พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน

ภาพแห่งความประทับใจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องบนแผ่นดินกำเนิดของ “พระพุทธศาสนา” โดยเฉพาะสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่พระพุทธองค์ ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล

วันนี้ขอนำเข้าสู่ เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย แผ่นดินแห่งการปรินิพพานของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“กุสินารา” หรือ “กุศินคร” เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมืองปาวา เป็นที่ตั้งของ “สาลวโนทยาน” หรือป่าไม้สาละ ที่ พระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
เจ้ามัลละกษัตริย์ ผู้สืบเชื้อสายผู้ปกครองแคว้นมัลละ นครกุสินารา พร้อม มหาราชินี ประทับรถม้าพระที่นั่งร่วมขบวน.

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมขบวนพุทธานุภาพ.

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
คณะสงฆ์ไทย อินเดีย และชาติต่างๆ จำนวนมาก ร่วมในขบวนพุทธานุภาพ อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ สู่พิธีสักการะ ตามราชประเพณีสืบต่อมายาวนานจากสมัยพุทธกาล.

“กุสินารา” ตั้งอยู่ที่ ต.กุสินารา อ.กาเซีย จ.กุศินาคาร์ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศ อินเดีย เคยเป็นราชธานีนามว่า “กุสาวดี” ของ พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์

หลัง พระพุทธองค์ ปรินิพพานแล้ว เมืองกุสินารากลายเป็นเมืองสำคัญ ศูนย์กลางแห่งการสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน เหล่า มัลละกษัตริย์ ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบๆ

สถูปใหญ่คือ มหาปรินิพพานสถูป ซึ่ง พระเจ้าอโศกมหาราช สร้างไว้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มหาสถูปนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของปูชนียสถานอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมาภายหลังในบริเวณนั้น เช่น วิหารปรินิพพาน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางปรินิพพาน อยู่ภายใน โดยมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย

บนแผ่นดินแห่งการปรินิพพานนี้ เมื่อปี 2537 พุทธบริษัทชาวไทยได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมาบนถนนสายปรินิพพาน อยู่กึ่งกลางระหว่าง “สาลวโน-ทยาน” สถานที่เสด็จปรินิพพาน กับ “มกุฏพันธนเจดีย์” สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา เป็นการเฉลิมพระเกียรติการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษาของ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในดินแดนพุทธภูมิ

พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์” พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ประธานในพระอุโบสถว่า “พระพุทธสยัมภูญาณ”

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
นายธวัชชัย ทวีศรี ประธานฝ่ายฆราวาส และ นายพงศ์ฤทธิ์ ศรีสมิต นั่งรถยนต์พระราชทานของ เจ้ามัลละกษัตริย์ ร่วมขบวน.

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในขบวนพุทธานุภาพ ในพิธีถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุอย่างอลังการ.

ความสำคัญและความทรงคุณค่าของวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ หลังจากคณะกรรมการวัดและพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ดำเนินการจัดสร้าง “พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา” ขึ้นมาอีก

โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมี พระบรมราชวินิจฉัยในการเลือกแบบเจดีย์จากแบบร่างที่สถาปนิกทูลเกล้าฯถวาย และทรงมีพระราชวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยได้พระราชทานลายพระหัตถ์ปรับแก้ตัวเรือนธาตุด้วย

ภายใน พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา นี้ เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ และ เส้นพระเจ้าที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทาน

บริเวณใกล้เคียงกันยังมีพระบรมรูปของ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่จัดสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก หล่อด้วยบรอนซ์ ขนาดความสูง 2.30 เมตร น้ำหนักประมาณ 2 ตัน ประดิษฐานอยู่

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
พระราชโอรส และ พระราชธิดา ของ เจ้ามัลละกษัตริย์ ประทับรถม้าพระที่นั่งตามเสด็จในขบวนพุทธานุภาพ.

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
ขบวนพุทธศาสนิกชนจากประเทศไทยที่ไปร่วมพิธีสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ตื้นตันใจแก่ทุกคน.

จากการที่สังเวชนียสถานของการปรินิพพาน เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุที่ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานเสด็จ นิวัตสู่แดนพุทธภูมิ สาธารณรัฐอินเดีย โดยประดิษฐานอยู่ในพระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา

เมื่อปี พ.ศ.2553 วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ จึงได้ดำเนินการจัดให้มีพิธีสมโภชและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 ก.พ. เป็นครั้งที่ 9 ของการจัดงานสำคัญนี้

ตั้งแต่เริ่มจัดให้มีการสมโภช เพื่อให้ชาวพุทธได้มีโอกาสสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุดังราชประเพณีที่มีมาช้านานอย่างใกล้ชิดนี้ ได้บังเกิดความยิ่งใหญ่ความซาบซึ้งใจของชาวพุทธเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปีนี้มีชาวพุทธจากทั่วโลกจากประเทศไทย และชาวอินเดียในท้องถิ่นไปร่วมงานกันล้นหลามเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ตลอดถนนสายปรินิพพานที่ขบวนพุทธานุภาพอันสุดอลังการเคลื่อนผ่าน เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ไปประกอบพิธียังสาลวโนทยาน

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
ขบวนพลช้าง พลม้า และพลข้าราชบริวาร ร่วมขบวนตามราชประเพณี ตื่นตาตื่นใจแก่ชาวอินเดีย.

ที่สำคัญครั้งนี้ เจ้ามัลละกษัตริย์ ผู้สืบเชื้อสายผู้ปกครองแคว้นมัลละ นครกุสินารา พร้อมทั้ง มหาราชินี ราชโอรส ราชธิดา ได้จัดขบวนราชรถเก่าแก่โบราณกว่า 200 ปีจากพระราชวัง มีพลช้าง พลม้า พลข้าราชบริวาร 25 คน เข้าร่วมขบวนแห่ในปีนี้ด้วย

เพื่อเป็นการน้อมบูชา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ เมืองกุสินารา ตามแบบ อย่าง เจ้ามัลละกษัตริย์ ที่ได้จัดงานสมโภชพระบรมศพตลอด 7 วัน ก่อนจะ อัญเชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตกาล

ใน ขบวนแห่พุทธานุภาพ นี้ ได้มีการอัญเชิญเครื่องราชสักการะพระ ราชทาน/ประทาน ของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9, สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

นอกจากนี้ ในขบวนฯมี พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล และเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร อินเดีย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายธวัชชัย ทวีศรี ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐอินเดีย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

พร้อมกันนี้ นายพงศ์ฤทธิ์ ศรีสมิต พ่อเลี้ยงจาก จ.เชียงราย และ นายณรงค์ฤทธิ์ เอี่ยมเจริญยิ่ง ประธานมูลนิธิวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เป็นหัวเรือใหญ่นำทีมชาวพุทธจากไทย ร่วมกับคณะสงฆ์ที่นำโดย พระครูนร-นาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์ ญาณธีโร) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ จัดงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ

จากวันนี้ไปชาวไทยพุทธไม่ควรพลาดที่จะเดินทางไปสังเวชนียสถาน 4 ตำบล โดยเฉพาะ “กุสินารา” นอกจากได้แสวงบุญแล้ว ที่ วัดไทยกุสินาราฯ ยังมีหนังสือ “มหาชนกสถาน” อันทรงคุณค่าไว้ให้เก็บไปเป็นที่ระลึก และรู้ลึกถึงคำสอนอันเป็นอมตะของพระพุทธองค์ด้วย

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน
ขบวนฟ้อนรำจาก จ.เชียงราย ประเทศไทย ร่วมขบวนพุทธานุภาพในพิธีสักการะพระบรมสารีริกธาตุ.

ที่สำคัญสุดๆ ของสถานที่แห่งนี้คือ สถานที่ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทเป็นครั้งสุดท้ายว่า “หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สังขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ”

“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”.

พระพุทธเจ้าปรินิพพานตรงไหน

พระพุทธเจ้า ปรินิพพาน 24.พระพุธเจ้าปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวัน 15 ค ่า เดือน6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของ พุทธศักราช วันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ได้แก่วันวิสาขบูชา

พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ป่าอะไร

กุสินารา หรือ กุศินคร (ฮินดี: कुशीनगर, อูรดู: کُشی نگر, อังกฤษ: Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิง ...

พระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ ป่าที่มีชื่อว่าอย่างไร

สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า"อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละ ...

พระพุทธเจ้าประสูติตรัสรู้และปรินิพพานที่ไหน

เหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ที่เกิดในวันวิสาขบูชา เกิดภายในบริเวณที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล หรือประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน โดยสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงประสูติอยู่ที่ลุมพินีวัน ประเทศเนปาลในปัจจุบัน, สถานที่ตรัสรู้ อยู่ที่ พุทธคยา และสถานที่ปรินิพพานอยู่ที่ กุสินารา ประเทศอินเดียในปัจจุบัน โดย 2 ใน 3 ของพุทธ ...