ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

อาจเป็นเพราะแผนที่ประเทศไทยที่อยู่หลังสมุดเรียน ที่ทำให้เส้นทางชีวิตของ ‘โปปุ้ย’ หญิงสาวชาวอยุธยา พลิกผันจนกลายมาเป็นครูแนะแนว…

ครูโปปุ้ย หรือ ครูปุ้ย –  วรีย์ สืบสมุท ครูแนะแนววัย 35 ของเด็กๆ โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม บอกว่าทั้งชีวิตไม่มีความคิดอยากเป็นครูมาก่อนเลย แต่จับพลัดจับผลูได้เข้าไปเรียนต่อในสาขาจิตวิทยาแนะแนวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ส่วนเหตุผลที่เลือกเรียนที่นี่เพียงเพราะต้องการเลี่ยงมหาวิทยาลัยแถวๆ บ้านเท่านั้น บวกกับเคยใช้นิ้วมือวัดระยะทางในแผนที่ประเทศไทยหลังสมุดแบบเรียนสมัยมัธยม พบว่าจากจังหวัดอยุธยาบ้านเกิดอยู่ห่างจากมหาวิทยาสงขลานครินทร์แค่คืบเดียว ไม่ได้ไกลมากและคิดว่าไปไหว จึงไม่ลังเลที่จะสมัครเข้าเรียนที่นั่น

  • ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

แต่กว่าจะรู้ว่าระยะทางจริงจากอยุธยาไปปัตตานีอยู่ที่ 1,133.6 กิโลเมตร  ครูปุ้ยก็กลับตัวไม่ทันเสียแล้ว

“ตอนเห็นในสมุดเเผนที่คือมันใกล้มากเลยนะ คืบเดียวเอง ตอนที่รู้ว่าต้องนั่งรถไฟ 20 ชั่วโมง ช็อคไปเลย ไม่รู้ตอนนั้นคิดอะไรอยู่ถึงเลือก (หัวเราะ)”

แต่ใครจะรู้ว่าระหว่างทาง 20 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่แสนยาวนานในวันนั้น ทำให้ครูปุ้ยเริ่มค่อยๆ ตกตะกอนทีละนิด ถึงสิ่งที่ต้องเจอข้างหน้า

ในเมื่อถอยไม่ได้…

“ก็เอาวะ ต้องอยู่ให้ได้ เราต้องรอด ถ้ากลับไปคือไม่มีที่เรียน ต้องมาเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏหรือว่าต้องรอซิ่วใหม่ ซึ่งรอไม่ได้ เพื่อนคนอื่นๆ เขายังอยู่ได้ แล้วทำไมเราจะอยู่ไม่ได้’

ยี่สิบกว่าปีผ่านไป ทุกวันนี้ครูปุ้ยกลายมาเป็นครูแนะแนวอย่างเต็มตัว

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแผนที่หลังสมุดเล่มนั้นหรือโชคชะตา ที่ช่วยเปิดประตูความเป็น ‘ครู’ ของ ‘โปปุ้ย’ ให้เริ่มต้นขึ้น

ทำไมต้องเป็นครูแนะแนว

ย้อนวัยกลับไปตอนครูปุ้ยยังเป็นนักเรียน เมื่อถึงคาบแนะแนวทีไร นั่นหมายถึงคาบอิสระ

“วิชาแนะแนว เรานอนหลับตลอด เพราะมันว่างไม่มีอะไรทำ และไม่รู้ว่าวิชานี้มันสอนอะไร(วะ) ครูแนะแนวก็ดูว่างๆ ด้วย ไม่เห็นสอนอะไรเลย”

เมื่อว่าง เด็กหญิงปุ้ยขี้สงสัยจึงเกิดคำถามตามมาว่า จริงๆ แล้วในคาบแนะแนว เด็กต้องเรียนรู้อะไร ? นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่ครูปุ้ยเลือกเรียนในสาขานี้

เริ่มต้นจากความสงสัย แต่พอได้มาเรียนจริงๆ พบว่า “เราคิดผิดไปมาก’ (หัวเราะ)”

พอเขยิบเข้าสู่ช่วงฝึกสอน ยิ่งเหนื่อย ครูปุ้ยเคยฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิต มศว.ประสานมิตร ตอนนั้นนักศึกษาสาวไม่รู้เลยว่าชีวิตการเป็นครูจะเหนื่อยขนาดนี้  คำว่า ‘ว่าง’ คืออะไร? ไม่มีเลยสักคาบ

อาจด้วยนโยบายและหลักสูตรของโรงเรียนด้วย หัวหน้าครูเเนะเเนวจึงไม่เคยปล่อยให้เด็กว่าง เรื่องทิ้งคาบยิ่งไม่ต้องพูดถึง สิ่งที่ต้องทำการบ้านอย่างหนักคือการเตรียมแผนการสอนอย่างเข้มข้น และเรียนรู้วิธีการสอนกับครูพี่เลี้ยงซึ่งคอยประกบเป็นกุนซือ ถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เด็กอยากเรียน อยากเข้าหา โดยที่เด็กไม่รู้สึกว่า วิชาแนะแนวจะเป็นคาบว่างหรือสอนด้วยครูน่าเบื่อ

นอกจากประสบการณ์เต็มกระเป๋า การฝึกสอนในครั้งนั้นทำให้ครูปุ้ยได้ใกล้ชิดเด็กมากขึ้น ได้เรียนรู้ธรรมชาติของเด็กๆ

แต่ดูเหมือนว่าประโยชน์และข้อดีเหล่านี้จะไม่มากพอจนซื้อใจครูต่อได้

เมื่อเรียนจบ ครูปุ้ยเลือกไปทำงานด้านการตลาดในบริษัทเอกชน เพราะอยากทดลองอะไรใหม่ๆ เเต่พอทำไปได้สักพัก ระบบงานออฟฟิศทำให้รู้สึกเบื่อ อยู่กับเนื้องานจำเจ ทำซ้ำแบบเดิมวนไปทุกวัน ครูปุ้ยเลยเบนเข็มกลับมาลงเรือลำเดิม

“อย่างน้อยการเป็นครูก็อาจจะมีอะไรใหม่ๆ ให้ได้เรียนรู้” จึงตัดสินใจสมัครเข้าไปเป็นครูเเนะเเนวและสอบบรรจุได้เป็นครูอัตราจ้างที่โรงเรียนโยธินบำรุง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 2 ปี

ก่อนโยกย้ายมาสอนแนะแนวนักเรียนชั้น ม.1-6ที่โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ นานถึง 5 ปี จนเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา ครูปุ้ยตัดสินใจย้ายมาเป็นครูแนะโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จังหวัดอ่างทอง เพราะจะได้กลับมาดูแลครอบครัวสะดวกขึ้น

‘ครู’ ผู้เป็นนักเรียนตลอดชีวิต

ราว 6 ปีที่แล้ว โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จ.ชัยภูมิ หนึ่งในโรงเรียนที่ครูปุ้ยเคยเข้าบรรจุ เป็นโรงเรียนเล็กๆ ประจำตำบลที่ไม่เคยมีครูเเนะเเนวมาก่อน จึงเป็นเหตุผลหลักที่โรงเรียนแห่งนี้มองหาและรับสมัครตำแหน่งครูแนะแนว ซึ่งปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ครูปุ้ยมาทราบภายหลังจนทำให้รู้สึกดี นั่นคือการที่ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งนี้ จบปริญญาเอกด้านจิตวิทยาเเนะเเนวมาโดยตรง เขาจึงเห็นความสำคัญของ ‘วิชาแนะแนว’ ครูปุ้ยบอกได้เต็มปากเต็มคำเลยว่า ตัวเองโชคดีมากที่ได้มาเริ่มสอนที่นี่

“ก่อนที่ปุ้ยจะได้สอนนักเรียน ปุ้ยต้องไปนั่งเรียนกับเด็กก่อน” ครูปุ้ยเล่าถึงวันแรกๆ ในโรงเรียน

วันนั้น ครูปุ้ยนั่งเรียนพร้อมกับเด็กๆ ในคาบวิชาแนะแนวที่ผู้อำนวยการโรงเรียนรับหน้าที่เป็นคนสอน

ก่อนจะเริ่มเข้าเนื้อหา สิ่งที่ครูปุ้ยสังเกตเห็นตั้งแต่แรกคือ วิธีการเข้าหาและถามข้อมูลเรื่องโน้น เรื่องนี้จากเด็กๆ อย่างเป็นธรรมชาติของผู้อำนวยการ

“นี่เป็นหัวใจของการแนะแนวตามหลักจิตวิทยา ครูจะต้องทำให้เด็กไม่รู้สึกอึดอัด ให้เขารู้สึกสบายๆ ไม่ใช้วิธีแบบจู่โจม”

การเริ่มสอนในทุกๆ คาบ ผอ.เปิดบทสนทนาด้วยการคุยเรื่องอื่นก่อน เช่น เป็นอย่างไร เรียนสนุกไหม ไม่เห็นค่อยเรียนเลย ครูสอนเป็นอย่างไรบ้าง

“คุยเรื่องอื่นก่อนเเล้วค่อยๆ ไหลไปเรื่อยๆ สุดท้าย เด็กก็หลุดพูดข้อมูลที่เขาคิดออกมาเอง โดยที่เขาก็ไม่รู้ตัว”

ครูปุ้ยต้องไปนั่งเรียนเป็นเด็กอยู่แบบนั้นอยู่เกือบๆ ครึ่งเทอม หรือประมาณ 2 เดือน กว่าจะได้ลงมือสอนเอง

  • ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

เมื่อ ผอ.วางใจให้สอนเอง สิ่งที่ครูปุ้ยสัมผัสได้และพบว่าเป็นโจทย์ยาก คือความเชื่อมั่นของตัวครูกับผู้ปกครอง ครูปุ้ยบอกว่า เด็กที่นั่นเรียนเก่งแต่ขาดคือโอกาส เพราะฉะนั้นโจทย์ใหญ่ที่ครูแนะแนวต้องทำคือ “จะไปบอกบอกพ่อแม่เขายังไง ว่าลูกอยากเรียนแบบนี้” โดยมีปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง ความท้าทายต่อมาคือครูปุ้ยจะทำให้ผู้ปกครองเชื่อและเชื่อมั่นครูแนะแนวหน้าใหม่คนนี้ได้ไหม – นี่เป็นโจทย์ปัญหาที่ครูปุ้ยต้องแก้ให้ได้

เล่าย้อนไปถึงตอนนั้น การเป็นครูแนะแนวในโรงเรียนประจำตำบลมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องดูเเลมากมาย ยกตัวอย่างที่จังหวัดชัยภูมิ ด้วยฐานะครอบครัวทางบ้านของเด็กๆ ในโรงเรียนไม่ค่อยดีนัก เเค่การเดินมาโรงเรียนก็สร้างความลำบากให้เด็กบางคนแล้ว ดังนั้นในสมการปัญหานี้ครูในฐานะผู้แนะแนวจะมีส่วนช่วยแก้อย่างไร โดยการทำให้รู้สึกอยากมาโรงเรียนด้วยตัวเองและพ่อแม่ของพวกเขาเข้าใจด้วย

“โชคดีอย่างหนึ่งตรงที่โรงเรียนเห็นความสำคัญ เขาจะเอาเด็ก ม.6 มานอนที่โรงเรียน เพราะตอนเย็นครูจะได้ติวหนังสือให้” ครูปุ้ยเล่าต่อว่า

“แต่ครูไม่ได้ค่าตอบแทนนะ ครูจะต้องติวเด็กจนถึงทุ่มหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นครูก็จะต้องนั่งอยู่กับ เด็ก ม.6 จนถึงเที่ยงคืน เพื่อเป็นการบังคับเขาให้อ่านหนังสือ”

จะเห็นได้ว่าครูปุ้ยเริ่มแก้โจทย์นี้กับเด็กๆ ก่อน ทำให้เห็นว่าครูทุ่มเทและพร้อมสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ส่วนเด็กบางคนที่ไม่เน้นวิชาการ ครูปุ้ยก็ไม่ได้ทอดทิ้ง แนะแนวช่วยหาความถนัดอื่นๆ ของตัวเอง

“ถ้าเด็กถนัดดนตรีก็ผลักให้ไปอยู่วงดนตรี ถ้าดนตรีไม่เอา เรียนไม่เอา ก็เน้นไปทางอาชีพงานช่างอะไรพวกนี้”

การที่ครูจะสร้างความเชื่อมั่น ครูต้องทำให้เด็กเชื่อให้ได้ว่าครูสนใจเขา

“เมื่อเขามั่นใจ เขาก็จะไปเล่าให้พ่อแม่ฟัง ว่าเขาเรียนได้ ทำได้ แล้วเสียงจากพ่อแม่ก็จะสะท้อนกลับมาเอง”

อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตัวครู นั่นคือการ ‘เช็คชื่อ’

เรื่องนี้ผู้อำนวยการไม่ได้สอนไว้  แต่ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วครูปุ้ยก็จำมาใช้กับเด็กๆ

“เมื่อก่อนไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องเช็ค แอนตี้ด้วยซ้ำกับอะไรเล็กๆ น้อยๆ ขนาดนี้ แต่การเช็คมันทำให้เราจำเด็กคนนั้นได้ แล้วมันมีผลต่อวิชาเเนะเเนว ซึ่งถ้าเราจำเด็กคนนั้นได้ จำสัญลักษณ์ จำเอกลักษณ์เขาได้ ก็จะทำให้จำได้ว่าลักษณะครอบครัว และเรื่องอื่นๆ ของเด็กคนนั้นเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกับให้เราวางแผนร่วมกับเขาเรื่องการเรียนต่อได้”

ดังนั้นไม่ว่าครูปุ้ยจะย้ายไปสอนที่ไหน เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จึงกลายเป็นอาวุธติดตัวเอาไปใช้ประกอบการสอนทุกครั้ง

ครูแนะแนว ไม่ใช่ใครก็ได้

ครูปุ้ยไม่ปฏิเสธประโยคที่ว่า “ไม่ว่าครูวิชาไหนก็สอนแนะแนวได้” แต่ครูแบบไหนมากกว่าที่จะสอนแนะแนวได้ดี

สำหรับครูปุ้ย ความยากไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาวิชา แต่เป็นการทำความเข้าใจเด็กแต่ละห้องมากกว่า เพราะคาแรกเตอร์ของเด็กแต่ละห้องต่างกันมหาศาล ไล่ตั้งแต่เด็กเรียนเก่ง เด็กห้องคิง เด็กปานกลาง ไปจนถึงห้องที่ไม่เน้นวิชาการเลย หน้าที่ของครูแนะแนวคือการปรับโหมดให้ได้กับความหลากหลายเหล่านี้

สิ่งหนึ่งที่ครูปุ้ยสังเกตเห็น คือ เด็กห้องต้นๆ หรือเด็กที่ผลการเรียนดี มักไม่รู้จักตัวเอง กลับกันกับเด็กห้องท้ายที่รู้ตัวเองมากกว่า

“เพราะเขารู้ว่า เขาทำได้เท่านี้ เป็นช่างยนต์ ช่างไฟ เขาอยากทำงานที่จะประกอบอาชีพได้ เเต่พอห้องต้นๆ เป็นอารมณ์แบบว่า ฉันได้เกรดเยอะ ฉันจะต้องเป็นเเบบนี้ได้ เเต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ได้เป็นไปตามที่เขาเป็นจริงๆ เวลาเรียนเเนะเเนว เราให้เขียนเป้าหมายในอนาคต เด็กห้องต้นๆ มักไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไร คำตอบจะคล้ายๆ กัน เช่น เป็นหมอเหมือนกันหมด แต่สุดท้ายก็ไม่ใช่  แต่เด็กห้องท้ายๆ ตัดสินใจไปต่อ ปวช.” ครูปุ้ยบอก

  • ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

นับเป็นรายละเอียดสำคัญที่ครูแนะแนวไม่ใช่แค่ต้องรู้ แต่ต้องทำความเข้าใจในตัวเด็กทุกคน ครูปุ้ยจึงพยายามจัดตารางการสอนให้เด็กระดับชั้นเดียวกันหรือวัยใกล้เคียงกัน ได้เรียนในวันเดียวกัน

โดยทั่วไปวิชาแนะแนวของชั้น ม.1 สอนเรื่องการปรับตัว เรื่องเพศ ม.2 สอนเรื่องเพื่อน ส่วน ม.3 จะเป็นการเเนะเเนวศึกษาต่อ

“ส่วน ม.4 วนลูปเข้าเรื่องการปรับตัว เรื่องการวางแผนเพื่อที่จะไปสู่ ม.6 ส่วน ม.5 ก็กลับมาเน้นเรื่องเพื่อน เเละพอ ม.6 ก็เริ่มเข้าคล้ายๆ กับ ม.3 เเต่เพิ่มการตัดสินใจให้ชัดขึ้น”

วิชานี้ไม่มีคะแนน

โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม ถือเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มีเด็กระดับชั้น ม.1-ม.6 มีครูแนะแนวเพียง 2 คน หน้าที่ของครูปุ้ยคือการรับผิดชอบสอนเด็กวิชาแนะแนวเด็ก ม.ต้น ทั้งหมด แน่นอนว่าครูปุ้ยจำเด็กไม่ได้ทุกคน ครูจึงพยายามสร้างความใกล้ชิด หนึ่งในนั้นคือ การอ่านข้อความบอกเล่าที่เด็กๆ เขียนจากการทบทวนตัวเองในคาบวิชา

“อย่าง ม.3 ตอนเราเจอเขาครั้งเเรก จะให้เขาพูดถึงจุดมุ่งหมายทางการศึกษา  ก็ให้เขาเขียนไปว่าตัวเองเป็นอย่างไร เป็นใคร ทำอะไรอยู่ตอนนี้ พื้นฐานเป็นอย่างไร เเละมีวิธีการวางแผนไปสู่อนาคตอย่างไร พอวางเเผนได้เเล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจะไปสู่ตรงนั้นได้ ถ้าได้คำตอบมาเเล้วจะเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายนั้นได้จริงๆ ไหม ให้เขาวิเคราะห์ตัวเอง”

“ต่อมาคือฝึกให้เขาวางแผนเกรด วางเป้าหมายของเขา ให้เชื่อมโยงเกรดทั้งสองเทอม ฝึกวางแผนตั้งเเต่คาบเเรกเทอมหนึ่ง พอเทอมสองคาบเเรกก็ให้กลับไปเช็คว่าที่วางไว้มันเป็นไปตามเป้าหมายไหม ถ้าไม่เป็น เกิดอะไรขึ้น ให้เขาทบทวนตัวเขาเอง”

ครูปุ้ยจะบอกเสมอว่าวิชาแนะแนวของครูจะไม่มีคะเเนน….

“จะเขียนหรือไม่มันก็เรื่องของเธอ เเต่จำไว้อย่างหนึ่งว่าสิ่งให้ทำคือการทบทวนตัวเองและเป้าหมายในอนาคตของตัวเอง ซึ่งฉันไม่เกี่ยว สิ่งที่คุณเขียนคือเรื่องของคุณเเละอนาคตคุณ ถ้าคุณไม่ใส่ใจที่จะเขียนก็เเล้วเเต่ เด็กส่วนใหญ่ก็เขียน พอเขาเขียน ก็เขียนได้ ครูให้ผ่านหมด ส่วนเด็กตกคือเด็กที่ไม่เข้าเรียน”

‘เป็นทุกอย่าง’ อย่างครูแนะแนว

ย้อนไปถึงความสงสัยในวัยเด็กที่ว่า “ครูเเนะเเนวทำไมว่างจัง” เเต่พอมาเป็นครูเเนะเเนวจริงๆ กลับพบสารพันปัญหาสารพัดหน้าที่นอกจากการสอนที่ครูทุกคนต้องแบกไว้ ทั้งงานสวัสดิการ งานพัสดุ เอกสารทุนจากมหาวิทยาลัย ทุนกยศ. ให้คำปรึกษาเด็ก จัดสอบ งานธุรการต่างๆ มากมาย

ถ้าเช่นนั้น ครูเเนะเเนวต้องทำอะไรบ้าง?

“โห..เยอะค่ะ” ครูปุ้ยบอก

หนึ่ง คือ การสอนตามปกติ

สอง งานบริการของแนะแนว ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางตัวบุคคล ให้คำปรึกษา ติดตามผลเด็ก การให้ข้อมูลสารสนเทศ หลายงานอาจเข้าข่ายหยุมหยิม แต่ครูปุ้ยยืนยันว่าต้องมี

“เรามีหน้าที่ในการหาข้อมูล แม้เด็กเดี๋ยวนี้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เเต่บางคนก็ไม่เลือกเสพข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับตัว อย่างเช่น เรื่องการศึกษาต่อ เราได้แจกหนังสือคู่มือฉบับเดียวกันกับเด็ก เเต่เด็กเดินมาถามว่าครู หนูต้องทำอะไรบ้าง เเสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้ศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง หน้าที่ของครูจึงจะต้องสรุปข้อมูลยาวๆ ให้เขาเข้าใจมากขึ้น”

“หรือการให้คำปรึกษาก็สำคัญ เพราะว่าบางครั้งเด็กก็ไม่รู้จะเล่ากับใคร บอกกับใคร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเรียน ครอบครัว หรือเพื่อน เช่น  ถ้าเขาอยากเป็นหมอ เราต้องหาข้อมูล ไปหาศิษย์เก่าๆ ที่จบไป เอาข้อมูลจากพี่ๆ ที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอดให้น้อง หรือจัดค่ายที่เป็นตัวเชื่อมที่ให้น้องกับพี่ได้มาเจอกัน”

ก่อการแบบครูแนะแนว

การก้าวเท้ามาร่วมโครงการ ‘ก่อการครู’ ของครูปุ้ยอาจจะแตกต่างจากเพื่อนครูคนอื่น จำนวนไม่น้อยเข้ามาเพราะอึดอัดกับปัญหาระบบการศึกษา อยากหาทางออกเพื่อนำกลับไปแก้ไข และอีกมากเข้ามาเพื่อเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่หาไม่ได้ในโรงเรียน

ครูปุ้ยน่าจะจัดอยู่กลุ่มหลังเพราะไม่ได้มาพร้อมกับปัญหาหรือภาระครูที่เกินแบก แต่มาพร้อมกับดักชิ้นใหญ่ที่เข้ามาขวางจนคลำหาทางออกไม่ได้ นั่นคือเสียงในหัวที่เริ่มตั้งคำถามดังขึ้นเรื่อยๆ ว่า “สิ่งที่เราสอน เด็กได้ประโยชน์จริงๆ ไหม และการที่เราให้เด็กไปแบบนี้ เด็กได้เอาไปใช้จริงๆ หรือ”

ครูปุ้ยจึงอยากฉุดตัวเองออกจากหลุมพรางให้ได้เร็วที่สุด พร้อมๆ กับการกลับมาสำรวจตัวเอง ตั้งคำถามกับตัวเองว่าอยากเปลี่ยนอะไรบ้างข้างใน จึงตัดสินใจเข้าโครงการก่อการครู(รุ่น1)

“เรื่องที่พีคที่สุดคือ ทั้งชีวิตการเป็นครู เราไม่เคยเข้าใจคำว่าวิจัยเชิงคุณภาพมาก่อน เพิ่งได้มาเรียนรู้ครั้งแรกในโครงการนี้”

ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

หนึ่งห้องเรียนที่ครูปุ้ยเลือกคือ ‘ห้องการวิจัยเพื่อสร้างความหมายใหม่ในการเรียนรู้’ เพราะคิดว่าเป็นประโยชน์เหมาะกับอาชีพครูและได้นำไปใช้อย่างแน่นอน ครูปุ้ยได้เรียนรู้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนางานวิจัยของตัวเองเป็นอันแรก หากในอนาคตมีการขยับขยายตำแหน่งหน้าที่ สิ่งนี้คือเครื่องมือสำคัญ

เช่นเดียวกับ ‘ห้องทักษะการโค้ช’ ที่ได้ใช้ในการเข้าหานักเรียน รับฟังและให้คำปรึกษากับเด็กๆ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของหน้าที่ครูแนะแนว

อีกหนึ่งห้องเรียนสนุกสนานที่ครูปุ้ยประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้คือ ‘ห้องเรียนสื่อสร้างสรรค์’ ประโยชน์จากห้องเรียนนี้ครูปุ้ยนำมาปรับใช้โดยเน้นฝึกให้เด็กเล่าเรื่องผ่านภาพ นำสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ตามพื้น หิน กิ่งไม้ เอามาเล่าเป็นเรื่องเอง เพื่อให้เขาทบทวนตัวเอง รู้จักตัวเอง แล้วให้เขาเล่าว่ามันเกี่ยวกับตัวเขาอย่างไร นี่คือหนึ่งในเป้าหมายของวิชาแนะแนว

สุดท้ายที่ ‘ห้องเรียนสะเต็มศึกษา’ ซึ่งหัวใจหลักอยู่ที่การออกแบบการเรียนรู้ สกัดเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น รวมถึงการบูรณารายวิชาต่างๆ  โดยความรู้ที่ได้จากห้องเรียนนี้ครูปุ้ยบอกว่าตัวเองเอามาปรับใช้กับเด็กได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์

คาบแนะแนว ไม่ใช่คาบว่างอีกต่อไป

เมื่อโต๊ะม้าหินกลางลานต้นไทรในโรงเรียนกลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่ครูปุ้ยพาเด็ก ม.1 มารวมตัวกันเล่นบอร์ดเกม ใครจะเชื่อว่านี่คือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในคาบเรียนวิชาแนะแนว บอร์ดเกมเป็นดอกผลที่เกิดจาก ‘ห้องเรียนสะเต็มศึกษา’ ในโครงการก่อการครู ครูปุ้ยบอกว่าก่อนหน้านั้นได้โยนโจทย์ให้เด็กแต่ละกลุ่มคิด และสร้างบอร์ดเกมขึ้นมาภายใต้หัวข้อ ‘ปัญหาสังคม’ โดยปล่อยให้ดีไซน์รูปแบบ หน้าตา วิธีการเล่น ได้อย่างอิสระ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มนำเกมของตัวเองมาแชร์และผลัดกันเล่น

ลานต้นไทรวันนั้นจึงเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และเสียงหัวเราะอย่างสนุกสนาน บางกลุ่มใช้เนื้อหาของวิชาสุขศึกษามาทำเป็นเกม บางกลุ่มใช้เนื้อหาในวิชาวิทยาศาสตร์ บางกลุ่มเลือกวิชาสังคม เช่น เกมใบ้คำ ที่ต้องใบ้ให้อีกฝ่ายพูดคำว่า ‘ฝุ่น pm 2.5’ หรือคำว่า ‘เลือกตั้ง’ ออกมาให้ได้

  • ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู
  • ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู
  • ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู
  • ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

ครูปุ้ยบอกว่าสิ่งที่เห็นชัดเจนหลังกลับมาจากโครงการก่อการครู คือเด็กเรียนสนุกขึ้น มีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย และได้เห็นว่าวิชาแนะแนวไม่ใช่คาบว่างอีกต่อไป

“ถ้าถามว่าเป้าหมายของบอร์ดเกมคืออะไร แค่อยากให้เขารู้ว่า สิ่งที่เขาเรียนในวิชาต่างๆ ที่เขาบ่นว่ามันยาก แต่พอเอามาทำเป็นเกม มันจะง่ายขึ้น เมื่อเขาสนุกกับสิ่งที่เขาทำ อย่างน้อยพอมันสนุก เขาก็จะได้เริ่มคิดเเล้วว่าก่อนจะสนุก เนื้อหาที่เขาจะเอามาใส่เกม เขาเอามาจากไหน เขาต้องหาความรู้มาก่อน อย่างบางเกมที่เป็นเรื่องเฉพาะมากๆ เขาจะคิดคำถามได้ก็ต่อเมื่ออ่านเนื้อหามา ได้ทวนความรู้ไปในตัว”

นอกจากการนำเทคนิคที่ได้จากห้องเรียนก่อการครูมาแทรกให้เด็กๆ แล้ว เทคนิคเหล่านั้นยังไหลซึมไปถึงเพื่อนครูด้วยกันอีกด้วย เพราะเมื่อครูท่านอื่นๆ เห็นการสอนแบบพาเด็กทำกิจกรรม และเด็กๆ สนุก ก็มักจะมาถามและขอคำแนะนำจากครูปุ้ย

“แต่ครูหลายๆ คนยังติดกับดัก เพราะกลัวสอนไม่ทัน ถ้ายังเอากระบวนการเข้าไปใส่จะยิ่งแล้วใหญ่ ฉะนั้นจะว่าเป็นข้อดีของวิชาแนะแนวก็ได้ ที่ตัวชี้วัดทั้ง 4 ข้อ เอื้อไปกับการเรียนรู้แบบผ่านกระบวนการ”

คือ

  1. เด็กรู้จักเเละเข้าใจตัวเองและผู้อื่น
  2. เด็กสามารถแสวงหาข้อมูลได้
  3. เด็กสามารถที่จะตัดสินใจ แก้ปัญหาได้
  4. เขาจะต้องช่วยเหลือเพื่อนได้

ทำไมโลกนี้ต้องมีวิชาแนะแนว

คำถามนี้ครูปุ้ยเองก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน เเต่ถ้าอย่างน้อยจะมีใครสักคนที่เป็นที่พึ่งให้เด็ก มีใครสักคนที่คอยตอบคำถามเขา ทำหน้าที่เหมือนอับดุล ถามอะไรตอบได้หมด คนๆ นั้นก็น่าจะเป็นครูแนะแนว

“บางเรื่องเขาอาจจะคุยหรือปรึกษากับเพื่อน พ่อแม่ หรือญาติที่ไว้ใจได้ แต่ถ้ามีใครรับฟังเขา พร้อมตอบเเชทเขาได้ตอนเที่ยงคืน ตีหนึ่ง ตีสอง ก็คงจะดี (หัวเราะ)” และคนนั้นคือครูปุ้ย

เรื่องเพศ เรื่องแฟน มักเป็นหัวข้อยอดฮิตที่เด็กมาปรึกษา เพราะไม่กล้าคุยกับพ่อแม่โดยตรง ด้วยสังคมที่ชอบตีกรอบความคิด พร้อมคำอ้างว่าเดี๋ยวโตไปก็รู้เอง

“ซึ่งมันไม่ใช่ เด็กควรจะมีข้อมูลก่อนที่จะไปเจอของจริง” ครูปุ้ยแย้ง

ส่วนเรื่องเรียน ถ้าเด็กต้องการข้อมูลที่นอกเหนือไปจากพ่อแม่เขาจะถามใครได้บ้าง หรือบางคนคุยกับพ่อแม่เเล้วทะเลาะกัน ความคิดเห็นไม่ตรงกัน เนื่องจากพ่อแม่มีความคาดหวัง

“ครูนี่แหละจะต้องเข้าไปช่วย” แต่ต้องเป็นครูแนะแนวในความหมายของครูแนะแนวจริงๆ

“เพราะบางโรงเรียน ครูเเนะเเนวก็ไม่ได้ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีครูเเนะเเนว ขณะที่หลายโรงเรียนมีครูวิชาอื่นมาทำหน้าที่ครูเเนะเเนวได้ดีกว่าคนที่จบเเนะเเนวเสียอีก”

อยากตื่นมาทำงานทุกวัน

นับจากปี 2552 ที่ครูปุ้ยรับข้าราชการครูอย่างจริงจัง จนวันนี้ผ่านไป 10 ปี ยังไม่มีวันไหนที่รู้สึกเบื่อกับการเป็นครูเลยสักวัน

“ไม่รู้สิ ไม่เคยรู้สึกเหนื่อยกับการมาสอน ไม่เคยไม่อยากตื่นมาทำงาน เพราะมีความสุขเมื่อได้สอน ตอนอยู่ในห้องเรียนเเละได้อยู่กับเด็กๆ  เบื่อสุดๆ คงเป็นการประชุมที่ไม่มีสาระ รู้สึกเสียเวลาเปล่า ถ้าประชุม 2 ชั่วโมงเเล้วไม่ได้อะไรที่มันคืบหน้า สู้ประชุม 5 นาทีเเล้วได้เนื้อหา เออ…อันนั้นน่าสนใจ”

เมื่อก่อนครูปุ้ยก็เคยสงสัยเหมือนกันว่าความสุขในอาชีพครูของตัวเองคืออะไร ใช่ความรู้สึกในวันสุดท้ายที่เด็กรับใบประกาศนีบัตรหรือใบเกียรติบัตร เเล้วเราเห็นเขามีความสุขแบบนั้นหรือเปล่า ?

คำตอบคือ “ใช่ นี่เเหละคือความสุข”

“พอเห็นเขาไปรอด นั่นคือสุดเเล้วสำหรับชีวิตครูแบบเรา ไม่อยากเจอเด็กที่ติด 0 ติด ร. เพราะนั่นหมายความว่า เขามีโอกาสที่จะไม่จบพร้อมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน เราก็ต้องลงไปลุย พยายามติดตาม ช่วยกันแก้ 0 แก้ ร. จนวันที่เขารับใบประกาศฯ ได้ทันพร้อมเพื่อน เรารู้สึกว่าสิ่งที่เราช่วยเเละร่วมทำกับเด็ก มันทำให้เด็กคนหนึ่งได้ไปต่อ นอกจากโอกาสเด็กเองเเล้ว ครอบครัว พ่อแม่เขายิ้มได้” จบประโยคนี้ครูปุ้ยก็ยิ้มด้วย

ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

หากย้อนกลับ นึกถึงวันแรกที่เป็นครู ครูปุ้ยก็จะตอบแบบเดิมว่า การเป็นครูมันไม่ยาก และการเป็นครูมันสนุก

“เราวางตัวชิวมาก เหมือนคนบ้าหนึ่งคนเดินในโรงเรียน เหมือนเป็นครูที่ไม่เหมือนครู ชิวมาก บางทีนึกจะนั่งสอน เด็กก็บอกครูนั่งไม่ได้นะ อ้าว เเล้วทำไมครูนั่งไม่ได้วะ” (หัวเราะ)

วันนี้ พอถามถึงอาชีพอื่นนอกจากครู ‘โปปุ้ย’ ก็นึกไม่ออกเลยว่าจะเป็นอะไรได้อีก  ถึงแม้การเป็นครูแนะแนวจะต้องทำสารพัดอย่าง แต่ถ้าเป้าหมายคือเด็กได้ประโยชน์  ครูโปปุ้ยไม่ลังเลเลยที่จะทำ

“ครูเเนะเเนว ใครก็แนะได้ เเต่จะทำอย่างไรที่ให้เด็กรู้สึกว่าเป็นที่พึ่งได้ คือต้องเปิด ต้องไม่ปิดและคิดว่า ตัวเองถูกอยู่คนเดียวในโลกนี้ บางทีเราก็คิดผิด แต่ไม่เป็นไรเราก็ไปเรียนรู้พร้อมๆ กับเด็กนั่นเเหละ เราอาจจะได้ข้อมูลใหม่ๆ จากเด็กด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นต้องเปิดใจก่อน”

เป้าหมายต่อจากนี้ ครูปุ้ยวางเอาไว้ว่าคงหาวิธีใหม่ๆ มาสอนเด็กให้สนุกไปเรื่อยๆ

“ส่วนในอาชีพครูก็คงเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ อาจจะมีการขยับความก้าวหน้าให้เป็นครูชำนาญการพิเศษ เเต่ถ้าในเรื่องของความสุข เท่านี้ทุกวันนี้ถือว่ามีความสุขมากแล้ว เรื่องความสำเร็จก็เช่นกัน ถ้าให้ครูปุ้ยประเมินตัวเอง….ครูคิดว่าตัวเองถือว่าประสบความสำเร็จในการเป็นครูแล้ว”

 ครูแนะแนว, ทักษะการโค้ช, วรีย์ สืบสมุท, วิจัยในชั้นเรียน, สะเต็มศึกษา, อ่างทอง

ทำไมนักศึกษาหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

เริ่มต้นอาชีพด้วยการฝึกปรือและอยู่กับผู้คนในประเด็นการศึกษา สนุกจะคุยกับเด็ก ชอบฟังเรื่องเล่าในห้องเรียน ที่สนใจการเรียนรู้ก็เพราะเชื่อว่านี่เป็นใบเบิกทางให้ขยายขอบขีดความสามารถตัวเอง ฝันสูงสุดคืออยากเห็นตัวเองทำงานสื่อสารที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อไป

จิตวิทยามีความสำคัญกับการเรียนการสอนต่อวิชาชีพครูอย่างไร

จะเห็นว่าการเป็นครูที่ดีนั้นจะต้องเป็นด้วยจิตวิญาณมีความเข้าใจหลักการสอนกระบวนการสอนตามหลักวิชาการแล้วยังไม่พอครูจะต้องรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเพราะครูทุกคนมีวิถีชีวิตอยู่กับคนแทบจะตลอดเวลาจึงจำเป็นจะต้องรู้ชีวิตจิตใจของมนุษย์ว่าเขาเหล่านั้นมีความต้องการอะไร ดังมีกล่าวว่าคนเป็นครูจะต้องรู้จิตวิทยาเพราะว่าจิตวิทยาครูมี ...

ทำไมคนที่เรียนครูต้องเรียนจิตวิทยาการศึกษา

วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้ 1.ช่วยให้ครูรู้จักลักษณะนิสัยของนักเรียนที่ครูต้องสอน โดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพเป็นส่วนรวม 2.ช่วยให้ครูมีความเข่าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน

ทำไมถึงต้องเรียนวิชาจิตวิทยา

เพราะศาสตร์จิตวิทยาเน้นการศึกษาพฤติกรรม และกระบวนการทางจิตของมนุษย์ เพื่อสามารถระบุสาเหตุ รวมทั้งหาหนทางในการ ป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วย นอกจากน้องๆ จะได้เพลิดเพลินกับความรู้ที่แปลกใหม่

จิตวิทยามีความสำคัญกับการศึกษาอย่างไร

สรุป จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทส าคัญในการจัดการศึกษาการสร้างหลักสูตรและการเรียนการ สอนโดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน และครูจ าเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา การศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับ การเรียนการสอน เหมือนกับวิศวกรรมที่จ าเป็นต้อง ...