) ซึ่งสามารถแสดงจำนวนสีที่ความละเอียด 2040 x 1536 พิกเซล ซึ่งให้สีที่สมจริงตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับงานตกแต่งภาพ และงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูง

3.3 การ์ดแสดงผลสัญญาณเสียง (Sound Card)
Sound card หรือการ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์สร้างและจัดการกับระบบเสียงทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เล่นไฟล์เสียงในรูปแบบต่างๆ สร้างเสียงดนตรีตามคำสั่งแบบ MIDI บันทึกและแปลงเสียงลงเป็นไฟล์แบบดิจิตอล ตลอดจนผสมเสียงจากหลายๆแหล่งที่มาเข้าด้วยกัน เป็นต้น

3.4 เครื่องพิมพ์ (Printer)
คือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร ข้อความ และรูปภาพ ที่อยู่บนจอภาพให้ไปปรากฏบนกระดาษ เพื่อสามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆ ได้
เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
– เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printer) คือ เครื่องพิมพ์ที่อาศัยการใช้หัวเข็มไปกระแทกกระดาษ โดยผ่านผ้าหมึกทำให้เป็นจุดขึ้น ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด คุณลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์แบบนี้ คือ สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีหลายสำเนาหลายชุดได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์

– เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Ink Jet Printer) คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีพ่นน้ำหมึกลงไปบนวัตถุงาน โดยหมึกจะถูกฉีดออกจากรูขนาดเล็กบนหัวพิมพ์ คุณลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์แบบนี้ คือ สามารถพิมพ์ภาพสีได้ โดยมีตลับหมึกสีแยกอิสระ สามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้ คุณภาพการพิมพ์คมชัดกว่าแบบใช้หัวเข็ม ให้ความละเอียดสูง สามารถพิมพ์บนผิววัสดุอื่นๆ นอกจากบนกระดาษได้เช่น แผ่นใส, สติ๊กเกอร์ เป็นต้น

– เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) มีหลักการทำงานเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นเครื่องพิมพ์ที่พัฒนามาจากเครื่องพิมพ์แบบจุดและแบบฉีดหมึก สามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบอื่นและความคมชัดของงานดีมาก จึงได้รับความนิยมนำมาใช้งานในสำนักงานทั่วไป อย่างไรก็ตามเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ยังมีราคาสูงกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดและแบบฉีดหมึก

แรมประเภทใดที่มีความเร็วสูงที่สุด

โดย DDR SDRAM จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีประสิทธิภาพมากกว่า ทำให้รับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ครบถ้วน แต่ราคาก็ไม่ต่างกันมากนัก

หน่วยความจำในข้อใดที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น

หน่วยความจำแคชเป็นหน่วยความจำที่ช่วยให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลที่ ซีพียูเคยเรียกใช้แล้ว เอาไว้ในกรณีที่เราต้องการเรียกใช้ก็มาเรียกข้อมูลจากแคช ซึ่งจะอ่านข้อมูลได้เร็วกว่าอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำดิสก์มาก

หน่วยความจำ RAM ชนิดใดพัฒนาให้เร็วกว่าชนิดอื่น

DDR RAM คืออะไร DDR RAM ที่ย่อมากจาก Double Data Rate RAM ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมของคอมพิวเตอร์และหน่วยและ CPU ฉะนั้นคอมพิวเตอร์ที่มี DDR RAM ก็จะสามารถทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์รุ่นเดียวกันที่ติดตั้งกับ Ram ชนิดปกติ

หน่วยความจำชนิดใดที่ต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลา

หน่วยความจำชั่วคราว (อังกฤษ: Volatile memory) คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังต้องการให้มันเก็บข้อมูลนั้นอยู่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือหากไม่ได้รับไฟฟ้าเลี้ยงแล้วข้อมูลที่เคยเก็บอยู่ในหน่วยความจำชั่วคราวก็จะหายไป ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือ แรมชนิดต่างๆ ตรงกันข้ามกับหน่วย ...