ใครคือพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร

����ѵ���ʵ��  ������ʵ�� �ؤ���Ӥѭ �������з�ջ »

������� 77 �ѧ��Ѵ »

�ѧ��Ѵ��ᾧྪ�

������ » ����ѵ���ʵ��-�������� ��Ż�-�Ѳ�����-���ླ� ʶҹ����Ӥѭ-���觷�ͧ����� �ç���-���ѡ

�.�.2051 �ҡ�����µ������ǧ ��ᾧྪö١Ŵ�ҹ���������ͧ���� ������ͧ��ᾧྪ����Ѻ�������͡�����óç��ʧ���� � �ѡ�Թ� 10,000 ��鹻��ᴧ�ʹү���

�.�.2053 �ҡ���Ҩ��֡�ҹ�������� ����Ƕ֧��âش����úҧ���� �������仺ҧ�ҹ ��Ы�����ͻ��������ǧ件֧�ҧ�ҹ

�.�.2058 �ҡ�ӹҹ�ѵ�����ǧ������������������ͧ��ᾧྪ÷�Ţ;������á��ҡ��ا�����ظ������������ͧ��ᾧྪ�

�.�.2058 �ҡ�ӹҹ�ԧ˹�ѵǵԡ���� ����������觹���ӻҧ��һ�����ͧ��ᾧྪ� ����������

�.�.2081 �ҡ�������˵�������ظ�� ���ͧ��ᾧྪõ�駵��������� ���������� ���稾�����Ҫ�¡�ͧ�Ѿ�һ�Һ���� ����ִ���ͧ��ᾧྪ���

�.�.2088 ���稾�����ҪҸ��Ҫ�ʴ����§���� ������Ҿ�ɳ��š�繷Ѿ˹�� ¡�Ѿ��ǧ仡�ᾧྪõ�駷Ѿ��� � ���ͧ��ᾧྪ�   ���稾�����Ҫ� � �ʴ�¡�Ѿ�ú��§�����ͧ���� �һ�зѺ���ͧ��ᾧྪ÷ء���� �ҡ�����µ������ǧ��Ѫ�������稾�к�����š�Ҷ ��ѹ�֡������ ��ᾧྪ��������ͧ�������ҹ�� �������ҹ�������� 8 ���ͧ������ͧ��ɳ��š ���ͧ�Ѫ���� ���ͧ��⢷�� ���ͧ��ᾧྪ� ���ͧ�����ո��� ���ͧ���� ��������ͧ�١��ǧ ���������������ͧ������ͧ��ɳ��š ���ͧ���ä�š ���ͧ��ᾧྪ� ���ͧž���� ���ͧ�ԧ�����

�.�.2097 �ҡ����Ǵ�é�Ѻ����Ҫ�ѵ��Ţ� ���稾����Թ��Ҹ��Ҫ��Һ������稾����Ҩѡþ�ô���� ���ͧ��ᾧྪ��繷ҧ���ѧ����֡ �Тͷ�������ͧ��ᾧྪ� ��С�Ҵ��Ҥ�ͺ����;¾���� � ��ا�����ظ�� ���稾����Ҩѡþ�ôԷç��繴��� �Ѿ��ǧ�֧�����������蹤����ä� ���稾����Թ��Ҹ��Ҫ ¡�ͧ�Ѿ��ѧ���ͧ��ᾧྪ� �Ѿ��ǧ��駤�������������ͧ ���������繡ͧ˹�� ��駤���᷺�����ͧ �觾��͡�ѡ���� �������վ������������ͧ��ᾧྪ�㹤����á ����������һ�����ͧ���� 3 �ѹ ��������   ���稾����Թ��Ҹ��Ҫ�֧¡�ͧ �Ѿ��Ѻ��й�������ظ��

�.�.2107 �ҡ˹ѧ�����ú���� ������˧��Ǵ��Ѻ������ѹ��١Ѻ�Ҫ�ѧ��� ����ž��ҡѺ���˭� �ӷҧ�Ҩҡࢵᴹ ����ҵ����駩ҧ������ͧ��ᾧྪ�

�.�.2108 �ҡ����Ҫ����Ǵ�é�Ѻ����Ҫ�ѵ��Ţ� ���稾�й���������Ҫ ����ѧ�Ѻ�����ҷ���ҵ�駷ӹ����������ͧ��ᾧྪ�

�.�.2109 ���稾����Ҩѡþ�ô��ô���෤���;¾������ͧ�˹�� ��ʹ������ͧ��ɳ��š ��ᾧྪ� ��⢷�� �Ԫ�� �ԨԵ� ŧ������ѹ��駷Ѿ�Ѻ���ҷ���ا�����ظ�� ���������ͧ��Ǣͧ���ͧ��ᾧྪ����仨ҡ˹�һ���ѵ���ʵ�������ҹҹ

�.�.2309 ����ҵҡ (�Թ) ������͹�繾����Ǫ�û�ҡ�� ������ͧ��ᾧྪ� ���ѧ���ѹ����Ѻ���˹� ��价Ѿ�����ظ��

�������ظ�� ��ᾧྪ÷�˹�ҷ�������ͧ�������ҹ�� ���ͧ˹�Ҵ�ҹ ���ͧ����������ʺ�§����÷�駽�������о��� �ҧ��觵��ѹ�͡�ͧ���ͧ��ᾧྪ� �Ѩ�غѹ�ѧ�ժ��� �Ҿ��� ���ͭ ��ҡ�����   ��ᾧྪþ�������駵������������¤�������������

�.�.2313 ���稾����ҵҡ�Թ����Ҫ �ô���� � ����駾������ú�Թ��� �����ǧ��� �繾���ҡ�ᾧྪ�

�.�.2318 �Ѿ����¡�ҵ����ͧ��ᾧྪ� �ҧ���ͧ��ᾧྪ��������͡��ѧ�֧�ҡѹ˹���һ�� ���稾����ҵҡ�Թ����Ҫ �ç¡�ͧ�Ѿ�Ҫ��¢Ѻ������ᵡ���¡�Ѻ�

<<< ��͹��Ѻ || ��ҹ��� >>>

�ѧ��Ѵ » ��ᾧྪ� ��§��� ��§���� �ҡ ������ä� ��ҹ ����� �ԨԵ� ��ɳ��š ྪú�ó� ��� �����ͧ�͹ �ӻҧ �Ӿٹ ��⢷�� �صôԵ��

             

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สิน” (ชื่อจีนเรียกว่า “เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ “นายไหฮอง” ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ”นางนกเอี้ยง” ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ ๓) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย ครั้นอายุ ๕ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) ทรงศึกษาหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ ตลอดจนศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ต่อมาเมื่ออายุครบ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวร ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะศึกษาหาความรู้ กับอาจารย์ชาวจีน อาจารย์ชาวญวน และ อาจารย์ชาวแขก จนเชี่ยวชาญและสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วทั้ง ๓ ภาษา

             ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาส ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศได้ ๓ พรรษา จึงลาสิกขา และกลับมารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาด รอบรู้ขนบธรรมเนียมตลอดจนภารกิจต่างๆ อย่างดี สามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้ จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็ก รายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และ กรมวังศาลหลวง

             ครั้น พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ ๓ เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช “สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓” (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ช่วยราชการพระยาตาก ครั้นพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น “พระยาตาก ปกครองเมืองตาก”

             ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทย โดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ เมืองทางใต้ได้อย่างง่ายดาย ตีเรื่อยตลอดหัวเมืองทางใต้จนถึงเมืองเพชรบุรี จนกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพไทย มีพระยาโกษาธิบดีกับพระยาตากไปรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ จนตีพม่าแตกถอยไปทางด่านสิงขร

             ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่ายกกองทัพมาตีไทยอีก พระยาตากได้มาช่วยรักษาพระนครไว้ได้ จึงได้ปูนบำเหน็จความดีความชอบ ได้รับโปรดเกล้าให้เลื่อนเป็น “พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร” แต่ยังไม่ทันได้ปกครองเมืองกำแพงเพชร ก็เกิดศึกกับพม่าครั้งสำคัญ จึงถูกเรียกตัวให้เข้ารับราชการในกรุง เพื่อป้องกันพระนคร จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๙ ขณะที่ไทยกับพม่ากำลังรบกันอย่างดุเดือด พระยาวชิรปราการ เกิดท้อแท้ใจหลายประการคือ

             ๑. พระยาวชิรปราการ คุมทหารออกไปรบนอกเมืองจนได้ชัยชนะยึดค่ายพม่าได้ แต่ทางผู้รักษาพระนครไม่ส่งกำลังไปหนุน ทำให้พม่าสามารถยึดค่ายกลับคืนได้

             ๒. ขณะที่ยกทัพเรือออกรบร่วมกับพระยาเพชรบุรี พระยาวชิรปราการ เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่าจึงห้ามมิให้พระยาเพชรบุรีออกรบ แต่พระยาเพชรบุรี ฝืนออกรบ จนพ่ายแพ้แก่พม่าจนตัวตายในสนามรบ พระยาวชิรปราการ ถูกกล่าวหาว่าทอดทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย

             ๓. ก่อนเสียกรุง ๓ เดือน พม่ายกทัพเข้าปล้นพระนคร ทางด้านที่พระยาวชิรปราการรักษาอยู่ เห็นจวนตัว จึงยิงปืนใหญ่ขัดขวาง โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลาลูกขุน จึงถูกฟ้องชำระโทษภาคทัณฑ์

             ด้วยสาเหตุดังกล่าว พระยาวชิรปราการเห็นว่าขืนอยู่ช่วยป้องกันพระนครต่อไป ก็ไม่มีประโยชน์อันใด และเชื่อว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในครั้งนี้เป็นแน่ ดังนั้นในช่วงพลบค่ำวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. ๒๓๐๙) พระยาวชิรปราการได้พาเหล่าทหารเอกคือ พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา (ต่อมาเป็นพระพิชัยดาบหัก) หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมสมัครพรรคพวกประมาณ ๕๐๐ นาย ตีฝ่าวงล้อมออกจากค่ายพิชัยมุ่งออกไปจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตีออกมาทางบ้านหันตรา (ทุ่งหัตรา อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบัน) กองทัพพม่าบางส่วนได้ไล่ติดตามมาทันที่บ้านข้าวเม่า บ้านส้มบัณฑิต (ในเขตอำเภออุทัย) และต่อสู้กันจนถึงเที่ยงคืนพม่าก็ถอยทัพกลับไป พระยาวชิรปราการจึงพากองกำลัง มุ่งหน้ายึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่น เจ้าเมืองจันทบุรีมิยอมสวามิภักดิ์ พระยาตาก (พระยาวชิรปราการ) จึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบมาใช้กับแม่ทัพนายกอง ฟื้นฟูขวัญกำลังใจของไพร่พล เพื่อต้องการรบให้ชนะ โดยสั่งให้ทุบ หม้อข้าวหม้อแกง พร้อมเปล่งวาจา

             “เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมดหมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”

             ครั้นถึงเวลาค่ำ พระยาตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยจีนลอบเข้าไปอยู่ ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้วให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเข้าเมืองพร้อมกัน มิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมืองได้ พอได้ฤกษ์เวลา ๓ นาฬิกา พระเจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชรพร้อมยิงปืนสัญญาณ แจ้งแก่เหล่าทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน ทรงไสช้างเข้าพังประตูเมือง จนยึดเมืองได้สำเร็จ

             ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าก็ยกทัพตีพระนคร นับเป็นเวลาที่พม่าล้อมค่ายอยู่ถึง ๑ ปี ๒ เดือน กรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่า ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ถือเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา

             หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว บ้านเมืองเกิดแตกแยก หัวเมืองต่างๆ ตั้งตัวเป็นใหญ่ต่างคนต่างรวมสมัครพรรคพวกตั้งเป็นก๊กต่างๆ ได้แก่ ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กพระเจ้าฝาง ก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และก๊กเจ้าพิมาย พระยาวชิรปราการได้จัดเตรียมกองทัพอยู่เป็นเวลา ๓ เดือน ก็ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา จนตีเมืองธนบุรีแตก จับนายทองอินประหาร แล้วเลยไปตีค่ายโพธิ์สามต้น แตกยับเยิน สุกี้พระนายกองตายในที่รบ ขับไล่พม่าออกไปพ้นแผ่นดินไทยสำเร็จ ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ซึ่งใช้เวลากู้อิสรภาพกลับคืนจากพม่า ภายในเวลา ๗ เดือนเท่านั้น

             จากนั้น พระยาตาก (พระยาวชิรปราการ) จึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรี ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔” แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” จากนั้นทรงยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นชุมนุมอิสระได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก และชุมนุมเจ้าพระฝาง (เป็นชุมนุมสุดท้าย)

             ย้อนมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ซ่องสุมผู้คนได้หลายเมือง ตั้งตัวเป็นเจ้า แต่ไม่ยอมสึกจากพระ เปลี่ยนสีจีวรจากสีเหลืองเป็นสีแดง นับเป็นชุมนุมใหญ่ฝ่ายเหนือ ประชาชนเรียกกันว่า “เจ้าพระฝาง”

             ล่วงมาถึง ปีขาล พ.ศ. ๒๓๑๓ หลังจากการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว มีข่าวมาถึงกรุงธนบุรีว่า เมื่อเดือน ๖ ปีขาล เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมืองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพ จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่งปืนใหญ่มาถวาย และแขกเมืองตรังกานู ก็นำปืนคาบศิลาเข้ามาถวาย จำนวน ๒,๐๐๐ กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้

             สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนทัพเรือ ยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน จัดกำลังเป็น ๓ ทัพ ทัพที่ ๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล ๑๒,๐๐๐ คน ทัพที่ ๒ พระยาอนุชิตราชา ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล ๕,๐๐๐ คน ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่ กองทัพที่ ๓ พระยาพิชัย ถือพล ๕,๐๐๐ คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตก

             ฝ่ายเจ้าพระยาฝาง เมื่อทราบว่ากองทัพกรุงธนบุรียกกำลังขึ้นไปดังกล่าว จึงให้หลวงโกษา (ยัง) คุมกำลังมาตั้งรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ฝ่ายกองทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก เมื่อ วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๙ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้เข้าปล้นเมืองในค่ำวันนั้น ก็ได้เมืองพิษณุโลก หลวงโกษา (ยัง) หนีไปเมืองเมืองสวางคบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เมืองพิษณุโลกแล้ว กองทัพที่ยกไปทางบกยังขึ้นไปไม่ถึงทั้งสองทัพ ด้วยเป็นฤดูฝนหนทางลำบาก พระองค์ประทับที่เมืองพิษณุโลกอยู่ ๙ วัน กองทัพพระยายมราชจึงเดินทางไปถึง และต่อมาอีก ๒ วัน กองทัพพระยาพิชัยราชาจึงยกมาถึง เมื่อกำลังพร้อมแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงให้กำลังทางบก รีบยกตามข้าศึกที่แตกหนีไปยังสวางคบุรี พร้อมกันทั้งสองทาง รับกำลังทางเรือให้คอยเวลาน้ำเหนือหลากลงมาก่อน ด้วยทรงพระราชดำริว่า ในเวลานั้นน้ำในแม่น้ำยังน้อย หนทางต่อไปลำน้ำแคบ และตลิ่งสูง ถ้าข้าศึกยกกำลังมาดักทางเรือจะเสียเปรียบข้าศึก ทรงคาดการณ์ว่าน้ำจะหลากลงมาในไม่ช้า และก็เป็นจริงตามนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จพระราชดำเนินยกกำลังทางเรือขึ้นไปจากเมืองพิษณุโลก

             สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาพิชัยราชา คุมทัพไปทางตะวันตก ให้พระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ ๑) คุมทัพไปทางตะวันออก สองทัพสมทบกันโจมตีเมืองสวางคบุรี สภาพเมืองสวางคบุรี ที่มั่นเจ้าพระฝาง ไม่มีกำแพง มีแต่ระเนียดไม้ขอนสักถมเชิงเทินดิน เจ้าพระฝางสู้ได้สามวันก็แตกพ่ายหนี พาลูกช้างพังเผือกหนีไปด้วย กองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรีติดตามไป ได้ช้างพังเผือกคืน ตัวเจ้าพระฝางหายสาบสูญไป จึงเป็นอันปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมสุดท้ายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกลงสำเร็จ และเมื่อปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด

             พระองค์ได้ประทับ ณ ค่ายหาดสูง เมืองสวางคบุรี ทรงจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง พบว่า เมืองพิษณุโลกมีพลเมือง ๑๕,๐๐๐ คน เมืองสวรรคโลก มี ๗,๐๐๐ คน เมืองพิชัย รวมทั้งเมือง สวางคบุรี มี ๙,๐๐๐ คน เมืองสุโขทัย มี ๕,๐๐๐ คน เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ มีเมืองละ ๓,๐๐๐ คนเศษ 

            และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระคณะสงฆ์หัวเมืองเหนือ แลทรงพระกรุณาให้เย็บจีวรสบงให้ได้พันไตร ทรงบวชพระสงฆ์ฝ่ายเหนือ และดำรัสให้กรมสังฆการีลงมาอาราธนารับพระราชาคณะกับพระสงฆ์อันดับ ณ กรุงธนบุรี ๕๐ รูป ขึ้นไปบวชพระสงฆ์ไว้ ณ หัวเมืองเหนือ ทุก ๆ เมือง  แลเมื่อคราวประทับ ณ เมืองสวางบุรีนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดคุ้งสำเภาริมแม่น้ำน่านโบราณ ใต้เมืองสวางคบุรี อันเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษามาตั้งแต่สมัยอยุธยา เปลี่ยนนามให้เป็น "วัดคุ้งตะเภา" 

             พร้อมทั้งทรงให้สร้างศาลาบอกมูลฯ ขึ้นในคราวเดียวกันนั้น เพื่อให้เป็นที่พำนักสั่งสอนของพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรมที่ทรงอาราธนานิมนต์มาจากกรุงธนบุรี และเพื่อให้เป็นที่รวมราษฎรในภูมิลำเนาเดิมที่แตกฉานซ่านเซ็นไปเมื่อครั้งเสียกรุงฯ โดยที่วัดคุ้งตะเภาเป็นวัดในชุมชนที่มีที่ตั้งอยู่เหนือสุดท้ายพระราชอาณาเขตกรุงธนบุรีในสมัยนั้น โดยโปรดให้พระพิมลธรรมไปอยู่ ณ เมืองสวางคบุรี ให้พระธรรมโดคมไปอยู่ ณ เมืองพิชัย ให้พระธรรมเจดีย์ไปอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ให้พระพรหมมุนีไปอยู่ ณ เมืองสุโขทัย ให้พระเทพกวี ไปอยู่ ณ เมืองสวรรคโลก และให้พระโพธิวงษ์ไปอยู่ ณ เมืองศรีพนมมาศทุ่งยั้ง เพื่อสั่งสอนในข้อพระวินัยสิกขาบท กับให้เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกลงมาเป็นฉบับสร้างใหม่ ณ กรุงธนบุรีด้วย 

             ครั้นวันศุกร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินกระทำการสมโภชพระมหาธาตุเมืองฝาง ๓ วัน ทรงมีพระราชศรัทธาเปลื้องพระภูษาทรงสะพักออกจากพระองค์ถวายทรงพระมหาธาตุ  แล้วให้ปฏิสังขรณ์พระอารามและพระมหาธาตุให้บริบูรณ์ดังเก่า จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองทุ่งยั้ง สมโภชพระแท่นศิลาอาสน์ ๓ วัน เสด็จไปสมโภชพระมหาธาตุเมืองสวรรคโลก ๓ วัน ครั้งวันศุกร์ ขั้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ จึงเสด็จไปเมืองพิษณุโลก สมโภชพระมหาธาตุ พระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ๓ วัน

             จากนั้นได้ทรงตั้งข้าราชการซึ่งมีบำเหน็จความชอบในการสงครามครั้งนั้นคือ พระยายมราช ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช อยู่สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก พระยาพิชัยราชา ให้เป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก พระยาสีหราชเดโชชัย ให้เป็นพระยาพิชัย ครองเมืองพิชัย (ต่อมาเป็นพระยาพิชัยดาบหัก) พระยาท้ายน้ำ ให้เป็นพระยาสุโขทัย พระยาสุรบดินทร์ เมืองชัยนาท ให้เป็นพระยากำแพงเพชร พระยาอนุรักษ์ภูธร ให้เป็นพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาจักรี (แขก) นั้นอ่อนแอในสงคราม มีรับสั่งให้เอาออกเสียจากตำแหน่งสมุหนายก พระยาอภัยรณฤทธิ์ ให้เป็นพระยายมราช และให้บัญชาการกระทรวงมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงจัดระเบียบการเมืองการปกครองเมืองเหนือ   ตลอดฤดูน้ำ  ปีขาล  พ.ศ.๒๓๑๓  แล้วจึงเสด็จกรีธาทัพ  กลับกรุงธนบุรี    และโปรดให้รับนางพระยาเศวตกิริณีอันได้จากเมืองฝางนั้นลงมาด้วย  เมื่อถึงกรุงธนบุรีแล้ว  ให้มีงานสมโภชสามวัน

             โดยทรงใช้เวลารวบรวมอาณาเขตปราบชุุมนุมอิสระต่าง ๆ อยู่ ๓ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๑ – พ.ศ. ๒๓๑๓ จนกอบกู้เอกราช รวมเป็นพระราชอาณาจักรเดียวดังเดิม

สมเด็จพระเจ้า ตากสิน มหาราช

ทรงกู้ชาติ ตรำตราก ยากหนักหนา

ไทยรวมชาติ พลิกฟื้น กลับคืนมา

สถาปนา กรุงธนบุรี ศรีแผ่นดิน

             สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงครองราชย์เป็นเวลา ๑๕ ปี จึงทรงสวรรคตเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ จศ. ๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ สิริพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ กอบกู้ประเทศชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้

             ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ต่างยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า “มหาราช” คณะสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวบ้านวัดคุ้งตะเภา ทุกหมู่เหล่าได้พร้อมใจกันน้อมรำลึกในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศและเกียรติคุณให้ปรากฏกับอนุชนรุ่นหลังตราบเท่าทุกวันนี้

พระตรามหาเดช

พระสรรเพชร์เสด็จทั้ง   พลพล
ปราบทุกข์เมทนียดล  มากพร้อม
ประกาศสถิตย์ชน กลับตั้ง
วัดคุ้งตะเภาน้อม  ปลุกให้คงเขษม

คาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธธัสสะ (3จบ)

โอมสิโน ราชาเทวะ นะมามิหัง ชะยะ ตุภะวัง สัพพะ ศัตรูวินาส สันติ(3-9จบ)

เกร็ด: ที่มาของคาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากพงศาวดารธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

"...กำหนดพิชัยสงคราม แล้วพระราชทานเกนหัดถือปืน ๔๐ คน ลูกหาบ ๔๐ คน ม้าต้นม้าหนึ่ง แก่เจ้าพระยานครสวรรค์ แล้วพระราชทานทหารกองนอก ถือปืน ๑๕๐ ลูกหาบ ๑๕๐ คน ให้หลวงอภัยสรเพลิงไปเข้ากองเจ้าพระยานครสวรรค์ แล้วถอดพระธำมรงค์เพ็ชร์องค์หนึ่งพระราชทานเจ้าพระยานครสวรรค์ แล้วพระราชทานพรว่า ชยตุ ภวัง สัพพสัตรู วินาสสันติ ในทันใดนั้นเป็นอัศจรรย์ มหาเมฆยัง ฝอยฝนให้ตกลงมาหน่อยหนึ่ง..."

____________ . (๒๕๑๒). พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี จดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี. พิมพ์ครั้งที่ ๑. (กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา). หน้า ๖๗ 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