คำศัพท์ข้อใดหมายถึงจังหวะดูด *

ศัพท์สังคีต

คือ ภาษาเฉพาะที่ใช้พูดกันในวงการดนตรีไทย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายความ ถึงอะไร หรือให้ปฏิบัติอย่างไร จะนำมาอธิบายเฉพาะคำที่มีกล่าวไว้ในบทข้างต้น ดังต่อไปนี้

กรอ

๑. เป็นวิธีบรรเลงของเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีตี ๒ มือ สลับกันถี่ๆ โดยใช้มือซ้ายกับมือขวาตีมือละเสียง เป็นคู่ ๒ คู่ ๓ คู่ ๔ คู่ ๕ คู่ ๖ และคู่ ๘

๒. เป็นคำเรียกการดำเนินทำนองเพลงที่ใช้เสียงยาวๆ ช้าๆ เพลงที่ดำเนิน ทำนองอย่างนี้เรียกว่า "ทางกรอ" ที่เรียกอย่างนี้ก็ด้วยทำนองที่มีเสียงยาวๆ นั้น เครื่องดนตรีประเภทตี ต้องตีกรอ (ดังข้อ ๑) เพราะไม่สามารถจะทำเสียงยาว อย่างพวกเครื่องสีเครื่องเป่าได้

จังหวะ

หมายถึง การแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลง ซึ่งดำเนินไปโดยสม่ำเสมอ ทุกๆ ระยะที่แบ่งนี้ คือ จังหวะ

จังหวะที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีไทย แยกออกได้เป็น ๓ อย่าง คือ

๑. การแบ่งระยะที่มีความรู้สึกอยู่ในใจ แม้จะไม่มีสัญญาณอะไรตีเป็นที่หมายก็ มีความรู้สึกแบ่งระยะได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะกำหนดแบ่งระยะถี่หรือห่างอย่างไร ก็แล้วแต่ถนัด อย่างนี้เรียกว่า "จังหวะสามัญ" หรือจังหวะทั่วไป

๒. การกำหนดแบ่งระยะนั้น ใช้เสียงฉิ่งที่ตีเป็นที่หมาย เสียงที่ตีดัง "ฉิ่ง" เป็น จังหวะเบา และเสียงที่ตีดัง "ฉับ" เป็นจังหวะหนัก ซึ่งจังหวะหนักเป็นสำคัญ กว่าจังหวะเบา

๓. กำหนดเอาเสียงตีของตะโพน หรือสองหน้า หรือกลองแขกซึ่งเรียกว่า "หน้าทับ" เป็นที่หมายเมื่อตะโพน หรือสองหน้า หรือกลองแขก ตีไปจบกระบวน ครั้งหนึ่ง ก็กำหนดว่าเป็นจังหวะหนึ่ง ตีจบไป ๒ ครั้ง ก็ถือว่าเป็น ๒ จังหวะ ตีจบไปกี่ครั้งก็ถือว่าเป็นเท่านั้นจังหวะ จังหวะอย่างนี้เรียกว่า "จังหวะหน้าทับ"

ตับ

หมายถึง เพลงหลายๆ เพลง ที่นำมาร้องหรือบรรเลง ติดต่อกันไป เหมือนอย่างปลาหลายๆ ตัว เอาไม้คาบให้เรียงติดกัน ก็เรียกว่า ตับ หรือใบจากหลายๆ ใบนำมาเย็บให้เรียงติดกัน ก็เรียกว่า ตับจาก เพลงที่เรียงติดต่อกันเป็นตับนี้ ยังแยกออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ

๑. ตับเพลง ได้แก่ เพลงที่นำมาร้องหรือบรรเลงติดต่อกันนั้น ต้องเป็นเพลง อัตราเดียวกัน ๒ ชั้นก็ ๒ ชั้นทุกเพลง หรือ ๓ ชั้นก็ ๓ ชั้นทุกๆ เพลง และทำนองที่ติดต่อกันได้สนิทสนม ส่วนใจความของบทร้องอาจเป็นคนละเรื่อง หรือคนละตอนก็ได้ ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ

๒. ตับเรื่อง เพลงที่นำมารวมร้องหรือบรรเลงติดต่อกันนั้น ต้องมีบทร้องเป็น เรื่องเดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังได้ความเป็นเรื่องเป็นราว ส่วน ทำนองเพลงจะเป็นชั้นเดียว ๒ ชั้น หรือจะลักลั่นกันอย่างไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่ถือ เป็นสิ่งสำคัญ

1. จังหวะดูด (Intakeลูกสูบเริ่มต้นที่จุดสูงสุด เลื่อนลงมาขณะเดียวกันวาล์วไอดี (Intake valve) จะเปิด และวาล์วไอเสีย (Exhaust valve) ปิด ดูดส่วนผสมเชื้อเพลิง และอากาศที่เรียกว่า “ไอดี” เข้ามาในกระบอกสูบ ลูกสูบจะเลื่อนลงจนถึงจุดต่ำสุด นี้คือจังหวะดูด

2. จังหวะอัด (Compression) ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย จะไม่เปิด ลูกสูบเลื่อนขึ้นจนถึงจุดสูงสุดเพื่อทำการอัดส่วนผสมไอดีให้มีปริมาตรที่เล็กลง และจะเกิดความดันภายในห้องเผาไหม้จากการอัด นี้คือจังหวะอัด

3.จังหวะระเบิด, ได้งาน (Combustion) หรือจังหวะเผาไหม้ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสูงสุดแล้ว วาล์วไอดี และไอเสียยังปิดอยู่ หัวเทียนจะทำการจุดระเบิดไอดีที่มีความดันเกิดจากจังหวะอัด เกิดการระเบิดภายในห้องเผาไหม้อย่างรุนแรง ถีบให้ลูกสูบเลื่อนลง จังหวะนี้คือจังหวะที่นำไปใช้งานในการเคลื่อนที่ของรถยนต์ เป็นจังหวะเดียวที่ได้งานในจำนวน 4 จังหวะ

4. จังหวะคายไอเสีย (Exhaust) ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ขณะเดียวกันวาล์วไอเสียจะเปิด ขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ วาล์วไอดียังคงปิดอยู่ นี้คือจังหวะคาย

เมื่อทำงานถึงวัฏจักรที่ 4 ต่อไปก็จะ วนกลับมาทำงานในวัฏจักรที่ 1 ต่อไปวนเวียนเช่นนี้จนกระทั่งดับเครื่องยนต์

ลูกสูบ (Piston) ที่อยู่ในกระบอกสูบ (Cylinder) ลูกสูบจะวิ่งขึ้นลงทำงาน จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) โดยมีตัวเชื่อมต่อคือ ก้านสูบ (Connecting rod) เพลาข้อเหวี่ยงจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานจากการระเบิด ไปเป็น การหมุน (พลังงานความร้อน ไปเป็น พลังงานกล)

ข้อน่าสังเกต การเคลื่อนที่ของลูกสูบภายในกระบอกสูบเป็นการเคลื่อนที่ขึ้นลง เป็นเส้นตรง แต่จะถูกแปลงไปเป็นการหมุนโดยมีเพลาข้อเหวี่ยงเป็นตัวแปลงให้เป็นการหมุนของเพลา เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ[1] "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา

การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้น ๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์" ดังนี้

ประเภทของนาฏยศัพท์[2][แก้]

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลับมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่2. กิริยาศัพท์หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ดหมายถึง ศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์นอกเหนือไปจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง

และอื่นๆ

นาฏยภาษา[แก้]

นาฏยภาษาหรือภาษาท่าทาง เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ทั้งผู้ถ่ายทอดสาร (ผู้รำ) และผู้รับสาร (ผู้ชม) จำเป็นจะต้องเข้าใจตรงกัน จึงจะสามารถเข้าใจในความหมายของการแสดงออกนั้นได้อย่างถูกต้อง

การถ่ายทอดภาษาด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ชาวสยามเรารู้จักใช้และเข้าใจกันมานานแล้ว จึงทำให้ภาษาการฟ้อนรำนี้พัฒนาด้วยกระบวนการทางอารยธรรมจนกลายเป็น "วิจิตรศิลป์" ดังนั้น อารยชนผู้ที่จะสามารถเข้าใจในภาษาท่าทางเหล่านี้ก็จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกับผู้รำเสียก่อน จึงจะสามารถดูละครรำของไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. ลักษณะการรำไทย
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.