หลักธรรมใดเป็นหลักธรรมสําคัญในการแก้ปัญหา

หมายถึง ความซื่อสัตย์ซื่อตรง การตั้งมั่นในความสัตย์ ปฏิบัติอย่างซื่อตรงย่อมทำให้ผู้น้อมนำหลักธรรมสู่ชีวิตจะกลายเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือ ได้รับความไว้วางใจทั้งจากเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนถึงผู้คนที่อยู่รอบตัวอีกทั้งความซื่อสัตย์ไม่คดโกงนั้นยังช่วยคุ้มครองให้พ้นจากข้อติคำครหาอันเป็นเหตุแห่งความล้มเหลวในหน้าที่การงานได้

หมายถึง การข่มจิตข่มใจ การรู้จักระงับอารมณ์เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น เป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่งโดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือทำงานเป็นทีม การระงับข่มอารมณ์เกรี้ยวกราดก้าวร้าวนี้จะช่วยไม่เกิดความขุ่นของหมองใจต่อกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกันได้โดยราบรื่นและประสบความสำเร็จได้

หมายถึง ความอดทนอดกลั้น เป็นหลักธรรมสำคัญต่อทุกความสำเร็จ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน หรือการประกอบกิจประการใดก็ล้วนจะต้องพบเจอกับปัญหาและความยากลำบาก การฝึกตนให้เป็นผู้มีขันติจึงช่วยให้สามารถฝ่าฟันผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ และก้าวสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

หมายถึง ความเสียสละ ความเสียสละนี้เป็นธรรมข้อสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่จำเป็นต้องทำร่วมกับผู้อื่นหากผู้ร่วมงานทุกคนต่างปราศจากความเสียสละ ไม่ลงทุนลงแรง ไม่ยอมปิดทองหลังพระเสียบ้าง การงานนั้นก็ย่อมบกพร่อง และคงประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ไม่ได้

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท คือ หลักธรรมแห่งความสำเร็จอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง ความฝักใฝ่ ตั้งมั่น และมีกำลังใจในสิ่งที่ทำโดยไม่ทะเยอทะยานจนเกินเหตุ การน้อมนำหลักธรรมนี้มาใช้ย่อมจะทำให้เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น มีเรี่ยวกายแรงใจในการทำหน้าที่การงานอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จได้

หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทำกิจการใดก็ตามหากตั้งมั่นอยู่ในความขยันหมั่นเพียรด้วยจิตใจอันไม่ย่อท้อ ก็สามารถจะทำให้สิ่งที่ทำอยู่นั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แม้จะมีอุปสรรคผ่านเข้ามา ความเป็นผู้เพียบพร้อมในธรรมแห่งวิริยะนี้ก็จะช่วยให้สามารถฝ่าฟันจนผ่านพ้นไปได้

หมายถึง สมาธิ การมีสมาธิทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำหรือสิ่งที่คิด โดยไม่วอกแวกไปกลุ้มกังวลอยู่กับเรื่องอื่น การจดจ่อในสิ่งที่ทำย่อมทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นมีคุณภาพ เพราะเกิดมาจากการพิจารณาไตร่ตรองโดยถี่ถ้วนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ จิตตะยังหมายถึงการไม่ละทิ้งต่อหน้าที่ ซึ่งก็สามารถอธิบายได้ในความหมายที่คล้ายคลึงกับสมาธินั่นเอง

หมายถึง ความมีปัญญาและเหตุผลธรรมข้อนี้เป็นหลักสำคัญในการกระทำสิ่งทั้งปวง เพราะหากตั้งมั่นอยู่ในสติปัญญาและความมีเหตุมีผลแล้วก็ทำไม่เกิดความผิดพลาด แม้จะต้องเผชิญกับปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยความสุขุม ตรงจุด จนปัญหานั้นบรรเทาเบาบางลง และสามารถมุ่งเดินไปสู่เป้าหมายได้โดยราบรื่น

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ คือ หลักธรรมอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่นอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง การให้ด้วยจิตใจอันพร้อมเสียสละ การให้นี้เป็นสิ่งสำคัญผูกใจผู้อื่นได้ เพราะจะช่วยให้ผู้รับได้ตระหนักถึงความเอื้อเฟื้อ ความไม่ตระหนี่ถี่เหนียวหรือเป็นผู้เห็นแก่ได้ และเกิดความนับถือในจิตใจอันเสียสละของผู้ให้

หมายถึง การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวาน การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวานย่อมทำให้ผู้ฟังรู้ไม่รู้สึกขุ่นข้องหมองใจ และนำมาสู่ความรู้สึกที่เป็นมิตรได้ นอกจากนี้ปิยวาจายังหมายถึงถ้อยคำที่ซื่อสัตย์ซื่อตรง มีความตรงไปตรงมาแต่ไม่ก้าวร้าวหยาบคาย การตั้งมั่นในคำสัตย์นี้ย่อมทำให้ผู้พูดได้รับความไว้วางใจและเป็นที่นับถือ

หมายถึง การสงเคราะห์หรือประพฤติตนในทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นธรรมช่วยให้ผู้อื่นรับรู้และซาบซึ้งในความมีน้ำจิตน้ำใจ ทั้งยังพร้อมกลับมาเกื้อกูลต่อกันและกันเมื่อโอกาสมาถึง จึงจะช่วยให้ผู้ที่น้อมนำไปปฏิบัตินั้นประสบสามารถความสำเร็จได้โดยง่ายเพราะมีหมู่มิตรที่คอยเกื้อหนุนจุนเจือซึ่งกันและกันโดยไม่ขาด

หมายถึง การเป็นผู้มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีจิตใจอันหนักแน่นไม่โลเล การตั้งมั่นในธรรมข้อนี้ย่อมจะทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจ และพร้อมยกให้ผู้ปฏิบัตินั้นเป็นผู้นำได้โดยไม่รู้สึกขัดข้องกังขาจึงนับเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นเจ้านาย หรือเป็นหัวหน้า ไม่ว่าจะในหน้าที่การงานใดก็ตาม

ในช่วงวันหยุดยาวในวันพระใหญ่แบบนี้ ถือเป็นโอกาสดีในการเข้าวัดทำบุญเสริมสร้างสิริมงคลกัน วันนี้เราจึงมาพูดถึงหลักธรรมคำสอนที่เหมาะกับการทำงาน นั่นก็คือ “อิทธิบาท 4” ก็คือ 4 หลักการ ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ทุกอย่างที่เราต้องการ ถ้าเราสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม…

1. ฉันทะ : มีใจรักในงานที่ทำ

หลักธรรมใดเป็นหลักธรรมสําคัญในการแก้ปัญหา

การทำงานให้ประสบความสำเร็จ จุดเริ่มต้นที่ง่ายๆ แต่สำคัญอย่างมาก คือการมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ และการจะมีความสุขกับงานได้นั้น ก่อนอื่นคือคุณต้องชื่นชอบในสิ่งที่ทำ และพึงพอใจกับหน้าที่ที่ได้รับ ลองสังเกตตัวเองดูว่า ทุกวันนี้ทำงานแล้วรู้สึกสนุกไหม หรือพอถึงเวลางานทีไรแล้วรู้สึกเหมือนร่างกายจะพัง พลังแทบไม่มีทุกที แบบนี้ก็น่าเป็นห่วงแล้วล่ะว่าคุณอาจจะไม่ได้ชอบในงานหรือสิ่งที่คุณทำอยู่เท่าไร ลองเปลี่ยนมาทำอะไรที่คุณชอบและสนุกไปกับมันดีกว่านะ

2. วิริยะ : มุ่งมั่นทุ่มเทกับงานที่ได้รับมอบหมาย

หลักธรรมใดเป็นหลักธรรมสําคัญในการแก้ปัญหา

ถึงแม้ว่าคุณจะชอบและรักในงานของคุณแค่ไหน แต่ถ้าหากขาดสิ่งนี้ไปประตูสู่ประสบความสำเร็จก็น่าจะไกลหน่อย นั่นคือความขยันหมั่นเพียร หลายๆ ครั้งที่คุณอาจจะรู้สึกว่างานก็เยอะ เดดไลน์ก็ใกล้เข้ามาแล้ว แต่ถ้าเอาแต่ผลัดก็ไม่มีวันเสร็จสักที ความขยันก็เหมือนบันไดที่พาคุณเดินไปสู่ความสำเร็จทีละขั้น ถึงแม้ว่ามันอาจจะเหนื่อย เมื่อยล้า ไม่สบายเหมือนขึ้นลิฟต์ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่ก็ทำให้คุณถึงจุดหมายของคุณได้อย่างแน่นอน

3. จิตตะ : มีสมาธิและจดจ่อกับงานที่ทำอยู่

หลักธรรมใดเป็นหลักธรรมสําคัญในการแก้ปัญหา

หลายครั้งในเวลาที่คุณทำงาน อาจมีเรื่องต่างๆ มารบกวนการทำงานของคุณ ซึ่งทำให้คุณไม่มีสมาธิในการทำงาน จิตใจฟุ้งซ่านเอาแต่คิดเรื่องอื่น เช่น ตอนทำงานนี้ ก็อาจจะพะวงว่างานนั้นจะเป็นอย่างไร หรือพอทำงานใหม่ ก็คิดว่างานเก่าที่ยังไม่เสร็จจะส่งทันไหมนะ และทุกๆ ครั้งที่มีสิ่งรบกวนเหล่านั้น ก็จะทำให้ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานได้อย่างที่ควรจะเป็น และผลลัทธ์ที่ออกมาก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความรอบคอบและความใส่ใจในตัวงาน ทางแก้ก็คือตั้งสติ และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับปัจจุบันเสมอ

4. วิมังสา : ทบทวนในงานที่ทำและพัฒนาต่อยอด

หลักธรรมใดเป็นหลักธรรมสําคัญในการแก้ปัญหา

อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำงาน แบบที่เราไม่สามารถขาดสิ่งนี้ไปได้นั่นคือปัญญา หรือความรู้ ความสามารถ ต่อให้เรารักในงานที่ทำอยู่ ขยันหมั่นเพียร ใจจดจ่อขนาดที่ว่าทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้งานเพียงอย่างเดียว แต่หากขาดการพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง ใช้สมองคิด งานก็อาจจะผิดพลาดได้ และหลังจากที่ทำงานสำเร็จลุล่วงแล้ว ก็ควรมีการติดตามผลหลังจากนั้นเช่นกัน หากมีข้อผิดพลาดก็เรียนรู้จากสิ่งนั้น และปรับปรุงในครั้งต่อๆ ไป ให้ดีขึ้นกว่าเดิม