การที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร

ตรัสรู้แห่งองค์พุทธะ-1 ‘อริยสัจ 4’ หลักธรรมเพื่อดับทุกข์

พฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 00.00 น.

บอกต่อ : 0

0

0

0

เข้าสู่กลางสัปดาห์วิสาขบูชา ใกล้ถึงวันที่ 24 พ.ค. ’วันวิสาขบูชา“  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล “วันสำคัญของโลก” ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ และในทางพระพุทธศาสนายังมีชื่อเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งคือ “วันพระพุทธเจ้า” โดยที่วันวิสาขบูชานั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาศ ซึ่งชาวพุทธนับแต่โบราณมีการบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือ “วิสาขปูรณมีบูชา”

“วันวิสาขบูชา” คือ “วันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” 3 เหตุการณ์ ซึ่ง “เป็นอัศจรรย์ยิ่ง” นั่นคือ…“ประสูติ-ตรัสรู้-ปรินิพพาน” โดยทั้ง 3 เหตุการณ์ แม้จะเกิดขึ้นต่างปี เกิดขึ้นต่างช่วงเวลา แต่ก็ “เกิดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหมือนกัน”

อย่างไรก็ดี ที่ยังคงดำรงอยู่ และชาวพุทธสืบทอดต่อกันมาจนปัจจุบัน มิใช่มีเพียงเรื่องเล่าขานถึงความเป็นอัศจรรย์ของ 3 เหตุการณ์ที่เกิดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหมือนกัน และการบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

ที่สำคัญคือ ’สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้“

สิ่งที่ทรงตรัสรู้และเน้นสอนคือ ’อริยสัจ 4“

ทั้งนี้ “อริยสัจ 4” นี้ ในหนังสือ “อริยสัจ TODAY พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ทำไมจึงสำคัญนัก” เขียนโดยท่าน ว.วชิรเมธี หรือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี สถาบันวิมุตตยาลัย ก็นับว่ามีเนื้อหาที่ร่วมสมัย โดยสังเขปคือ...

“อริยสัจ” เป็นหลักธรรมสำคัญระดับ “หัวใจของพระพุทธศาสนา” เพราะเป็นศูนย์กลางแห่งธรรมทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ธรรมทุกถ้อยกระทงความที่พระองค์ตรัสรู้มานั้นสามารถประมวลลงในอริยสัจได้ทั้งสิ้น

“อริยสัจ” เป็นหลักธรรมระดับหัวใจของพุทธศาสนา เพราะสมบูรณ์ด้วยภาคความรู้และภาคปฏิบัติ สมบูรณ์ด้วยเหตุ สมบูรณ์ด้วยผล ประดาธรรมทั้งปวงที่ทรงแสดงตลอด 45 พรรษาแห่งพระชนม์ชีพล้วนประมวลลงในอริยสัจได้ทั้งสิ้น โดยบุรพาจารย์ได้จัดแบ่งไว้เป็นแนวทางกว้าง ๆ คือ 1.ธรรมที่ควรรู้ จัดลงในทุกข์, 2.ธรรมที่ควรละ จัดลงในสมุทัย, 3.ธรรมที่ควรบรรลุ จัดลงในนิโรธ, 4.ธรรมที่ควรปฏิบัติ จัดลงในมรรค

อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มี 4 ประการ จึงเรียกรวมกันว่า “อริยสัจ 4” ได้แก่ 1.ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ, 2.สมุทัย สาเหตุของทุกข์คือตัณหา หรือความอยาก, 3.นิโรธ ภาวะที่ปราศจากปัญหา หรือนิพพาน, 4.มรรค ซึ่งเป็น วิธีดับทุกข์-วิธีแก้ปัญหา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย...สัมมาทิฐิ คือ เห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ คือ คิดชอบ สัมมาวาจา คือ พูดชอบ สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายานะ คือ เพียรชอบ สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ

“อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมสำหรับดับทุกข์หรือแก้ปัญหาชีวิตโดยตรง พระพุทธองค์ทรงย้ำว่า...แต่ก่อนก็ดี บัดนี้ก็ดี เราสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์เท่านั้น”...ท่าน ว.วชิรเมธี ระบุไว้ในหนังสือ อีกทั้งยังมีการระบุไว้ด้วยว่า...ในบางพระสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่าสิ่งที่ทรงตรัสรู้นั้นมีอยู่มากมาย แต่ไม่ทรงนำมาสอน สิ่งที่ทรงนำมาสอนนั้นเป็นดั่งใบไม้ในกำมือเพียงหยิบมือเดียว ซึ่งใบไม้ในกำมือที่ว่านี้ก็คือ “อริยสัจ 4”

