วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

๖. วงปี่พาทย์นางหงส์

                วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ประสมขึ้นเพื่อใช้ประโคมในงานอวมงคลโดยเฉพาะ เป็นการประสมระหว่างวงปี่พาทย์กับวงบัวลอย ซึ่งเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงบัวลอย คือ ปี่ชวา ๑ เลา กลองมลายู ๒ ใบ และฆ้องเหม่ง ๑ ใบ การเรียกว่า วงบัวลอย เพราะเมื่อบรรเลงเพลงในชุดประโคมหลังจากเพลงรัว ๓ ลาแล้ว จึงบรรเลงต่อด้วยเพลงบัวลอย จากนั้นจึงบรรเพลงอื่นๆ การประสมวงปี่พาทย์นางหงส์ประกอบด้วย ปี่ชวา กลองมลายูของวงบัวลอย ไม่ใช้ฆ้องเหม่ง ส่วนในวงปี่พาทย์ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีบางชนิดออกไป คือ ปี่ใน ตะโพน กระนั้น วงปี่พาทย์นางหงส์ในหลายพื้นที่ยังคงใช้กลองทัดอยู่

                การที่เรียกวงดนตรีไทยชนิดนี้ว่า "นางหงส์" นั้น เพราะมีแบบแผนการบรรเลงที่ต้องใช้เพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้บรรเลงเฉพาะในงานอวมงคลเท่านั้น 

                วงปี่พาทย์นางหงส์ แต่เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย

๗. วงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์มอญ

                วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่ได้รับรูปแบบมาจากมอญแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จากหลักฐานสมัยกรุงธนบุรี ปรากฎในหมายรับสั่งงานฉลองพระแก้วมรกต ความตอนหนึ่งว่า "หมื่นเสนาะภูบานพิณพาทย์ไทย ๕ รามัญ ๕ ลาว ๑๒"

                เดิมที วงปี่พาทย์มอญเป็นวงดนตรีประจำของชนชาติรามัญอย่างหนึ่ง ซึ่งใช้บรรเลงหลายโอกาส ไม่วาจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคล เช่น ในงานพิธีมงคลต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายมอญ ใช้บรรเลง-ขับร้องบทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง ใช้ประกอบการแสดงลิเก แม้งานฉลองใหญ่โตก็ใช้วงปี่พาทย์มอญบรรเลง ซึ่งคนไทยสมัยโบราณก็ถือเช่นนั้น แต่คนไทยในสมัยปัจจุบันยึดถือกันว่า ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงได้แต่งานศพเท่านั้น ที่เป็นเช่นนั้น คงเพราะด้วยสมัยต่อมาคนไทยได้เห็นปี่พาทย์มอญออกบรรเลงแต่งานพระบรมศพเมื่อออกพระเมรุ ซึ่งปี่พาทย์มอญจะประโคมอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ปี่พาทย์ไทยซึ่งเป็นของหลวงบรรเลงเฉพาะเวลาทรงธรรม์เท่านั้น เมื่อเห็นดังนั้น จึงเข้าใจและเอาอย่างกันมา ต่อเมื่อมีงานศพท่านผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ก็หาปี่พาทย์มอญมาประโคมเป็นเกียรติและยึดถือเป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน อีกประการหนึ่ง อาจด้วยเพราะเสียงของวงปี่พาทย์มอญมีความไพเราะเยือกเย็นระคนเศร้า เหมาะกับการบรรเลงในงานศพ และเครื่องดนตรีก็มีความสวยงาม แกะลวดลาย ลงรักปิดทอง กลมกลืนกับตู้พระธรรมและเครื่องตั้งศพ

                วงปี่พาทย์มอญเป็นวงดนตรีที่นำเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับเครื่องดนตรีมอญ คือ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งมี ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ส่วนเครื่องดนตรีมอญมี ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก โหม่ง ๓ ใบ และมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ ฉิ่ง และฉาบเล็ก  

                วงปี่พาทย์มอญ ได้รับความนิยมมากในไทย รูปขนาดวงได้เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ เพิ่มฆ้องมอญวงใหญ่อีก ๑ ร้าน รวมเป็น ๓ ร้าน เพิ่มฆ้องมอญวงใหญ่และฆ้องมอญวงเล็กอีกอย่างละ ๑ ร้าน รวมเป็น ๔ ร้าน ในปัจจุบัน วงปี่พาทย์มอญเจริญเติมโตมากขึ้น โดยการขยายวงให้ใหญ่ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ มีฆ้องมอญมากถึง ๑๐ - ๑๕ ร้านก็มี บางงานต้องสร้างเต็นท์เพื่อตั้งวงปี่พาทย์มอญโดยเฉพาะ ซึ่งภายหลัง วงปี่พาทย์วงพิเศษดังกล่าว นอกจากนิยมใช้เป็นเครื่องประโคมในงานศพแล้ว ยังเป็นเครื่องประดับเกียรติยศของเจ้าภาพไปในตัวอีกด้วย บางงาน ถ้าผู้ตายเป็นนักดนตรีอาวุโส หรือนักดนตรีที่มีชื่อเสียง จะมีวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษมาบรรเลงหลายวง

                นอกจากการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มฆ้องมอญให้มากขึ้นแล้ว วงปี่พาทย์มอญยังมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องดนตรี เพื่อให้เหมาะสมเป็นวงปี่พาทย์มอญมากขึ้น กล่าวคือ เปลี่ยนแปลงรูปลักษณะของระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็กเสียใหม่ โดยประดิษฐ์ให้มีลักษณะเหมือนฆ้องมอญ เพียงแต่ย่อสัดส่วนลงมา ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู


วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู


วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

                วงเครื่องสาย ถือกำเนิดขึ้นเมื่อในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายหลายชนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ดังปรากฎในกฎมณเฑียรบาลว่า "ร้อง (เพลง) เรือ เป่าขลุ่ย ตีโทนขับรำโห่นี่นั่น" และ "ร้องเพลงเรือ เป่าปี่เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ ดีโทนทับ" ดังนี้ ในสมัยนั้นการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเหล่านี้อาจเป็นลักษณะต่างคนต่างเล่น คงมิได้หมายถึงการประสมวงตามแบบฉบับ จึงไม่พบหลักฐานว่าเครื่องสายมีการประสมวงแต่เดิมตั้งแต่สมัยอยุธยาอย่างไร

                สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประทานอธิบายกำเนิดวงเครื่องสายไว้ว่า "...ผู้ชายบางพวกซึ่งหัดเล่นเครื่องสายอย่างจีน จึงคิดกันเอาซอด้วง ซออู้ ปี่อ้อ เข้าเล่นประสมกับเครื่องกลองแขก เครื่องสายอย่างนี้เรียกกันว่า กลองแขกเครื่องใหญ่..." ซึ่งภายหลังเรียกการประสมเช่นนี้ว่า "เครื่องสายปี่ชวา" แล้วทรงประมาณถึงช่วงเวลาของการกำเนิดวงเครื่องสายว่า "...เห็นจะเกิดขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่ ๔ ด้วยเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ยังถือกันว่าเป็นของเกิดขึ้นใหม่..."

                ทรงประทานอธิบายต่อไปว่า "...ครั้นต่อมาเอากลองแขกกับปี่อ้อออกเสีย ใช้ทับกับรำมะนา และขลุ่ยแทน เรียกว่า มโหรีเครื่องสาย บางวงก็เติมระนาด และฆ้องเข้าด้วย จึงเกิดมีมโหรีเครื่องสายผู้ชายเล่นแทนมโหรีผู้หญิงอย่างเดิมสืบมาจนทุกวันนี้ ที่ผู้หญิงเล่นก็มี แต่น้อยกว่าผู้ชายเล่น แต่การเล่นมโหรีเครื่องสายในชั้นหลังมา ดูไม่มีกำหนดจำนวนเครื่องเล่น เช่น ซอด้วง และซออู้ เป็นต้น แล้วแต่จะมีคนสมัครจะเข้าเล่นเท่าใด ก็เข้าเล่นได้..."

                ภายหลัง เราไม่เรียกวงแบบนี้ว่า "มโหรีเครื่องสาย" แต่เรียกกันว่า "วงเครื่องสาย"และตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๖ มา เมื่อมีผู้นำขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกน และเครื่องอื่นๆ บ้าง เข้าเล่นผสมวง จึกเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสาวผสมออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง ก็เรียกกันอย่างกว้างๆ ว่า "วงเครื่องสายผสม" 

                เสียงของวงเครื่องสายนั้น มีความไพเราะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเมื่อพิจารณาจากธรรมชาติของเครื่องดนตรีที่สังกัดในวงเครื่องสายที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องตระกูลดีดและสี มีเครื่องเป่าประเภทขลุ่ยเข้าร่วมสมทบ ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตเสียงที่ยาวได้อย่างต่อเนื่องแทบทั้งสิ้น จึงทำให้วงเครื่องสายมีลีลาของการบรรเลงบทเพลงประเภท "เพลงกรอ" ได้อย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม วงเครื่องสายก็สามารถบรรเลงเพลงประเภทอื่น เช่น เพลงทางพื้น เพลงลูกล้อลูกขัดได้เช่นกัน 

                ด้านลีลาการดำเนินทำนองนั้น แนวการดำเนินทำนองของ "ซอ" จัดได้ว่าเอกลักษณ์อันโดดเด่น การเคลื่อนที่ของทำนองจากต่ำไปสู่สูงและลงมาต่ำนั้น มีลีลาการสร้างทำนองที่แตกต่างไปจากเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ทั้งนี้ เนื่องจากซอเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของช่วงเสียงหรือพิสัยที่แคบ การเคลื่อนที่ของทำนองจึงหมุนเวียนอยู่ในกรอบของระดับเสียงที่จำกัด อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนที่ของทำนองในวงเครื่องสายลักษณะนี้ กลับกลายเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของวงเครื่องสายได้อย่างดียิ่ง

                เสียงของเครื่องสายนั้น จะใช้ "ทางเพียงออบน" หรือ "ทางนอกต่ำ" โดยใช้ "ขลุ่ยเพียงออ" หรือ "ปี่นอกต่ำ" เป็นเสียงหลักของเสียง เสียงเอกของทางเพียงออบนหรือทางนอกต่ำนี้ อยู่สูงกว่าทางกลางขึ้นมาอีกหนึ่งเสียง (ทางกลาง คือทางที่ใช้บรรเลงประกอบกับการแสดงโขนและหนังใหญ่ ซึ่งเล่นกลางแจ้ง มีเสียงสูง และใช้ปี่กลางเป็นหลักของเสียง)

                แบบแผนของวงเครื่องสายในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่

๑. วงเครื่องสายไทย

                วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรส งานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้ มักเรียนกันสั้นๆ ว่า "วงเครื่องสาย" มี ๒ ขนาด คือ

                ๑.๑ วงเครื่องสายวงเล็ก หรือวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว

เครื่องสายเครื่องเดี่ยว

                วงเครื่องวงเล็ก หรือวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการบรรเลงในห้องที่ไม่กว้างนัก การประสมวงเครื่องสายวงเล็ก มีเครื่องดนตรี ได้แก่

                ซอด้วง ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง เป็นผู้นำวงเครื่องสาย และเป็นหลักในการดำเนินทำนอง เป็นกลุ่มนำเมื่อเล่นลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลื่อม

                ซออู้ ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง หยอกล้อ ยั่วเย้า กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในกลุ่มดำเนินทำนอง เป็นกลุ่มตามเมื่อเล่นลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลื่อม

                จะเข้ ๑ ตัว ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเช่นเดียวกับซอด้วงบรรเลงในทางของจะเข้ เป็นกลุ่มนำเมื่อเล่นลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลื่อม

                ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา ทำหน้าที่ดำเนินทำนองโดยสอดแทรกเสียงโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง สร้างสีสันให้กับบทเพลง เป็นกลุ่มตามเมื่อเล่นลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลื่อม

                โทนมโหรี ๑ ใบ และ รำมะนามโหรี ๑ ใบ เป็นกลองหน้าเดียวทั้ง ๒ ชนิด จะต้องตีให้สอดสลับรับกันสนิทสนมผสมกลมเกลียว ทำหน้าที่บรรเลงทำนองหน้าทับ

                ฉิ่ง ๑ สำรับ ทำหน้าที่ควบคุมอัตราจังหวะของบทเพลง

เครื่องสายเครื่องคู่


                ๑.๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่

                วงเครื่องสายเครื่องคู่ เป็นวงดนตรีที่มีลักษณะเช่นเดียวกับวงเครื่องสายวงเล็กทุกประการ เพียงแต่เพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีเพื่อให้เสียงที่ดังขึ้น การประสมวงเครื่องสายเครื่องคู่ มีเครื่องดนตรีได้แก่

                ซอด้วง ๒ คัน ทำหน้าที่เป็นผู้นำวงเพียง ๑ คัน อีก ๑ คัน เป็นเพียงผู้ช่วย ดำเนินทำนองอย่างเดียวกัน

                ซออู้ ๒ คัน ถ้าสีได้เหมือนกันได้ ก็ให้ดำเนินทำนองอย่างเดียวกัน แต่ถ้าสีเหมือนกันไม่ได้ก็ให้คันหนึ่งหยอกล้อห่างๆ อีกคันหนึ่งหยอกล้อยั้วเย้าอย่างถี่ หรือจะผลัดกันเป็นบางวรรคบางตอนก็ได้

                จะเข้ ๒ ตัว ดำเนินทำนองแบบเดียวกันทั้ง ๒ ตัว

                ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา บรรเลงเหมือนกับวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยวทุกประการ

                ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา ทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลบหลีกปลีกทางออกไป ซึ่งเป็นการยั่วเย้าในกระบวนเสียงสูง

                โทนมโหรี รำมะนามโหรี และฉิ่ง ไม่เพิ่มจำนวน ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว

๒. วงเครื่องสายปี่ชวา

เครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว


                วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นการประสมวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว หรือวงเครื่องสายเครื่องคู่ กับวงกลองแขก ขนาดของวงเป็นไปตามจำนวนผู้เล่นเครื่องสายในวง การประสมวงเครื่องสายปี่ชวานั้น เครื่องดนตรีหลักในวงเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงเครื่องสาย ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา เหตุไม่ใช้ขลุ่ยเพียงออเพราะขลุ่ยหลิบมีเสียงสูงเข้ากับปี่ชวาได้ดี ใช้กลองแขก ทำหน้าที่ดำเนินทำนองหน้าทับ แทนโทนมโหรีและรำมะนามโหรี และฉิ่ง ทำหน้าที่ควบคุมอัตราจังหวะของบทเพลง

                วงเครื่องสายปี่ชวา เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

                การบรรเลงวงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีจะต้องมีไหวพริบและความเชี่ยวชาญในการบรรเลงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะฉิ่ง จะต้องเป็นคนที่มีสมาธิดีที่สุด จึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ เพลงที่วงเครื่องสายปี่ชวานิยมบรรเลงเป็นเพลงโหมโรง ได้แก่ เพลงเรื่องชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ เพลงระกำ เพลงสะระหม่า แล้วออกเพลงแปลง เพลงออกภาษา แล้วกลับมาออกเพลงแปลงอีกครั้ง        

๓. วงเครื่องสายผสม

                วงเครื่องสายผสม เป็นการนำเครื่องดนตรีต่างชาติ หรือเครื่องดนตรีไทยที่มิได้ประจำอยู่ในวงเครื่องสาย มาบรรเลงร่วมกับวงเครื่องสาย เช่น เมื่อนำขิมมาร่วมบรรเลง ก็เรียก "วงเครื่องสายผสมขิม" เครื่องดนตรีต่างชาติที่มักนำมาบรรเลงกับวงเครื่องสายได้แก่ ขิม ไวโอลิน ออร์แกน เปียโน แอ็คคอร์เดียน กู่เจิง เป็นต้น

เครื่องสายผสมไวโอลิน

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

เครื่องสายผสมเปียโน


วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู


วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

                สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายที่มาของวงมโหรีไว้ว่า เป็นการนำวงขับไม้ ซึ่งเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานสมโภชน์ของราชสำนักและวงบรรเลงพิณมาผสมกันเกิดเป็น "วงมโหรีเครื่องสี่" ขึ้นเป็นลำดับแรก ซึ่งบรรเลงโดยผู้หญิงสี่คน จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและเกิดพัฒนาการในการประสมวงเพิ่มผู้บรรเลงและความหลากหลายของเครื่องดนตรีเป็น "วงมโหรีเครื่องห้า" และ "วงมโหรีเครื่องหก" ตามลำดับ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานจากภาพเขียนผนัง และตู้ลายไม้จำหลัก เป็นต้น

                การคัดสรรเครื่องดนตรีในวงมโหรีเกิดขึ้นในราชสำนักอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการเพิ่มเครื่องดนตรีจากวงมโหรีเครื่องหก มาเป็นวงมโหรีเครื่องแปด โดยมีระนาดไม้และระนาดแก้ว แต่เนื่องจากระนาดแก้วเกิดการแตกหักง่าย อีกทั้งเสียงไม่ไพเราะเท่าระนาดไม้ จึงยกเลิกไปและใช้ฆ้องวงแทน ต่อมาได้เปลี่ยนกระจับปี่มาเป็นจะเข้ เนื่องจากจะเข้สามารถบรรเลงได้สะดวก เสียงใส กังวาล ชัดเจน และสามารถสร้างเสียงได้มากกว่ากระจับปี่ จึงมีชื่อว่า "วงมโหรีเครื่องเดี่ยว" แต่เนื่องจากมีการเพิ่มซอด้วงและซออู้เข้าไป จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "วงมโหรีเครื่องสาย"

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดใหม่ คือระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเพื่อใช้ในวงปี่พาทย์ และถูกนำมาประสมในวงมโหรีด้วยเช่นกัน รวมถึงเครื่องดำเนินทำนองทุกชนิดเป็นเครื่องคู่ ทำให้วงนี้มีผู้บรรเลง ๑๘ คน เรียกว่า "วงมโหรีเครื่องคู่"

                ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการประดิษบ์เครื่องดนตรีชนิดใหม่เพื่อใช้ประสมวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก และได้นำเอาเครื่องดนตรีทั้ง ๒ ชนิดนี้ประสมในวงมโหรีเช่นกัน กลายเป็น "วงมโหรีเครื่องใหญ่" 

                เครื่องดนตรี ผู้บรรเลง และระเบียบที่เกิดขึ้นในวงมโหรี ล้วนเกิดขึ้นในราชสำนักทั้งสิ้น จนกลายเป็นความนิยมสูงสุด ทุกราชสำนักจักต้องมีวงมโหรีประจำอยู่

                จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุ่งรัตนโกสินทร์ ได้มีการจัดตั้งวงมโหรีส่วนพระองค์ขึ้น โดยพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรสาทิน) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งเป็นบรมครูแห่งวงการดนตรีไทย ได้รวบรวมบุตรหลานที่เป็นนักดนตรีฝ่ายหญิงมาถวายตัวเป็นข้าราชบริภารของพระนางเจ้ารำไพพรรณี จนกลายมาเป็นวงมโหรีหลวงหญิง โดยทำหน้าที่บรรเลงถวายพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี เช่น ระหว่างเสวย หรือบรรเลงในงานพระราชพิธีต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น

                พัฒนาการทั้งหมดของวงมโหรี แสดงถึงความรุ่งเรือง ความวิจิตร และการคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด อันแสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเครื่องดนตรีไทยที่ถือว่าเป็นเครื่องยืนยันความงดงามของวงได้เป็นอย่างดี คือ ซอสามสาย กล่าวคือแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวงเพียงใดก็ตาม ซอสามสายก็ยังปรากฏให้เห็นจวบจนปัจจุบัน

                วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับขับกล่อม นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล โดยเฉพาะงานมงคลสมรส แต่โบราณใข้บรรเลงกล่อมพระบรรทมสำหรับพระมหากษัตริย์ มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งมีพัฒนาการแบบแผนของวงดนตรีที่เกิดขึ้นในราชสำนัก จึงจัดเป็นวงดนตรีไทยที่มีความไพเราะวงหนึ่ง เหมาะแก่การขับกล่อมโดยแท้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย หากแต่เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ที่นำเข้ามาผสมในวงมโหรีนี้ได้ลดขนาดให้เล็กลง เพื่อให้มีเสียงพอเหมาะกับเครื่องดนตรีในวงเครื่องสาย

๑. วงมโหรีเครื่องสี่

มโหรีเครื่องสี่

                วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นการประสมรวมกันของการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมามาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องดนตรีที่นำมาประสม ได้แก่

                ซอสามสาย ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง และคลอเสียงร้อง

                กระจับปี่ ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก

                ทับ ๑ ใบ (ปัจจุบันเรียกโทน) ทำหน้าที่บรรเลงทำนองหน้าทับ

                กรับพวง ๑ สำรับ (พร้อมขับร้อง) ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อย

มโหรีเครื่องหก

๒. วงมโหรีเครื่องหก

                วงมโหรีเครื่องหก เป็นวิวัฒนาการของวงมโหรีเครื่องสี่ โดยการเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๒ ชิ้น คือ ขลุ่ย และ รำมะนา รวมเป็นเครื่องดนตรีหกชิ้น ได้แก่

                ซอสามสาย ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง และคลอเสียงร้อง

กระจับปี่ ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก

                ขลุ่ย ๑ เลา ทำหน้าที่ดำเนินทำนองโดยสอดแทรกเสียงโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง สร้างสีสันให้กับบทเพลง

ทับ ๑ ใบ (ปัจจุบันเรียกโทน) ทำหน้าที่บรรเลงทำนองหน้าทับ

                รำมะนา ๑ ใบ ทำหน้าที่บรรเลงทำนองหน้าทับร่วมกับทับ ตีให้สอดสลับรับกันสนิทสนมผสมกลมเกลียวกัน

กรับพวง ๑ สำรับ (พร้อมขับร้อง) ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อย

มโหรีเครื่องแปด

๓. วงมโหรีเครื่องแปด

                วงมโหรีเครื่องแปด พัฒนาการมาจากมโหรีเครื่องหก โดยการเพิ่มระนาดไม้ (ระนาดเอก) และระนาดแก้ว อีกอย่างละ ๑ ชิ้น รวมทั้งหมดมีผู้บรรเลง ๘ คน

ซอสามสาย ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง และคลอเสียงร้อง

กระจับปี่ ๑ คัน ทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก

                ระนาดไม้ (ระนาดเอก) ๑ ราง ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง

                ระนาดแก้ว ๑ ราง ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง (ภายหลังถูกเอาออกจากวง แล้วใช้ฆ้องวงมาบรรเลงแทน)

ขลุ่ย ๑ เลา ทำหน้าที่ดำเนินทำนองโดยสอดแทรกเสียงโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง สร้างสีสันให้กับบทเพลง

ทับ ๑ ใบ (ปัจจุบันเรียกโทน) ทำหน้าที่บรรเลงทำนองหน้าทับ

รำมะนา ๑ ใบ ทำหน้าที่บรรเลงทำนองหน้าทับร่วมกับทับ ตีให้สอดสลับรับกันสนิทสนมผสมกลมเกลียวกัน

กรับพวง ๑ สำรับ (พร้อมขับร้อง) ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อย

มโหรีเครื่องเดี่ยว

๔. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว

                วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือวงมโหรีเครื่องเล็ก เกิดขึ้นหลังจากที่มีการเปลี่ยนเอาระนาดแก้วออกแล้วนำเอาฆ้องวงมาบรรเลงแทน เปลี่ยนเครื่องดีดในวงเป็นจะเข้แทนกระจับปี่ และนำซอด้วงกับซออู้มาร่วมบรรเลงด้วย นอกจากนี้ วงมโหรีเครื่องเดี่ยวนี้ยังถูกเรียกว่า "วงมโหรีเครื่องสาย" อีกด้วย เครื่องดนตรีที่นำมาประสมวง ได้แก่

                ซอสามสาย ๑ คัน

                ซอด้วง ๑ คัน

                ซออู้ ๑ คัน

                จะเข้ ๑ ตัว

                ระนาด ๑ ราง 

                ฆ้องวง ๑ วง

                ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา

                โทน-รำมะนา อย่างละ ๑ ใบ (ผู้บรรเลงคนเดียว)

                ฉิ่ง ๑ สำรับ

**หมายเหตุ จากคลิปวิดีโอ จะมีการใช้ระนาดทุ้ม และกรับพวง ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้รับการปรับเปลี่ยนตามความนิยมในวงปี่พาทย์เครื่องหก

มโหรีเครื่องคู่


๕. วงมโหรีเครื่องคู่

                วงมโหรีเครื่องคู่ พัฒนามาจากวงมโหรีเครื่องเดี่ยว ในสมัยรัชการที่ ๓ เครื่องดนตรีในวงมโหรีเครื่องคู่ มีดังนี้

                ซอสามสาย ๑ คัน          ซอสามสายหลิบ ๑ คัน

                ซอด้วง ๒ คัน                ซออู้ ๒ คัน

                จะเข้ ๒ ตัว                    ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา

                ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา            ระนาดเอกมโหรี ๑ ราง

                ระนาดทุ้มมโหรี ๑ ราง   ฆ้องวงใหญ่มโหรี ๑ วง

                ฆ้องวงเล็ก ๑ วง            โทน-รำมะนา อย่างละ ๑ ใบ

                ฉิ่ง ๑ สำรับ                   ฉาบเล็ก ๑ สำรับ  

มโหรีเครื่องใหญ่

๖. วงมโหรีเครื่องใหญ่

                วงมโหรีเครื่องใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ หลังจากการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็กเพื่อใช้กับวงปี่พาทย์แล้ว ยังนำมาประสมในวงมโหรีด้วย เครื่องดนตรีในวงมโหรีเครื่องใหญ่ มีดังนี้

ซอสามสาย ๑ คัน                  ซอสามสายหลิบ ๑ คัน

ซอด้วง ๒ คัน                        ซออู้ ๒ คัน

จะเข้ ๒ ตัว                            ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา

ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา                     ระนาดเอกมโหรี ๑ ราง

ระนาดทุ้มมโหรี ๑ ราง            ฆ้องวงใหญ่มโหรี ๑ วง

                ฆ้องวงเล็ก ๑ วง                     ระนาดเอกเหล็กมโหรี ๑ ราง

                ระนาดทุ้มเหล็กมโหรี ๑ ราง    โทน-รำมะนา อย่างละ ๑ ใบ

                ฉิ่ง ๑ สำรับ                           ฉาบเล็ก ๑ สำรับ

                โหม่ง ๑ ใบ

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู


วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

วงขับไม้ (ขับไม้กล่อมช้าง)


๑. วงขับไม้

                วงขับไม้ เป็นวงดนตรีโบราณ เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ต่อมาได้นำพิณ (กระจับปี่) มาร่วมบรรเลง กลายเป็นวงมโหรีเครื่องสี่

                การขับไม้นี้มักใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร สมโภชช้างเผือก เป็นต้น ปัจจุบัน วงขับไม้ยังคงใช้อยู่เฉพาะในพระราชพิธีขึ้นระวงพระคชาธารเท่านั้น ครั้งสุดท้าย ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีรับและขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญ ๓ ช้าง ณ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑

                เครื่องดนตรีในวงขับไม้ ได้แก่ ซอสามสาย บัณเฑาะว์ (กลองสองหน้าบรรเลงด้วยการไกว) กรับพวง (พร้อมขับลำนำ) 

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

วงสังข์แตร

๒. วงประโคม

                วงประโคม คือ วงดนตรีที่ใช้ประกอบงานพระราชพิธี และแสดงถึงพระราชอิสริยายศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์มาแต่โบราณ แต่เดิมวงประโคมมี ๓ ประเภท ได้แก่ วงสังข์แตร วงปี่ไฉนกลองชนะ และวงกลองสี่ปี่หนึ่ง (ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว)

                ๒.๑ วงสังข์แตร เป็นเครื่องประโคมประกอบพระราชอิสริยายศของพระมาหากษัตริย์ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ประกอบไปด้วย สังข์ แตรยาว (แตรฝรั่ง) แตรงอน ปี่ไฉน กลองชนะ บัณเฑาะว์ และ มโหรทึก

                ๒.๒ วงปี่ไฉนกลองชนะ เป็นเครื่องประโคมประกอบงานพระราชพิธีเช่นเดียวกับวงสังข์แตร ประกอบไปด้วย ปี่ไฉน ๑ เลา สองหน้า (ลูกเปิงมาง) ๑ ใบ กลองชนะ จำนวนเพิ่มขึ้นตามอิสริยายศ บทเพลงที่ใช้บรรเลงอยู่ที่ว่าเป็นพระราชพิธีใด เช่น ทะแยกลองโยน ใช้ในพระราชพิธีขบวนแห่พยุหมาตราทางชลมารคและสถลมารค เป็นต้น

วงปี่ไฉนกลองชนะ

วงปี่ไฉนกลองชนะ บรรเลงเพลง ทะแยกลองโยน

ใช้ในพระราชพิธีขบวนแห่พยุหมาตราทางชลมารคและสถลมารค 


วงปี่ไฉน บรรเลงเพลง พญาโศก


วงประโคมในงานพระราชพิธี

วงสังข์แตรประโคม ต่อด้วยวงปี่ไฉนกลองชนะ บรรเลงเพลง พญาโศก

ในพระราชพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ที่มีผู้ตายมีสายสะพายระดับถึงพลเอก

ดนตรีจะบรรเลงเพลง พญาโศก ทำเพลงยาวสี่ท่อน กลองตี "สามไม้หนี สี่ไม้ไล่"

และในกรณีที่ผู้ตายเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าถึงพระองค์เจ้า

ดนตรีจะบรรเลงเพลง พญาโศก กลองตีจังหวะ "ติ๊งเปิง"

วงบัวลอย

๓. วงบัวลอย

                วงบัวลอย แต่เดิมชื่อ "วงกลองสี่ปี่หนึ่ง" เป็นวงดนตรีที่ใช้ในงานอวมลคงโดยเฉพาะเวลาประชุมเพลิง บ้างเรียก "ตีบัวลอย" ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็น อาจเนื่องจากเสียงเครื่องดนตรีของวงบัวลอยฟังวังเวงมากไป โดยเฉพาะยามค่ำคืน ฟังแล้วรู้สึกวังเวงจนเกือบน่ากลัว อีกประการ อาจเนื่องด้วยเป็นวงดนตรีโบราณ ทำให้บรรเลงแล้วฟังไม่ไพเราะเท่าที่ควร อีกทั้งมีการพัฒนาวงปี่พาทย์นางหงส์ขึ้นมาแทน และปัจจุบันนิยมใช้วงปี่พาทย์มอญเสียเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยเหตุที่ ครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการยอกย่องว่า งานศพใดที่มีวงปี่พาทย์มอญบรรเลง ถือว่าเป็นศพผู้ดี และอีกประการหนึ่งที่ทำให้วงบัวลอยเป็นที่พบเห็นได้ยากด้วยเรื่องของความเชื่อ เนื่องจากวงบัวลอยเป็นวงที่ใช้ในงานอวมงคลโดยเฉพาะ เพลงบัวลอยมักจะเรียนกันในเขตวัดและไม่ให้เล่นพร่ำเพรื่อ ทำให้วงบัวลอยเป็นวงที่สืบทอดกันในวงแคบ

                วงบัวลอย จะบรรเลงในสามโอกาสดังนี้

                ๑. การประโคมย่ำยาม เป็นการประโคมหลังจากพระสวดพระอภิธรรมแล้ว และบรรเลงเป็นระยะด้วย โดยจะประโคมทั้งหมดสี่ยามด้วยกัน ได้แก่ ยามหนึ่ง (สามทุ่ม) ยามสอง (เที่บงคืน) ยามสาม (ตีสาม) และย่ำรุ่ง (รุ่งเช้า) และประโคมแต่ละครั้ง จะเริ่มต้นด้วยเพลงบัวลอย นางหน่าย กระดี้รี นางหงส์ หกคะเมน ไต่ลวด หลังจากนั้นอาจจะเล่นเพลงอื่นๆ ก็ได้

                ๒. การประชุมเพลิง จะบรรเลงในตอนที่ประธานทำพิธีประชุมเพลิง โดยเพลงที่ใช้ ได้แก่ รัวสามลา บัวลอย นางหน่าย รัวคั่น ไฟชุม เพลงเร็ว รัวคั่น และออกเพลงนางหงส์เป็นเพลงสุดท้าย

                ๓. เผาจริง จะใช้เพลงทุบมะพร้าว แร้งกระพือปีก กาจับฝาโลง ชักฟืนสามดุ้น และไฟชุม

                เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงบัวลอย ได้แก่ ปี่ชวา ๑ เลา กลองมลายู ๑ คู่ (แต่เดิมใช้ ๒ คู่) ฆ้องเหม่ง ๑ ใบ

๔. วงอังกะลุง

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

                อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ บรรเลงด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง นับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีที่มาจากประเทศอินโดนีเซีย ในภาษาอินโดนีเซีย เรียกว่า "อังคะลุง" หรือ "อังกลุง" (Angklung) 

                หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๑ เมื่อครั้งที่ท่านได้โดยเสด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดช ขณะเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศชวา

                อังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ ๒ กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียง อังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้นมี ๕ เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ทั้งตัวอังกะลุงและราง ภายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น ๓ กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลง เพิ่มเสียงจนครบ ๗ เสียง มีการพัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการเขย่าแทน นับว่า เป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

                หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวง ณ วัดราชาธิวาส

                วงอังกะลุง แต่เดิมมี ๒ ขนาด ได้แก่

วงอังกะลุง

                ๔.๑ วงอังกะลุง ๕ คน 

                วงอังกะลุง ๕ คน ถือว่าเป็นวงอังกะลุงที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยผู้บรรเลงจะถือคนละ ๒ เสียง นั่งเรียงลำดับ ดังนี้

                        คนที่ ๑ ถือ โด กับ เร

                        คนที่ ๒ ถือ เร กับ มี

                        คนที่ ๓ ถือ มี กับ ซอล (เตรียมเสียง ฟา ไว้ด้วย)

                        คนที่ ๔ ถือ ซอล กับ ลา

                        คนที่ ๕ ถือ ลา กับ โด (เตรียมเสียง ที ไว้ด้วย)

                 เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง และ กลองแขก

                ๔.๒ วงอังกะลุง ๗ คน

วงอังกะลุง ๗ คน ผู้บรรเลงจะถือคนละ ๒ เสียง นั่งเรียงลำดับ ดังนี้

คนที่ ๑ ถือ โด กับ เร

คนที่ ๒ ถือ เร กับ มี

คนที่ ๓ ถือ มี กับ ฟา

คนที่ ๔ ถือ ฟา กับ ซอล

คนที่ ๕ ถือ ซอล กับ ลา

                        คนที่ ๖ ถือ ลา กับ ที

                        คนที่ ๗ ถือ ที กับ โด

เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง และ กลองแขก

                ต่อมา มีการประดิษฐ์อังกะลุงราว ทำให้สามารถเล่นได้หลายเสียงโดยใช้ผู้บรรเลงคนเดียว นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์อังกะลุงที่เทียบเสียงตรงกับเสียงของดนตรีสากล เพื่อใช้บรรเลงบทเพลงที่มาจากตะวันตกอีกด้วย

                ในปัจจุบันวงอังกะลุงเป็นที่นิยมอย่างมากในสถานศึกษาและชมรมต่างๆ เพื่อฝึกสมาธิและความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ และมีการจัดวงแบบพิเศษ โดยเพิ่มจำนวนผู้บรรเลงให้มากขึ้นถึง ๑๔ คน ในการแสดงอังกะลุงแต่ละครั้ง อังกะลุงทุกรางจะถูกประดับด้วยหางนกยูง และชาติ เมื่อผู้บรรเลงเขย่าอังกะลุงหางนกยูงและธงชาติก็จะโบกสะบัดไปตามแรงเขย่าของผู้บรรเลง นับได้ว่าเป็นวงดนตรีไทยที่มีเสียงไพเราะมีเอกลักษณ์และน่าชมเป็นอย่างยิ่ง

๕. วงมหาดุริยางค์ไทย

                วงมหาดุริยางค์ไทย เป็นการปฏิรูปดนตรีไทยในรอบ ๒๒๕ ปีของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะประเพณีของไทยที่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณนั้น ดนตรีไทย เป็นเพียง "องค์ประกอบของพิธีกรรม" เป็นส่วนใหญ่ แต่บัดนี้เป็นที่หน้ายินดียิ่งว่า "วงมหาดุริยางค์ไทย" ได้ปฏิรูปการดนตรี จากดนตรีที่เป็นส่วนประกอบพิธีกรรม มาเป็นวงมหาดุริยางค์ไทย และสามารถ ลบ-ล้าง คำว่าดนตรีเป็นส่วนประกอบให้หมดไปโดยสิ้นเชิง วงมหาดุริยางค์ไทยเป็นการแสดงศิลปะให้ประจักษ์ในคุณค่าของดนตรีอย่างแท้จริง ให้มนุษย์ได้รับคุณค่าสุนทรียรสของศิลปะการดนตรีอย่างทราบซึ้งประทับใจ

                วงมหาดุริงยางค์ไทย เป็นดนตรีบริสุทธิ์เป็นตัวของตัวเอง สามารถตรึงผู้ชม ผู้ฟัง นั่งติดกับที่นั่งโดยมีสมาธิฟังเพลง ได้รับสุนทรียรสจากเพลงไทย เช่นเดียวกับเพลงซิมโฟนี หรือคอนแชร์โตของยุโรป

                ผู้ให้กำเนิดมหาดุริยางค์ไทย คือ อาจารย์ประสิทธิ์  ถาวร ศิลปินแห่งชาติ ต่อมาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านศิลปวัฒนธรรม ได้นำวงมหาดุริยางค์ไทยมาแสดงต่อหน้าประชาชนชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง

วงมหาดุริยางค์ไทย

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู