มรรคมีองค์ 8 ข้อใดสอดคล้องกับหลักศีล

     นี้แลท่านทั้งหลาย อุทาหรณ์ที่นำมาบรรยายให้ฟังนี้ ไม่ใช่ว่าเป็นเพียงเรื่องที่สร้างขึ้น เป็นเรื่องจริง มีตัวตนบุคคลจริงๆ เหตุนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายได้อุตสาหะพยายามประพฤติปฏิบัติร่ำไป จนกว่าจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทาง คือได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนั่นแหละจึงจะหยุดได้ ถ้ายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ตราบใด ก็ยังขึ้นชื่อว่ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ เราจะประมาทไม่ได้ ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

ใจต้องตั้งมั่น เวลาเรารู้สภาวะอะไรทั้งหลาย ใจเรามักจะเคลื่อนไปอยู่ที่ตัวสิ่งที่เรารู้ อย่างตาเห็นรูปใจก็เคลื่อนไปอยู่ที่รูป หูได้ยินเสียงก็เคลื่อนไปที่เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสก็เคลื่อนไป เวลาใจมันคิดใจก็เคลื่อนไปในความคิด เวลาคิดถึงการปฏิบัติอยากปฏิบัติ ใจก็เคลื่อนไปแสวงหาว่าจะดูอะไรดี มันเคลื่อนตลอดเวลาใจมันไม่ตั้งมั่น ใจไม่ตั้งมั่นมันไม่เกิดปัญญา จิตมันไหลไปรวมเข้ากับอารมณ์ หรือจิตเที่ยวแสวงหาอารมณ์ จิตแสวงหาอารมณ์ก็ส่ายไปส่ายมา พอไปเจออารมณ์ที่ชอบใจก็โดดจับเอาไว้ เจออารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็โดดจับเอาไว้อีก ใจก็ถลำลงไป ไม่สามารถแยกตัวเอง ออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้

การฝึกตัวเองให้จิตเป็นผู้รู้ขึ้นมาให้ได้ เป็นเรื่องใหญ่ ส่วนมากก็ทำไม่ค่อยได้ คนไม่เคยรู้จักเลยว่าจิตมันเป็นผู้รู้ได้อย่างไร จิตมีลักษณะรู้อารมณ์ พวกเราไม่เคยเห็นจิตใจ จิตใจหลง จิตใจไหลตลอดเวลา บางทีก็ไปจมไปแช่ ไปยึดถืออยู่ในอารมณ์ต่างๆ หรือไม่จิตก็ดิ้นไปดิ้นมา เที่ยวแสวงหาอารมณ์

เราเป็นนักปฏิบัติ เรารู้ทันจิตใจตัวเอง จิตใจมันดิ้นไปดิ้นมาเราก็รู้ อย่างเราคิดถึงการภาวนา คิดถึงการปฏิบัติ จิตมันจะดิ้นทันทีเลย มันจะไหลๆ ส่ายไปส่ายมา ยังไม่รู้ว่าจะดูอะไรดี พอไปเห็นอะไรน่าสนใจกระโดดตะครุบไว้ จ้องอยู่อย่างนั้น การที่จิตไปจ้องนิ่ง อยู่ในอารมณ์อันเดียวได้สมถะ ได้สมาธิที่เรียกอารัมณูปนิชฌาน ได้สมถะ ทำเรื่อยๆ ไปก็ได้ถึงฌาน ได้ฌาน รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 เรื่องของฌาน จิตมันถลำลงไปเพ่ง นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรามาฝึกให้จิตเป็นผู้รู้ ผู้ดูขึ้นมา จิตตั้งมั่นขึ้นมา จิตที่ตั้งมั่นเรียกว่ามันมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดตั้งมั่น ลักขณูปนิชฌาน ในตำราก็ระบุเอาไว้ชัดว่า อารัมณูปนิชฌาน ลักขณูปนิชฌาน ไม่มีในชั้นพระไตรปิฎก อยู่ในตำรารุ่นถัดมา รุ่นอรรถกถา อรรถกถามาอธิบายตรงนี้ไว้ เพราะว่าพระยุคโน้นท่านคงพบว่าสมาธิมันมี 2 แบบ

สมาธิอันหนึ่ง จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์ที่เป็นรูปก็ได้รูปฌาน สงบอยู่ในอารมณ์ที่เป็นอรูป ก็ได้อรูปฌาน ท่านพบว่าสมาธิชนิดนั้นมันไม่ทำให้เกิดปัญญา สมาธิที่ทำให้เกิดปัญญานั้นต้องเห็นลักษณะ เห็นไตรลักษณ์ได้ บางทีพูดกันย่อๆ ว่าอารัมณูปนิชฌาน เป็นเรื่องของฌาน 8 ลักขณูปนิชฌานเป็นเรื่องของวิปัสสนา เป็นเรื่องของมรรคของผล ตอนที่ทำวิปัสสนาก็ต้องมีจิตตั้งมั่น ตอนที่เกิดอริยมรรคอริยผลก็มีจิตตั้งมั่น มันมีสมาธิชนิดตั้งมั่น ถ้าอ่านเผินๆ ดูเผินๆ ภาวนาแยกแยะสภาวะไม่ออก ไปแปลลักขณูปนิชฌานว่าวิปัสสนากรรมฐาน แปลว่ามรรคเป็นผลอะไรแบบนี้ วิปัสสนาไม่ได้มีแต่ตัวสมาธิ มีองค์ธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่ใช้เดินวิปัสสนา มีองค์ธรรมจำนวนมาก

ตอนเกิดอริยมรรคอริยผล มีองค์ธรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ไม่ใช่มีแต่เรื่องสมาธิ แต่สมาธิเป็นตัวเอก เป็นที่ทำให้องค์ธรรมฝ่ายดีทั้งหลาย ประชุมลงมาที่จิตพร้อมๆ กัน ถือว่าสมาธิเป็นตัวสำคัญก็ใช่ แต่ไม่ใช่ตัวเดียว อย่างเราเจริญภาวนา เราพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาของเราไปเรื่อย สุดท้ายอริยมรรคก็สมบูรณ์ขึ้นมา

ตรงที่อริยมรรคสมบูรณ์ มรรคตัวสำคัญตัวที่หนึ่ง สัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น สอนให้เรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับบังคับไม่ได้ สอนในทางทฤษฎี สิ่งทั้งหลายไม่ได้เกิดลอยๆ ต้องมีเหตุ เพราะมีเหตุอย่างนี้ ถึงมีผลอย่างนี้ เพราะมีผลอย่างนี้ มันมาจากเหตุอย่างนี้ เรื่องของสัมมาสมาธิในภาคปริยัติในเบื้องต้น

มีความเห็นถูกก็มีสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ มีสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น มีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกแล้ว เวลาคิดก็คิดถูก เป็นสัมมาสังกัปปะ คิดด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่คิดด้วยราคะ โทสะ โมหะพาให้คิด เลยเรียกสัมมาสังกัปปะ มีความเห็นถูก มีความคิดถูก เวลาพูดก็พูดถูก เวลาทำก็ทำถูก พูดถูกก็คือตัวสัมมาวาจา ทำถูกก็คือสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่ทำถูก ฉะนั้นมีความเห็นถูก มีความคิดถูก มีคำพูดถูก มีการกระทำถูก มีการเลี้ยงชีวิตถูก เราก็จะสามารถพัฒนาสัมมาวายามะขึ้นมาได้ สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ สิ่งที่เรียกว่าความเพียรชอบ คือเพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พัฒนากุศลที่เกิดแล้วให้งอกงามมากขึ้น มากขึ้น ละเอียดประณีตขึ้น นี่เรียกความเพียรชอบ

 

เงื่อนไขพื้นฐานที่จะทำให้เราลดละอกุศล และเจริญกุศลได้

ถ้าเรามีความคิดผิด มีความเห็นผิด เราพูดไม่ดี เราทำไม่ดี เราเลี้ยงชีวิตไม่ดี มันไม่สามารถที่จะทำให้สัมมาวายามะสมบูรณ์ได้ อย่างเราพูดไม่ดี มันก็กิเลสงอกงาม ไม่สามารถทำสัมมาวายามะได้ เราเลี้ยงชีวิตแบบเบียดเบียนคนอื่น เบียดเบียนสัตว์อื่น เบียดเบียนตัวเอง อาชีพบางอย่างก็เบียดเบียนตัวเองด้วย เบียดเบียนคนอื่นด้วย เบียดเบียนสัตว์อื่นด้วย ถ้าทำอาชีพอย่างนั้นอยู่ จะลดละกิเลส จะเจริญกุศลไม่ใช่ง่าย อย่างเราขายเหล้า ขายเบียร์ เปิดบ่อน เปิดซ่อง เปิดบาร์ ทำให้คนลุ่มหลง กิเลสรุนแรง กิเลสเราก็แรงด้วย มันเบียดเบียนคนอื่น ทำให้คนอื่นมัวเมา ตัวเราเองก็เพลิดเพลินไปด้วย เห็นว่ามันไม่เสียหายอะไร ทำมาหากินไม่ได้ผิดกฎหมาย สิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรมเยอะแยะเลย

สิ่งที่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมายก็เยอะแยะเลย มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน กฎหมายเป็นแค่หลักเกณฑ์ที่จะอยู่กับโลก แต่ศีลธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ ถ้าเราจะพัฒนาจิตใจตัวเองก็ต้องระวัง ไม่ใช่แค่ว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องไม่ให้ผิดศีลธรรมด้วย ไม่ฉะนั้นกิเลสเราจะฟูขึ้นมา กุศลเราจะแฟบลงไป ไม่เจริญขึ้น ฉะนั้นการที่เรามีความเห็นถูก มีความคิดถูก มีคำพูดถูก มีการกระทำถูก มีการเลี้ยงชีวิตถูก ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นช่องทางที่จะทำให้กุศลของเราเจริญ อกุศลจะลดลง สัมมาวายามะก็จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะมาอยู่ๆ จะคิดแต่ว่าเราเจริญสติไปเรื่อยๆ ศีลไม่ต้องรักษา อย่างนี้ใช้ไม่ได้

เจริญสติไปเรื่อยๆ แต่ว่าทำผิดศีลทำผิดธรรมตลอดเวลา ละอกุศลไม่ได้ พัฒนากุศลไม่ได้จริง ฉะนั้นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะทำให้เราละอกุศลได้ เจริญกุศลได้ ก็คือองค์มรรค 5 ตัวแรกนั่นเอง 5 องค์ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก สัมมาสังกัปปะ ความคิดถูก คิดไปด้วยจิตใจที่เป็นกุศล ไม่ได้คิดด้วยโลภ โกรธ หลง คำพูดก็ถูก ถ้าความคิดเราถูก คำพูดมันก็ถูกเอง แล้วถ้าอย่างเราคิด เราไม่ได้คิดด้วยโลภ โกรธ หลง อย่างไรศีลเราก็ดี สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ มันดีเอง การเลี้ยงชีวิต ถ้าเรามีความเห็นถูก เชื่อในกฎแห่งกรรม เวลาคิดเราก็คิดแบบไม่มีโลภ โกรธ หลง ไม่คิดเข้าข้างตัวเอง เวลาจะไปทำมาหากิน สัมมาอาชีวะก็จะเกิด เราไม่ได้คิดแบบไม่รู้ผิดชอบชั่วดี รู้ว่าถ้าเราเบียดเบียนคนอื่น เบียดเบียนสัตว์อื่นนี่ไม่ดี ทำเหตุไม่ดีก็ต้องมีผลที่ไม่ดี

เรามีสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น ก็จะระวังในเรื่องของกรรม เรื่องกฎแห่งกรรม ทำเหตุก็จะต้องได้ผล ทำเหตุดีได้ผลดี ทำเหตุไม่ดีได้ผลไม่ดี ถ้าเรามีอย่างนี้ เวลาคิดขึ้นมา ก็จะคิดไปแบบไม่มีโลภ โกรธ หลง เพราะฉะนั้นคำพูด การกระทำ และการเลี้ยงชีวิตมันก็จะงดงามไปด้วย สะอาดหมดจดไปด้วย พอเราเห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มันก็ง่ายที่จะลดละอกุศลที่มีอยู่ ที่จะปิดกันอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด ที่จะพัฒนากุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นมา ทำกุศลที่เกิดแล้วให้งอกงาม ฉะนั้นการที่ดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง ทั้งความคิด คำพูด การกระทำจำเป็น

บางคนคิดว่าดูจิตๆ ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องทำอะไรเดี๋ยวก็บรรลุมรรคผล บรรลุไม่ได้ องค์มรรคไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นการที่จะต้องมีเงื่อนไข ก่อนที่จะลงมือพัฒนาทางจิต งานพัฒนาทางจิตจริงๆ ก็คือองค์มรรค 3 ตัวหลังนั่นเอง คือส่วนของสัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ สัมมาสติ มีสติที่ถูกต้อง คือสติปัฏฐาน กับสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิตัวนี้ถ้าอยู่ในองค์มรรค จะเป็นสมาธิชนิดลักขณูปนิชฌาน ไม่ใช่สมาธิชนิดสงบซื่อบื้อไปเฉยๆ