พระพุทธวัจน์นี้ชี้ให้เห็นว่า ’อริยสัจ“ สำคัญ

เมื่อใครรู้จักแล้ว ’สามารถทำให้ดับทุกข์“ ได้

ทั้งนี้ “วันวิสาขบูชา” ชาวพุทธโดยทั่วไปก็จะมีการทำบุญ ทำทาน สร้างกุศล ด้วยกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งก็ย่อมเป็นสิ่งดี ทั้งกับการสืบสานพระพุทธศาสนา กับชีวิตผู้ที่ได้กระทำ และหลาย ๆ กิจกรรมก็ยังเป็นสิ่งดีต่อสังคมโดยรวมได้ด้วย อย่างไรก็ดี หากชาวพุทธเราจะได้ใช้โอกาสนี้พิจารณาถึง “อริยสัจ 4” ด้วย ก็น่าจะยิ่งดี

พิจารณา “อริยสัจ 4” ก็คือพิจารณาถึง ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค หรือพิจารณาถึงความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือการมีปัญหา, พิจารณาถึงสาเหตุของปัญหา คือตัณหา หรือความอยาก, พิจารณาถึงภาวะที่ปราศจากปัญหา, พิจารณาถึงวิธีแก้ปัญหา ที่เป็นการ ’ดับทุกข์“ โดย...เห็นชอบ คิดชอบ พูดชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งนี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเน้นที่จะ “สอน”

“อริยสัจจัดเป็นปรมัตถสัจจะ คือความจริงสูงสุด ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้หรือไม่ก็ตาม ความจริงคืออริยสัจนี้ก็มีอยู่แล้วโดยตัวของมันเอง นอกจากอริยสัจจะเป็นความจริงที่แตกต่างออกไปจากความจริงในสิ่งต่าง ๆ ที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของอริยสัจก็คือ อริยสัจ เป็นความจริงอันประเสริฐ ที่เมื่อใครก็ตามรู้จักแล้ว จะ สามารถทำให้ดับทุกข์ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ที่อริยสัจแตกต่างจากสัจจะทั่วไปก็เพราะสัจจะทั่วไปรู้แล้วไม่อาจทำให้ดับทุกข์ได้ แต่อริยสัจนั้นเมื่อใครรู้จักแล้วสามารถทำให้ดับทุกข์ได้” ...นี่เป็นอีกบางช่วงบางตอนในหนังสือ “อริยสัจ TODAY พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ทำไมจึงสำคัญนัก”

ผู้ที่เขียน คือท่าน ว.วชิรเมธี ยังได้แนะนำถึงการพิจารณา

ว่าด้วยการพิจารณา ’นำอริยสัจ 4 มาปฏิบัติในชีวิต“

’อริยสัจช่วยดับทุกข์ได้อย่างไร?“ ต้องต่ออีกตอน...



ย้อนกลับ

ศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์  

การที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร


สถานที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า

เจดีย์พุทธคยา

            สถานที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นต้นที่ 4 นับจากต้นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ส่วนเจดีย์พุทธคยาที่เห็นนี้ สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ราว พ.ศ. 236 และได้ต่อเติมสมัยพระเจ้าหุวิชกะ กษัตริย์แห่งเมืองมคธโบราณสถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วย สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
       หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

การที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร

     สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ

           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

           ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย

           ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา            

การที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร

       เมื่อพระบรมโพธิสัตว์มีชัยต่อพญามารวัสวดีด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาสายัณห์พระอาทิตย์ยังมิทันจะอัสดงคต ทำให้บังเกิดความเบิกบานพระทัยด้วยปีติเกษม จึงทรงเจริญสมาธิภาวนาทำจิตให้ปราศจาก อุปกิเลส จนได้บรรลุ ปฐมฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน อันเป็นส่วนรูปฌานสมาบัติตามลำดับ ต่อจากนั้นทรงเจริญญาณอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูง ๓ ประการตามลำดับแห่งยามสาม ซึ่งในทางศาสนาแบ่งกลางคืนออกเป็น  ๓  ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่ายามหนึ่ง ๆ คือ ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ในราตรีนั้น คือ ในวันเพ็ญพระจันทร์เสวยดาวฤกษ์ชื่อว่าวิสาขา คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะเป็นเวสาขะ ในราตรีวันเพ็ญนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรม ก่อนแต่ตรัสรู้เรียกว่า พระโพธิสัตว์ แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในความรู้ อันหมายความว่า ไม่ทรงข้องอยู่ในสิ่งอื่น ข้องอยู่แต่ในความรู้ จึงทรงแสวงหาความรู้จนได้ตรัสรู้ จึงเรียกว่า พุทธะ ที่แปลว่า ผู้รู้ หรือ ตรัสรู้ เราเรียกกันว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ภายใต้ต้นไม้ชื่อว่า อัสสัตถะ ต่อมาก็เรียกว่า ต้นโพธิ์ คำว่า โพธิ แปลว่า ตรัสรู้ เพราะพระพุทธเจ้าไปประทับนั่งใต้ไม้นั้นตรัสรู้ จึงได้เรียกว่า ต้นไม้ตรัสรู้ เรียกเป็นศัพท์ว่า โพธิพฤกษ์ แต่ชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ว่า อัสสัตถะ ที่ตรัสรู้นั้นอยู่ใกล้ฝั่ง แม่น้ำเนรัญชรา ใน ตำบลอุรุเวลา ใน มคธรัฐ

ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์ทรงตรัสรู้ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า “พุทธคยา” เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน ดังนั้น วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่บังเกิดพระพุทธเจ้าพระนามว่า “โคตมะ” อุบัติขึ้นในโลก

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ” จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

ยามต้น :  ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง :  ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม :  ทรงบรรลุ “อาสวักขยญาณ” คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุ
ได้ ๓๕ พรรษา

ในปฐมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ทรงเกิดมาแล้วได้ทั้งสิ้น ย้อนหลังไปตั้งแต่มีชัยต่อพญามารวัสวดี ลอยถาดทอง ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรารับมธุปายาสจากานางสุชาดา ทรงสุบินบุพนิมิตมหามงคล ๕ ประการ ย้อนไปจนถึงเมื่อครั้งไปศึกษาวิชากับ อาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ทรงให้ปฏิญาณแก่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงบรรพชา ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาเสด็จหนีออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติในสวนลุมพินีวัน ตราบจนเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร และทรงระลึกย้อนหลังไปถึง ๔ อสงไขย ๑  แสนมหากัปป์

ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ สามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของเหล่าสรรพสัตว์อื่นได้หมดเปรียบประหนึ่งผู้ยืนบนปราสาทอันตั้งตระหง่านอยู่หว่าง กลางถนน ๔ แพร่ง จึงสามารถเล็งเห็นมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมื่อ นั่ง ยืน เดิน เข้าออกจากเรือน หรือระหว่างสัญจรไปตามวิถีแห่งทาง ๔ แพร่ง

ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงพระปรีชาสามารถทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสิ้นไป จนได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ญาณอันประเสริฐอันเป็นเครื่องตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ  ในเวลาปัจจุบันสมัยรุ่งอรุโณทัย จึงเปล่งพระพุทธสีหนาทปฐมอุทาน ตรัสทักตัณหาด้วยความเบิกบานพระทัยว่า

“นับตั้งแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหานายช่างเรือนอันก่อสร้างนามรูปคือตัวตัณหา ด้วยการเวียนว่ายตายเกิดมาตลอด ๔ อสงไขยแสนมหากัลป์ บัดนี้ได้พบและทำลายสูญสิ้นแล้ว จิตของเราปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นแล้ว”

พลันได้บังเกิดมหาอัศจรรย์ขึ้นในเวลานั้นกล่าวคือ พื้นปฐพีอันกว้างใหญ่เกิดหวั่นไหว มหาสาครสมุทรตีฟองคะนองคลื่นพฤกษาชาติทั้งหลายต่างผลิดอกออกช่อเบ่งบานงามตระการดารดาษไปทั่วทุกอุทยาน บรรดาแก้วมณีอันประดับอยู่ในทุกวิมานชั้นฟ้าล้วนเปล่งแสงส่องประกายรัศมีอันโอภาสบรรเจิด ทิพยดนตรีต่างบรรเลงเสียงเพลงไพเราะเสนาะโสต เทพยดาและผู้เรืองฤทธิ์ในทุกสวรรค์ชั้นฟ้าป่าหิมพานต์ต่างพนมกรแซ่ซ้องสาธุการโปรยปรายบุปผามาลัยทำการสักการบูชา เปล่งวาจาว่าบัดนี้พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน ๖ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ หรือ วันวิสาขบูชา

สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในตำบลที่เรียกว่า พุทธคยา ห่างจากเมืองกัลกัตตาประมาณ ๒๓๐ ไมล์

พระพุทธตรัสรู้ธรรมอะไร

สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามีความสําคัญอย่างไร

การตรัสรู้ด้วยพระองค์เองของพระพุทธเจ้านั้น เป็นการปรากฏของธรรมอัน สูงสุดธรรมคือความจริงที่เป็นกฎธรรมชาติของเอกภพ ที่ทุกคนและทุกสิ่งต้องอยู่ภายใต้ กฎนี้ ดังนั้น ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบจึงเป็น อกาลิโก คือถูกต้องเสมอ และทําให้ พระพุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่น และเป็นศาสนาสากลของโลก ทั้งยังเป็นนิมิต หมายในการประกาศ ...

ตรัสรู้แล้วได้อะไร

อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มี ๔ ประการ เราจึงเรียกรวมกันว่า “อริยสัจ ๔” ได้แก่ ๑.ทุกข์ ได้แก่ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ๒.สมุทัย ได้แก่ สาเหตุของทุกข์คือตัณหาหรือความอยาก ๓.นิโรธ ได้แก่ ภาวะที่ปราศจากทุกข์หรือนิพพาน

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง

กิจในอริยสัจ 4 ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย