ธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นในสมัยใด

ธนาคารออมสิน

การก่อตั้งธนาคารออมสิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มกิจการออมสินขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ณ วังที่ประทับของพระองค์เอง ตั้งแต่ยังมิได้ทรงครองราชย์ ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชย์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้มีพระราชดำรัสสั่งให้ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ ดำเนินการตั้งคลังออมสินขึ้นให้ถูกต้อง โดยให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการร่างกฎหมาย และกฎข้อบังคับ เพื่อทูลเกล้าฯ เสนอเป็นพระราชบัญญัติ และประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖

ธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นในสมัยใด

ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เมื่อคลังออมสินของรัฐบาลเป็นประโยชน์แก่ประชาชน และประเทศชาติมาก กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จึงได้ขยายกิจการของคลังออมสินไปตามเมืองต่างๆ ตามต่างจังหวัด ทำให้จำนวนผู้ฝาก และจำนวนเงินที่ฝากกับคลังออมสินเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้เปลี่ยนรูปการจัดการใหม่ เพื่อให้คลังออมสินเจริญก้าวหน้าขึ้น โดยโอนกิจการคลังออมสินให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งมีที่ทำการอยู่ทั่วไป รับไปดำเนินการแทนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นต้นมา ทำให้คลังออมสินเป็นที่นิยมของประชาชนกว้างขวางขึ้นอีกเป็นอันมาก ทั้งจำนวนผู้ฝาก และจำนวนเงินฝากได้เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลในสมัยต่อมาได้ปรับปรุงแยกคลังออมสินเป็นองค์การอิสระเต็มรูปแบบ เป็น "ธนาคารออมสิน" โดยออกพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อเป็น กรอบในการดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบันนี้
ธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นในสมัยใด

สลากออมสินพิเศษ การดำเนินงาน

การดำเนินงานของธนาคารออมสิน โดยหลักการทั่วไปแล้ว เป็นเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ คือ การรับฝากเงิน ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญ ของการได้มาของเงินทุน และการให้กู้ยืมเป็นทางใช้ไปของเงินทุน เพื่อก่อให้เกิดรายได้ นำมาชำระดอกเบี้ยเงินรับฝากจากประชาชน

ธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นในสมัยใด

กระปุกออมสินรูปแบบต่างๆ ของธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินให้บริการรับฝากเงินจากประชาชน โดยมุ่งให้บริการรับฝากเงินแก่ผู้ฝากเงินรายย่อย ส่งเสริมการออมทรัพย์อย่างกว้างขวางในกลุ่มนักเรียน และประชาชนโดยทั่วไป มีบริการเงินฝากให้เลือกหลายประเภท ที่นอกเหนือจากเงินฝากประจำ เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากเผื่อเรียกแบบใช้เช็คสั่งจ่ายแล้ว ยังมีเงินรับฝากประเภทอื่นอีก เช่น เงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิต และครอบครัว ที่มีลักษณะเป็นเงินฝากรวมกับประกันชีวิต เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต และการศึกษา เป็นเงินฝาก เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของผู้เยาว์ ที่อยู่ในอุปการะ นอกจากบริการที่เป็นเงินฝากแล้ว บริการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน และเป็นที่รู้จักนิยมกันมากในปัจจุบันคือ สลากออมสินพิเศษ ซึ่งมีลักษณะเหมือนล็อตเตอรี่ ราคาฉบับละ ๓๐ บาท แต่ละฉบับมีอายุ ๓ ปี ผู้ถือสลากออมสินพิเศษมีสิทธิ์ถูกรางวัลที่ออกทุกเดือน สลากออมสินพิเศษนี้ มีข้อได้เปรียบตรงที่ว่า ไม่ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม ในช่วงที่ถืออยู่ เมื่อครบกำหนด ๓ ปี ผู้ถือสลากออมสินจะนำไปซื้อเงินคืนได้ ฉบับละ ๓๑ บาท
ธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นในสมัยใด
การส่งเสริมการออมทรัพย์อย่างกว้างขวาง ของธนาคารออมสิน โดยให้บริกรรับฝากเงินแก่พ่อค้าแม่ค้า ในสถานที่ที่ประกอบอาชีพ (ในภาพ เจ้าหน้าที่ของธนาคารให้บริการรับฝากเงินแก่แม่ค้าย่านปากคลองตลาด กรุงเทพฯ)

การให้กู้ยืมของธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นการใช้ไปของเงินทุน ที่ได้จากเงินรับฝากจากประชาชนโดยทั่วไป ได้นำไปให้รัฐบาลกู้ยืม จึงเปรียบเสมือนเป็นแหล่งเงินกู้ของรัฐบาลโดยตรง โดยธนาคารนำไปลงทุน ด้วยการซื้อพันธบัตร และหลักทรัพย์รัฐบาลกว่าร้อยละ ๘๕ ของเงินรับฝากจากประชาชน ส่วนที่เหลือเป็นการให้กู้แก่สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจต่างๆ เงินให้กู้แก่ประชาชนมีบ้างเหมือนกัน แต่เป็นจำนวนน้อยมาก

ธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงินที่เก่าแก่ที่สุด เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น มีสาขาดำเนินการ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทุกจังหวัด รวมทั้งอำเภออีกหลายอำเภอ ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่มีสาขาเปิดดำเนินการ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ธนาคารออมสินมี สาขาทั้งสิ้น ๔๐๐ สาขา นับว่า มากกว่าจำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งแห่งใด ในประเทศไทย

จากสำนักงานธนาคารชาติ...ธนาคารแห่งประเทศไทย 


ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเจริญสัมพันธไมตรีและติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ในปี ๒๓๙๘ โปรดให้ทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศอังกฤษ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศ อันเป็นการเปิดประเทศอย่างกว้างขวางมากขึ้น


เมื่อชาวตะวันตกติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ได้มีความพยายามที่จะขอจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อสิทธิในการออกธนบัตรซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่งดงาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยเห็นว่าชาวต่างประเทศเหล่านั้นคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการมีธนาคารกลางของไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่โครงการก่อตั้งธนาคารกลางก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเวลานั้นยังขาดประสบการณ์และบุคคลากรที่มีความรู้  

ความสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารกลางได้มีขึ้นอีกครั้งภายหลังที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ สืบเนื่องจากการเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ร่าง ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งธนาคารชาติ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงประกาศปิดสภาแทนราษฎร 


ภายหลังเมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงมีการสนับสนุนให้มีธนาคารชาติขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้นำเรื่องเข้าหารือกับ นายเจมส์ แบกซ์เตอร์ ที่ปรึกษาการคลังในขณะนั้น ซึ่งให้ความเห็นว่า ยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีผู้รู้ผู้ชำนาญทางด้านการธนาคาร ไม่มีทุน และยังไม่มีระบบธนาคารพาณิชย์ของคนไทยด้วย


รัฐบาลได้ผลักดันเรื่องการตั้งธนาคารกลางอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๔๗๘ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งหลวงวรนิติปรีชาเป็นผู้ร่างขึ้น  เสนอให้ควบรวมบริษัทแบ๊งค์สยามกัมาจล ทุนจำกัด ให้เป็นธนาคารชาติ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียง ๘ มาตรา ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางในเวลานั้นพิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ยังขาดความรอบคอบและรายละเอียดยังไม่ชัดเจน

ต่อมาเมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พลตรีหลวงพิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารชาติขึ้น ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย อธิบดีกรมศุลกากรย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ซึ่งแต่เดิมจะใช้ที่ปรึกษาชาวต่างชาติทั้งสิ้น ในครั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงการคลัง ให้เข้าใจถึงความจำเป็นและเจตนารมณ์ของทางการ ซึ่งในที่สุดก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการช่วยร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติไทยขึ้น นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การตั้งธนาคารกลางของประเทศไทยในที่สุด

ในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารชาติไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ที่ปรึกษากระทรวงการคลังฝ่ายไทยรับผิดชอบในการร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติต่อจากที่ปรึกษาต่างประเทศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว ในที่สุดก็ได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเตรียมการจัดตั้งธนาคารชาติไทยต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย เมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยก็เพื่อเตรียมพนักงานสำหรับการทำงานในธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล

สำนักงานธนาคารชาติไทยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ต่อมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ  สำนักงานธนาคารชาติไทยดำเนินงานได้เพียงปีเศษก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นนำกำลังทหารเข้ามายังประเทศไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น โดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้างานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่อาจยอมให้เป็นเช่นนั้นได้ จึงมอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็นธนาคารกลาง และให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด  พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญและในวันต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ ณ อาคารที่ทำการเดิมของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการพระองค์แรก ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ วังบางขุนพรหมตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้วย้ายมาอาคารสำนักงานใหญ่ที่สร้างขึ้นในบริเวณวังบางขุนพรหมเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕  และในปี ๒๕๕๐ สำนักงานใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่  ที่ก่อสร้างขึ้นในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างวังบางขุนพรหมกับวังเทวะเวสม์ 

ใครเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารออมสิน

1 เมษายน 2456, ประเทศไทยธนาคารออมสิน / ก่อตั้งnull

ออมสินเปิดวันไหนบ้าง

- เปิดทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลาทำการ : 12.00-19.00 น.

ธ.ออมสินอายุกี่ปี

109 ปี (1 เมษายน 2456)ธนาคารออมสิน / อายุnull

วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งธนาคารออมสิน คืออะไร

1.1 ธนาคารออมสิน (Government Savings Bank) เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นธนาคารสำหรับประชาชน โดยมุ่งให้บริการรับฝากเงินแก่ผู้ฝากเงินรายย่อย ส่งเสริมการออมทรัพย์อย่างกว้างขวางในกลุ่มนักเรียนและประชาชนโดยทั่วไป (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)​