เพลงชนิดใดมีจังหวะช้าที่สุด

๒.จังหวะฉิ่ง ใช้พื้นฐานเดียวกับจังหวะสามัญ เป็นการแบ่งจังหวะด้วยฉิ่ง โดยปกติจะตีสลับกัน เป็น ฉิ่ง - ฉับ แต่ใช้เสียงฉิ่งกำหนดเสียงแทนการเคาะหรือตบมือ เพื่อให้ทราบว่ากำลังบรรเลงในอัตราจังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือชั้นเดียว

๓.จังหวะหน้าทับ หมายถึงการตีกลองควบคุมจังหวะ วิธีการกำกับจังหวะหน้าทับคือ เราใช้จำนวนห้องโน้ตหรือ จำนวนบรรทัดของโน้ตหน้าทับ เป็นเกณฑ์ในการกำกับและนับจังหวะทำนองเพลง

จังหวะฉิ่ง
ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีใช้สำหรับกำกับจังหวะ เบาและหนัก ของบทเพลง มี ๓ อัตราจังหวะ

๑.จังหวะสามชั้น ( จังหวะช้า)

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ฉับ

๒.จังหวะสองชั้น (จังหวะปานกลาง)

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๑ ๒ ๓ ฉิ่ง

๑ ๒ ๓ ฉับ

๓.จังหวะชั้นเดียว (จังหวะเร็ว)

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

๑ฉิ่ง๓ฉับ

จังหวะหน้าทับ (กลองแขก – โทนรำมะนา) ที่นักเรียนใช้กำกับจังหวะบทเพลงต่างๆ ในหลักสูตรวิชาดนตรีไทย โรงเรียนอำนวยศิลป์
สองไม้ลาว สองชั้น

- ติง – โจ๊ะ

- ติง - ติง

- - ติงทั่ง

- ติง - ทัง

สองไม้ไทย (ทยอย สองชั้น)

- - โจ๊ะจ๊ะ

ติงติง - ติง

- - โจ๊ะจ๊ะ

ติงติง - ทั่ง

หน้าทับสำเนียงฝรั่ง

- ติงติงติง

- ติง -ทั่ง

- ติง -ทั่ง

- ติง -ทั่ง

ปรบไก่สองชั้น

-ทั่ง - ติง

-โจ๊ะ-จ๊ะ

-โจ๊ะ-จ๊ะ

-โจ๊ะ-จ๊ะ

-ติง–ทั่ง

-ติง-ติง

-ทั่ง-ติง

-ติง-ทั่ง

ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่ ในเพลงแขก บรเทศ สองชั้น

ท่อนที่ ๑

จังหวะฉิ่ง

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

กลอง

-ทั่ง-ติง

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

-ติง–ทั่ง

-ติง-ติง

-ทั่ง-ติง

-ติง-ทั่ง

ทำนอง

- - - ซ

- ล ล ล

- - - ด

- ล ล ล

- ซ ซ ซ

- ล - ซ

- - - ม

- ม ม ม

ทำนอง

- ล ซ ม

- ร - ด

- - ม ร

ด ร - ม

- ซ - ล

- ซ - ม

- - - ร

- - - ด

ท่อนที่ ๒

จังหวะฉิ่ง

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

- - - ฉับ

กลอง

-ทั่ง-ติง

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

- โจ๊ะ-จ๊ะ

-ติง–ทั่ง

-ติง-ติง

-ทั่ง-ติง

-ติง-ทั่ง

ทำนอง

- ด ร ม

ซ ม ร ด

- - - ซ

- - - ล

- - ด ล

ซม ซ ล

- - - ด

- - - ร

ทำนอง

- ล ซ ม

- ร - ด

- - ม ร

ด ร - ม

- ซ - ล

- ซ - ม

- - - ร

- - - ด

* ต่ำแน่งการบรรเลงของทุกเครื่องมือจะต้องเท่ากันทุกครั้ง เหมือนตารางโน้ตที่กำหนด จึงจะถือว่าการบรรเลงของวงดนตรีสมบูรณ์ในเรื่องการกำกับจังหวะ

ซึ่งความสั้นยาวของเพลงดังกล่าว เมื่อบรรเลงต่อเนื่อง จึงมีผลให้การบรรเลงเกิดความช้าเร็วไปตามสัดส่วนนี้ด้วย นั่นคือเพลงที่มีจังหวะ 3 ชั้นจะบรรเลงช้า เพลงที่มีจังหวะ 2 ชั้นจะบรรเลง ปานกลาง และจังหวะชั้นเดียวจะบรรเลงเร็ว  

               แต่จริงๆ แล้ว การที่จะรู้ว่าเพลงใดเป็นเพลงบรรเลงในจังหวะใด สามารถสังเกตได้จากเสียง “ฉิ่ง” และ “กลอง” ซึ่งเรียกว่า จังหวะ “หน้าทับ” ที่ปรากฏในแต่ละห้องเพลงเป็นสำคัญ 

               เพลงไทยจะมีการแบ่งห้องเพลงออกเป็นเลขคู่ (ตามคติทางพุทธศาสนา) ใน 1 ชุดหรือ1แถว จะมี 8 ห้อง,หรือ 4 ห้อง   โดยแต่ละห้องจะมี 4 จังหวะ แต่ละจังหวะคือ 1 ตัวโน็ต   ดังนั้น เสียงฉิ่งที่จะปรากฏในเพลงแต่ละอัตราจังหวะ ก็จะแสดงได้ดังนี้

จังหวะ 3 ชั้น      |  –  –   –  –  |  –  –  –  ฉิ่ง|  –   –   –  –   |  –  –  – ฉับ|
จังหวะ 2 ชั้น      |  –  –  –   ฉิ่ง|  –  –  – ฉับ|  –  –  –   ฉิ่ง|  –  –  – ฉับ|
จังหวะชั้นเดียว    |  – ฉิ่ง  – ฉับ| – ฉิ่ง – ฉับ|  – ฉิ่ง – ฉับ|  – ฉิ่ง – ฉับ|

               ทำนอง   เพลงไทยทุกเพลงจะใช้ทำนองหนึ่งเป็นทำนองหลักในการบรรเลง ( ทางฝรั่งเรียกว่า Theme หรือ Basic melody) ซึ่งจะบรรเลงโดยเครื่องดนตรีบางชิ้นสำหรับให้เป็นหัวใจหลักของวงเท่านั้น ไม่ได้บรรเลงโดย เครื่องดนตรีทุกชิ้น เช่นถ้าเป็นวงปี่พาทย์ ผู้ที่บรรเลงทำนองหลักนี้ก็คือ “ฆ้องวงใหญ่”   ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงทำนองหลักดังกล่าว โดยการแปรให้เป็นแนวเสียงและวิธีบรรเลงที่เหมาะกับบุคคลิกของตนเองประสานกันไป ซึ่งเรียกแนวการแปรนี้ว่า “ทาง” เช่น “ทางใน” – จะหมายถึงทำนองเพลงที่บรรเลงโดยแปรให้เป็นไปตามลักษณะเสียงของปี่ใน เป็นต้น

               สิ่งที่กำกับให้การแปรทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเหล่านี้เป็นไปในรอยเดียวกันก็คือ เครื่องประกอบจังหวะ อันได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง นั่นเอง

               มาตราเสียง    หมายถึงระดับความสูงต่ำของเสียง   ดนตรีไทยมีอยู่ 7 ขั้นหรือ 7 เสียง เทียบได้กับเสียงดนตรีสากล (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที)   แต่มีข้อแตกต่างคือ แต่ละขั้นเสียงในดนตรีไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง 7 ขั้น ซึ่งต่างจากดนตรีสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง -มี ไป ซอล-) ทำให้เสียงจากเครื่องดนตรีไทยเดิม ไม่สามารถเล่นควบคู่กับเครื่องดนตรีสากลได้   ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาปรับแต่งเครื่องดนตรีบางชิ้น ให้มีระยะห่างของเสียงเท่ากับเครื่องดนตรีสากลเพื่อให้สามารถเล่นพร้อมกันได้ เช่น ขลุ่ยเสียง C, ขลุ่ยเสียง Bb เป็นต้น

               การประสานเสียง  ในดนตรีไทยจะมีการประสานเสียง 2 อย่าง คือ การประสานเสียงภายใน – ซึ่งเกิดจากการสร้างเสียงไม่น้อยกว่า 2 เสียงพร้อมกันภายในของเครื่องดนตรีบางชนิด   เช่น ระนาด , ฆ้องวง,   ซอสามสาย,  ขิม.. ซึ่งมักใช้เสียงประสานที่เรียกว่า “ขั้นคู่เสียง” (interval) เป็นคู่แปด (เช่น โด ต่ำกับ โด สูง) หรือคู่ห้า (เช่น โด กับ ซอล)    แต่จะไม่ใช้คู่เจ็ด หรือคู่เก้า และการประสานเสียงภายนอก – อันเกิดจากเสียงเครื่องดนตรีต่างชนิด ซึ่งมีทางเสียงต่างกัน แต่บรรเลง (แปร)ในทำนองเดียวกัน ประสานกันไป   นอกจากนี้ยังมีเสียงจากเครื่องให้จังหวะต่างๆ (ฉิ่ง , กลอง..) อีกด้วย