ภาพทิวทัศน์ ใน ข้อใด ให้ ความรู้สึก สดชื่น มาก ที่สุด

1. ข้อใดไม่ใช่ต้นกำเนิดของลายไทย
ก. ดอกบัว
ข. เปลวไฟ
ค. ก้อนเมฆ
ง. ดอกรัก

2. ลักษณะของสีน้ำข้อใด ที่ช่วยให้ภาพนุ่มนวล กลมกลืน และมีชีวิตชีวา
ก. ลักษณะเปียกชุ่ม
ข. ลักษณะโปร่งใส
ค. ลักษณะแห้งเร็ว
ง. ลักษณะรุกรานและยอมรับ

3. ภาพทิวทัศน์ที่แสดงความลึกของภาพควรเขียนเส้นทัศนียภาพให้มีจุดรวมสายตากี่จุด
ก. 1 จุด
ข. 2 จุด
ค. 3 จุด
ง. 4 จุด

4. ข้อใดเป็นหลักการเขียนตัวอักษรในงานพาณิชย์ศิลป์
ก. สัดส่วน
ข. เอกภาพ
ค. ความสมดุล
ง. ถูกทุกข้อ

5. ในการสเกตช์ภาพแบบหยาบ ๆ (Rough Sketch) ควรคำนึงถึงสิ่งใด
ก. ความสมดุล
ข. โครงสร้าง
ค. อารมณ์ของเส้น
ง. ถูกทุกข้อ

6. การวาดเส้นรายละเอียด (Drawing Detail) มีลักษณะตามข้อใด
ก. เป็นการวาดเส้นที่เน้นความคมชัด
ข. เป็นการวาดเส้นที่แสดงลายเส้นชัดเจน
ค. เป็นการวาดเส้นที่สวยงาม ให้อารมณ์
ความรู้สึกเป็นสำคัญ
ง. ถูกทุกข้อ

7. ตัวอักษรแบบอาลักษณ์ เหมาะที่จะนำไปใช้กับงานอะไร
ก. บัตรเชิญ
ข. เกียรติบัตร
ค. บัตรอวยพร
ง. ถูกทุกข้อ

8. ใครเป็นผู้ออกแบบตัวอักษรแบบริบบิ้น
ก. ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ข. หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ค. ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ
ง. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

9. ลวดลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่เพิ่มคุณค่าการออกแบบในด้านใด
ก. ความงาม ประโยชน์ใช้สอย มีคุณค่า
ข. ความงาม มีคุณค่า ดึงดูดความสนใจ
ค. ความงาม ประโยชน์ใช้สอย น่าสนใจ
ง. ความงาม ความประทับใจ ประโยชน์ใช้สอย

10. การออกแบบตัวอักษรที่เป็นชุดเดียวกัน ควรมีรูปแบบอย่างไร
ก. มีความสูงเท่ากันทุกตัวอักษร
ข. มีความหนาเท่ากันทุกตัวอักษร
ค. มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทุกตัวอักษร
ง. มีความใกล้เคียงกันและประสานกลมกลืนกันทุกตัวอักษร

11. ตัวอักษรที่นิยมใช้ในงานราชการ คือตัวอักษรรูปแบบใด
ก. ตัวอักษรแบบริบบิ้น
ข. ตัวอักษรแบบหัวกลม
ค. ตัวอักษรแบบประดิษฐ์
ง. ตัวอักษรแบบอาลักษณ์

12. ลวดลายธรรมชาติ หมายถึงข้อใด
ก. ลวดลายที่เกิดจากธรรมชาติ
ข. ลวดลายที่ดูแล้วเป็นธรรมชาติ
ค. ลวดลายที่ลอกแบบจากธรรมชาติ
ง. ลวดลายที่ดัดแปลง ตัดทอน และเพิ่มเติมจากธรรมชาติ

13. ลวดลายรูปทรงเรขาคณิต หมายถึงข้อใด
ก. ลวดลายที่นำรูปทรงเรขาคณิตมาผูกลาย
ข. ลวดลายที่นำรูปทรงเรขาคณิตมาวางเรียงกัน
ค. ลวดลายที่นำรูปทรงเรขาคณิตผสมกับ
ลวดลายธรรมชาติ
ง. ถูกทุกข้อ

14. ข้อใดคือการเขียนภาพสเกตช์ (Sketch)
ก. น้ำหนัก แสงเงา ความคมชัด
ข. การเขียนรายละเอียดของภาพ
ค. การเขียนเส้นรอบนอกของวัตถุ
ง. การเขียนภาพร่างหยาบๆ เพื่อกำหนด โครงสร้าง ขนาด สัดส่วนอย่างคร่าวๆ

15. การเขียนภาพระบายสี หมายถึงข้อใด
ก. การใช้สีหยด
ข. การใช้สีสลัด
ค. การระบายแต้มลงในภาพร่างบนพื้นระนาบ
ง. ถูกทุกข้อ

16. การสร้างงานพาณิชยศิลป์ให้ประสบความสำเร็จ สื่อความหมายได้ชัดเจน จะต้องคำนึงถึงสิ่งใด
ก. การใช้ถ้อยคำ
ข. การเลือกใช้สี
ค. การออกแบบตัวอักษร
ง. ถูกทุกข้อ

17. ข้อใดคือเสน่ห์ของการวาดภาพสีน้ำที่ผู้วาดภาพชื่นชอบมากที่สุด
ก. เปียกชุ่ม สดชื่น มีชีวิตชีวา
ข. วาดง่ายๆ หลากหลายเทคนิค
ค. รุกราน ซึมไหล ตื่นเต้น เร้าใจ
ง. ซึมซาบ สดใส เฉียบพลันทันใจ

18. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์และคุณค่าของการเขียนภาพสเกตช์
ก. ทำให้ภาพมีรายละเอียดชัดเจนขึ้น
ข. ทำให้การจัดองค์ประกอบภาพทำได้ง่ายขึ้น
ค. ทำให้เกิดความฉับไว คล่องตัวในการร่างภาพ
ง. ทำให้เกิดความแม่นยำในเรื่องของ ขนาด สัดส่วน

19. การเขียนภาพประเภทใดไม่จำเป็นต้องใช้หลักการเขียนเส้นทัศนียภาพ
ก. ภาพชีวิตในเมือง
ข. ภาพทิวทัศน์บก
ค. ภาพทิวทัศน์ทะเล
ง. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง

20. Outline หมายถึงข้อใด
ก. เส้นรอบนอก
ข. เส้นร่างโครงสร้าง
ค. เส้นรายละเอียดภายในภาพ
ง. เส้นแสดงน้ำหนัก แสงเงาของภาพ

ภาพทิวทัศน์ ใน ข้อใด ให้ ความรู้สึก สดชื่น มาก ที่สุด

การวาดภาพทิวทัศน์ หรือภาพวิว คือ

       การวาดภาพแสดงลักษณะธรรมชาติของภูมิประเทศที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป เช่น ทุ่งหญ้า ท้องนา ภูเขา ทะเล บ้านเรือน เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพที่มองระยะไกล 

ถ่ายทอดความงามอัน่นาประทับใจผ่านผลงานศิลปะ ด้วยการวาด ถ่ายภาพ การปั้น และอื่นๆ โดยแสดงบรรยากาศที่สวยงาม ทั้งรูปทรง สัดส่วน สีสัน แสงเงา 

ลักษณะการถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ 


1.การวาดภาพแบบเหมือนจริง (Realistic) ก็คือการวาดให้เหมือนจริงทั้งรูปทรง สัดส่วน แสงเงา สี ระยะใกล้ไกล

2.การวาดภาพแบบตัดทอน (Distortion) เป็นการใช้สายตา ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ ลดทอนรูปทรงจากภาพจริงให้เป็นไปตามจินตนาการของจิตรกร        

3.การวาดภาพแบบนามธรรม (Abstraction) เป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกแทนค่ารูปทรงและความเหมือนจริง

1.ภาพทิวทัศน์บก คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนบก บนพื้นดินเป็นหลัก เช่น ท้องนา ทุ่งหญ้า ป่า ต้นไม้ ดอกไม้ แม่น้ำ ฯลฯ 

2.ภาพทิวทัศน์ทะเล คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นทะเลเป็นหลัก เช่น ชายหาด โขดหิน คลื่น เรือ ชาวประมง ฯลฯ        

3.ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง คือ ภาพที่แสดงความงามของอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆอาคาร

ขั้นตอนการเขียนภาพทิวทัศน์

1.สร้างความประทับใจในธรรมชาติก่อนวาดภาพทิวทัศน์ควรเลือกทัศนียภาพที่เราชอบ เพราะความชอบจะสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังที่ทำให้เราสร้างสรรค์งานได้ดีกว่าวาดรูปที่ไม่ชอบ 

2.วิเคราะห์ภาพทิวทัศน์  ใช้สายตามอง คิด และวิเคราะห์รายละเอียดของภาพทิวทัศน์ที่จะวาด ว่ามีรูปร่าง สัดส่วน ลักษณะผิว แสง สี และช่องว่าง ว่ามีลักษณะเช่นไรภาพที่เหมาะแก่การวาดควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเมื่อวิเคราะห์แล้วก็ฝึกวาดแบบร่างก่อนหลายๆครั้ง 

3.เลือกมุมมองและจัดภาพการเลือกมุมมองของภาพสำคัญมาก ซึ่งสามารถหามุมที่ดีได้โดยสร้างกรอบ สนามภาพ ด้วยกระดาษแข็งตัดช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 2 นิ้ว x ยาว 3 นิ้ว >>เพื่อนำแทนกล้องถ่ายรูปไง และหลักง่ายๆที่ภายในกรอบสนามภาพควรมีก็คือ จุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพ

3.1.จุดสนใจหรือจุดเด่น ที่เป็นจุดที่สร้างความสนใจสะดุดตา และควรมีเพียงจุดเดียวทั้งภาพและเนื้อหาที่สื่อออกมา ไม่ควรวางจุดเด่นไว้ตรงกลางเพราะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ 

3.2.เอกภาพ คือ การจัดภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลมกลืนและสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันความสับสน

3.3.ดุลยภาพหรือสมดุล คือ การจัดภาพให้ถ่วงดุลกันพอดี เช่น  - ซ้ายขวาเท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาเหมือนกัน ภาพจะดูน่าเบื่อ 

                                                                             - ซ้ายขวาไม่เท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากัน ซึ่งภาพดูน่าสนใจมากกว่า
                                                                                แบบแรก

3.4.ร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ ในหัวข้อนี้สำคัญมากและมีความยุ่งยากเล็กน้อยจึงขอขึ้นเป็นหัวข้อใหม่นะมุมนี้จะมีจดเด่นชัดมาก เพราะสี แสง และขนาดวัตถุที่แตกต่างจากพื้นหลัง และมีโครงสร้างและพื้นผิวหลังคาที่กลมกลืนกันมุมนี้จะไม่ดีนัก เพราะมีจุดดึงดูดความสนใจหลายจุด ทั้งปราสาท และตึก แต่มีความสมดุลดีมุมนี้ถือว่าสมบูรณ์ เพราะแก้เรื่องจุดเด่นจากรูปที่ 2 ด้วยการขยายกรอบให้เห็นปราสาทมากขึ้นช่วยให้เห็นเด่นขึ้น และมีสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เท่ากันแต่มองดูแล้วเท่ากัน ทำให้ภาพไม่น่าเบื่อ

           การร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ Perspective เส้นทัศนียภาพ คือ เส้นที่ช่วยให้การวาดภาพบนระนาบ 2 มิติ ดูเป็นภาพ 3 มิติ มีความเหมือนจริง คือ มีความกว้าง ความยาว และความลึก เพื่อแสดงให้เห็นว่าวัตถุที่มีขนาดเท่ากัน ถ้าวางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันจะมีขนาดต่างกันด้วย เช่น เสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ดูใหญ่กว่าที่อยู่ไกลตา 

ขั้นตอนการร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ


1.เขียนเส้นระดับสายตา (HL Horizontal Lline) : เป็นเส้นที่อยู่ในระดับเดียวกับตา หรือจะเป็นเส้นขอบฟ้า เส้นที่แบ่งท้องฟ้ากับพื้นน้ำ 

2.หาจุดรวมสายตา (VP Vanishing Point) : หาได้โดยการร่างเส้นจากโครงสร้างของวัตถุุที่อยู่ในภาพไปยังเส้นระดับสายตา ซึ่งช่วยสร้างภาพวัตถุที่จะวาดให้มีระยะและขนาด
                                                         ต่างกัน

3.วาดรายละเอียดของวัตถุ เมื่อร่างเส้น HL และเส้นที่มุ่งไปหาจุด VP แล้ว ก็เริ่มใส่รายละเอียด แนะนำให้เริ่มร่างวัตถุที่มีขนาดใหญ่ก่อนแล้วค่อยๆร่างส่วนย่อย  

หลักการทัศนียภาพ (Perspective)


        การวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ในภาพมีหลักในการวาด คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดเล็ก   

ลักษณะของเส้นต่างๆ ที่ใช้ในการเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective)

1.Ground Plane (GP): แผ่นพื้นที่วางวัตถุแผ่นภาพ (PP) จะต้องวางตั้งฉากกับแผ่นพื้นหรือระนาบเสมอ

2.Horizon Line (HL) : เส้นขอบฟ้า ตั้งอยู่ในแนวระดับตา (Eye Level) เส้นนี้มีความสำคัญมากจะเป็นเส้นที่จุดรวมสายตา (VP) ตั้งอยู่บนเส้นนี้

3.Vanishing Point (VP) : จุดรวมสายตา คือจุดกำหนดที่สำคัญมากในการเขียนภาพ Perspective จุดรวมสายตาจะตั้งอยู่บนเส้นระดับตาในข้อ 2   อาจมีจุดเดียวหรือ 2 จุดก็ได้
                                   ตามชนิดการมองของภาพ Perspective

4.Station Point (SP) : เป็นจุดยืนในการมองไปยังภาพ ซึ่งเน้นเป็นลักษณะของภาพทัศนียวิทยา

5.Ground Line (GL) : เป็นเส้นพื้นที่จดแผ่นภาพเส้นนี้มีความสำคัญในการเขียนภาพ Perspective มากเพราะใช้เป็นที่ตั้งของภาพ Perspective ที่มองเห็น

6.Center of Vision (CV) : จุดรวมสายตาที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาพจุดที่อยู่บนเส้นนี้เรียกว่า Center Point (CV)