แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด

ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี (www.dmr.go.th) ระบุว่า แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยการเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ

    1. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ 

    2. เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 แนวคิดคือ
        - แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
        - แผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม

แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด

แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด

ภัยจากแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง?

ภัยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น

    • ความสูญเสียทางตรง ได้แก่ พื้นดินแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทะลายเนื่องจากแรงสั่นไหว ไฟไหม้ ก๊าซรั่ว คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางคมนาคมเสียหาย โรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน
    • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดหรือขัดข้อง การคมนาคมทางบก ทางอากาศชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก มีผลต่อการลงทุนและการประกันภัย เป็นต้น


ส่วนไหนของประเทศที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว?

แผ่นดินไหวส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในแนวของรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ส่วนประเทศไทยนั้นไม่มีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหวเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว แต่นักธรณีวิทยาก็พบว่า ยังมีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวรอยเลื่อนใหญ่อีกหลายแนวที่ยังไม่มีลักษณะคาดว่าจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้หรือไม่ 

ปัจจุบันอันตรายที่เกิดขึ้นจากภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยมักเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดกลาง โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทยได้แก่

    1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ภาคเหนือและตะวันตก ของประเทศไทย
    2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหว เป็นระยะเวลานาน ๆ บริเวณนั้นจะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก
    3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา เช่น บริเวณที่ลุ่ม หรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น


ริคเตอร์ มีความหมายอย่างไร?

ริคเตอร์ คือ การวัดขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) เป็นปริมาณที่สัมพันธ์กับพลังงานแผ่นดินไหว คำนวณขนาดได้จากความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เพื่อบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งที่เกิดหรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์กลางแผ่นดินไหว” ซึ่งในทางทฤษฎีจะไม่มีขีดจำกัดของความรุนแรง แต่ในความเป็นจริงยังไม่มีแผ่นดินไหวใดเกิดขึ้นเกินกว่า 9.0 ริคเตอร์

แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด

แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด

ก่อนเกิดแผ่นดินไหวเตรียมตัวอย่างไร?

    1. เตรียมไฟฉายพร้อมถ่านและกระเป๋ายา
    2. เตรียมเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น ถังดับเพลิง ถุงทราย
    3. อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ
    4. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
    5. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายเมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
    6. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว


ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว...ต้องระวังอะไรบ้าง!

    1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติ อย่าตื่นตระหนก
    2. กรณีอยู่ในบ้าน ให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
    3. กรณีอยู่ในอาคาร หาที่หลบที่ปลอดภัย เช่น หมอบใต้โต๊ะ หรือจุดที่มีโครงสร้างแข้งแรง
    4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา อาคาร และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ
    5. อย่าใช้สิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
    6. หากกำลังขับรถ ให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัย
    7. ห้ามในลิฟต์โดยเด็ดขาด ขณะเกิดแผ่นดินไหว
    8. กรณีอยู่ชายทะเล หากสังเกตเห็นน้ำทะเลลดระดับรวดเร็ว ให้รีบหนีขึ้นที่สูง เพราะอาจเกิดสึนามิ


หลังเกิดแผ่นดินไหว…ปฏิบัติตัวอย่างไร?

    1. หลังเกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบดูว่าตนเองและคนรอบข้างได้รับบาดเจ็บหรือไม่
    2. หากบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำตัวผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ใกล้ที่สุด
    3. หากอยู่ในอาคารที่ได้รับความเสียหายควรรีบออกจากอาคารทันที
    4. ควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ
    5. ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส
    6. หากแก๊สรั่วภายในบ้านให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อระบายอากาศ
    7. ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง
    8. ให้เปิดฟังวิทยุเพื่อฟังคำแนะนำฉุกเฉิน
    9. สำรวจความเสียหายของท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ก่อนใช้
    10. ห้ามเข้าไปมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสี่ยงหรือมีอาคารพัง
    11. อย่าแพร่ข่าวลือ หรือหลงเชื่อข่าวลือ

แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด

แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นบริเวณใด

คุ้มครองบ้านคุณให้ปลอดภัยทุกภัยธรรมชาติ ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ ( ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำ ท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ และภัยจากลูกเห็บ) สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/others ประกันรักษ์บ้าน หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance หรือสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นที่ส่วนใดของโครงสร้าง

แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรง- บริเวณขอบหรือรอยตะเข็บของแผ่นเปลือกโลก (แผ่นธรณีภาค) ในกรณีของประเทศไทย และสุมาตรา แนวแผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวเกาะอันดามัน-นิโคบา ในมหาสมุทรอินเดีย- แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศ ...

แผ่นดินไหวในประเทศไทยมักเกิดขึ้นในบริเวณใด

บริเวณใดในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวสูงกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทยได้แก่ 1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ภาคเหนือและตะวันตก ของประเทศไทย

ภาคใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย พ.ศ. 2548 ได้มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยออกเป็น 5 ระดับ พบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุดของประเทศไทยคือพื้นที่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเมย และรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน

จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่บริเวณใด

แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรงบริเวณ -แนวแผ่นดินไหวของโลก ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ในกรณีของประเทศไทยแนวแผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ๆ ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศเมียนมาร์