ใครผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลก

เทคโนโลยีการขุดน้ำมันแบบใหม่ที่ช่วยให้สามารถขุดน้ำมันจากชั้นหินดินดานหรือ “เชลออยล์” ทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 1 ของโลก จากปริมาณการผลิตน้ำมัน 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน

พื้นที่ Midland ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเวสต์เท็กซัสที่รู้จักกันในชื่อ Permian Basin ขนาดกว่า 86,000 ตารางไมล์ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเท็กซัสและตะวันออกเฉียงใต้ของนิวเม็กซิโก คือแหล่งผลิตน้ำมันชั้นยอดจากอเมริกา 

Scott Sheffield ซีอีโอของบริษัททรัพยากรธรรมชาติไพโอเนียร์ ยอมรับว่า ความพยายามในการขุดน้ำมันจากชั้นหินดินดานกว่าสองทศวรรษนั้นประสบความสำเร็จไปด้วยดี ซึ่งมีปริมาณ 80,000 ล้านบาร์เรล เทียบเท่ากับบางประเทศในตะวันออกกลาง 

จากรายงานของ World Oil Outlook เปิดเผยว่า การผลิตน้ำมันในแต่ละวันของสหรัฐอยู่ที่ 20 ล้านบาร์เรลต่อวันตลอดห้าปี นอกจากมูลค่าน้ำมันแล้ว ผลประโยชน์ยังเกิดกับธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย 

นอกจากพื้นที่ Midland แล้ว ยังมีแหล่งน้ำมันอย่าง Sabine Pass รอบริเวณ ชายแดนเท็กซัสและรัฐหลุยเซีย ที่มีพลังงานธรรมชาติให้ได้กอบโกย หลังจากยุติกฎหมายการห้ามส่งออกพลังงานในปี 2558 

การขยายตัวของเทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำมันจากชั้นหินดินดาน ถือว่าเป็นสิ่งน่าสนใจที่สุดของสหรัฐอเมริกา ณ ตอนนี้ที่ทำให้สหรัฐสามารถยืนหยัดสู้กับยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน แต่รุ่นใหญ่อย่าง ซาอุดิอาระเบียก็ยังไม่ได้มีท่าทีออกมาโต้ตอบแต่อย่างใด ยังเป็นเรื่องที่น่าจับตามองต่อไป 

ด้วยนโยบายประชานิยมสุดโต่งของอูโก ชาเบซ พนักงานจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติของเวเนซุเอลา หรือ Petróleos de Venezuela, S.A. เรียกสั้น ๆ ว่า PDVSA ก็ได้รวมตัวกันหยุดงานประท้วง เพื่อให้ อูโก ชาเบซ ลงจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบายของประธานาธิบดีคนนี้

แต่การประท้วงก็ไม่เป็นผล แถมมันยิ่งจุดชนวนให้อูโก ชาเบซ จอมเผด็จการ สั่งไล่พนักงานราว 18,000 คนออกจากบริษัท ซึ่งมีตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญ ไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง

เท่านั้นยังไม่พอ อูโก ชาเบซ ยังได้นำบุคลากรในกองทัพ รวมถึงพวกพ้องที่เห็นดีเห็นงามกับตน เข้ามานั่งในตำแหน่งผู้บริหารอีกมากมาย ทั้ง ๆ ที่บุคคลเหล่านั้นไม่ได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันเลย

อูโก ชาเบซ ออกคำสั่งบงการองค์กรตามใจชอบ ถึงขนาดที่ว่า “Screensaver” บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของบริษัทก็ยังถูกเปลี่ยนให้เป็นรูปของตัวเขาเอง..

อีกเรื่องสำคัญก็คือ น้ำมันดิบของเวเนซุเอลาส่วนใหญ่ถึง 77%
เป็น Extra-Heavy Crude Oil หรือ น้ำมันดิบชนิดหนักพิเศษ
ทำให้กระบวนการกลั่น ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและซับซ้อน จึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลในการผลิต

เวเนซุเอลาจึงได้เริ่มเชิญชวนให้บริษัทน้ำมันชั้นนำจากต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น Total, Chevron, BP, ExxonMobil หรือ ConocoPhillips เข้ามาลงทุน

โปรเจกต์หลายหมื่นล้านบาท ถูกใช้ไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีขั้นสูง
ในการเปลี่ยนจากน้ำมันดิบชนิดหนักพิเศษ ให้กลายเป็นเกรดที่สามารถส่งออกเพื่อขายได้

พอมาในปี 2007 เป็นช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น
ประกอบกับว่าบริษัทน้ำมันจากต่างชาติ ที่ลงทุนไปอย่างมหาศาลเริ่มเห็นผลกำไร
แต่อูโก ชาเบซ กลับแก้ไขข้อตกลงใหม่ ให้บริษัทน้ำมันต่างชาติควบรวมกับ PDVSA และต้องให้ PDVSA เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย

บริษัท Total, Chevron และ BP ยอมรับข้อตกลง และทำโครงการต่อในเวเนซุเอลา
ในขณะที่บริษัท ExxonMobil และ ConocoPhillips ตอบปฏิเสธ และถอนทุนกลับประเทศไป
ส่งผลให้ทรัพย์สินของทั้งสองบริษัทถูกเวนคืน

นอกจากนั้นก็ยังมีอีกกว่า 70 บริษัทย่อย ๆ ที่อยู่ในซัปพลายเชน ก็ถูกรวมเข้ามาเป็นของรัฐด้วย

ในช่วงน้ำมันขาขึ้น เวเนซุเอลาสามารถทำกำไรได้มหาศาล แต่กำไรเหล่านั้น กลับถูกนำไปใช้กับนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง เพื่อสร้างคะแนนเสียงให้กับผู้นำประเทศ และการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีแนวคิดทางการเมืองแบบเดียวกัน

ในขณะที่ธุรกิจน้ำมัน ที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรผลิตรายได้เข้าประเทศ
กลับไม่ถูกให้ความสำคัญ โดยไม่ได้รับเงินไปลงทุนต่อยอด หรือพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อะไรเลย

จนเมื่อเวลาผ่านไป กำลังการผลิตของบริษัทน้ำมันหลายแห่งก็ได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ และบริษัทน้ำมันก็เริ่มขาดทุนหนัก จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ต่อมาผู้รับเหมาก็เริ่มหยุดงาน เนื่องจากบริษัทน้ำมันมีหนี้ค้างชำระ

พนักงานถูกลดค่าตอบแทน หลายคนต้องลาออก ส่วนกลุ่มวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญระดับหัวกะทิต่าง ๆ ก็สมองไหล ย้ายออกไปทำงานนอกประเทศ

แท่นขุดเจาะ อุปกรณ์ และเครื่องจักรต่าง ๆ ถูกปล่อยทิ้งร้าง
แม้แต่วาล์วหรือท่อส่งน้ำมันก็ถูกขโมยไปหมด
น้ำมันถูกปล่อยให้รั่วไหล จนทะเลสาบบางแห่งถูกปกคลุมไปด้วยคราบน้ำมัน ชนิดที่ว่ามองเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียม

สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนโดยรอบ และกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่มีใครอยากเข้าใกล้
เพราะวันดีคืนดีท่อส่งน้ำมันอาจจะระเบิดขึ้นมาก็ได้

มีการประเมินว่า ต้องใช้เงินลงทุนมากถึง 2.5 ล้านล้านบาท บวกกับระยะเวลาอีก 10 ปี
เวเนซุเอลาจึงจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิต จากวันนี้ที่ 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เพื่อกลับไปอยู่ในจุดเดียวกันกับปี 1998 ที่ 3.5 ล้านบาร์เรลต่อวันได้

แต่ด้วยปัญหาหนี้สินของประเทศ และวิธีการบริหารของรัฐบาลที่ผิดพลาด ไม่รู้ว่าจะถูกยึดกิจการเมื่อไร จึงทำให้ไม่มีประเทศไหนกล้าที่จะเข้ามาลงทุน และเป็นความท้าทายของเวเนซุเอลาที่จะต้องฟื้นกลับมาให้ได้อีกครั้ง

แต่รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้มีผู้ท้าชิงตำแหน่งที่ชื่อว่า สหรัฐอเมริกา ได้แซงขึ้นมาผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในโลกแล้ว และมีการต่อสู้แย่งชิงส่วนแบ่งกับเจ้าตลาดเดิมอย่างดุเดือด

เรื่องราวนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

น้ำมันถือเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีค่าทางเศรษฐกิจมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ให้พลังงาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมการผลิตหรือกิจกรรมขนส่ง จึงทำให้มีความต้องการใช้ ในขณะที่ปริมาณมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้น ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ราคาน้ำมันนั้นเคยพุ่งขึ้นไปสูงสุดที่ 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อปี 2008 แม้ในเวลาต่อมาจะปรับตัวลดลง จากวิกฤติ Subprime แต่ไม่นาน ก็ฟื้นตัวกลับมายืนเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้

ทว่า ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันของโลก กลับร่วงลงอย่างหนัก ไปทำจุดต่ำสุดบริเวณ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

ทำไมราคาน้ำมันถึงตกต่ำขนาดนี้?

ในอดีต โลกมีการขุดเจาะน้ำมันดิบ จากแหล่งฟอสซิลที่ทับถมกันในแอ่งหรือหลุม ระหว่างชั้นหินชั้นดิน เรียกว่า Crude Oil แต่ปรากฏว่าตอนนี้ สหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบวิธีการขุดเจาะแหล่งน้ำมันชนิดใหม่ ที่ชื่อว่า Shale Oil

Shale Oil คือ แหล่งน้ำมันที่ปะปนอยู่ในชั้นหินใต้เปลือกโลก ซึ่งเมื่อก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีในการขุดเจาะ แต่ไม่นานมานี้ อเมริกาได้พัฒนาวิธีการขุดเจาะภายในชั้นหินได้ และเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ ซึ่งที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีแหล่ง Shale Oil อยู่สูงมาก จึงเกิดเป็น Supply ใหม่ เข้าสู่ตลาด และกดดันราคา

โดยปกติ หากราคาน้ำมันลดลงอย่างมีนัย กลุ่ม OPEC และรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ (กำลังผลิตรวมกัน 40% ของทั้งโลก) จะหามาตรการพยุงราคา เช่น ลดกำลังการผลิต

แต่ในครั้งนี้ ที่ราคาลดลง เกิดจากการมีผู้เล่นรายใหม่ ดังนั้นหาก OPEC ลดกำลังการผลิต ก็เท่ากับว่ายอมเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับอเมริกา ที่ผลิตน้ำมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ เจ้าตลาดเดิม ได้เล็งเห็นแล้วว่า จุดอ่อนของ Shale Oil คือ ต้นทุนการผลิตที่สูง เพราะต้องใช้วิธีพิเศษในการขุดเจาะ โดยมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ประมาณ 40 - 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เทียบกับ Crude Oil ที่มีต้นทุนผลิตเพียง 20 - 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

OPEC จึงตัดสินใจปล่อยให้น้ำมันล้นตลาด กดดันราคาต่อไป เพื่อให้ Shale Oil ขาดทุน จนเลิกผลิตไปเอง

ซึ่งเมื่อไปดูข้อมูล จะพบว่า กลยุทธ์นี้ ทำท่าจะได้ผลในตอนแรก

ปี 2014 ราคาน้ำมัน WTI (West Texas Intermediate) 54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
สหรัฐอเมริกามีแท่นขุดเจาะน้ำมัน 1,499 แท่น

ปี 2015 ราคาน้ำมัน WTI 37 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
สหรัฐอเมริกามีแท่นขุดเจาะน้ำมัน 536 แท่น

จะเห็นว่า เมื่อส่วนต่างกำไรเริ่มน้อย หรือขาดทุน ผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาได้หยุดดำเนินการไปอย่างชัดเจน

เมื่อ Supply จากสหรัฐอเมริกาเริ่มหายไป ทำให้ OPEC เริ่มใช้วิธีลดกำลังการผลิต เพื่อพยุงราคาขึ้น

แต่พอราคาปรับขึ้นไม่ทันไร สหรัฐอเมริกา ก็กลับมาผลิตน้ำมันเพิ่มอีกครั้ง เพราะว่าโครงการเริ่มมีกำไร ประกอบกับเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนผลิตของสหรัฐอเมริกาก็ลดลง

ปี 2016 ราคาน้ำมัน WTI 54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
สหรัฐอเมริกามีแท่นขุดเจาะน้ำมัน 525 แท่น

ปี 2017 ราคาน้ำมัน WTI 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
สหรัฐอเมริกามีแท่นขุดเจาะน้ำมัน 747 แท่น

ปี 2018 (เดือน ต.ค.) ราคาน้ำมัน WTI 65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
สหรัฐอเมริกามีแท่นขุดเจาะน้ำมัน 875 แท่น

กลยุทธ์นี้ ทำให้ OPEC หรือแม้แต่รัสเซีย ต้องยอมเฉือนเนื้อตัวเองไปด้วย เพราะประเทศเหล่านี้ ใช้รายได้จากการขายน้ำมัน มาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนในประเทศ จึงต้องหันมารัดเข็มขัดงบประมาณใช้จ่ายของภาครัฐแทน

ซึ่งบางประเทศ เริ่มทนสภาพไม่ไหว ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น เวเนซุเอลา

และในตอนนี้ ดูเหมือนว่า ผู้ชนะในศึกนี้ จะเป็นสหรัฐอเมริกา เพราะปริมาณการผลิตน้ำมัน ได้พุ่งขึ้นมาสูงที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ปี 2016 ปริมาณผลิตน้ำมัน
1. รัสเซีย 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
2. ซาอุดีอาระเบีย 10.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
3. สหรัฐอเมริกา 8.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปี 2017 ปริมาณผลิตน้ำมัน
1. รัสเซีย 10.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
2. ซาอุดีอาระเบีย 10.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน
3. สหรัฐอเมริกา 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปี 2018 (ไตรมาส 3) ปริมาณผลิตน้ำมัน
1. สหรัฐอเมริกา 11.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
2. รัสเซีย 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
3. ซาอุดีอาระเบีย 10.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

แล้วราคาน้ำมันในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

หลายคนคาดการณ์กันว่า โอกาสที่เราจะได้เห็นราคาน้ำมันที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐอีก อาจเป็นไปได้น้อย

เนื่องจากการแข่งขันของประเทศที่ส่งออกน้ำมันกำลังแข่งขันกันด้านราคาขาย หลายประเทศยอมได้กำไรน้อย ดีกว่าสูญเสียส่วนแบ่งตลาดไป

แง่คิดที่ได้จากเรื่องนี้คือ

การพยายามเข้าไปแทรกแซงตลาดนั้น คงไม่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน เพราะในระยะยาว ทุกอย่างจะวิ่งกลับเข้าหาจุดสมดุลของมันเอง ไม่อาจหลีกเลี่ยงหลักการของอุปสงค์และอุปทานไปได้

ดังเช่น เรื่องของตลาดน้ำมันโลก ที่เจ้าตลาดเดิม ยอมเจ็บตัวเพื่อกีดกันไม่ให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาได้ แต่พอราคาสินค้ากลับสูงขึ้น ก็ต้องเสียส่วนแบ่งอยู่ดี