ข้อใดมีอิทธิพลต่อวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

แบบทดสอบบทที่2

Show

1รู้จักและแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
    ก.ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงกล่าวถึง “ถ้ำสีดา”
    ข.มีหลักฐานปรากฏบทพากย์โขนและหนังใหญ่สมัยสุโขทัย
    ค.เนื้อเรื่องบรรยายถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่สมัยสุโขทัย
    ง.พระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีคำว่า “ราม” อยู่ด้วย
๒. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับที่มาของเรื่องรามเกียรติ์ของไทย
    ก.คัมภีร์วิษณุปุราณะ
    ข.หนุมานนาฏกะ
    ค.นิทานเรื่องพระราม
    ง.พงศาวดารทศกัณฐ์
๓.บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของผู้ใดเหมาะสมที่จะนำมาแสดงละครมากที่สุด
    ก.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    ข.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    ค.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    ง.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายในการทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับรัชกาลที่ ๑
    ก.เพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์
    ข.เพื่อเป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน
    ค.เพื่อเป็นคติธรรมสอนประชาชน
    ง.เพื่อเป็นแบบอย่างในการประพันธ์
๕.ข้อใดไม่ใช่บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑
    ก.บทละครเรื่องสังข์ทอง
    ข.เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง
    ค.บทละครเรื่องอุณรุท    
    ง.บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา
๖.บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ มีรูปแบบการประพันธ์ใด
    ก.กลอน สุภาพ             
    ข.กลอนบทละคร
    ค.กลอนดอกสร้อย         
    ง.กลอนกลบท
๗.จากเรื่องรามเกียรติ์ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับคำว่า “เมื่อนั้น”
    ก.ใช้กับตัวละครที่มีอารมณ์โกรธ
    ข.ใช้กับตัวละครที่มีศักดิ์สูง
    ค.ใช้กับตัวละครที่มีศักดิ์ต่ำกว่า  
    ง.ใช้กับตัวละครที่กำลังรบกัน
๘.เหตุใดนนทุกจึงศรีษะล้าน
   ก.ถูกพระอิศวรสาป           
   ข.ถูกเทวดาถอนผมเล่น 
   ค.ถูกนางอัปสรโกนผม       
   ง.ถูกพระนารายณ์ลูบหัว
๙.ข้อใดผิด
   ก.นนทุกเกิดเป็นทศกัณฐ์
   ข.พระนารายณ์อวตารเป็นพระราม
   ค.นางอัปสรเกิดเป็นพระนารายณ์
   ง.พระลักษมีอวตารเป็นนางสีดา
๑๐.ข้อใดเป็นยักษ์ทั้งหมด
   ก.ท้าวลัสเตียน ท้าวอัชบาล ท้าวธาดาพรหม
   ข.ทูษณ์ ตรีเศียร  พาลี
   ค.กุมภกรรณ  นางสำมนักขา  ท้าวลัสเตียน
   ง.ขร  ทศรถ  พิเภก
๑๑.เหตุการณ์ใดเกิดก่อน
   ก.นางสำมนักขาชมโฉมนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟัง
   ข.พระรามออกติดตามกวางทอง
   ค.นางไกยเกษีช่วยท้าวทศรถในการรบ
   ง.ทศกัณฐ์ใช้อุบายยกฉัตรแก้วบังดวงอาทิตย์


แฉลย


1ก 2  ข 3  ง 4  ค 5  ค 6  ง 7  ง 8  ก 9  ก 10  ก

ข้อใดมีอิทธิพลต่อวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

อิทธิพลของเรื่องรามเกียรติ์ที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย

             รามเกียรติ์เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่คนไทยเพราะเนื้อเรื่องมีความสนุกสนาน ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์และสอดแทรกคุณธรรมไว้อีกทั้งอุปนิสัยของตัวละครก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย เช่น นางสีดาเป็นแบบแผนของหญิงที่มีความชื่อสัตย์ต่อสามี พระรามเป็นแบบแผนของลูกที่ดี เป็นต้น

รามเกียรติ์จึงมีอิทธิพลต่อสังคมไทยหลายประการดังนี้ คือ

๑. ด้านภาษาและวรรณคดี ีมีสำนวนที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์หลายสำนวน เช่น ลูกทรพี เหาะเกินลงกา สิบแปดมงกุฎ ราพณาสูร ตกที่นั่งพิเภก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้นิยมแต่งรามเกียรติ์ ทำให้เกิดรามเกียรติ์หลายสำนวน

๒. ด้านศิลปกรรม รามเกีรติ์ก่อให้เกิดแรงดลใจให้จิตรกรนำเรื่องราวไปวาดภาพตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร เช่นเดียวกับเรื่องชาดกนอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การปั้นตัวละครต่างๆ ในเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อใช้ประดับในที่ต่างๆ

๓. ด้านนาฏศิลป์ เรื่องนี้นิยมนำมาแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ จึงนับว่ามีอิทธิพลต่อนาฏกรรมไม่ใช่น้อย

๔. ด้านประเพณี รามเกียรติ์ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านประเพณีต่างๆโดยเฉพาะพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีวิวามงคล พระราชพิธีราชาภิเษก พิธีปล่อยม้าอุปการ การยกทัพ เป็นต้น

๕. ด้านความเชื่อ พระรามเป็นพระนารายณ์อวตาร ฉะนั้น พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ จะใช้พระนามของพระรามเพื่อความเป็นสิริวัสดิมงคล เช่น พระรามาธิบดี พระราเมศวร เป็นต้น

          นอกจากนั้น เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลในด้านโหราศาสตร์ และการใช้ชื่อในรามเกียรติ์เป็นชื่อของสถานที่ ชื่ออาหาร เป็นต้น เช่น ถนนพระราม ๔ (ชื่อสถานที่) พระรามลงสรง(ชื่ออาหาร) รามเกียรติ์จึงมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมิใช่น้อย

รามเกียรติ์เป็นบ่อเกิดและศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ ดังนี้

๑. การแสดงโขน หนัง และหุ่น พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ว่า โขน จะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น การแสดงโขนถือกันว่าเป็นศิลปะชั้นสูง เป็นที่นิยมว่าถ้าได้แสดงในงานใดก็เป็นการแสดงที่ให้เกียรติ์ ในศิลปะการแสดงโขนนี้ มีทั้งศิลปะการละคร การฟ้อนรำ การดนตรี การขับร้อง การพากย์ การประดิษฐ์เครื่องแต่งตัว การประดิษฐ์หัวโขน การจัดฉาก การล้อการเมือง

๒. จิตรกรรม ความประทับใจในเรื่องรามเกียรติ์ก่อให้เกิดจิตรกรรม เพื่อแสดงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรามเกียรติ์ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่ระเบียงรอบโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) นั้นได้เล่าเรื่องราวรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ในภาพมีทั้งจินตนาการและภาพขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ภาพปราสาทราชวังซึ่งอยู่ในเรื่องและภาพชีวิตชาวไทยสมัยก่อนแฝงอยู่

๓. ประติมากรรม ภาพสลักนูนแสดงตัวละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ที่วัดพระเชตุพน จัดเป็นประติมากรรมประเภทไม่ลอยตัวที่งดงามด้วยคุณค่าทางศิลปะ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมลอยตัวรูปตัวละครยักษ์ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามและตุ๊กตาหินรูปหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น

๔. ศิลปกรรม มีการนำเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นศิลปกรรมประดับอาคารต่างๆ เช่น ในวัดพระเชตุพนฯ ลวดลายแถวไม้ปิดทองที่หน้าบรรณของวิหารทิศ และบานประตูลายมุกของพระอุโบสถ ล้วนประดิษฐ์ตามเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสิ้น

อะไรมีอิทธิพลต่อวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

รามเกียรติ์มีเค้าจากวรรณคดีอินเดียคือมหากาพย์รามายณะที่ ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู

วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอะไร

รายละเอียด : กำเนิดรามเกียรติ์ วรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย มีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือ มหากาพย์รามายณะ ที่ฤๅษีวาลมิกิ ชาวอินเดียแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษมาแล้ว และได้แพร่หลายจากอินเดียไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้

เรื่อง "รามเกียรติ์" มีที่มาจากวรรณคดีเรื่องใด

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือ มหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู

รามเกียรติ์ มีความสําคัญอย่างไร

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีความสําคัญเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ทางการเมือง ทั้งนี้เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะเป็น “พระนารายณ์อวตาร” พระรามซึ่งเป็น “พระนารายณ์อวตาร” จึงมีความหมายพิเศษยิ่งกว่าความเป็นวีรบุรุษในตํานานนิทานหรือกษัตริย์ผู้ประเสริฐเท่านั้น แต่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งหมายถึง “พระมหากษัตริย์ ...