ข้อใด ไม่ใช่ คุณลักษณะ ของพระ ภิกษุ สงฆ์ ตามหลัก สังฆ คุณ 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่ทรงสั่งสอนและกำหนดไว้

พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์[1] คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญะ

ความหมาย[แก้]

สงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลีแปลว่า หมู่ เช่นในคำว่าภิกษุสงฆ์ แปลว่า หมู่ภิกษุ ใช้ในความหมายว่า ภิกษุทั้งปวงก็ได้ เช่น"จีวรนี้เป็นของสงฆ์ ควรจะจัดเป็นพิธีสงฆ์ถวาย"

เมื่อใช้ควบกับคำว่า พระ เป็น พระสงฆ์ ซึ่งมีความหมายว่าภิกษุ เช่น "นิมนต์ภิกษุสงฆ์มาฉันในงานเมื่อวาน มีพระสงฆ์มาเป็นจำนวนมาก" ตามพระวินัย ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปจึงเรียกว่าสงฆ์ เช่นในคำว่า สังฆกรรม (กรรมที่สงฆ์ คือภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปพึงทำรวมกัน)

ประเภทของพระสงฆ์[แก้]

พระไตรปิฎกภาษาบาลีได้กล่าวถึงถึง พระสงฆ์ ไว้ 2 ประเภท ได้แก่ สาวกสงฆ์ และ ภิกขุสงฆ์[2]

สาวกสงฆ์[แก้]

สาวกสงฆ์ หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า อริยสงฆ์ คือหมู่พระอริยบุคคล ไม่ว่าเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ไม่ว่าเป็นมนุษย์หรือเทวดา ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า โดยการบรรลุมรรคผล อริยบุคคล 4 ประเภท คือ

  1. พระโสดาบัน
  2. พระสกทาคามี
  3. พระอนาคามี
  4. พระอรหันต์

ภิกขุสงฆ์[แก้]

ภิกขุสงฆ์ หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า สมมุติสงฆ์ คือ หมู่ภิกษุ ที่ได้รับการอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต จากพระเถระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปเรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์แปลว่าหมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่าภิกษุสงฆ์ และหมู่พระภิกษุณีว่าภิกษุณีสงฆ์ จัดเป็น 4 วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาตให้ทำสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค 4 รูป ปญฺจวรรค 5 รูป ทสวรรค 10 รูป วิสติวรรค 20 รูป แต่ถ้าพระภิกษุ 2-3 รูป เรียกว่า คณะ (เนื่องจากแบ่งพวกกันฝ่ายละ 2 รูปมิได้) ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล

สังฆคุณ[แก้]

  • สุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติดีงาม
  • อุชุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติตรง ถูกต้อง
  • ญายปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติชอบ , เพื่อธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์
  • สามีจิปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติสมควร , เหมาะสม
  • อนุตฺตรํ ปุญฺญเขตฺตํ โลกสฺส เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
  • อาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (นำมาถวาย เช่นนำมาใส่บาตรขณะบิณฑบาตร)
  • ปาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (จัดไว้รอท่าให้ท่านมารับ เช่น การนิมนต์มาฉันที่บ้าน)
  • ทกฺขิเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่การรับทักษิณาทาน (การเอ่ยปากขอเองจากท่าน)
  • อฺญชลีกรณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี (การประนมมือ)

อ้างอิง[แก้]

  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 496
  2. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), สงฆ์, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อใด ไม่ใช่ คุณลักษณะ ของพระ ภิกษุ สงฆ์ ตามหลัก สังฆ คุณ 9
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า พระสงฆ์

บาลีน่ารู้
เรื่อง : ธรรมรักษ์ ป.ธ.๙

ข้อใด ไม่ใช่ คุณลักษณะ ของพระ ภิกษุ สงฆ์ ตามหลัก สังฆ คุณ 9

สังฆคุณ ๙ ประการ
หนฺท มยํ สงฺฆาภิถุตึ กโรม เส

ขอเชิญพวกเรามาสวดสรรเสริญคุณของพระสงฆ์กันเถิด

           สังฆคุณมี ๙ ประการ : ๔ ประการแรกเป็นเหตุ และ ๕ ประการหลังเป็นผล ได้แก่

           ๑. โย โส สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด เป็นผู้ปฏิบัติดี คือ ปฏิบัติตามเส้นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
           ๒. อุชุปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่ลวงโลก ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ตรงต่อหนทางพระนิพพาน
           ๓. ญฺายปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ คือ ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ เอาความถูกต้องเป็นหลัก และมุ่งปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การบรรลุธรรม
           ๔. สามีจิปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพยกย่องที่สุด
           ๕. อาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการ ดังกล่าวข้างต้น
           ๖. ปาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ คือ เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ไปที่ไหนก็ถือว่าเป็นบุคคลผู้ทรงเกียรติที่สมควรให้การต้อนรับ
           ๗. ทกฺขิเณยฺโย : เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน คือ เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ควรรับทาน ที่โยมน้อมนำมาถวายเพื่อการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
           ๘. อญฺชลีกรณีโย : เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คืออยู่ในฐานะที่ใคร ๆ ควรแสดงความเคารพกราบไหว้ เพราะทำให้ผู้ไหว้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ
           ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส : เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักษิณาที่ถวายแด่พระสงฆ์ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำดี พืชที่หว่านไปย่อมให้ผลไพบูลย์ พระสงฆ์จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชน     ทั้งหลาย..

พระสงฆ์มีคุณลักษณะ 9 ประการ เรียกว่าอะไร

พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลัก สาคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนา ได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้า เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ Page 13 คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี9 ประการ เรียกว่า สังฆคุณ บทสวด สังฆคุณ

คุณลักษณะของพระสงฆ์มีกี่ประการ

คุณสมบัติของพระสงฆ์จะต้องมีดังนี้คือ.
สุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติดีงาม.
อุชุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติตรง ถูกต้อง.
ญายปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติชอบ, เพื่อธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์.
สามีจิปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติสมควร, เหมาะสม.
อาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (นำมาถวาย เช่นนำมาใส่บาตรขณะบิณฑบาต).

ลักษณะตามข้อใดที่ถือว่าพระสงฆ์เป็น "ทักขิเณยโย"

๗.ทักขิเณยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาควรแก่สิ่งของทำบุญ คือ พระสงฆ์ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมได้รับประโยชน์ตามที่ปรารถนา แม้การอุทิศกุศลเพื่อผู้ตาย พระสงฆ์ก็จัดเป็นทักขิไณยบุคคล คือ ควรรับทักษิณาทานนั้น ๆ

หน้าที่หลักของพระสงฆ์ 3 ประการมีอะไรบ้าง

1 ปฏิบัติพิธีกรรมทางสาสนา 2 แสดงธรรมะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 3 ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา