ข้อใด ไม่ใช่ หลักปฏิบัติในการขับร้องตามระบบการฝึก systematic training

การหายใจในการร้องเพลง

ข้อใด ไม่ใช่ หลักปฏิบัติในการขับร้องตามระบบการฝึก systematic training

4 ชนิด การหายใจ เพื่อความเข้าใจในการร้องเพลง 

1. การหายใจในการร้องเพลง รูปแบบ High Breaths 
ตำแหน่ง : การหายใจในส่วนหน้าอก และ ไหปลาร้า
ลักษณะ : มือสูดหายใจเข้าไปหน้าอก และ ไหปลาร้าของคุณจะยกตัวขึ้น
และเมื่อหายใจออกส่วนหน้าอก และไหปลาร้าคุณจะดิ่งลง
คุณจะเห็นคนจำนวนมากซึ่งเวลาหายใจเข้าอก และ ไหปลาร้าจะยกขึ้น
การหายใจลักษณะนี้จะทำให้ การหายใจเข้า (inhale) และ หายใจออก (exhale)
ลมหมดไปอย่างรวดเร็วซึ่งยากต่อการควบคุมอากาศในการหายใจ
ซึ่งการหายใจแบบนี้จะไม่แน่นำให้ใช้ในการฝึกร้องเพลง

2. การหายใจในการร้องเพลง รูปแบบ Abdominal Breaths
ตำแหน่ง : คือ หายใจในส่วนท้อง
วิธีการ : วางมือบนท้องของคุณ หายใจเข้า และ หายใจออก โดยสังเกตุว่า
ลมได้ลงไปถึงท้อง หรือ ปอดส่วนล่าง และหน้าท้องขยายตัวขึ้น (โดยไม่แขม่วเองหรือคิดไปเอง)
และ ตำแหน่งไหล่ หรือ ไหปลาร้าของคุณนั้น ต้องไม่ยกขึ้น ตาม ข้อที่ 1 High Breaths
ข้อที่ 2 นี้ ถือเป็นข้อที่แนะนำให้ใช้ในการฝึกร้องเพลง เพราะความลึกของลมหายใจ
ในส่วนนี้ที่ไปแตะ ไดอะแฟรม (Diaphragm) จะทำให้ควบคุมในการหายใจเข้าและหายใจออกได้ดีกว่าอีกด้วย

3. การหายใจในการร้องเพลง รูปแบบ Rib Breaths
ตำแหน่ง ซี่โครงด้านข้าง หรือระหว่างซี่โครง ทั้งซ้าย และขวา
วิธีการ : วางมือของคุณลงบนซี่โครง ด้านซ้าย หรือ ด้านขวา หายใจเข้า
ให้รู้สึกถึงการขยายตัวออกทางด้านข้าง และ หายใจออก ซี่โครงจะยุบตัวลง
ทำซ้ำต่อเนื่อง เข้า และ ออกอย่างช้าๆ ที่สำคัญคือพยายามที่จะไม่ยกหน้าอกขึ้น
ในการร้องเพลงต้องฝึกผสมผสานทั้งการหายใจแบบ Rib Breaths และ Abdominal
Breaths เมื่อฝึกข้อ 2 และ 3 จนคล่องตัวแล้ว ให้นำมือ ข้างหนึ่ง แตะ ในตำแหน่ง ซี่โครง
และอีกข้างหนึ่ง แตะที่ ท้อง พร้อมทั้งหายใจเข้าและออก เพื่อดูลมหายใจ และการขยายตัว
เพื่อการหายใจในการร้องเพลงอย่างถูกวิธี

4. การหายใจในการร้องเพลง รูปแบบ Low Back Breath
ตำแหน่ง : ลมหายใจที่ไปด้านหลัง
วิธีการ : ใช้มือของคุณทั้งสองมือประสานแผ่นหลัง นิ้วทั้ง 10 นิ้ว ขนาบร่างกาย ชี้ลงบริเวณพื้น
พร้อมทั้งหายใจเข้าให้สังเกตุการขยายตัวออกของกล้ามเนื้อแผ่นหลัง และหายใจออกจะยุบตัวลง
ตำแหน่งที่ 4 ถือเป็นอีกวิธีที่ดีของการนำอากาศเข้ามาใช้ในการหายใจเพื่อฝึกร้องเพลง

การขับร้องเพลงสากล


1.การขับร้อง

การขับร้องเพลง เป็นกิจกรรมสร้างสรรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ร้องและผู้ฟัง ซึ่งการขับร้องอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่
     

การขับร้องเดี่ยว หมายถึง การร้องเพลงโดยบุคคลเพียงคนเดียวว อาจมีดนตรีประกอบหรือไม่มีก็ได้

ข้อใด ไม่ใช่ หลักปฏิบัติในการขับร้องตามระบบการฝึก systematic training
การขับร้องเดี่ยว


การขับร้องหมู่ หมายถึง การร้องเพลงโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อาจมีดนตรีประกอบหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งการขับร้องแบบหมู่นี้อาจจะร้องแบบเป็นทำนองเดียวกันหรือร้องแบบประสานเสียงกันก็ได้

ข้อใด ไม่ใช่ หลักปฏิบัติในการขับร้องตามระบบการฝึก systematic training
การขับร้องหมู่


การขับร้องเพลงประเภทต่าง ๆ ให้มีความไพเราะ ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ และใช้หลักการขับร้องที่ถูกต้อง ดังนี้

2.การขับร้อง มีหลักในการฝึกปฏิบัติ ดังนี้

    1.  การออกเสียง ในการขับร้องเพลงจะต้องออกเสียงให้เต็มเสียงตามจังหวะและทำนองของเพลงซึ่งจะต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ขาดช่วง
              2.  การหายใจเข้าออก เนื่องจากการร้องเพลง ต้องอาศัยลมในการเปล่งเสียง ดังนั้น การหายใจเข้าออก จึงมีความสำคัญในการร้องเพลง เพราะเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของลมในร่างกาย การหายใจเข้าออกให้สอดคล้องกับการร้องเพลง จึงมีส่วนช่วยทำให้ร้องเพลงได้ดีขึ้น
              3.  การเปล่งเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี การเปล่งเสียงร้องเพลงควรให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คือออกเสียงพยัญชนะ วรรณยุกต์ให้ชัดเจนตามหลักการออกเสียง โดยเฉพาะคำควบกล้ำ
             4ท่าทางในการร้องเพลง การร้องเพลง ควรแสดงท่าทางให้เหมาะสมไม่ล้วง แคะ แกะ เกา ซึ่งเป็นการสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ฟัง และควรสร้างบรรยากาศร่วมกับผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้มีอารมณ์ร่วมกับเพลงที่ร้อง พื้นฐานการขับร้อง

 การขับร้องของนักร้อง หรือนักร้องประสานเสียง ควรพัฒนาเทคนิคการขับร้องเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การวางท่าทางที่ถูกต้อง การใช้ลมอย่างสมบูรณ์ การเปล่งเสียงที่ถูกวิธี ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ร้องมีเทคนิคการร้องที่ดี ป้องกันการร้องเพี้ยน ซึ่งจะทำให้เจ็บคอ เจ็บกล้ามเนื้อ จนไปถึงไม่สามารถร้องเพลงได้ 


3.การฝึกซ้อม
1. ท่าทางการยืน มีท่าทางที่ดี มั่นใจ ไม่เกรง ปล่อยตามสบาย แต่มั่งคง ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้หายใจได้ถูกวิธีและร้องออกมาได้ดี 

2. การหายใจและการควบคุมการใช้ลม ซี่โครง (rib) ให้ขยายออกได้อย่างสบาย อกไม่ยุบเมื่อหายใจออก หายใจไม่มีเสียงดัง ควบคุมลมหายใจได้ดี และให้คงขยายซี่โครงไว้ตลอดเวลาในขณะร้องเพลง 

3. ร้องสระได้ชัดเจน สามารถร้องเพลงได้ชัด ทำรูปปากให้ถูกต้อง

4. ร้องพยัญชนะได้ชัดเจน ไม่เกร็งขากรรไกร ไม่เกร็งลิ้นและขยันปากได้คล่อง

5. ภาษาชัดเจน มีความสามารในการร้องเพลงภาษาต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ถูกต้องตามหลักของภาษานั้นๆ 

6. มีเสียงก้องกังวาน เข้าใจวิธีการทำให้เสียงมีความก้องกังวาน และรู้จักที่จะใช้เทคนิคการสั่นเสียงได้อย่างพอเหมาะพอดี 

7. รู้จักเสียงของตนเอง รู้ขีดความสามารถของเสียงตนเอง รู้จักช่วงเสียงที่เหมาะสมของตน รู้จักข้อดีข้อเสียของตนอยู่ที่ใด จะนำมาใช้อย่างไร 

8. รู้จักวิธีการฝึกซ้อม เข้าใจวิธีการฝึกซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพ รู้ขั้นตอนและวิธีการศึกษาเพลงอย่างละเอียด

9. รู้จักวิธีการตีความบทเพลง (Interpretation) – สามารถตีความบทเพลงและถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้ถูกต้อง 

10. แสดงได้ มีความสามารถที่จะนำเสนอ แสดงการขับร้องต่อหน้าผู้ชมด้วยความมั่นใจได้

11. ร้องประสานเสียงได้- นำความรู้ด้านทักษะการขับร้องเกียวไปใช้ในการขับร้องปรานเสียงได้ โดยสามารถแยกแยะเทคนิคการเปล่งเสียงในการขับร้องเดียวและในการขับร้องกลุ่ม

12. รักษาสุขภาพ รักษาสุขลักษณะที่ดี กินอาหารถูกต้องตามโภชนาการ และดูแลรักษาสุขภาพรักษากล่องเสียง และรู้วิธีการขับร้องที่ไม่ทำลายเสียง

13. รู้จักการพัฒนา พัฒนาความสามารถและเทคนิคในการขับร้องอยู่เสมอ ทั้งทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติ

ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 4

ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 4 ณัฐวัฒน์  ณะคงค์ ทินภัทร  หงษ์ทอง ธนวัฒน์  พันธ์เพชรกุล พงศ์พณิช  ภ...

ข้อใด ไม่ใช่ หลักปฏิบัติในการขับร้องตามระบบการฝึก systematic training

  • ข้อใด ไม่ใช่ หลักปฏิบัติในการขับร้องตามระบบการฝึก systematic training

    ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 4 ณัฐวัฒน์  ณะคงค์ ทินภัทร  หงษ์ทอง ธนวัฒน์  พันธ์เพชรกุล พงศ์พณิช  ภ...