คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใด หมายถึง จมื่นไวย

1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน

ก. มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา

ข. ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นสุดยอดของกลอนนิทาน

ค. มีผู้แต่งหลายคน บางตอนปรากฏชื่อผู้แต่ง

แต่บางตอนไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

ง. เป็นเรื่องที่สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

และรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แบบทดสอบประจำชุดกิจกรรมที่ 1

เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน

    ก.  มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา

    ข.  ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นสุดยอดของ

          กลอนนิทาน

    ค.  มีผู้แต่งหลายคน บางตอนปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่บางตอน

          ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

    ง.  เป็นเรื่องที่สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

          และรัตนโกสินทร์ตอนต้น

2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเสภาเรื่อง ขุนข้างขุนแผน

    ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

    ก.  เป็นตอนที่นิยมนำไปใช้แสดง “เสภารำ” มากที่สุด

    ข.  เนื้อหาตอนนี้มีที่มาจากพงศาวดารคำให้การชาวกรุงเก่า

    ค.  เป็นหนึ่งใน 8 ตอนที่ได้รับยกย่องจากสมาคมวรรณคดี

          ว่าแต่งได้ดีเยี่ยม

    ง.  เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ-

          เลิศหล้านภาลัย

3. คำว่า “ถวายฎีกา” หมายความว่าอะไร

     ก.  ยื่นคำร้องทุกข์ต่อหน่วยงานรัฐ

     ข.  ราษฎรยื่นคำร้องทุกข์ถวายพระเจ้าแผ่นดิน

     ค.  ยื่นคำร้องทุกข์ต่อศาลเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม

     ง.  แจ้งความแก่หน่วยงานรัฐให้ดำเนินคดีกับบุคคลใด

         บุคคลหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ

4. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใด หมายถึง จมื่นไวย

        ก.  วันนั้นแพ้กูเมื่อดำน้ำ  ก็กริ้วซ้ำจะฆ่าให้เป็นผี

    ข.  เอาเถิดเป็นไรก็เป็นไป  ไม่เอากลับมาได้มิใช่กู

    ค.  แล้วกลับความถามข้างวันทองพลัน  เออเมื่อมันฉุด

          คร่าพามึงไป

    ง.  ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู  ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ

5. ข้อใดเป็นการกระทำตามกฎมณเฑียรบาลในการถวายฎีกา

     ของประชาชนในสมัยโบราณ

    ก.  เฮ้ยใครรับฟ้องของมันที ตีเสียสามสิบจึงปล่อยไป

    ข.  ระวางโทษเบ็ดเสร็จเจ็ดสถาน ถึงประหารชีวิตเป็นผุยผง

    ค.  ดำริพลางทางเสด็จยาตรา ออกมาพระที่นั่งจักรพรรดิ

    ง.  พระสูตรรูดกร่างกระจ่างองค์ ขุนนางกราบราบลง                               เป็นขนัด

6.  กูก็ชั่วมัวรักแต่สองนาง  ละวางให้วันทองน้องโศกศัลย์

     เมื่อตีได้เชียงใหม่ก็โปรดครัน  จะเพ็ดทูลคราวนั้นก็คล่องใจ

    คำว่า “สองนาง” ในบทประพันธ์ข้างต้นหมายถึงใคร

    ก.  นางลาวทอง กับ นางสายทอง

    ข.  นางศรีมาลา กับ นางสร้อยฟ้า

    ค.  นางลาวทอง กับ นางสร้อยฟ้า

    ง.  นางลาวทอง กับ นางแก้วกิริยา

7. ได้ยินเสียงฆ้องย่ำประจำวัง  ลอยลมล่องดังถึงเคหา

    คะเนนับย่ำยามได้สามครา   ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน

    คำว่า  “ทักทิน” ในบทประพันธ์ข้างต้นมีความหมายตรงกับ

    ข้อใด

    ก.  ฤกษ์มหาโจร

    ข.  วันดีตามหลักโหราศาสตร์

    ค.  วันชั่วร้ายตามหลักโหราศาสตร์

    ง.  เวลาที่เหมาะสำหรับการประกอบพิธีไสยศาสตร์

8. ข้อใดใช้ภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น

    ก.  ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ ฟังจบแค้นคั่งดังเพลิงไหม้

          เหมือนดินประสิวปลิวติดกับเปลวไฟ ดูดู๋เป็นได้อีวันทอง

    ข.  อีแสนถ่อยจัญไรใจทมิฬ ดังเพชรนิลเกิดขึ้นในอาจม

          รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม

    ค.  คิดคะนึงถึงมิตรแต่ก่อนเก่า นิจจาเจ้าเหินห่างร้างพิสมัย

          ถึงสองครั้งตั้งแต่พรากจากพี่ไป ดังเด็ดใจจากร่างก็ราวกัน

    ง.  เจ้าพลายงามตามรับเอากลับมา ทีนี้หน้าจะดำเป็นน้ำหมึก

          กำเริบใจด้วยเจ้าไวยกำลังฮึก จะพาแม่ตกลึกให้จำตาย