พอเราสร้างเงื่อนไขที่ดีแล้ว เราก็มาสังเกตตัวเองไป อะไรที่ทำแล้วอกุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรืออกุศลที่เกิดขึ้นแล้วก็เกิดมากขึ้น เราก็หลีกเลี่ยงเสีย อะไรที่ทำแล้วอกุศลเกิดเราก็ไม่เอา ทำแล้วอกุศลเกิดมากขึ้นเราก็ไม่เอา แต่ถ้าทำแล้วกุศลเกิดขึ้นเราเอา ทำแล้วกุศลพัฒนาขึ้นเราเอา สังเกตตัวเองไปเรื่อยเลย อย่าเข้าข้างตัวเอง ทำอะไรแล้วกิเลสฟูขึ้นมา อันนี้ไม่ใช่ทางแล้ว ถ้าทำแล้วศีล สมาธิ ปัญญาของเราดีขึ้น อันนี้เป็นทาง

สังเกตตัวเองเรื่อยๆ ไป พอเรารู้แล้วว่าเราต้องคอยสังเกตจิตใจตนเอง ไม่ยอมทำตามกิเลส ก็คอยพัฒนาสติไปเรื่อยๆ ถัดจากนั้นเรามาเจริญองค์มรรคตัวที่ 7 คือสัมมาสติ สัมมาสติ คือเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน มีสติระลึกรู้กาย มีสติระลึกรู้เวทนา มีสติระลึกรู้จิตที่เป็นกุศล อกุศล มีสติระลึกรู้ธรรม ธรรมะที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ธรรมะทั้งหลายแหล่ ตรงที่ดูธัมมานุปัสสนา จะดูเข้าไปถึงเหตุถึงผลด้วย ถ้าดูกาย เวทนา จิต จะเห็นแต่ตัวสภาวะ สภาวะของร่างกาย สภาวะของเวทนา สภาวะของจิต ตรงที่ขึ้นธัมมานุปัสสนา มันจะรู้เหตุรู้ผลแล้ว ว่ามันจะเป็นการพัฒนาสัมมาทิฏฐิของเรา จะรู้เลยว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี จะเห็นอย่างนี้

อย่างจะเห็นนิวรณ์ ถ้าเราเห็นตัวนิวรณ์เฉยๆ จะเป็นจิตตานุปัสสนา ถ้าเราเห็นกระบวนการของมันได้ เพราะทำอย่างนี้ล่ะ กามฉันทะที่ยังไม่มี ก็มีขึ้น ที่มีแล้วก็รุนแรงขึ้น เราเห็นนิวรณ์ รู้เหตุรู้ผลของมันด้วย รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ เหตุดีเพราะผลดี เหตุชั่วเพราะผลชั่ว ในธัมมานุปัสสนายังมีเรื่องของโพชฌงค์ 7 สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ มีอุเบกขา สุดท้ายมันไปลงอุเบกขา จะรู้ว่าเพราะอะไรถึงจะเกิดสติ แล้วทำอย่างไรจะเกิดธัมมวิจัย เป็นภาษาที่เท่มาก ธัมมวิจัย ใช้มาก่อนนักวิชาการที่จะทำวิจัย พระพุทธเจ้าสอนวิจัยมาแล้ว วิจัยธรรมะ จะรู้เหตุรู้ผล ฉะนั้นเวลาขึ้นธัมมานุปัสสนา จะเริ่มเห็นอิทัปปัจจยตา เห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นว่าเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี ก่อนจะถึงตรงนั้นมันยาก เราก็มาดูสติปัฏฐานที่ง่ายๆ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิตไปไม่ยากอะไร ดูกาย ดูเวทนาเนืองๆ

ดูกายก็ไม่ใช่ต้องดูกายวิภาค แบบที่พวกหมอเรียน นักศึกษาแพทย์เรียน เห็นกายวิภาคเรียนเยอะแยะไปหมดเลย ไม่จำเป็น พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เรียนกายในกาย กายในกายไม่ใช่กายที่อยู่ข้างใน กายในกายเป็นศัพท์เทคนิค หมายถึงว่าเราเรียนสุ่มตัวอย่าง เรียนแบบสุ่มตัวอย่าง มันถึงเป็นงานวิจัย เรียนแบบสุ่มตัวอย่าง เรียนกายบางอย่าง ถ้าเข้าใจกายที่เรียนแล้ว ก็จะเข้าใจกายทั้งหมด อย่างพระพุทธเจ้าท่านสอนกายานุปัสสนา ท่านสอนรูปที่หายใจออก กายที่หายใจออก กายที่หายใจเข้า รู้สึกไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะเห็น ถ้าปัญญามันเกิดมันก็จะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกไม่ใช่ตัวเรา เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายที่หายใจเข้า ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ถ้าร่างกายที่หายใจออกไม่ใช่เรา ร่างกายที่หายใจเข้าไม่ใช่เรา ร่างกายทั้งหมดก็ไม่ใช่เรา

เห็นไหมเราไม่ต้องเรียนกายวิภาค กระดูกมีกี่ท่อน กล้ามเนื้อมีเท่าไหร่ ไม่จำเป็น อย่างนี้เรียกกายในกาย คือเรียนแบบสุ่มตัวอย่าง แล้วตัวอย่างก็ไม่ได้สุ่มส่งเดช พระพุทธเจ้าท่านยกมาให้เราแล้ว อย่างกายานุปัสสนาท่านก็สอนแบบที่ง่ายๆ เลย อย่างเรื่องกายที่หายใจออก กายที่หายใจเข้า กายที่เดิน นั่ง นอน กายที่เคลื่อนไหว กายที่หยุดนิ่ง อะไรพวกนี้ ดูของง่ายๆ พวกนี้ล่ะ อย่านึกว่าเรียนของง่ายแล้วไม่บรรลุมรรคผล บางคนคิดมากไปก็โมเมเอาว่า เรียนพระสูตรได้แต่สมถะ ได้แต่สมาธิ ต้องเรียนอภิธรรมถึงจะได้ปัญญา อันนี้เกิดจากมโนเอา เห็นพระไตรปิฏกเริ่มต้นจากพระวินัย พระวินัยเรื่องศีล ใครก็เถียงไม่ได้ ลงท้ายด้วยอภิธรรมเป็นเรื่องปัญญา ใครก็เถียงไม่ได้ มีศีล มีปัญญา ตรงกลางคือสมาธิ ยกพระสูตรให้กับสมาธิ เรียนพระสูตรแล้วได้สมาธิ

พระอรหันต์ครั้งพุทธกาลฟังพระสูตรทั้งนั้น คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนออกมา หรือที่พระอรหันต์ สาวกผู้ใหญ่สอนกันมา นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าอยู่ในพระสูตรทั้งนั้นเลย ไม่ได้เรียนอะไรลึกลับเลย อภิธรรม พระพุทธเจ้าเอาไปสอนเทวดา ส่วนที่ท่านสอนมนุษย์จนบรรลุมรรคผลนิพพานกันเยอะแยะนั้น ท่านสอนในสิ่งที่อยู่ในพระสูตรทั้งนั้น ไม่ได้สอนอะไรประหลาดๆ หรอก ฉะนั้นอย่าดูถูกพระสูตร ของง่ายๆ นั่นล่ะ ทำให้คนบรรลุมรรคผลนิพพานมาตั้งเยอะแยะแล้ว

 

เมื่อไม่ทำผิดสุดโต่งไป 2 ข้าง เราจะเดินเข้าทางสายกลางที่ถูกต้อง

เราก็เรียนไปง่ายๆ ไม่ต้องไปเรียนอะไรซับซ้อน ต้องท่องมาก ต้องคิดมาก เรียนแค่ให้ได้หลักของการปฏิบัติเท่านั้น อย่างพระพุทธเจ้าท่านสอนปัญจวัคคีย์ กัณฑ์แรกเลย สอนธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ท่านสอนเริ่มต้นท่านก็บอกว่า มีสิ่ง 2 สิ่งที่บรรพชิตไม่ควรเอา สิ่ง 2 สิ่งที่ผู้ปฏิบัติไม่ควรเอา อันแรกก็คือการปล่อยกาย ปล่อยใจตามกิเลสไป ตามใจกิเลส เรียกว่าย่อหย่อนไป กามสุขัลลิกานุโยค กับการกดข่มบังคับทำกาย ทำใจตัวเองให้ลำบาก ท่านบอกอย่าทำ 2 อย่างนี้ จิตจะเดินในทางสายกลาง ฉะนั้นเริ่มต้นพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนทางสายกลาง แต่เริ่มต้นท่านสอนสิ่งที่ไม่ถูกเสียก่อน สิ่งที่ไม่ถูกมี 2 อย่าง คือย่อหย่อนไป กับตึงเครียดไป พอไม่ย่อหย่อน ไม่ตึงเครียดก็เข้าทางสายกลางง่าย

ท่านก็เลยสอนเรื่องมรรคมีองค์ 8 ไม่ใช่มรรค 8 มรรคมีแค่มรรคเท่านั้น แต่ว่ามีองค์ประกอบ 8 ถึงจะเข้าใจ มรรคมีองค์ 8 อยู่ในทางสายกลางแล้ว จะเข้าถึงทางสายกลางได้ ต้องไม่สุดโต่งหลงไป 2 ข้างนั้นก่อน อย่างเมื่อก่อนหลวงพ่อสอนใหม่ๆ ตั้งแต่ยังไม่บวช ตั้งแต่อยู่สวนโพธิ์ สอนพรรคพวกเพื่อนฝูง สอนลูกศิษย์ลูกหา หลวงพ่อสอน 2 อย่างที่ไม่ให้ทำ เริ่มต้นก็คืออย่าเผลอไป เผลอนั่นคือย่อหย่อนไป ตามกิเลสไป กับอย่าเอาแต่เพ่งเอาไว้ บังคับกาย บังคับใจนิ่งๆ อยู่ ไม่ใช่ของประหลาดอะไร สิ่งที่หลวงพ่อสอน คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน เทศนากัณฑ์แรกก็เริ่มต้นตรงนี้เลย ถ้าตรงนี้ไม่สำคัญท่านไม่เริ่มอย่างนี้หรอก

พอเราไม่ทำผิดสุดโต่งไป 2 ข้าง เราก็เดินเข้าทางสายกลางที่ถูกต้อง เรารู้ทางสายกลาง ก็คือมรรคมีองค์ 8 ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟังเมื่อกี้ พอเรามาถึงสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ มีความเห็นถูก มีความคิดถูก มีคำพูดถูก มีการกระทำถูก การกระทำถูกไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร คือไม่ทำผิดศีลข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 แค่นั้น สัมมาวาจาอย่าไปทำผิดศีลข้อ 4 สัมมากัมมันตะ อย่าไปทำผิดศีลข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 สัมมาอาชีวะ อย่าไปเลี้ยงชีวิต อย่าไปทำมาหากิน ด้วยการเบียดเบียนตัวเอง เบียดเบียนคนอื่น แล้วก็มาพัฒนาสัมมาวายามะ รู้เลยว่าเป้าหมายของเรา ฝึกตัวเองเพื่อจะลดละกิเลส ลดละอกุศล เพื่อพัฒนากุศลขึ้นมา แล้วก็จะพัฒนาให้ดี ไม่ใช่แค่ทำทานถือศีลแค่นั้น ก็ต้องพัฒนาเข้ามาที่จิตที่ใจ

วิธีพัฒนาที่ดี มีสติ เพราะว่าเมื่อใดมีสติ เมื่อนั้นอกุศลที่เคยมีอยู่จะดับไปทันที อย่างจิตเราโกรธ พอเรามีสติปุ๊บ ความโกรธจะดับทันที เรากำลังโลภอยู่ มีสติตัวจริงเกิดขึ้นปุ๊บ ความโลภจะดับทันที ดับอัตโนมัติเลย ฉะนั้นการที่เราฝึกมีสติเนืองๆ มันได้พัฒนาสัมมาวายามะอยู่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มั่นท่านถึงสอนบอกว่า มีสติ คือมีความเพียร สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ มีสติ คือมีความเพียร ขาดสติคือขาดความเพียร เราพยายามมีสติ แต่ไม่ใช่มีสติธรรมดา ถ้าเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เรามีสติปัฏฐาน เป็นสติที่เรียนรู้กาย สติที่เรียนรู้ใจตัวเอง เพราะกายเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น เวทนาความรู้สึกสุขทุกข์ทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น สัญญาความจำได้หมายรู้ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น สังขารความปรุงดี ปรุงชั่ว จิตวิญญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ทั้งหมดคือตัวขันธ์ 5 นั่นเอง เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น

ถ้าเราอยากเป็นคนดีเฉยๆ แล้วมีสติธรรมดา อย่างเราอยากทำบุญใส่บาตร คอยคิดถึงเรื่องที่เป็นกุศลเอาไว้ อย่างนี้เรามีสติธรรมดา แต่ถ้ามีสติปัฏฐานเราถึงจะพ้นทุกข์ได้จริงๆ เดินปัญญาได้จริงๆ จะเห็นตัวกาย ตัวใจ ตัวขันธ์ 5 รูปนามที่ประกอบกันเป็นตัวเรา เอาเข้าจริงเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเราของเรา ฉะนั้นจะเกิดปัญญาขึ้นมา ทีนี้เราสะสม มีสติไปเรื่อย มีจิตเป็นคนรู้คนดูไปเรื่อยๆ สุดท้ายปัญญามันก็เกิด

ฉะนั้นค่อยๆ ฝึกตัวเอง ในตำราท่านสอนบอกว่า สัมมาสติที่สมบูรณ์ จะทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์ขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติเนืองๆ ใจเราไม่ไหลตามกิเลสไปเรื่อยๆ ใจเราก็เด่นดวง ตั้งมั่น มีสมาธิมากขึ้นๆ อัตโนมัติเลย พอใจเรามีสมาธิ ตั้งมั่น สงบ เด่นดวงแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ธรรมฝ่ายกุศลทั้งหลายเรียก โพธิปักขิยธรรม ธรรมะในฝ่ายแห่งการตรัสรู้สมบูรณ์ ธรรมะทั้งหลายในฝ่ายที่จะส่งเสริมการตรัสรู้ จะประชุมลงมารวมกลุ่มกัน รวมกันลงมาที่จิต รวมลงที่จิตดวงเดียวนี้ ด้วยพลังของสัมมาสมาธิ ถ้าจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตจะแกว่งไปแกว่งมา คล้ายๆ เรามีถ้วยอยู่ใบหนึ่งโยกไปเรื่อย โยกๆ จะเอาน้ำร้อนมาใส่ ลวกลงมือไม่ได้ลงถ้วยหรอก นี่ตั้งมั่นมันเป็นที่ประชุม เอาอะไรใส่ลงไปก็ใส่ลงไปได้ ไปรวมกันขึ้นมา รวมพลังขององค์ธรรมฝ่ายกุศลเข้าด้วยกัน ฉะนั้นสัมมาสมาธิที่บริบูรณ์ ทำให้สัมมาวิมุตติเกิดขึ้น คือเกิดมรรคเกิดผลเกิดขึ้น ค่อยๆ ฝึกไป ไม่ใช่เรื่องยากหรอก อยู่ที่เราจะทำไหม

ขั้นแรกต้องรู้จัก เรียนธรรมะเสียก่อน เรียนให้รู้หลักเสียก่อน หลักที่สำคัญก็คือเรื่องของเหตุกับผล สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ กฎแห่งกรรมก็เป็นเรื่องเหตุกับผล ปฏิจจสมุปบาทก็คือเรื่องของเหตุกับผลนั่นเอง ที่ว่าเพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ไม่มี ท่านพุทธทาสท่านเก่งมาก ท่านไปดึงคำว่าอิทัปปัจจยตาออกมาได้ อิทัปปัจจยตา อธิบายว่าเพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ไม่มี กฎแห่งกรรมมันก็คือหลักอันนี้ ปฏิจจสมุปบาทที่ว่ายากนักหนาก็อยู่ในหลักอันนี้ ถ้าเรารู้หลักอย่างนี้แล้วก็จะเชื่อ ทีแรกก็ยังเชื่อด้วยศรัทธา พระพุทธเจ้าสอนมาอย่างนี้ ครูบาอาจารย์สอนมาอย่างนี้ ให้เราทำความดี ทำความดีแล้วมีผลเป็นความสุข อย่าทำความชั่ว ทำความชั่วจะมีผลเป็นความทุกข์

ครูบาอาจารย์สอน พระพุทธเจ้าสอน อาศัยศรัทธาลองทำตามดู พอทำตามดูแล้ว มันเริ่มเห็นผล อย่างเราทำแต่ความดี ไม่ทำความชั่ว จิตใจเรามีความสุข มันมีผลเป็นความสุขจริงๆ สงบสุขขึ้นมาได้ พอเราเห็นผลเราจะยิ่งขยัน ขยันทำความดี ขยันลดละกิเลสไป ความดีก็มีหลายอย่าง หลายระดับ ความดีโลกๆ ทำสังคมสงเคราะห์ เห็นหมาอดข้าวก็เอาอาหารไปให้หมากิน อย่างนี้ก็เป็นความดี แล้วดีเลิศเลย ก็คือการเจริญสติปัฏฐาน รู้กายรู้ใจตัวเอง เพราะตัวนี้วันใดที่เราเห็นขันธ์ 5 นี้ไม่ใช่ตัวเราของเรา ขันธ์ 5 เป็นแค่สภาวธรรมที่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับบังคับไม่ได้ เราจะเข้าใจธรรมะ จะได้ดวงตาเห็นธรรม ฉะนั้นถ้ามีสติ ทำความดีอย่างโลกๆ ไม่มีทางได้ดวงตาเห็นธรรม ต้องทำสติปัฏฐาน รู้ลงที่กาย รู้ลงที่ใจตัวเอง ละความเห็นผิดว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเราได้ ก็ได้ธรรมะ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติก็อยู่ในเรื่องขององค์มรรคนี่ล่ะ ค่อยๆ ฝึกตัวเองไป

เบื้องต้นฟังธรรมะ การฟังธรรมะจะเป็นการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิในภาคทฤษฎี แล้วตรงที่เราเจริญองค์มรรคทั้งหลายที่เหลือไป ในที่สุดเราจะได้สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตระ เป็นผลของการปฏิบัติ สัมมาทิฏฐิตัวจริง ส่วนที่เราฟัง เราสอบเอา จำแล้วไปสอบได้ บอกมีสัมมาทิฏฐิ ยังไม่มี จริงๆ แล้วแค่สัมมาทิฏฐิเบื้องต้น เป็นเบื้องต้นไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่ตัวมรรค มรรคจะเกิดขึ้นจริงๆ ตอนที่เกิดอริยมรรค ก่อนหน้านั้น อย่างพวกเรายังไม่เรียกว่าเกิดอริยมรรค พวกเราส่วนใหญ่เขาเรียกว่าอยู่ในขั้นบุพภาคมรรค คือทำพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาของตัวเองขึ้นมา เป็นเบื้องต้น เพื่อวันหนึ่งจะได้เกิดอริยมรรคเท่านั้นเอง ค่อยๆ ฝึกตัวเองไป มันไม่ใช่เรื่องยากเลย อยู่ที่ความเด็ดเดี่ยว ถ้าเราคิดว่าเราจะสู้จริงๆ เราก็อย่าอ่อนแอแพ้กิเลส กิเลสจะจูงจมูกเราไปทำความชั่วอย่างโน้น ทำความชั่วอย่างนี้ อย่าไปเชื่อมัน

 

รู้ลูกเดียว ไม่พอ

นักปฏิบัติไม่ใช่น้อยอยากได้นิพพาน ประกาศเลยอยากได้นิพพาน แต่ยอมให้กิเลสจูงจมูกไปทำชั่ว แล้วก็หาข้ออ้าง หาคำอธิบายมากมายมาปกป้องกิเลสของตัวเอง อุตส่าห์คิดหาเหตุหาผล โอ๊ย ไม่ผิดหรอก อย่างนี้ไม่ผิดหรอก หาเหตุหาผลมาแก้ตัวให้กิเลส จริงๆ เราตกเป็นทาสของมัน ไปสนับสนุนมันเอง แก้ตัวให้มัน ถ้าเราไม่ยอมเสียอย่าง จิตมันคิดไปทางอกุศล ไม่ยอม มันคิดแล้วมันกระตุ้นจะให้เราพูดชั่ว ให้เราทำชั่ว จะให้เราขี้เกียจปฏิบัติ เราไม่เอาเราไม่เชื่อมัน ถ้ากุศลมันเกิด เกิดมาเล็กๆ น้อยๆ เกิดมาอยู่ๆ แวบหนึ่ง รู้สึกอยากภาวนา อยากภาวนานิดหน่อย รีบบิวด์ (build) เลย กุศลต้องเชียร์ ไม่ใช่ดูรู้อย่างเดียว การปฏิบัติไม่ใช่รู้ลูกเดียว ไม่พอหรอก บางครั้งต้องข่มกิเลส บางครั้งก็ต้องเชียร์ บางครั้งก็ต้องข่มจิตไม่ให้ตามใจกิเลส บางครั้งก็ต้องเชียร์ให้จิตฮึกเหิม บางครั้งก็ต้องป้อนความรู้ความเข้าใจให้มัน มันท้อแท้ก็ต้องเชียร์มันเร้าใจ เวลาภาวนามันมีดีขึ้นมา ก็ต้องรู้จักชมมัน โอ้ ฉลาดขึ้นนิดหนึ่งแล้ว

หลวงพ่อก็ทำ สมัยก่อนไปภาวนากับหลวงปู่ใหม่ๆ วันไหนจิตมันรวมสงบขึ้นมา จิตเป็นผู้รู้ขึ้นมาได้ ดีใจแล้ว ตอนหัดกับหลวงปู่ทีแรก หัดดูจิตๆ ดูอยู่ 7 วัน จิตตั้งมั่นขึ้นมาได้ โอ้ตั้งมั่นแล้ว แวบเดียว จิตไหลไปทำงานต่อแล้ว ไหลแล้วก็แล้วไป ก็ดูของเราอีก ดูไปอีก 5-6 วันตั้งมั่นขึ้นมาอีก คราวนี้ตั้งได้ยาวกว่าเก่า ยาวกว่าเก่านิดหน่อย ทีแรกครั้งแรกแวบเดียวดับ คราวนี้ตั้งเกิดตัวรู้ต่อๆ กันได้ช่วงหนึ่ง ได้สักครึ่งนาที ชมตัวเอง เออ พัฒนาแล้ว พัฒนาแล้ว อดทนไว้ดูต่อไปอีก ต่อไป 3 วันตัวรู้ก็เกิดขึ้นมาได้ 5 นาที ถือว่าพัฒนาแล้ว อีกหน่อยหนึ่งวันก็เกิดตัวรู้อยู่ได้สัก 10 นาที ยกตัวอย่าง หลวงพ่อจำเวลาไม่ได้แล้ว หลวงพ่อฝึกสติไปเรื่อย จิตไหลลงไปรวมเข้ากับอารมณ์แล้วรู้ รวมแล้วก็รู้ พอรวมแล้วรู้เฉยๆ ไม่ต้องไปแก้มัน ถ้านั่งแก้มันนี่วุ่นวายหนักกว่าเก่าอีก จิตไหลไปรวมเข้ากับอารมณ์รู้เฉยๆ พอเรารู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลางจริงๆ มันจะหลุดออกเอง

หลวงพ่อพยายามฝึกตัวเองว่า ถ้าจิตรวมเข้ากับอารมณ์แล้วใน 3 วินาทีต้องหลุดออกมาให้ได้ ทำไมคิดว่า 3 วินาที เคยสังเกตพวกรถคว่ำตาย ก่อนที่จะตายจริงมีเวลา 2-3 วินาที พวกถูกไฟดูดก็เหมือนกัน ร่างกายมันตายแล้ว มันจะตายอยู่แล้ว จิตมันยังทำงานอยู่ มันมีเวลาอยู่ไม่กี่วินาทีหรอกสั้นๆ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดอะไรขึ้น จิตเราดีดตัวตั้งมั่นขึ้นมาได้ อย่างไรเราก็ไปสุคติ แล้วถ้าต้องไปเกิดอีก เราจะเกิดด้วยเหตุ 3 เกิดด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ การภาวนาของเราชาติต่อๆ ไปก็ยิ่งง่ายกว่านี้อีก

เชียร์นะ ให้กำลังใจตัวเอง เคย 7 วันรู้สึกตัวแวบหนึ่งก็ชมแล้ว ต่อมาก็ลดลงๆ เรื่อยๆ ก็พัฒนาจนจิตมันว่องไวมาก จิตหลวงพ่อตั้งแต่เป็นโยม มันเป็นผู้รู้อยู่ เวลามันไหลแวบรู้สึกแล้ว แวบรู้สึกแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านเลยเรียกหลวงพ่อว่าผู้รู้ หลวงปู่สิมเรียกหลวงพ่อว่าผู้รู้ เพราะจิตเรามันตั้งมั่น ก็อยู่ที่ฝึกเอา  ถ้าพวกเราเรียนกับหลวงพ่อมานานๆ หรือรู้จักหลวงพ่อมานานๆ จะรู้จักว่าหลวงพ่อไม่เคยพูดเลยคำว่าฟลุก คำว่าโชคดี คำว่าบังเอิญ ไม่เคยมีเลย ไม่เคยพูดออกมาเลย เพราะจริงๆ ใจลึกๆ ไม่เคยเชื่อเลยโชคดี โชคร้าย ไม่เคยเชื่อมันหรอก บังเอิญไม่มี เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุทั้งสิ้น คำว่าบังเอิญไม่มี

เราค่อยๆ ฝึกตัวเอง สัมมาทิฏฐิจะสะอาดหมดจดขึ้น เราเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ค่อยๆ ฝึกแล้วก็ได้สัมมาทิฏฐิที่แท้จริงขึ้นมา เห็นความจริงว่ารูปนาม กายใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ตัวเราของเราไม่มี มีแต่ความหมายรู้ผิด สัญญาวิปลาส มีแต่คิดผิด เรียกว่าจิตตวิปลาส ก็เลยเกิดความเห็นผิด เรียกว่าทิฏฐิวิปลาส ก็แค่นั้นเอง ถ้าฝึกจนหายวิปลาสแล้วก็ไม่เป็นหรอก ไม่เชื่อเรื่องโชคลาง บังเอิญ ฟลุกไม่มี มีแต่เรื่องกรรม เรื่องการกระทำ กับผลของการกระทำ ฉะนั้นเราอยากดี อยากพ้นทุกข์ เราก็ต้องทำเหตุที่ดี ทำกรรมต่างๆ แบบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ ไม่ทำเพราะโลภ ไม่ทำเพราะโกรธ ไม่ทำเพราะหลง หลงคือไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ตัวร้ายเลย ไม่ใช่แค่ใจหลงไปอย่างนั้น ใจหลงอย่างนั้นก็หลงเหมือนกัน ใจมันฟุ้งซ่าน แต่หลงหัวโจกเลย คือตัวอวิชชา ความไม่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ เป็นหัวหน้าโมหะ

เราค่อยๆ ฝึกๆ ตัวเอง เวลาจะคิดสังเกตดู อะไรอยู่เบื้องหลังความคิด โลภ โกรธ หลงอยู่เบื้องหลังความคิด หรือความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงอยู่เบื้องหลังความคิด ถ้าคิดด้วยความโลภ โกรธ หลง คำพูด การกระทำก็เพี้ยนเอาง่ายๆ การเลี้ยงชีวิตก็เพี้ยนเอาง่ายๆ บางทีก็หาข้อแก้ตัวให้กิเลส เลยจะได้ทำผิดบาป อกุศลได้อย่างสบายใจ คนอย่างนี้เยอะ นักปฏิบัติก็เยอะ เข้าข้างกิเลส

 

ฆราวาสก็ทำมรรคผลนิพพานให้แจ้งได้

สอนโยมบ้าง รู้จักทำทาน อะไรเป็นส่วนเกินในบ้านเรา ก็เอาไปให้คนซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ เห็นหมาเห็นแมวอดๆ อยากๆ ก็ให้ทานมัน เห็นคนลำบากก็ช่วยเหลือ ทำทานอันนี้เป็นเรื่องของวัตถุทาน โกรธเขาก็ยกโทษให้เขา ไม่อาฆาตพยาบาท นี่เป็นทานที่สูงขึ้นแล้ว ไม่ต้องเสียสตางค์ เรียกอภัยทาน อย่างบางคนโกรธกันมากเลย เจอหน้าแล้วกอดกันบอกนี่อภัยทาน แต่ในใจนี่อยากรัดให้แหลกละเอียด อันนั้นไม่ใช่ รู้จักให้อภัย รู้จักแบ่งปันความรู้ที่ถูก แบ่งปันความรู้ที่ถูกต้อง คือตัวธรรมทาน เป็นฆราวาสก็ทำอย่างนี้ ทำทาน ถือศีล ศีล 5 ข้อพอแล้ว

เมื่อกี้พูดเรื่ององค์มรรค ในองค์มรรคก็มีแต่ศีล 5 ที่จริงมีศีล 4 เท่านั้นเอง สัมมาวาจาเป็นศีลข้อ 4 สัมมากัมมันตะเป็นศีลข้อ 1 2 3 ศีลกินเหล้ามันอยู่ที่ไหน ศีลกินเหล้ามันอยู่ที่ว่า ทำแล้วขาดสติง่ายเท่านั้นล่ะ ไม่ใช่ว่าผิดศีลจริงหรอก เพราะฉะนั้นอย่ากินเหล้า ถ้าเหล้าผสมลงไปแล้วทำเป็นยา กินแล้วไม่เมา ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสของเหล้า กินแล้วก็ไม่เมา อย่างนี้ผสมลงไปทำยา พระพุทธเจ้ายังอนุญาตให้พระฉันได้เลย บางคนก็กินยาแก้ไอ กินจนหน้าแดงเลย อย่างนั้นเล่นเล่ห์แล้วเข้าข้างกิเลส บอกกินยา หรือยาดอง ยาดองพระกินไม่ได้ มันมีสี มีกลิ่น มีรสของเหล้า มันทำไม่ได้

ฉะนั้นทำทาน ถือศีลไว้ ศีล 5 นั่นล่ะถือเอาไว้ แล้วก็ฟัง YouTube หลวงพ่อ แล้วก็ดูของจริงในตัวเองไป ฝึกไปเรื่อยๆ มีคนจำนวนมาก ส่งข่าวผ่านมาทางโน้นทางนี้ ขอบคุณหลวงพ่อบอกว่า ได้ฟังธรรมที่หลวงพ่อสอนแล้ว ชีวิตจิตใจมันเปลี่ยนจริง เคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อยลง เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นลง รู้แล้วว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร รู้แล้วว่าทางพ้นทุกข์มันมีอยู่จริงๆ มีอย่างนี้บอกๆ กันมาอย่างนี้ ได้ยินบ่อยๆ บางคนบอกว่าพร้อมจะเป็นพยานให้หลวงพ่อ แต่หลวงพ่อนึกถึงคนนี้แล้ว ยังไม่พร้อมหรอก เขานึกเองว่าพร้อมจะเป็นพยานแล้ว ยังภาวนาไม่เป็น

ค่อยๆ ฝึก ฝึกตัวเองทุกวันๆ สงเคราะห์คนอื่น สัตว์อื่นได้ทำไป ตัวเองไม่ต้องเดือดร้อน รักษาศีล ไม่สิ้นเปลือง ประหยัดดีเสียด้วยถือศีล อย่างบ้านเมืองเราที่วุ่นวายอยู่นี่เพราะความเห็นแก่ตัวของคนส่วนน้อยจริงๆ เห็นแก่ตัว ไปเอาคนต่างด้าวเข้ามาแบบนี้ กะจะใช้แรงงานราคาถูก หรือบางทีไม่ถูก แต่จริงๆ แล้ว คือคนไทยไม่ยอมทำงาน คนไทยบอกว่างงานๆ ไม่ว่างจริงหรอก ไปดูตามโรงงานต่างๆ ประกาศรับคนเยอะแยะเลย ไม่มีคนมาสมัคร พวกเจ้าของกิจการก็ต้องไปหาคนต่างด้าวมาทำ หามาไม่พอ เห็นนอกระบบพาเข้ามา หลวงพ่อเตรียมปิดวัดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนแล้ว แต่รอให้ระบาดเสียก่อน ทำไมรู้ว่าจะมี พระที่อยู่ตามชายแดนท่านมาเล่าให้ฟัง ว่าขนต่างด้าวเข้ามากันเยอะแยะเลย พระพูดไม่ได้เดี๋ยวถูกฆ่าตาย ก็รู้แล้วว่าต้องระบาดแน่ หลวงพ่อก็คอยฟังข่าวเรื่อยๆ พอมันบูมขึ้นทางสมุทรสาครก็รู้แล้ว กระจายออกมาแล้ว ก็ปิดวัดไปก่อน อย่างน้อยไม่มาติดเชื้อที่วัดเรา

มาที่นี่ต้องสะอาดไม่ติดเชื้อ สะอาดทางกาย มาแล้วติดเชื้อไป สกปรกแล้ว สะอาดวาจา สะอาดทางใจเรื่องใหญ่ เข้าวัดก็มาทำความสะอาดของตัวเอง ร่างกายสำคัญน้อยที่สุด สะอาดใจสำคัญที่สุด สะอาดวาจา สะอาดใจ บางคนมาวัด ร้าย ใจก็ร้าย ปากก็ร้าย การกระทำก็ร้าย ไม่มีประโยชน์ ถ้ามาแล้วรู้จักว่าหน้าที่ของเรา คือลด ละกิเลส เจริญกุศล ตั้งหลักไว้เลยชีวิตเรา เราจะลดละกิเลส เราเจริญกุศล ฆราวาสก็ทำได้ เราจะลดละกิเลส เราเจริญกุศล ตั้งใจไว้อย่างนี้เลย กุศล หรือกิเลสมันเกิดที่ไหน? มันเกิดที่จิตใจเรา คอยสังเกตจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดขึ้นในใจเรา เราคอยรู้ไว้ พอกิเลสมันดับ กุศลก็เกิดเอง ค่อยๆ พัฒนาไป ใจก็ค่อยๆ ประณีต สะอาดหมดจดมากขึ้นๆ ถึงจุดหนึ่งก็พ้นทุกข์ได้

ฆราวาสก็ทำมรรคผลนิพพานให้แจ้งได้ ฆราวาส มีมาตั้งแต่พุทธกาลนั่นล่ะ ฆราวาสก็ทำได้ เป็นพระอรหันต์ยังมีเลยตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีตั้งหลายองค์ เราเองก็เหมือนกับคนยุคโน้นล่ะ ไม่ได้ต่างกันหรอก อยู่ที่ว่าใจเราเด็ดเดี่ยวพอไหม เราก็จะทำมรรคผลให้เกิดได้ ทั้งๆ ที่เป็นฆราวาสนี่ล่ะ ไม่ได้มีข้อห้ามสักหน่อยว่า ฆราวาสห้ามบรรลุมรรคผล พระเท่านั้นบรรลุมรรคผลได้ ไม่ใช่ ถ้าใครเจริญศีล สมาธิ ปัญญาได้มากพอ ได้สมบูรณ์พอก็บรรลุมรรคผลได้ทั้งนั้น

อย่างพระอย่างหลวงพ่อไปหาอุปัชฌาย์ มีบาตร มีจีวร ไปบวชออกมาเรียกพระสมมติ พระจริงๆ อาจจะใส่กระโปรง ใส่กางเกงก็ได้ พระด้วยจิตด้วยใจจริงๆ ฆราวาสถ้าตั้งใจจริง ไม่ยอมแพ้กิเลส ไม่ละเลยที่จะสร้างกุศลไปเรื่อยๆ ศีล สมาธิ ปัญญา กุศลใหญ่ที่สุดคือปัญญา เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีสติรู้กาย รู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตจะเกิดกุศลที่สูงที่สุดเลย กุศลอื่นๆ เป็นกุศลที่พาให้เราเวียนว่ายตายเกิดในโลกที่ดี แต่การเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างสมบูรณ์ ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะสมบูรณ์ แล้วก็ได้กุศลที่ยิ่งใหญ่ กุศลที่พาเราออกจากโลกได้ ออกจากวัฏสงสารได้

วันนี้สมควรแก่เวลา 45 นาทีแล้ว ก็ขอยุติแต่เพียงเท่านี้ มีสติรักษาตัวเอง คนกรุงเทพฯ ก็รักษายากนิดหนึ่ง เพราะมันแออัด ใช้ชีวิตรวมกลุ่มกันเยอะ อย่างชลบุรีรักษาเข้มแข็ง จริงๆ มันยังอยู่กันไม่แออัดมาก กรุงเทพฯ อยู่คอนโดตึกเดียวกัน คนอยู่ตั้งหลายร้อย อยู่กันเป็นพัน โอกาสแพร่เชื้อมันง่าย แค่ปุ่มกดลิฟท์ก็แย่แล้ว ทำความสะอาดกันไม่ทัน ฉะนั้นก็อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี ก็ต้องพยายามมีสติให้มากๆ เคลื่อนไหวทำอะไรคอยรู้สึกๆ เอาไว้ แล้วก็อย่าหาสิ่งเลวร้ายเข้าบ้าน บางคนเที่ยวบ่อน เที่ยวบาร์ เอามาติดลูก ติดเมีย ตอนนี้ติดไปเด็ก ติดผู้ใหญ่ เขาไม่ได้มีความชั่วกับเราด้วยเลย เราไปชั่วคนเดียว แล้วก็เอาโรคไปติดเขาด้วย มันไม่ยุติธรรม

มรรค 8 ข้อใด จัดอยู่ในหลักของสมาธิสิกขา

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ = สมาธิ

สมาธิ ในมรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วยหลักธรรมใดบ้าง

1K. มรรค 8 หมายถึง หนทางสู่การดับทุกข์ ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เว็ปติวฟรีได้รวบรวมสรุปมรรค 8 พร้อมความหมายของแต่ละประการ

มรรค 8 คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ธรรมอันฆ่าเสียซึ่งกิเลส, ธรรมอันยังกิเลสให้ตาย, เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, เป็นชื่อแห่งอริยสัจที่ ๔ เรียกว่ามรรคสัจ (เหมือน มรร

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมเรื่องมรรคมีอะไรบ้าง

๗. มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปปะ คือ ความด าริชอบ, สัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ, สัมมากัมมันตะ คือ การท าการงานชอบ, สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ,สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ, สัมมาสติ ความระลึกชอบ, สัมมาสมาธิความตั้งมั่นชอบ