องค์กรใดมีหน้าที่ดูทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” และจะใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์ (Copyright)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิ และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา

เป้าประสงค์

             1. เพื่ออำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

             2. เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

             3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

             4.  เพื่อสร้างจิตสำนึกในการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น

กลยุทธ์

            1. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการจดทะเบียนและรับแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา

            2. พัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นสากล และสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน

            3. สนับสนุนการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการพัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

            4. บูรณาการด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

            5. รณรงค์และปลูกฝังการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุนให้มีการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์

            1. คนไทยมีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา

            2. ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาศักยภาพในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์

กลยุทธ์

          1. สร้างความรู้ความเข้าใจและสนับสนุนการสร้างสรรค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในทรัพย์สินทางปัญญา

          2. ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการโดยการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม ความคิดและภูมิปัญญา/ทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

          3. สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและสร้างเครือข่ายในทุกภาคส่วน


Strategy 1

The development of IPR protection system and the compliance with IP-related law.

Objectives

1. To facilitate the timely and efficient IP registration.

2. To assist business operators in obtaining for their intellectual property the legal protection in Thailand and foreign countries.

3. To enhance the effectiveness  of measures undertaken to prevent and suppress IP infringement.

4. To awaken the Public’s conscience to respect the intellectual Property rights of others.

 Tactics

1. Make the registration and IP filling service more efficient.

2. Develop IP-related law to meet the international standards and today’s changing situations.

3. Support any efforts to protect IPR, including the intellectual property develop from traditional wisdom/knowledge, both within and beyond Thailand’s territory.

4. Integrate IP infringement preventive measures with the suppression activities.

5. Campaign against IP infringement and instill the respect for other people’s intellectual property rights.

Strategy2

Commercialization of intellectual property to enhance sustainable competitive advantage.

1. To make Thai people more knowledgeable in. and recognize the importance of, the intellectual property.

2. To assist business operators with the development of capabilities in commercializing the intellectual property.

Tactics

1. Enhance better understanding and recognition in the importance of IP and promote creativity.

2. Support any efforts to add value to, and raise the standard quality of, Thai goods and services by commercially exploiting research work, innovations, ideas and practical wisdom/intellectual property.

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาถือว่าเป็นทรัพย์อีกชนิดหนึ่งที่แสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือในรูปแบบที่จับต้องไม่ได้ เช่น เทคนิคและกระบวนการในการผลิตสินค้า เป็นต้น

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
โดยสากล ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ลิขสิทธิ์ (Copyright)
    ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ งานวิทยาศาสตร์ งานด้านการแสดง โปรแกรมคอมพิวเตอร์และงานฐานข้อมูล
  • ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
    ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม คือ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ อาทิเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรืออาจจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า อาทิ องค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งย่อยได้ ดังนี้ 1. เครื่องหมายเครื่องหมายการค้า (Trademark) 2. สิทธิบัตร (Patent) 3. ความลับทางการค้า (Trade Secrets) 4. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) และ 5. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Designs of Integrated Circuit)

องค์การที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบัน องค์การที่สำคัญที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศได้แก่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization – WIPO) และองค์การการค้าระหว่างประเทศ (World Trade Organization – WTO)

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO เป็นทบวงชำนาญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ได้มีการลงนามโดยประเทศสมาชิก ณ กรุงสต็อกโฮมเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1967 และมีผลใช้บังคับในปี 1970 ปัจจุบันมีสมาชิก 184 ประเทศ โดยไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 สำนักงานกลางอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์การนี้คือ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศและบริหารจัดการความตกลงต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

องค์การการค้าระหว่างประเทศ หรือ WTO เป็นองค์การระหว่างประเทศสังกัดองค์การสหประชาชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 153 ประเทศ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 วัตถุประสงค์ขององค์การนี้ก็เพื่อกำหนดกฎกติกาการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งเป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า เพื่อสนับสนุนให้การค้าระหว่างประเทศมีความเสรียิ่งขึ้น

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก WTO นั้น อยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือ TRIPs (Agreement on Trade Related Aspect of Intellectual Property Rights) ซึ่งขอบเขตและวัตถุประสงค์มีเพื่อเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ในระยะยาวของสังคมกับการให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของปัจเจกชนผู้ทำการประดิษฐ์คิดค้น ทั้งนี้ การสร้างสรรค์และประดิษฐ์คิดค้นก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หากปราศจากการให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์คิดค้นแล้ว นักประดิษฐ์คิดค้นก็จะขาดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ดังนั้นข้อตกลง TRIPs จึงสร้างหลักประกันในการให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์คิดค้นใหม่ ๆ โดยผู้ประดิษฐ์คิดค้นสามารถมั่นใจได้ว่าถ้าตนได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วด้วยการลงทุนลงแรง ก็จะได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าและเหมาะสม เมื่อมีหลักประกันเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดการพัฒนาและเกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่อไป

ข้อตกลง TRIPs ได้วางมาตรการอันเป็นหลักการพื้นฐานแก่ประเทศสมาชิกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางการบริหารหรือมาตรการทางศาลและมาตรการหนึ่งซึ่งรัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องอนุมัติกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับ TRIPs นั่นก็คือ มาตรการระงับการปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจทางศุลกากร หรือมาตรการกักสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ณ จุดผ่านแดน นอกจากนี้ ประเทศภาคียังต้องกำหนดให้มีกระบวนการคุ้มครองความเสียหายของผู้ทรงสิทธิ์ทั้งในประเทศและกลุ่มประเทศภาคีอีกด้วย

ข้อควรทราบเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทำการค้าหรือลงทุนกับประเทศสหรัฐฯ

ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องหมายการค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการนำเข้า ส่งออก และลงทุนกับสหรัฐฯ นั้นเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าจะเป็นการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือจงใจทำให้เหมือนหรือคล้ายกับต้นฉบับของงานที่ได้จดสิทธิบัตรไว้แล้ว ถือว่าเป็นความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ (felony) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้า (commercial advantage) หรือเพื่อได้รับประโยชน์ทางการเงิน (private financial gain) โดยกรมศุลกากรของสหรัฐฯ มีอำนาจในการตรวจสอบสินค้าที่ละเมิดผู้อื่น (infringing merchandise) เมื่อมีการนำเข้าหรือส่งออกและยึดสินค้าเหล่านั้นไว้ รวมทั้งมีอำนาจดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ด้วย

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

กฎหมายพื้นฐานในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ซึ่งให้อำนาจรัฐสภา (congress) ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปะที่เป็นประโยชน์ (Useful Arts) โดยให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (exclusive right) ในงานเขียนและการค้นพบแก่ผู้ประพันธ์และผู้ประดิษฐ์ในเวลาที่จำกัด

โดยทั่วไปแล้ว การขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ของประเทศสมาชิก WTO และประเทศสมาชิกสนธิสัญญากรุงเบอร์น (Berne Convention) นั้นมีผลคุ้มครองทั้งในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก

โดยรายละเอียดของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ มีดังต่อไปนี้

องค์กรใดมีหน้าที่ดูทรัพย์สินทางปัญญา
องค์กรใดมีหน้าที่ดูทรัพย์สินทางปัญญา

A copyright symbol used in copyright notice

Photo : https://en.wikipedia.org/wiki/Copyright

1. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ และประเทศสมาชิก WTO นั้น ผู้สร้างสรรค์ได้รับความคุ้มครองงานสร้างสรรค์โดยตนเอง หรือลิขสิทธิ์โดยทันที นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียน งานสร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่งานวรรณกรรม งานดนตรีกรรม งานแสดงโดยวิธีใบ้ งานรำ งานภาพ งานกราฟิก งานประติมากรรม งานภาพยนตร์ และงานโสตทัศนวัสดุอื่นๆ งานบันทึกเสียง งานสถาปัตยกรรม ไม่ว่างานนั้นจะได้โฆษณาแล้วหรือไม่ โดยตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำ หรือให้ผู้อื่นกระทำดังต่อไปนี้คือ

  • ทำซ้ำ ในรูปของสำเนา หรือโสตวัสดุ
  • ตระเตรียมงานสืบเนื่องบนพื้นฐานจากงานที่มีอยู่เดิม
  • แจกจ่ายสำเนา หรือโสตวัสดุ ต่อสาธารณะชน ด้วยการขาย หรือการโอนความเป็นเจ้าของโดยวิธีอื่น หรือโดยการให้เช่า หรือให้ยืม
  • กระทำแสดงงานในที่สาธารณะ ในกรณีของงานวรรณกรรม ดนตรีกรรม นาฏกรรม งานรำ งานแสดงโดยวิธีใบ้ งานภาพยนตร์ และงานโสตทัศนวัสดุอื่นๆ
  • แสดงงานในที่สาธารณสถาน ในกรณีของงานวรรณกรรม งานดนตรีกรรม นาฏกรรม งานรำ งานแสดงโดยวิธีใบ้ งานภาพ งานกราฟิก งานประติมากรรม รวมทั้งภาพถ่าย ของงานภาพยนตร์หรืองานโสตทัศนวัสดุอื่นๆ
  • กระทำการแสดงงานอันมีลิขสิทธิ์ในที่สาธารณะ ในกรณีสิ่งบันทึกเสียง โดยใช้การส่งสัญญาณเสียงระบบดิจิตอล

อายุการคุ้มครองงานสร้างสรรค์ของสหรัฐฯมีอายุคุ้มครองตลอดชีวิตผู้สร้างสรรค์ บวกด้วย 70 ปีนับแต่วันที่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ส่วนกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยมีระยะเวลาคุ้มครองที่คล้ายกัน เพียงแต่ลิขสิทธิ์ของไทยมีอายุการคุ้มครอง 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในสหรัฐฯ นั้น ไม่ใช่เงื่อนไขของการได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมาย เนื่องจากผู้สร้างจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่งานสร้างสรรค์อยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่าน หรือมองเห็นได้ แต่การจดทะเบียนลิขสิทธิ์มีประโยชน์เนื่องจากทำให้เกิดทะเบียนสาธารณะ หรือ public record สำหรับผู้สร้างสรรค์งานในการอ้างลิขสิทธิ์ของตนได้

การละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า (commercial advantage) หรือได้รับประโยชน์ทางการเงิน (private financial gain) หากเป็นความผิดครั้งแรก โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือจำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีที่มีการกระทำผิดซ้ำอีก โทษจำคุกจะเพิ่มเป็นไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ผ่านทางจดหมายหรือหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานที่ www.copyright.gov/registration

2. เครื่องหมายการค้า (Trademark)

เครื่องหมายการค้า ได้แก่ คำ ข้อความ สัญลักษณ์ แผนแบบ หรือการรวมกันระหว่างสิ่งต่างๆดังกล่าว เพื่อแสดงที่มา และแยกแยะความแตกต่างกับสินค้าของบุคคลอื่น ส่วนเครื่องหมายบริการ (service mark) มีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่เป็นการแสดง และแยกแยะความแตกต่างของบริการ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า Federal Registration นั้น เป็นการแจ้งให้สาธารณชนทราบความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ผู้จดทะเบียนมีสิทธินำคดีฟ้องร้องต่อศาลของสหรัฐฯ (Federal Court) และมิสิทธิ์ขอให้ศุลกากรป้องกันการนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่ละเมิดเครื่องหมายการค้านั้น

การอ้างสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า จะใช้คำว่า TM และ SM สำหรับเครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการตามลำดับ โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเครื่องหมายนั้นก่อน แต่สำหรับสัญลักษณ์ตัว R ภายในเครื่องหมายวงกลมจะใช้ได้เมื่อสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แล้วเท่านั้น

หน่วยงานในสหรัฐฯที่มีหน้าที่รับจดทะเบียน คือ สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐฯ (The United States Patent and Trademark Office หรือ USPTO) หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่พิจารณาว่าผู้ขอจดทะเบียนเข้าเงื่อนไขการจดทะเบียนในระดับสหรัฐฯหรือไม่ ส่วนการจดทะเบียนนั้นสามารถทำได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.uspto.gov

เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนนั้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และจากการที่สหรัฐฯ เข้าร่วมอนุสัญญากรุงมาดริด (Madrid Protocol) มีผลทำให้ผู้ยื่นขอจดทะเบียนคำขอระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวได้รับความคุ้มครองในสหรัฐฯ ด้วย (ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสนธิสัญญานี้)

การละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ นั้นเป็นความผิดทางอาญา หากผู้กระทำผิดเป็นบุคคลธรรมดาและกระทำความผิดครั้งแรก มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่ใช่บุคคลธรรมดา (นิติบุคคล บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ) ปรับไม่เกิน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในกรณีที่กระทำผิดอีก โทษของบุคคลธรรมดาจะเพิ่มเป็น จำคุกไม่เกิน 20 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่ใช่บุคคลธรรมดา ปรับไม่เกิน 15,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

3. สิทธิบัตร (Patent)

สิทธิบัตรเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐฯ ออกให้แก่ผู้ประดิษฐ์ สิทธิบัตรของสหรัฐฯ มีผลบังคับเฉพาะในสหรัฐฯ สิทธิที่ได้รับเป็นสิทธิหวงกันผู้อื่นจากการผลิต ใช้ เสนอขาย หรือขายสิ่งประดิษฐ์ในสหรัฐฯ หรือการนำสิ่งประดิษฐ์เข้ามาในสหรัฐฯ

สิทธิบัตร แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1. สิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์ (utility) ออกให้แก่ผู้ประดิษฐ์ หรือค้นพบกรรมวิธี เครื่องจักร ประดิษฐกรรม หรือการประกอบกันของสิ่งต่างๆ ซึ่งใหม่และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ดังกล่าว

2. สิทธิบัตรในแบบผลิตภัณฑ์ (design) ออกให้แก่ผู้ประดิษฐ์แบบผลิตภัณฑ์ สำหรับประดิษฐกรรมซึ่งใหม่ เป็นงานสร้างสรรค์และเพื่อความสวยงาม

3. สิทธิบัตรในพันธุ์พืช (plant) ออกให้แก่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ค้นพบและผลิตขึ้นใหม่ซึ่งพืชที่โดดเด่น และเป็นสายพันธุ์ใหม่

สิ่งที่ไม่สามารถขอสิทธิบัตรได้ เช่น กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์และความคิดหรือคำแนะนำ

เงื่อนไขในการขอสิทธิบัตรนั้น นอกจากจะมีลักษณะสอดคล้องกับข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น สิ่งประดิษฐ์นั้นๆ ยังต้องไม่เป็นที่รู้จัก หรือเคยใช้โดยผู้อื่นในสหรัฐฯ หรือได้รับสิทธิบัตรไว้ก่อนแล้วในสหรัฐฯ หรือต่างประเทศ หรือสาธารณชนใช้หรือวางขายในสหรัฐฯ มามากกว่า 1 ปี

ผู้มีสิทธิ์ขอสิทธิบัตรต้องเป็นผู้ประดิษฐ์เท่านั้น หากมีผู้ประดิษฐ์ร่วมกันหลายคน สามารถขอรับสิทธิบัตรในฐานะผู้ประดิษฐ์ร่วมกัน หรือ joint inventors ได้ การฝ่าฝืนสิทธิบัตร หรือการอ้างสิทธิโดยไม่มีอำนาจในสหรัฐฯ ถือเป็นความผิดทางแพ่ง โดยเจ้าของสิทธิบัตรสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้

ผู้ประดิษฐ์สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ผ่านทางจดหมายหรือหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐที่ www.uspto.gov

องค์กรใดมีหน้าที่ดูทรัพย์สินทางปัญญา
องค์กรใดมีหน้าที่ดูทรัพย์สินทางปัญญา

United States Copyright Office

Photo : https://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Copyright_Office

4. ความลับทางการค้า (Trade Secret)

ความลับทางการค้า หมายถึงข้อมูลทางการเงิน ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ เทคนิค เศรษฐกิจ หรือวิศวกรรม ในทุกรูปแบบ ทุกชนิด รวมถึงแบบ (pattern) แผน (plan) การรวบรวม เครื่องมือโปรแกรม สูตร แผนแบบ ต้นแบบ วิธีการ เทคนิค กรรมวิธี กระบวนการโปรแกรม หรือรหัสไม่ว่าจะอยู่ในรูปที่จับต้องได้หรือไม่ โดยเจ้าของจะต้องมีมาตรการสมควรในการเก็บข้อมูลนั้นเป็นความลับและข้อมูลนั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจโดยตัวเองจากการที่สาธารณชนไม่ล่วงรู้และไม่สามารถทราบได้โดยวิธีที่เหมาะสม

การขโมยความลับทางการค้าในสหรัฐฯ ถือเป็นการจารกรรมทางธุรกิจหรือเศรษฐกิจที่มีความผิดทางอาญา ซึ่งผู้ละเมิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ   ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น ส้มฟลอริดา หรือ มันฝรั่งไอดาโฮ เป็นต้น

ในสหรัฐฯ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ไม่มีการจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถสามารถยื่นคำร้องคัดค้านหรือขอยกเลิกสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของธุรกิจอื่นกับสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐได้ หากเห็นว่าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นสร้างความสับสนหรือเข้าใจผิดให้กับลูกค้าระหว่างสินค้าของตนกับผู้ประกอบรายอื่น

6. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Designs of Integrated Circuit)

แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

การคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวมอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองชิบเซมิคอนดักเตอร์ พ.ศ. 2527 (Semiconductor Chip Protection Act of 1984) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิการยน 2527 นอกจากนั้น แบบผังภูมิของวงจรรวมยังถูกคุ้มครองโดยข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า อีกด้วย

องค์กรภาครัฐของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา

1. สำนักงานลิขสิทธิ์แห่งสหรัฐฯ (The United States Copyright Office, The Library of Congress)
2. สำนักงานสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐฯ (The United States Patent and Trademark Office หรือ USPTO)
3. กรมศุลกากร (The United States Customs Service)
4. FBI (Federal Bureau of Investigation)
5. สำนักงานผู้แทนทางการค้าของสหรัฐฯ (The Office of the U.S. Trade Representative หรือ USTR)

ข้อมูลเพิ่มเติ่ม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในสหรัฐฯ จัดทำโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ที่นี้