สอบใบประกอบวิชาชีพครู ช่วงไหนบ้าง

วิธีการให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู(1)
แก้ไขข้อมูล 6 พฤศจิกายน 2560

แก้ไขข้อมูล 19 กรกฎาคม 2562

แก้ไขข้อมูล  24 สิงหาคม 2563 

ท่านควรอ่านคู่มือในหน้าเว็บไซต์คุรุสภาประกอบ

- เว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th

- คู่มือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

  1. เรียนหลักสูตรทางการศึกษา4 ปี ที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภา

    เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เมื่อเรียนจบแล้วให้เข้ารับการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

    2. เรียนหลักสูตรทางการศึกษา 5 ปี ที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภา (หลักสูตรนี้มีใช้เฉพาะปีการศึกษา 2557 - 2561)

    หลักสูตรทางการศึกษา คือ หลักสูตรที่มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตเพื่อจบออกไปเป็นครู อาทิ ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ การศึกษาบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ฯ
    ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556  ประกาศใช้ ณ 4 ตุลาคม 2556 มีผลให้หลักสูตรทางการศึกษาใหม่เปลี่ยนเป็น 11 มาตรฐาน 
    และเมื่อจบการศึกษาจะทำการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

    หมายเหตุ อันเนื่องมาจากในปี 2562 ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี มี นายแพทย์ธีรเกียรติ เศรษฐศิลป์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและประธานกรรมการคุรุสภา มีกฏหมายเป็นคำสั่ง คสช. ดูแล และมีนายเอกชัย กี่สุขพันธ์ เป็นประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ  มีมติให้หลักสูตรทางการศึกษาเปลี่ยนเป็น 4 ปี โดยเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2562 และให้ผู้เรียนหลักสูตรทางการศึกษา 5 ปี ที่คุรุสภารับรองให้สามารถรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้เลยโดยไม่ต้องสอบ และให้ผู้เรียนหลักสูตรทางการศึกษา 4 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแทน

    2. หลักสูตร ป.โท วิชาชีพครู  ที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภา
    หลักสูตรนี้ ผู้เรียนควรมีวิชาเอกในระดับปริญญาตรีที่สามารถสอบบรรจุได้ เพราะในการสอบบรรจุใช้วิชาเอกในระดับ ป.ตรีเป็นส่วนใหญ่
    และส่วนใหญ่แล้ว หลักสูตรนี้ รับผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วเข้าเรียน โดยยึดหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นส่วนใหญ่  เมื่อจบแล้ว สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน

    3. ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู(ป.บัณฑิตวิชาชีพครู)  ที่ได้รับการรับรองและมีการจัดการเรียนการสอนตามที่ได้ขอรับรอง

    หมายเหตุ หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ที่เปิดให้ครูทุกสังกัดที่มีหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้าเรียน ซึ่งเปิดสอนทุกปีการศึกษายกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2553  คงเหลือเพียง หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาบุคลากรครูในสังกัดกรมต่างๆ

    หมายเหตุ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 จบแล้วต้องสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และให้สิทธิ์การรับสมัครผู้เข้าเรียนแก่หน่วยผลิตเป็นผู้กำหนด แต่เมื่อเรียนแล้วต้องได้รับมาตรฐานครบตามที่คุรุสภากำหนด

    หลักสูตรนี้สำหรับหน่วยงานผู้ใช้ครูระดับกรมเป็นผู้สร้างโครงการพัฒนาบุคลากรครูผู้สอนของหน่วยงานในสังกัด
    ผู้เรียนต้องเป็นครูผู้สอนในโรงเรียน ที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา

    หลักสูตรนี้ไม่มีประจำ เปิดขึ้นตามความต้องการของหน่วยผู้ใช้ครู

    ในการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ครั้งที่ 8/2563 วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 คณะกรรมการมีมติไม่เห็นชอบให้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู(ป.บัณฑิต) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป  ทำให้สถาบันการผลิตที่ต้องการส่งหลักสูตร ป.บัณฑิต เพื่อขอรับรอง ไม่สามารถทำได้แล้ว ส่วนสถาบันผลิตที่ขอรับรองไปก่อนหน้านั้นก็เปิดตามปกติ จนกว่าการรับรองจะสิ้นสุด ซึ่ง จะเปิดหรือไม่เปิดก็ได้

    ข้อมูลเดิม...ปัจจุบันไม่มีแล้ว

    "เรื่องเก่า" ของมาตรฐานวิชาชีพเดิม คือ 9 มาตรฐาน ให้ท่านอ่านเพื่อเป็นข้อมูลนะคะ (ระหว่างปี 2546 - 2557)

    1.หลักสูตรทางการศึกษาเดิม (4 ปี) หรือหลักสูตรทางการศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรอง ทำดังนี้ (ยกเว้น ผู้ที่เป็นครูอยู่ก่อน 12 มิถุนายน 2546)

    ( (2.1)  หลักสูตรทางการศึกษา 4 ปี หรือ หลักสูตรทางการศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรอง หรือไม่ถูกต้อง  (2.2) ไปเทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา เมื่อเข้าช่องทางนี้ ประสบการณ์สอนที่มีมาไม่นับ ต้องไปหาประสบการณ์ใหม่ ซึ่งระหว่างนั้น สามารถหาประสบการณ์ใหม่ ในรูปของสัญญาจ้าง ตำแหน่งครูผู้สอน เป็นเวลา 1 ปี  (2.3) เทียบโอนครบ 9 มาตรฐาน ดำเนินการขึ้นทะเบียน "ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน" ถ้าไม่ครบ 9 มาตรฐาน ให้นำมาตรฐานที่เหลือไปทดสอบความรู้ฯ ต่อ แล้วนำมารวมกันให้ครบ 9 มาตรฐาน 2.4 ครบ 9 มาตรฐาน ขึ้นทะเบียน "ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน" (2.5) มีใบอนุญาตปฏิบัติการสอน + ประสบการณ์สอนในตำแหน่งครูผู้สอน 1 ปี ขึ้นทะเบียน "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" ต่อไป)

    ข้อความข้างต้นในวงเล็บนี้ เกิดขึ้นก่อน 4 ตุลาคม 2556

    ขณะนี้ เหลือเพียง ให้ผู้ที่เข้าเรียนก่อนวันที่ 4 ตุลาคม 2556 แล้วจบหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม 2556 โดยจบไม่เกิน 1 ปี ให้เข้าช่องเทียบโอนความรู้ฯ ได้ แต่จะต้องขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แล้วเสร็จภายใน 3 ตุลาคม 2561

    2.หลักสูตรการศึกษาอื่น เรียก ปริญญาตรีอื่น หรือ ป.ตรีอื่น ต้องทำคุณสมบัติเพื่อเข้าสู่วิชาชีพดังนี้

    เว็บไซต์ ก.ค.ศ. http://www.otepc.go.th/
    ลิงค์ตรวจสอบวิชาเอกที่เปิดสอบ http://203.146.44.131/qual55/login.php

    ( 2.1 ป.ตรีอื่น ที่มีวิชาเอกสำหรับบรรจุ (ตรวจสอบที่เว็บไซต์ ก.ค.ศ.)  2.1.1 คุณวิุฒิปริญญาตรีอื่น  2.1.2 ไปเทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา เมื่อเข้าช่องทางนี้ ประสบการณ์สอนที่มีมาไม่นับ ต้องไปหาประสบการณ์ใหม่ ซึ่งระหว่างนั้น สามารถหาประสบการณ์ใหม่ ในรูปของสัญญาจ้าง ตำแหน่งครูผู้สอน เป็นเวลา 1 ปี  2.1.3 เทียบโอนครบ 9 มาตรฐาน ดำเนินการขึ้นทะเบียน "ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน" ถ้าไม่ครบ 9 มาตรฐาน ให้นำมาตรฐานที่เหลือไปทดสอบความรู้ฯ ต่อ แล้วนำมารวมกันให้ครบ 9 มาตรฐาน  2.1.4 ครบ 9 มาตรฐาน ขึ้นทะเบียน "ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน"  2.1.5 มีใบอนุญาตปฏิบัติการสอน + ประสบการณ์สอนในตำแหน่งครูผู้สอน 1 ปี ขึ้นทะเบียน "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" ต่อไป  2.2 ปริญญาตรีอื่นที่ไม่มีวิชาเอกสำหรับการสอบบรรจุ)

    หมายเหตุ ข้อความในวงเล็บนี้ เกิดก่อน 4 ตุลาคม 2556 ปัจจุบันนี้เหลือเพียงผู้ที่เรียนอยู่ก่อน 4 ตุลาคม 2556 และจบหลัง 4 ตุลาคม 2556 ไม่เกิน 1 ปี เท่านั้น ที่จะเข้าช่องทางการเทียบโอนความรู้ฯ และเมื่อเข้ามาแล้ว จะต้องขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แล้วเสร็จภายใน 3 ตุลาคม 2561 เท่านั้น

    ยกเลิก การเทียบโอนความรู้ฯ 

    - การเทียบโอน ชื่อเต็ม การเทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนหลักสูตรทางการศึกษาในภาพที่ 2 ปัจจุบัน การเทียบโอนความรู้ฯ ได้ยุติลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ตามข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2556

    ยกเว้นผู้ที่เรียนอยู่ก่อนข้อบังคับนี้ประกาศใช้ สามารถยื่นได้ภายในเวลา 1 ปี นับจากวันที่สำเร็จการศึกษา

    และจะต้องขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แล้วเสร็จภายใน 3 ตุลาคม 2561

    ต่อมาได้ขยายให้ขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 3 ตุลาคม 2563

    - การทดสอบ ชื่อเต็ม การทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา เหมาะสำหรับ ป.ตรีอื่นhttp://www.ksp.or.th/ksp2009/th/download/index.php?gid=18

    การทดสอบความรู้ฯ ได้ยุติลงตามข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2556 คงเหลือเพียงการดำเนินให้ผู้ที่อยู่ในกระบวนการเทียบโอนความรู้/ทดสอบความรู้ฯ ที่ยังไม่ครบ 9 มาตรฐาน ได้กระทำตนให้ครบโดยการอบรมความรู้ฯ แต่จะมีเวลาเพียง 5 ปี นับจากข้อบังคับใหม่ประกาศใช้เท่านั้น

    หมายเหตุ ขณะนี้ไม่มีกระบวนการเทียบโอนความรู้ฯ ทดสอบความรู้ เพื่อให้ได้ 9 มาตรฐาน ผู้ซึ่งได้รับมาตรฐานครบ 9 มาตรฐานและขึ้นทะเบียนใบอนุญาตปฏิบัติการสอนเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แล้วเสร็จภายใน 3 ตุลาคม 2562

    ขณะเดียวกัน ในการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพครั้งที่ 8/2563 วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563  เห็นชอบให้ขยายเวลาการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในผู้ที่กำลังปฏิบัติการสอนอยู่แต่ไม่ครบ 1 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2563  เมื่อปฏิบัติการสอนครบก็ให้นำประสบการณ์สอนที่ถูกต้องนั้นมาประเมินเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต่อไป

    ผู้เขียนได้พยายามที่จะเขียนอย่างง่ายให้ เท่าที่โอกาสและข้อมูลจะเอื้ออำนวย ขอความกรุณาผู้อ่านอ่านโดยละเอียดก่อนตั้งคำถามนะคะ

    ทั้งนี้ผู้เขียนขอใช้สิทธิ์ไม่ตอบคำถามกรณีที่ผู้ถามตั้งคำถามโดยไม่อ่านเนื้อหาที่ผู้เขียนได้เขียนไว้แล้ว

    และขอความกรุณาผู้ตั้งคำถามทุกท่าน โปรดใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในการตั้งคำถามด้วยนะคะ

    สามารถติดตามความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพของผู้เขียนได้อีกทางที่ facebook ชื่อ Somkamol Srisungnern ลิงค์นี้นะคะ https://www.facebook.com/napashl

    แก้ไขเมื่อ

    21 สิงหาคม 2555

    6 มิถุนายน 2556

    4 มกราคม 2557

    29 พฤษภาคม 2560

    6 พฤศจิกายน 2560

    19 กรกฎาคม 2562

    24 สิงหาคม 2563

    สอบใบประกอบวิชาชีพครู มีทุกปีไหม

    สอบเอาใบประกอบวิชาชีพครู ต้องสอบให้ผ่าน60% ทุกวิชา ถ้าไม่ผ่านวิชาใด วิชาหนึ่ง ก็จะไม่ผ่าน ไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพครู ก็ต้องรอปีต่อไป สมัครสอบจนกว่าจะผ่าน แต่ถ้าเรียนสายครู โดยตรง จะได้สอบเอาใบประกอบวิชาชีพครู ตั้งแต่ปี2 แล้วมีสิทธิ์ได้ใบประกอบ หลังจากเรียนจบแล้ว

    สอบใบประกอบวิชาชีพครู 2565 มีอะไรบ้าง

    กำหนดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ฯ ในวันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2565. โดยวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.30 – 11.00 น. สอบวิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เวลา 12.30 – 14.00 น. สอบวิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เวลา 15.00 – 16.30 น.สอบวิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

    สอบใบประกอบวิชาชีพครู ที่ไหนบ้าง

    15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 13:57 น. 15ก.พ.64-คุรุสภาพร้อมสอบตั๋วครู 5 สนาม กทม.ขอนแก่น สงขลา เชียงใหม่ นครราชสีมา "ดิศกุล" เผยไอเดีย จะสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) แล้วให้สถาบันผลิตครู นำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนต่อไป

    ใครต้องสอบใบประกอบวิชาชีพครู

    คำถาม : การสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใครต้องสอบ? คำตอบ : นิสิต/นักศึกษา ในหลักสูตรทางการศึกษาที่คุรุสภารับรอง(ยกเว้นหลักสูตรผู้บริหาร) ที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป