วันคุ้มครองผู้บริโภคตรงกับวันใด

วันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) หมายถึง วันที่ให้ความสำคัญแก่ผู้บริโภคทั่วโลก ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจและตระหนักในสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเคารพและปกป้องสิทธิในการเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็นพื้นฐานอย่างทั่วถึงทั่วโลก

ประวัติวันสิทธิผู้บริโภคสากล เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1962 เมื่อ "จอห์น เอฟ. เคนเนดี" อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มก่อตั้งวันที่ชื่อว่า Consumer Right Day และได้รับการรับรองจาก สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ซึ่งมีการกล่าวถึงสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐานในเริ่มต้น ดังนี้

  • สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร
  • สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย
  • สิทธิที่จะเลือกบริโภค
  • สิทธิที่จะได้รับการเยียวยา

วันสิทธิผู้บริโภคสากล เริ่มได้รับการรณรงค์อย่างเข้มข้นจริงจัง ในวันที่ 15 มีนาคม 1983 มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม โดยมีการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิคุ้มครองผู้บริโภคผ่านสื่อต่างๆ ให้ทุกคนได้ตระหนักรู้สิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง

วันคุ้มครองผู้บริโภคตรงกับวันใด

สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?

ตามข้อกำหนดของ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล ระบุว่า ผู้บริโภคมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการคุ้มครองครอบคลุมทั้งหมด 8 ประการ ดังนี้

1. สิทธิที่จะเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน
2. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ
3. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
4. สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างอิสระ
5. สิทธิที่จะร้องเรียนความเป็นธรรม
6. สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหาย
7. สิทธิที่จะได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภค
8. สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย

วันคุ้มครองผู้บริโภคตรงกับวันใด

หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในไทย

สำหรับประเทศไทย มี 2 หน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กับ สำนักงานอาหารและยา (อย.) เพื่อทำหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค รวมถึงรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบการ 

ทั้งนี้ เนื่องในวันสิทธิผู้บริโภคสากล ทุกคนจึงควรรู้ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง รวมถึงศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการบริโภคสินค้าหรือบริการต่างๆ ให้ปลอดภัย เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสินค้าและบริการต่างๆ ทั้งนี้สามารถร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ โทรสายด่วน สคบ. 1166

วันที่ 15 มีนาคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น ‘วันคุ้มครองผู้บริโภคสากล’ หรือ World Consumer Rights Day เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคทั่วโลกตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกอย่างอย่างทั่วถึง 

 

วันผู้บริโภคสากลเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1962 โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ก่อนจะแพร่หลายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา โดยแต่ละปีจะมีการรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค สำหรับธีมรณรงค์ในปีนี้คือ ‘การจัดการปัญหามลพิษจากพลาสติก’ โดยสร้างความตระหนักรู้และชักชวนให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจังและยั่งยืน ด้วยการปฏิเสธสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

สิทธิผู้บริโภคจากการซื้อขาย บริโภคสินค้าและบริการ  ต้องได้รับความคุ้มครอง
รู้หรือไม่ว่าคนไทยเรามีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค จากปัญหาการค้าขายที่ไม่เป็นธรรม
เรามี “สภาคุ้มครองผู้บริโภค” เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

          เป็นเวลา 42 ปี แล้วที่เรามี “วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย” ซึ่งกำหนดเป็นประจำวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี นับตั้งแต่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  มีผลบังคับใช้
          พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากพฤติกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมาของผู้ประกอบธุรกิจการค้า ที่ทำการตลาดและโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อสินค้าหรือบริการไม่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้ผู้บริโภคไม่ทราบข้อมูลทางการตลาดที่แท้จริง ทั้งเรื่องคุณภาพสินค้าและราคา
          ใจความสำคัญของกฎหมายนี้ ครอบคลุมการมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ ช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีปัญหา แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่อาจก่อความเสียหายคุ้มครองทั้งด้านโฆษณา ฉลาก สัญญา ฯลฯ คณะกรรมการมีอำนาจให้มีการทดสอบ พิสูจน์สินค้าที่อาจเป็นอันตราย และมีคำสั่งห้ามขายสินค้าที่อาจเป็นอันตรายได้ 

          นอกจากนี้ ยังระบุถึงสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง 5 ประการ ดังนี้
          1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้ง โฆษณา แสดงฉลาก คำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเพื่อให้ไม่หลงผิดซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
          2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ โดยความสมัครใจของผู้บริโภคและปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
          3. สิทธิที่จะใช้สินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน
          4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
          5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายเมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ


          แต่ในทางปฏิบัติ การจัดการแก้ปัญหาผู้บริโภคในไทยหลายประเด็นยังล่าช้า ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิทั้งที่เป็นผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการแต่กลับไม่ได้รับความคุ้มครองหากสินค้าหรือบริการที่ได้รับเกิดชำรุดบกพร่องเพราะขอบเขตการซื้อขายสินค้าบริการเปลี่ยนโฉมหน้าไปมาก  นอกจากสินค้าและบริการที่วางขายตามห้างร้าน ยังมีรูปแบบธุรกิจขายตรง  ขายออนไลน์ซึ่งผู้ซื้อไม่ได้เห็นสินค้าของจริง ทำให้เกิดปัญหาเช่น หลอกให้โอนเงินแต่ไม่ส่งสินค้า ส่งสินค้าไม่ตรงปก สินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่รับคืนสินค้า ไม่คืนเงิน  เป็นต้น


          ผู้บริโภคที่ประสบปัญหา ยังมีความยากลำบากในการร้องเรียนเพื่อใช้กลไกรับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่ดูแลแยกย่อยออกไปและใช้เวลานาน เช่น เรื่องการใช้บริการโทรศัพท์มือถือต้องร้องเรียนไปทั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  หรือการร้องเรียนปัญหารถยนต์ แม้บางบริษัทจะแก้ปัญหาด้วยการยืดอายุประกันการซ่อม แต่ไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุ หากจะขอให้บริษัทซื้อคืนรถ ผู้บริโภคอาจต้องหาหน่วยงานกลางมาพิสูจน์ว่ารถที่ชำรุดเกิดจากการผลิตหรือจากการใช้งาน   


          เครือข่ายผู้บริโภคเห็นปัญหาดังกล่าว จึงรณรงค์ผลักดันให้มีกฎหมายหรือหน่วยงานที่จะแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคได้เบ็ดเสร็จ  โดยรวมตัวองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ 299 องค์กร ยื่นหนังสือขอเป็นคณะผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้ง ‘สภาองค์กรของผู้บริโภคประเทศไทย’ ต่อนายทะเบียนกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562  จนเกิด “สภาองค์กรผู้บริโภค” อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563


          สภาองค์กรผู้บริโภค  ทำหน้าที่ช่วยให้การคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ผู้ที่ประสบปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการสามารถยื่นเรื่องต่อสภาองค์กรของผู้บริโภคได้โดยตรง เพื่อให้สภาฯช่วยฟ้องคดีแทนผู้บริโภคพร้อมดำเนินการอื่น ๆ จนกว่าคดีจะสิ้นสุด 


          ขอบข่ายการทำงานของ สภาฯ แบ่งเป็น 8 ด้าน คือ ด้านการเงินการธนาคาร, ด้านขนส่งและยานพาหนะ, ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย, ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ด้านบริการสุขภาพ, ด้านสินค้าและบริการทั่วไป, ด้านสื่อและโทรคมนาคม และด้านบริการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม

          สภาองค์กรผู้บริโภคยังมีตัวแทนทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด เพื่อเสนอความเห็นต่อการจัดทำร่างกฎหมาย นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้บริโภค เป็นปากเป็นเสียงช่วยตรวจสอบ เตือนภัย เปิดเผยข้อมูลและชื่อสินค้าที่หลอกลวง  ไม่ปลอดภัย ทำหน้าที่ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยและการฟ้องคดี รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้ผู้บริโภค รู้สิทธิ เข้าถึงสิทธิที่ได้รับการคุ้มครอง 


------------------------------
สภาองค์กรผู้บริโภค ติดต่อทางอีเมลล์:  [email protected]
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522:    https://bit.ly/3nxo91k
พ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562:   https://bit.ly/3u5ckBN
ท่านสามารถติดตามฟังรายการภูมิคุ้มกัน รายการเพื่อผู้บริโภค รายการที่จะให้ข้อมูลข่าวสาร และแนวทางการแก้ปัญหาผู้บริโภค ทาง www.thaipbspodcast.com  และแอปพลิเคชัน: ThaiPBSPodcast    

วันคุ้มครองผู้บริโภคมีความสําคัญอย่างไร

วันคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องและคุ้มครองผู้ใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ได้รับความเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาเราต้องเผชิญกับเรื่องราวเอารัดเอาเปรียบสารพัด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสังฆทาน ที่มีการบรรจุสิ่งของด้อยคุณภาพ สินค้าหมดอายุ การจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆที่ไม่มีคู่มือ การขายสินค้า ...

สายด่วน สคบ. หมายเลขใด

ท่านสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาหรือร้องทุกข์ที่หน่วยงานดังกล่าวได้โดยตรง ได้ที่ สายด่วน 1426. (ใส่ลิ้งค์ช่องทางร้องทุกข์ออนไลน์ของหน่วยงานดังกล่าว) การรักษาหรือการวินิจฉัยของแพทย์ไม่ถูกต้อง

ใครคือผู้กําหนดสิทธิผู้บริโภคสากล และกําหนดให้มีกี่ประการ (ความรู้ – ความจํา) *

สิทธิผู้บริโภคสากล ถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธุ์ผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์มี 8 ประการดังนี้ - สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย - สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร - สิทธิที่จะได้รับเครื่องมืออุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ใด

พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๔๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม .. ๒๕๔๑ เป็นปีที่๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน