ดนตรีไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ดนตรี จากเดิมที่ผู้เล่น (นักดนตรีหรือผู้ประพันธ์ดนตรี) จะสื่อสารกับผู้ฟัง (ผู้ฟังและผู้ชม) โดยตรง เป็น

ดนตรีที่ผู้เล่นสื่อสารกับผู้ฟังผ่านระบบสื่อสารมวลชน (Mass Mediated Music Phenomenon) ซึ่ง

วัฒนธรรมดนตรีผ่านสื่อสารมวลชนนี้ ได้ทำให้ดนตรีมิใช่เป็นเพียงดนตรีของผู้เล่น หรือของปัจเจกชน 

(Private) อีกต่อไป แต่ดนตรีกลายเป็นวัฒนธรรมของมวลชนที่เป็นสาธารณะ (Public) และสร้างปรากฎ

การณ์ดนตรีที่เรียกว่า ดนตรีของมวลชน (Pop Music) ในรูปแบบต่างๆ กันออกไป

นอกจากนี้ เทคโนโลยีของสื่อสารมวลชนดังกล่าว ยังได้ก่อให้เกิดระบบทางวัฒนธรรมดนตรีที่สำคัญอีก

ประการหนึ่งได้แก่ “อุตสาหกรรมดนตรี” เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับดนตรีหรือใช้ดนตรีเป็นส่วนประกอบ

หนึ่งในการทำธุรกิจ ดนตรีในอุตสาหกรรมดนตรีนั้น จะบันทึกดนตรีเก็บไว้ในสื่อ (Media) ประเภทต่างๆ 

เช่น สิ่งพิมพ์ แผ่นเสียง คาสเซ็ตเทป ซีดี วีซีดี ฯลฯ และสื่อดนตรีเหล่านี้ก็จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ที่แตก

ต่างกันออกไป ทั้งในด้านการอนุรักษ์ เผยแพร่ บันเทิง หรือธุรกิจดนตรีอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การถ่ายทอด

สด/บันทึกการแสดงดนตรีเพื่อเผยแพร่ในรายการบันเทิงทางโทรทัศน์ การบันทึกดนตรีพื้นบ้านลงคาส

เซ็ตเทปเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การบันทึกและใช้แผ่นเสียงดนตรีในรายการเพลงทางวิทยุ หรือ

แม้แต่การสร้าง/บันทึกทำนองเพลงต่างๆ ลงสื่อดิจิตอลที่เรียกว่า ริงโทน (Ring tone) เพื่อประโยชน์ใน

ทางธุรกิจโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตที่กำลังได้รับความนิยมในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นต้น รวมไปถึง การใช้

ประโยชน์จากการหลอมรวมของสื่อ (Convergence Media) ที่สามารถเชื่อมโยงสื่อต่างๆ เข้าด้วยกัน 

สร้างให้เกิดปรากฎการณ์ดนตรีในสังคมใหม่ ได้แก่ ดนตรีในอินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งพบว่ามีทั้ง

การนำเสนอโน้ตดนตรีที่สามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ได้ สามารถฟังดนตรีทางวิทยุหรือชม

การแสดงดนตรีทางโทรทัศน์บนอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการสร้าง, อัพโหลด และดาวน์โหลดเพลง และ

ริงโทนแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้ ซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถเลือกทำทุกอย่างหรือเลือกรับสาระทาง

ดนตรีในสิ่งที่ต้องการได้ การหลอมรวมของดนตรีในสื่ออินเตอร์เน็ตดังกล่าว ทำให้ผู้ฟังดนตรีมีพื้นที่ที่

สามารถจะเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ฟังดนตรี สร้างดนตรีด้วยตนเองได้ สื่อสารดนตรีกับผู้อื่นได้ทั่วโลก จาก

อำนาจของการสื่อสารมวลชนที่มีต่อดนตรีดังกล่าว ทำให้ดนตรีเป็นทั้งศิลปะที่มีคุณค่า และเป็นสินค้าทาง

วัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งส่งผลต่อการกำหนดเนื้อหาสาระ (Media Agenda) ของสื่อ

ดนตรีที่ต้องการเผยแพร่

อาจกล่าวได้ว่า ความเจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้

เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและเนื้อหาสาระ (Massage) ของดนตรีในสังคมไทยปัจจุบัน สื่อสาร

มวลชนทำให้ดนตรีมีการเคลื่อนย้ายฐานความรู้ ช่วยขยายขอบเขตการเรียนรู้ดนตรี เพิ่มช่องทางการเผย

แพร่ดนตรี (Channel) สู่ผู้ฟังมากขึ้น ขณะเดียวกันข้อจำกัด ข้อดี และข้อเสียของสื่อแต่ละประเภทก็เป็น

ปัจจัยสาเหตุสำคัญในการกำหนดทิศทาง รูปแบบและเนื้อหาของดนตรี วัฒนธรรมดนตรีผ่านสื่อที่ถูกผลิต

ซ้ำ (re-production) ถูกใช้เพื่อสร้างกระแส และเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางดนตรีในสังคม รวมไปถึงสุนทรี

ยะของทั้งผู้เล่น (Sender) และผู้รับ (Receiver) สิ่งเหล่านี้ทำให้ดนตรีในสังคมไทยช่วง 50 ปีที่ผ่านมาถูก

ดนตรีไทยกับคนรุ่นใหม่ ทางขนานจริงหรือ?

เมื่อ กล่าวถึงดนตรีไทยหลายท่านคิดคล้ายกันว่าเป็นเรื่องล้าสมัย เป็นเพียงเครื่องประกอบในงานพิธี หรือเป็นเอกสิทธิ์ความบันเทิงของคนรุ่นเก่าที่เข้ากันได้ยากกับดนตรีสากลตาม รูปแบบของอารยธรรมตะวันตก
          แม้กระแสโลกาภิวัฒน์จะเป็นเหตุให้วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่สังคม ไทยอย่างไร้ขีดจำกัด พฤติกรรมการบริโภคดนตรีของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไป แต่ยังมีคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักในเอกลักษณ์ของความเป็นดนตรีไทย แม้บางคนอาจคิดว่าดนตรีไทยเปรียบเสมือนวัฒนธรรมที่ (ใกล้) ตายแล้วก็ตาม
           นับว่าเป็นความโชคดีของลูกหลานไทย ที่สมเด็จพระเทพฯ ผู้ซึ่งมีสายพระเนตรยาวไกลได้ทรงจุดประกาย โดยทรงเป็นผู้นำเพื่อให้คนไทยทุกคนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของคนตรี ไทยอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ แม้ไม่สามารถสร้างกระแสให้ทัดเทียมโลกาภิวัฒน์ได้ แต่ก็ก่อให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าทางดนตรีไทย ทั้งยังก่อให้เกิดปณิธานร่วมกันของเหล่าพสกนิกร ในอันที่จะดำรงและส่งเสริมคุณค่านั้น ให้แพร่หลายสู่ลูกหลาน คนรุ่นใหม่ สืบไป

            ทำไมคนรุ่นใหม่จึงไม่สนใจดนตรีไทย?
          โลกาภิวัฒน์ มิได้เป็นอุปสรรคสำคัญระหว่างดนตรีไทยกับคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ในยุคนี้ฉลาดพอที่จะเลือกสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง แต่เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่ยังขาดการเรียนรู้ใน 3 ประการหลัก คือ การปลูกฝังทัศนคติที่ดีจากคนรุ่นเก่า รูปแบบการนำเสนอความรู้ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัยของคนรุ่น ใหม่ และแบบอย่างที่ดีจากสื่อมวลชน หรือผู้ซึ่งสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้โดยง่าย

           คนรุ่นใหม่จะสนใจดนตรีไทยได้อย่างไร?
        จากที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น สรุปได้ว่าอุปสรรค 2 ใน 3 เกิดจากพฤติกรรมของคนรุ่นเก่า ทางออกที่อาจทำให้ดนตรีไทยมีโอกาสเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น จึงสรุปได้ ดังนี้

           1. ปลูกฝังทัศนคติที่ดีจากคนรุ่นเก่า
        คนรุ่นเก่าอาจต้องทบทวนทัศนคติของตนก่อนที่จะปลูกฝังให้แก่ลูกหลานคนรุ่นใหม่
        ประการแรก คนรุ่นเก่าที่มีความรู้ความสามารถ ควรต้องตระหนักว่าดนตรีไทยเป็นสมบัติของคนรุ่นใหม่ที่คนรุ่นเก่ายืมไปใช้ โดยพร้อมที่จะส่งมอบกลับคืนในเวลาอันควร มิใช่ส่งคืนด้วยการส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนเปียโน ไวโอลิน หรือฝึกหัดร้องเพลงสากล
ในส่วนของทัศนคตินี้ ควรได้รับการปลูกฝังจากพ่อแม่ ครู หรือผู้ปกครอง โดยปลูกฝังให้เกิดแนวคิดให้มีทัศนคติที่ดีต่อดนตรีและต่อคนที่เล่นดนตรีไทย ตั้งแต่ในวัยเยาว์
        ประการที่สอง คนรุ่นเก่าควรทบทวนความเหมาะสมในการใช้คำว่า อนุรักษ์ หรือ สืบสาน เพื่อรณรงค์ให้ดนตรีไทยเข้าถึงคนรุ่นใหม่และยั่งยืนสู่คนรุ่นใหม่กว่าต่อไป
        คำว่า อนุรักษ์ ถูกใช้คู่กับดนตรีไทยในยุคโลกาภิวัตน์อยู่บ่อยๆ ใครที่กล่าวถึงดนตรีไทย ก็มักมีคำนี้พ่วงอยู่ด้วยเสมอ ทำนองว่าให้รักษาดนตรีไทยไว้ให้คงอยู่ดังเดิมต่อไป กล่าวคือ มีมาอย่างไรก็ให้มีต่อไปอย่างนั้น ผู้เขียนคิดว่าการรักษาดนตรีไทยในรูปแบบอนุรักษ์ อาจไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะหากเป็นเช่นนั้น ดนตรีไทยก็คงต้องเป็นดนตรีสำหรับคนรุ่นเก่าต่อไป และมีอนาคตเพียงแค่ช่วงชีวิตของคนรุ่นเก่าเท่านั้น ในที่สุดก็ต้องกลายเป็นดนตรีบนกระดาษ หรือเครื่องเล่นที่ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ (เป็นการอนุรักษ์ที่แท้จริง)
       ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวดนตรีให้เข้ากับยุคสมัย จึงน่าจะเหมาะสมและเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ดนตรีไทยสามารถเข้าถึงคนรุ่น ใหม่ และรุ่นต่อๆ ไปได้
       สืบ มีความหมายสองประการ คือ สืบสาว และ สืบทอด
       สืบสาว หมายถึง การสืบค้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต เช่นประเภทของเครื่องดนตรี
ความเป็นมา ความดีงาม ความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีไทย ฯลฯ
       สืบทอด หมายถึง การส่งต่อเรื่องราวในอดีตไปสู่อนาคต เช่นนำความดีงาม ความเป็น
เอกลักษณ์ของดนตรีไทย ฯลฯ สู่ลูกหลานคนรุ่นใหม่และรุ่นต่อ ๆ ไป
       สาน หมายถึงการปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่า โดยไม่ทำให้เอกลักษณ์เดิมสูญหาย ด้วยเหตุนี้คำว่า สืบสาน จึงน่าจะตอบสนองกับกระแสสังคมปัจจุบันและเข้ากันได้กับคนรุ่นใหม่ ผู้มีหน้าที่รักษาและสืบทอดดนตรีไทยสู่อนุชนคนรุ่นต่อไป

          2. นำเสนอความรู้ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัยของคนรุ่นใหม่
         ผู้เขียนเป็นคนรุ่นใหม่ เมื่อครั้งที่ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความนี้ ตอนแรกรู้สึกเครียด เนื่องจากมีความรู้เรื่องดนตรีไทยน้อยมาก กอปรกับมีเวลาที่จำกัดจึงเลือกใช้วิธีสอบถามจากผู้รู้ในศาสตร์แขนงนี้หลาย ท่าน แต่เพราะท่านเหล่านั้นมีความรู้มาก จึงได้กรุณามอบเอกสารมาให้ผู้เขียนนำไปศึกษา (อ่านเอง) ปึกใหญ่ (หนาประมาณ 2 นิ้ว) ซึ่งผู้เขียนได้พิจารณาเอกสารนั้นแล้วก็มีอาการเครียดเพิ่มขึ้น และคิดในใจว่า ทำไมการเรียนดนตรีไทยจึงได้ยากลำบากเช่นนี้ ช่างไม่เหมาะกับวัยรุ่น คนรุ่นใหม่อย่างผมเสียเลย แล้วก็เกิดอาการปลงว่าต้องไม่เสร็จตามกำหนดแน่นอน
         ผู้เขียนจึงใช้วิธีสัมภาษณ์สดจากผู้ที่พอมีความรู้ด้านดนตรีไทยน้อยลงมานิด (แต่มากกว่าผู้เขียนหลายเท่า) ซึ่งก็ได้ผล เพราะนอกจากผู้เขียนจะได้รับความรู้ด้านดนตรีไทยเพิ่มขึ้นจนทำให้สามารถ ตระหนักถึงคุณค่าของดนตรีไทยได้แล้ว ผู้เขียนยังได้รับแนวคิดที่เป็นประโยชน์ ได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก
         การนำเสนอองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ตามวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ถือเป็นขบวนการสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการปลูกฝังทัศนคติ เพราะทัศนคติเป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสู่อนาคต เป็นผลให้เกิดการสืบสานทางวัฒนธรรมที่ยาวนาน ส่วนการนำเสนอองค์ความรู้ที่เหมาะสมก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีสำหรับการเรียน รู้ในปัจจุบันซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไป
         ความเหมาะสมดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ หากอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถที่มีประสบการณ์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจที่เหมาะสมกับสภาพธรรมชาติของคนรุ่นใหม่
        นอกเหนือจากที่กล่าว ผู้เขียนได้สรุปแนวความคิดที่เกี่ยวกับสื่อความรู้ที่อาจทำให้คนรุ่นใหม่ สนใจดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
       -  มีสื่อการเรียนการสอนที่ประหยัด หาง่าย และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
       -  ปรับปรุงให้ดนตรีไทยเป็นดนตรีร่วมสมัยที่มีรูปแบบในแนวผสมผสาน เช่น แนวดนตรี
ของวงฟองน้ำ หรือวงดอกหญ้าไหว เป็นต้น
       -  จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมด้านดนตรีไทยในสถานศึกษา
       -  กำหนดให้มีการเรียนการสอนดนตรีไทยในสถานศึกษา โดยกำหนดให้เป็นหลักสูตรบังคับแบบต่อเนื่อง ในระดับประถม และมัธยมศึกษา

          3. แบบอย่างที่ดีจากสื่อมวลชน หรือผู้ซึ่งสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้โดยง่าย
        ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของวัยรุ่นคนรุ่นใหม่คือ พฤติกรรมการเลียนแบบ ตามกระแสนิยม หรือตามดาราที่ตนชื่นชอบ โดยมีสื่อมวลชนเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญ
        ดังนั้นหากดารา สื่อมวลชน สถานบันเทิง หรือที่ชุมชนสาธารณะที่อยู่ในกระแสนิยมของคนรุ่นใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือรถโดยสารประจำทาง ได้หันมาให้ความสำคัญกับดนตรีไทยก็จะสามารถสร้างแรงจูงใจ และค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าเราจะได้ยินได้ฟังเสียงจากเครื่องดนตรีไทยไม่มากเท่ากับเครื่องดนตรีสากล ผู้เขียนก็ยังคงเชื่อว่าดนตรีไทยจะไม่หายไปจากสังคมไทย และคิดว่าจะไม่มีดนตรีใดมาทำให้ดนตรีไทยตายไปจากสังคมไทยได้ เพียงแต่ดนตรีเหล่านั้นได้ดึงดูดความสนใจไปจากคนรุ่นใหม่เพียงชั่วคราวเท่า นั้น
ตราบใดที่ดนตรีไทยยังคงสะท้อนความอ่อนโยน ฟังสบาย ไม่เร่งเร้า และตราบใดที่ทุกคนยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อดนตรีไทย และทัศนคติที่ดีต่อคนที่เล่นดนตรีไทย ดนตรีไทยก็จะยังคงอยู่และเข้าถึงคนทุกรุ่น แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ที่แม้จะดูคล้ายเป็นเส้นขนานก็ตาม

ในอนาคตดนตรีจะมีการพัฒนาไปอย่างไร

[อนาคต]: Future Musician มนุษย์มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นส่วนช่วยในการเขียนเพลงและแต่งทำนองเพลงได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ AI ที่ช่วยเป็นสื่อกลางจัดแต่งองค์ประกอบดนตรี (AI-mediated composition) และช่วยในการแต่งเสียง (voice synthesize) ที่ทำให้นักดนตรีผลิตผลงานเพลงได้ง่ายและมีคุณภาพ

ประโยชน์ของดนตรีไทยมีอะไรบ้าง

ดนตรีไทยมีความสำคัญและมีความหมายต่อบุคคลในการพัฒนาคุณภาพจิตใจ เป็นสื่อกลาง ของกิจกรรมทางประเพณี ศาสนา ศิลปะการแสดง และเป็นสื่อทางสังคมที่ช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มของคน ในชาติ สร้างพลังทางสังคม รวมทั้งมีความเกี่ยวข้องกับสถาบันต่างๆ ของประเทศด้วย เช่น สถาบัน พระมหากษัตริย์สถาบันทางการเมือง การปกครอง การทหาร เป็นต้น

ดนตรีมีผลต่อชีวิตอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์พบว่าเสียงดนตรีจะกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในเรื่อง อัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต การตอบสนองทางม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ส่วนผลทางจิตใจก็คือ ดนตรีสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สติ ความนึกคิด

ลักษณะทางดนตรีของไทยเป็นอย่างไร

ลักษณะเด่นของดนตรีไทย ได้แก่เครื่องดนตรีวงดนตรีภาษา และเนื้อร้อง สาเนียงและสาเนียงภาษา องค์ประกอบของบทเพลง ซึ่งมีลักษณะการบรรเลงที่มีเอกลักษณ์การขับร้องที่ไพเราะมีท่วงทานอง ลีลาการประสานเสียงระหว่าง เครื่องดนตรีต่างชนิดผสมผสานกัน อย่างลงตัว ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท าให้ดนตรีไทยมีลักษณะเด่น เป็นที่ยอมรับ